• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home การติดเชื้อ

เชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in การติดเชื้อ, หาโรค
0
เชื้อไวรัสโรต้า
0
SHARES
16
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • อาการของการติดเชื้อไวรัสโรต้า
  • ระยะเวลาติดเชื้อไวรัสโรต้าเกิดขึ้นยาวนานเท่าไหร่
  • การติดต่อของเชื้อไวรัสโรต้า
  • การรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโรต้า
  • วัคซีนรักษาไวรัสโรต้า
  • บทสรุปและการป้องกัน
4.7 / 5 ( 20 votes )

เชื้อไวรัสโรคต้า (Rotavirus) เป็นการติดเชื้อชนิดหนึ่งที่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถเกิดการติดต่อได้สูงและแพร่กระจายได้ง่าย โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็สามารถติดเชื้อได้เช่นกัน แม้ว่าโดยปกติจะมีอาการติดเชื้อที่รุนเเรงน้อยกว่า

ข้อมูลจากสถาบันป้องกันและควบคุมโรครายงานว่าก่อนที่จะมีการผลิตวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโรต้าเกิดขึ้นในปี 2006 การติดเชื้อจากไวรัสชนิดนี้ทำให้มีสถิติประจำปีดังต่อไปนี้เกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ในประเทศสหรัฐอเมริกา

  • มีเด็กจำนวน 400,000 ไปพบกุมารแพทย์
  • มีเด็กจำนวนระหว่าง 55,000 และ 70,000 รายนอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล
  • มีเด็กจำนวนอย่าง 200,000 รายเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน
  • มีเด็กจำนวนระหว่าง 20 และ 60 เสียชีวิต

การใช้วัคซีนเพื่อรักษาการติดเชื้อจากไวรัสโรต้ามีประสิทธิภาพมากกว่า 90 เปอร์เซนต์ เพื่อการป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่รุนเเรงได้

การติดเชื้อไวรัสโรต้าไม่สามารถรักษาด้วยการใช้ยา โดยปกติเชื้อไวรัสโรต้าสามารถหายไปได้เอง อย่างไรก็ตามภาวะขาดน้ำเป็นอาการที่น่ากังวลมากที่สุด ดังนั้นควรทราบว่าเมื่อไหร่ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์เพื่อป้องกันภัยคุกคามที่เป็นอันตรายต่อชีวิต

Rotavirus

อาการของการติดเชื้อไวรัสโรต้า

อาการไวรัสโรต้าในเด็ก

อาการของเชื้อไวรัสโรต้ามีลักษณะอาการที่โดดเด่นมากที่สุดเมื่อเกิดขึ้นกับเด็ก  อาการของการติดเชื้อไวรัสเริ่มเกิดขึ้นภายใน 2 วันหลังจากสัมผัสกับเชื้อ ซึ่งโดยปกติอาการไวรัสโรต้าคืออาการท้องเสียอย่างรุนเเรง นอกจากนี้การติดเชื้อไวรัสในเด็กยังทำให้มีอาการดังต่อไปนี้เกิดขึ้น

  • อาเจียน
  • อ่อนล้าอย่างรุนเเรง
  • มีไข้สูง
  • หงุดหงิดง่าย
  • มีภาวะขาดน้ำ
  • ปวดท้อง

ภาวะขาดน้ำเป็นสิ่งที่น่าเป็นกังวลที่สุดในเด็ก ซึ่งกลุ่มเด็กในช่วงอายุนี้มีร่างกายที่อ่อนแอเนื่องจากการสูญเสียน้ำและสารอิเล็กโทรไลต์ผ่านการอาเจียนและอาการท้องร่วงรวมถึงการที่พวกเขามีน้ำหนักตัวน้อย ดังนั้นคุณจำเป็นต้องสังเกตุอาการของภาวะขาดน้ำอย่างระมัดระวัง ซึ่งได้แก่อาการดังต่อไปนี้ 

  • ปากแห้ง
  • ตัวเย็น
  • ไม่น้ำตาเมื่อร้องไห้
  • ปัสสาวะน้อยลง (หรือผ้าอ้อมเด็กเปียกน้ำ)
  • มีอาการตาโหล

