โรคติดเชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella Food Poisoning) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
โรคติดเชื้อซาลโมเนลลา

เชื้อแบคทีเรียในกลุ่มซาลโมเนลลา เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella Food Posioning) แบคทีเรียชนิดนี้อาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ และสัตว์ การติดเชื้อในมนุษย์เป็นผลมาจากการบริโภคอาหาร หรือน้ำที่มีการปนเปื้อนอุจจาระเข้าไปในร่างกาย

การติดเชื้อซาลโมเนลลาในระบบทางเดินอาหารมักส่งผลต่อระบบลำไส้เล็ก ที่เราเรียกกันว่า โรคลำไส้อักเสบ หรือไข้เอนเทอริก ซึ่งเป็นชนิดของอาหารเป็นพิษที่พบได้บ่อยมากที่สุด

Salmonella <a href=Food Poisoning” width=”500″ height=”420″ />

การวินิจฉัยโรคติดเชื้อซาลโมเนลลา

การวินิจฉัยโรคติดเชื้อซาลโมเนลลาแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย อาจตรวจดูหน้าท้องว่ามีอาการกดเจ็บหรือไม่ แพทย์อาจยังมองหารอยผื่นที่เป็นจุดสีชมพูเล็กๆบนผิวหนังของคนไข้ หากจุดที่พบมาพร้อมกับมีไข้สูง อาจเป็นการติดเชื้อซาลโมเนลลาชนิดรุนแรงที่เรียกว่าโรคไทฟอยด์

แพทย์อาจตรวจเลือดหรือทำการเพาะเชื้ออุจจาระเพื่อมองหาหลักฐานที่แน่ชัดและพบตัวอย่างเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในร่างกาย

อาการของโรคติดเชื้อซาลโมเนลลา

อาการของโรคติดเชื้อซาลโมเนลลาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเกิดภายใน 8 – 72 ชั่วโมงหลังบริโภคอาหาร หรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเข้าไป หากเกินกว่า 48 ชั่วโมงขึ้นไป อาการจะยิ่งลุกลาม

อาการทั่วไปในระยะเฉียบพลัน เช่น:

ภาวะขาดน้ำที่มีสาเหตุมาจากอาการท้องร่วงคือ สิ่งที่ต้องห่วงกังวล โดยเฉพาะหากเกิดกับเด็กเล็กหรือเด็กทารก ยิ่งอายุน้อยภาวะขาดน้ำก็ยิ่งรุนแรง

สาเหตุของโรคติดเชื้อซาลโมเนลลาคืออะไร

การรับประทานอาหาร หรือดื่มของเหลวทุกชนิดที่มีการปนเปื้อนเชื้อซาลโมเนลลาแบคทีเรียจะทำให้เกิดอาหารเป็นพิษซาลโมเนลลา ตามปกติจะเกิดกับคนที่รับประทานอาหารดิบ หรืออาหารสำเร็จที่ทำมาจากคนอื่น

เชื้อซาลโมเนลลามักแพร่กระจายเมื่อคนๆนั้นไม่ล้างมือหรือล้างไม่สะอาด หลังจากใช้ห้องน้ำ หรืออาจเกิดจากการไปสัมผัสสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสัตว์จำพวกสัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ปีก การทำอาหารให้สุกดี หรือผ่านการพาสเจอไรส์จะสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียซาลโมเนลลาได้ ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น หากรับประทานอาหารแบบดิบ ไม่สุก หรือใช้อุปกรณ์ที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ

โรคติดเชื้อซาลโมเนลลามีสาเหตุจากหลักๆทั่วไปดังต่อไปนี้:

  • ทานเนื้อไก่ หรือพวกสัตว์ปีกไม่สุก

  • รับประทานไข่ที่ไม่สุก

  • ดื่มนม หรือน้ำผลไม้ที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ

  • รับประทานผลไม้ดิบ ผัก หรือถั่วที่มีการปนเปื้อน

ปัจจัยอื่นๆที่เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อซาลโมเนลลา มีดังต่อไปนี้:

  • มีสมาชิกในครอบครัวป่วยด้วยโรคติดเชื้อซาลโมเนลลา

  • เลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน หรือนกเป็นสัตว์เลี้ยง สัตว์ดังกล่าวเป็นพาหะของเชื้อซาลโมเนลลา

  • อาศัยอยู่ในบ้านที่รวมคนกลุ่มใหญ่ๆ เช่น หอ หรือบ้านพักคนชรา ที่ๆ มีคนรวมกันอยู่เยอะแล้วมีการเตรียมอาหารโดยคนอื่น

  • การเดินทางไปยังประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่สะอาด และมีมาตราฐานสุขอนามัยต่ำกว่ามาตราฐาน

หากคุณมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ คุณก็จะยิ่งมีโอกาสติดเชื้อซาลโมเนลลามากกว่าคนอื่น

การรักษาโรคติดเชื้อซาลโมเนลลา

การรักษาหลักของโรคติดเชื้อซาลโมเนลลา คือ การทดแทนของเหลวและเกลือแร่ที่ผู้ป่วยสูญเสียไปตอนมีอาการท้องร่วง สำหรับผู้ใหญ่ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ หรือเครื่องดื่มเกลือแร่ เพื่อชดเชยภาวะขาดน้ำ

เพิ่มเติมด้วยการจัดสรรอาหารที่รับประทานให้ง่ายต่อการย่อย เช่น กล้วย ขาว ซอสแอปเปิ้ล และขนมปังก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทนม และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาต่อสู้กับการติดเชื้อ

หากผู้ป่วยรู้สึกคลื่นไส้ให้ดื่มของเหลวเพื่อบรรเทาอาการ ผู้ป่วยอาจต้องไปพบแพทย์ และรับของเหลวทางหลอดเลือดดำ(IV)

โดยปกติแล้วเราจะไม่ใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาใดๆในการหยุดการถ่ายท้อง การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวจะใช้กับ “ภาวะพาหะ” คือ ภาวะช่วงระหว่างและหลังการติดเชื้อที่อาจจะยังสามารถนำเอาเชื้อไปติดต่อกับผู้อื่นได้อีก ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาสำหรับจัดการกับอาการที่เกิดขึ้น ในรายที่มีอาการรุนแรงหรืออาจเป็นอันตรายถึงชีวิต แพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะให้ร่วมด้วย

การป้องกันโรคติดเชื้อซาลโมเนลลา

วิธีป้องกันโรคติดเชื้อซาลโมเนลลา คือ:

  • การเก็บรักษาอาหารอย่างเหมาะสม

  • ทำความสะอาดห้องครัวทั้งก่อน และหลังการเตรียมอาหารที่มีความเสี่ยงสูง

  • ล้างมือให้สะอาดอย่างทั่วถึง(โดยเฉพาะหลังจากสัมผัสไข่ หรือเนื้อสัตว์ปีก)

  • จัดแยกอุปกรณ์ในครัวสำหรับของดิบ และอาหารปรุงสุกแล้วออกจากกัน

  • เก็บอาหารแช่เย็นไว้ก่อนการทำอาหาร

ผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อซาลโมเนลลา และต้องทำงงานเกี่ยวกับอาหา ไม่ควรกลับไปทำงานหากหยุดท้องเสียไม่ถึง 48 ชั่วโมง

การเฝ้าติดตามโรคติดเชื้อซาลโมเนลลา

สำหรับผู้ป่วยที่มีสุขภาพที่ดี อาการต่างๆ ของโรคควรจะหายไปเองได้ภายใน 2-7 วัน แต่อย่างไรก็ตามเชื้อแบคทีเรียก็จะยังคงอยู่ในร่างกายได้นานกว่านั้น นั้นหมายความว่าต่อให้ผู้ป่วยไม่มีอาการใดๆ แล้วก็ตาม แต่ยังสามารถแพร่เชื้อให้กับคนอื่นได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคติดเชื้อซาลโมเนลลา