อาการไวรัสโรต้าในผู้ใหญ่

สำหรับผู้ใหญ่สามารถมีอาการติดเชื้อจากไวรัสโรต้าได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามในผู้ใหญ่ที่มีร่างกายเเข็งเเรงจะมีอาการติดเชื้อที่ไม่รุนเเรงหรือบางคนอาจไม่มีอาการติดเชื้อไวรัสโรต้าเกิดขึ้นเลย

ระยะเวลาติดเชื้อไวรัสโรต้าเกิดขึ้นยาวนานเท่าไหร่ 

ในระหว่างการรักษาอาการติดเชื้อไวรัส อันดับแรกเด็กจะเป็นไข้เเละมีอาการอาเจียน รวมถึงมีอาการถ่ายเป็นน้ำที่สามารถเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 3-7 วันหลังจากได้รับเชื้อ โดยการติดเชื้อไวรัสสามารถหายไปเองได้ภายใน 10 วันด้วยการขับถ่ายไวรัสออกทางอุจจาระหลังจากนั้นอาการไวรัสจะหายไป 

คุณจำเป็นต้องไปพบเเพทย์ ถ้าหากอาการติดเชื้อจากไวรัสไม่ดีขึ้นภายในไม่กี่วันหรือมีอาการป่วยรุนเเรงขึ้น สำหรับการวินิจฉัยเชื้อไวรัสโรต้าสามารถทำการตรวจเชื้อจากตัวอย่างอุจจาระ

การติดต่อของเชื้อไวรัสโรต้า

เชื้อไวรัสโรต้าอยู่ในอุจจาระและโดยส่วนใหญ่มักเกิดการเเพร่กระจายด้วยการสัมผัสมือเเละปาก

ถ้าหากมีคุณจับหรือถือวัตถุที่มีเชื้อไวรัสและเอามือมาจับที่ปาก คุณสามารถติดเชื้อไวรัสได้ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรล้างมือหลังจากการใช้ห้องน้ำหรือเปลี่ยนผ้าอ้อมให้กับเด็ก

ทารกเเละเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปีมีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโรต้าได้สูงที่สุด ดังนั้นการอยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กทำให้พวกเขาเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้เช่นกัน คุณอาจต้องเพิ่มความระมัดระวังเเละป้องกันตัวเองในช่วงฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ เนื่องจากในฤดูนี้เป็นช่วงที่มีโอกาสเกิดการติดเชื้อได้มากที่สุดของปี 

เชื้อไวรัสสามารถอาศัยอยู่บนพื้นผิวได้เป็นระยะเวลายาวนานหลายวัน (หรือหลายสัปดาห์) หลังจากผู้คนสัมผัสกับเชื้อไวรัส นี่เป็นเหตุผลที่สำคัญที่เราควรทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวบริเวณต่างๆในบ้านเป็นประจำ โดยเฉพาะเมื่อมีสมาชิกในบ้านติดเชื้อไวรัสโรต้า

การรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโรต้า

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาหรือวิธีรักษาที่สามารถทำให้เชื้อไวรัสโรต้าหายไปได้ มีเพียงแต่ยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อตามอาการที่เกิดขึ้นเช่น ยาต้านไวรัส ยารักษาอาการท้องเสียและยาปฏิชีวนะ 

สำหรับเป้าหมายการรักษาเชื้อไวรัสโรต้ามีจุดประสงค์เพื่อทำให้ร่างกายไม่เกิดภาวะขาดน้ำในขณะที่กำลังพยายามขับเชื้อไวรัสออกจากร่างกาย วิธีดังต่อไปนี้เป็นข้อควรปฏิบัติในช่วงที่เกิดการติดเชื้อไวรัสโรต้า

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • ทานอาหารที่มีน้ำซุปเป็นหลัก
  • ทานไอศครีม Pedialyte หรือผงเกลือแร่ชง (เป็นสิ่งที่ควรให้เด็กทานเมื่อมีอาการท้องเสีย)
  • ทานอาหารรสชาติจืดเช่นขนมปังกับเกลือ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันเนื่องจากอาหารเหล่านี้ทำให้มีอาการท้องเสียแย่ลง

ถ้าเด็กมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบเเพทย์หรือโทรหาทีมแพทย์ฉุกเฉินทันที

  • อาเจียนต่อเนื่อง
  • มีอาการท้องเสียบ่อยเป็นเวลา 24 ชั่วโมงหรือนานกว่า
  • ไม่สามารถหยุดถ่ายของเหลวได้
  • มีไข้ที่  40 องศา หรือสูงกว่า

ควรโทรหาสายด่วนสุขภาพที่เบอร์ 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน ถ้าลูกของคุณไม่มีสัญญาณชีพจรหรือมีอาการหมดเเรง 

การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจำเป็นสำหรับการติดเชื้อรุนเเรงที่ทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำรุนเเรงเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นอาการที่เกิดขึ้นในเด็ก โดยแพทย์จะให้น้ำเกลือเพื่อช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิต 

วัคซีนรักษาไวรัสโรต้า

วัคซีนสำหรับรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโรต้าออกสู่ตลาดยาในปี 2006 ซึ่งก่อนช่วงเวลาดังกล่าว การติดเชื้อไวรัสโรต้ามักเกิดขึ้นกับเด็กเป็นประจำ

ตั้งแต่มีวัคซีนสำหรับไวรัสโรต้าเกิดขึ้น เด็กที่ป่วยในโรงพยาบาลและเด็กที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโรต้ามีอัตราลดลงอย่างมาก

คุณสามารถช่วยป้องกันเชื้อไวรัสโรต้าและการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยการพาลูกของคุณไปรับฉีดวัคซีน โดยวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสมีอยู่ 2 รูปแบบได้แก่

  • วัคซีนโรต้าชนิดหยอดสองครั้ง (Rotarix) สำหรับเด็กทารกที่มีอายุ 6 ถึง 24 สัปดาห์
  • วัคซีนโรต้าชนิดหยอดสามครั้ง (RotaTeq) สำหรับเด็กทารก 6 ถึง 32 สัปดาห์

วัคซีนทั้งสองชนิดนี้สามารถให้เด็กทารกได้ด้วยการทาน หมายความว่าสามารถรับวัคซีนทางปาก โดยไม่จำเป็นต้องฉีดยา

ยังคงไม่มีวัคซีนสำหรับเด็กที่โตและผู้ใหญ่ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้รับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโรต้าในขณะวัยเด็กที่มีอายุน้อย

แม้ว่าวัคซีนเชื้อไวรัสโรต้ามีประสิทธภาพในการป้องกันเชื้อไวรัสในกรณีที่เกิดการติดเชื้ออย่างร้ายเเรงได้เกือบทั้งหมด แต่ไม่มีวัคซีนชนิดใดที่ใช้ป้องกันได้ผล 100 เปอร์เซนต์ คุณควรปรึกษากุมารเเพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ของวัคซีนแต่ละชนิด และควรหาวิธีป้องกันการติดเชื้อที่ดีที่สุดสำหรับลูกของคุณ

เด็กทารกมีภูมิคุ้มกันบกพ่องร่วมกับโรคลำไส้กลืนตัวเองหรือเด็กที่มีอาการป่วยอย่างรุนเเรงไม่ควรได้รับวัคซีน

อาการข้างเคียงที่พบได้น้อยจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า ได้แก่

  • ท้องเสีย
  • มีไข้
  • มีอารมณ์ฉุนเฉียว
  • หงุดหงิดง่าย
  • โรคลำไส้กลืนกัน (พบได้น้อยมาก)

บทสรุปและการป้องกัน

ภาวะขาดน้ำอย่างรุนเเรงเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า นอกจากนี้การติดเชื้อไวรัสโรต้ายังเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เสียชีวิต ซึ่งเด็กเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงติดเชื้อสูงสุด 

ควรไปพบกุมารแพทย์ทันที ถ้าหากลูกของคุณได้รับการติดเชื้อไวรัสโรต้าเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อไวรัสโรต้า 

การฉีดวัคซีนเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรต้า โดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุน้อย นอกจากนี้คุณยังสามารถป้องกันการเเพร่เชื้อไวรัสด้วยการล้างมือเป็นประจำก่อนรับประทานอาหาร


นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.cdc.gov/rotavirus/index.html
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/rotavirus/symptoms-causes/syc-20351300
  • https://www.healthline.com/health/rotavirus
  • https://www.nhs.uk/conditions/vaccinations/rotavirus-vaccine/

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
ไบโพล่า

ไบโพล่า (Bipolar Disorder) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.