อาหารเป็นพิษจากโรคติดเชื้อซาลโมเนลลา เกิดจากแบคทีเรียซาลโมเนลลา ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ ได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก แม้ว่าการติดเชื้อซาลโมเนลลา หลายกรณีจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน แต่ในบางรายอาจมีอาการและภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากขึ้น ได้แก่:
  • ภาวะขาดน้ำ: อาการท้องร่วงและอาเจียนเป็นอาการที่พบบ่อยของการติดเชื้อซัลโมเนลลา ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดน้ำ โดยเฉพาะในเด็กและผู้สูงอายุ ภาวะขาดน้ำอาจร้ายแรงและอาจต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ รวมถึงการให้ของเหลวในหลอดเลือดดำ
  • แบคทีเรียในเลือด: ในบางกรณี แบคทีเรียซาลโมเนลลา สามารถเข้าสู่กระแสเลือดทำให้เกิดแบคทีเรียได้ ภาวะนี้อาจนำไปสู่การเจ็บป่วยที่รุนแรงมากขึ้นและต้องได้รับการรักษาพยาบาลด้วยยาปฏิชีวนะอย่างทันท่วงที
  • ภาวะโลหิตเป็นพิษ: หากแบคทีเรียในเลือดไม่ได้รับการรักษา ก็สามารถลุกลามไปสู่ภาวะโลหิตเป็นพิษได้ ซึ่งเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดที่รุนแรงซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
  • โรคข้ออักเสบ: บุคคลบางคนที่ติดเชื้อซาลโมเนลลา บางสายพันธุ์ เช่น Salmonella enterica serotype Typhimurium อาจทำให้เกิดโรคข้ออักเสบ ซึ่งเป็นอาการเจ็บปวดที่ส่งผลต่อข้อต่อ ดวงตา และทางเดินปัสสาวะ ภาวะนี้สามารถคงอยู่ได้นานหลายเดือนหรือหลายปี
  • เยื่อบุหัวใจอักเสบ: แบคทีเรียซาลโมเนลลา สามารถติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจได้เป็นครั้งคราวซึ่งนำไปสู่เยื่อบุหัวใจอักเสบ นี่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ยากแต่อาจร้ายแรงได้ ซึ่งต้องใช้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน หรือในบางกรณีอาจต้องได้รับการผ่าตัด
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ: ในกรณีที่พบไม่บ่อยมาก การติดเชื้อซาลโมเนลลาอาจทำให้เกิดอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งเป็นการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และต้องได้รับการรักษาทันที
  • กระดูกอักเสบ: แบคทีเรียซาลโมเนลลา สามารถติดเชื้อในกระดูกทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่ากระดูกอักเสบ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดกระดูก บวม และเคลื่อนย้ายแขนขาที่ได้รับผลกระทบได้ยาก โดยทั่วไปการรักษาจะรวมถึงยาปฏิชีวนะ และในบางกรณีอาจต้องผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อกระดูกที่ติดเชื้อออก
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือกรณีส่วนใหญ่ของโรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อซาลโมเนลลาไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ และการติดเชื้อจะหายไปเองภายในไม่กี่วันถึงหนึ่งสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องไปพบแพทย์หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักมีอาการรุนแรงหรือมีสัญญาณของภาวะแทรกซ้อน เช่น มีไข้สูง อาเจียนอย่างต่อเนื่อง อุจจาระเป็นเลือด หรือมีอาการขาดน้ำ นอกจากนี้ บุคคลที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีหรือเอดส์ หรือได้รับเคมีบำบัด มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากการติดเชื้อซาลโมเนลลา และควรไปพบแพทย์ทันทีหากติดเชื้อ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15697-salmonella

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/salmonella/symptoms-causes/syc-20355329

  • https://www.webmd.com/food-recipes/food-poisoning/what-is-salmonella

  • https://www.cdc.gov/foodsafety/communication/salmonella-food.html


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด