Rosacea คืออะไร
โรคผิวหนังอักเสบโรซาเซีย (Rosacea) คือโรคผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่งที่แสดงอาการชัดเจนบนใบหน้า และสามารถพบได้ที่บริเวณลำคอและแผ่นหลังด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมหรือพันธุกรรมก็เป็นได้
สาเหตุของโรคโรซาเซีย
ทางการแพทย์ยังไม่สามารถหาสาเหตุของโรคโรซาเซียได้อย่างแน่ชัดว่าเกิดจากเหตุใด แต่อาจจะมีการผสมผสานกันระหว่างสภาพแวดล้อมและพันธุกรรม และจะมีปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการกำเริบ หรือกระตุ้นอาการได้เช่น :
- รับประทานอาหารที่มีสาร cinnamaldehyde เช่น ซินนามอน ชอคโกแล็ต ผลไม้เป็นกรด และมะเขือเทศ
- การดื่มชาหรือกาแฟร้อน ๆ
- การรับประทานอาหารที่มีรสจัด
- มีเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ชนิด Helicobacter pylori
- มีไรผิวหนังที่เรียกว่า demodex และเชื้อแบคทีเรีย Bacillus oleronius
- การดื่มแอลกอฮอล์

อาการของโรคโรซาเซียเบื้องต้น
- หน้าแดงตลอดเวลา มีรอยแดงบนใบหน้า
- ผิวระคายเคืองง่าย ใบหน้าอาจจะแสบร้อน
- มีเส้นเลือดฝอยเล็กๆ สีแดงเห็นได้ชัดบริเวณจมูกและแก้ม
- ใบหน้าหรือลำคอมีตุ่มแดงหรือตุ่มหนองคล้ายสิว
- รูขุมขนกว้าง ผิวแห้งกร้าน
โรคผิวหนังโรซาเซีย แยกออกเป็น 4 ประเภท ซึ่งมีอาการแตกต่างกันออกไปดังนี้ :
- ประเภท Phymatous rosacea มีอาการผิวหนังหนาตัวขึ้นบริเวณจมูกและผิวรอบ ๆ หากเป็นมากจะเรียกว่า Rhinophyma ซึ่งเกิดจากต่อมน้ำมันด้านนอกจมูกทำแดง มีน้ำมันมาก หรือเหลืองเงามัน
- รูขุมขนกว้าง
- เส้นเลือดฝอยแตก
- ผิวบริเวณจมูกหนาขึ้น
- ผิวขุขระ
- ผิวหนังบริเวณคาง หน้าผาก แก้ม หนา
- ประเภท Erythematotelangiectatic rosacea ใบหน้าจะมีอาการหน้าแดงตลอดเวลา และเห็นเส้นเลือดฝอยได้ชัดเจน
- ผิวแห้งแตก
- ผิวบอบบางแพ้ง่าย
- ใบหน้าแเดง เหมือนมีผื่นตลอดเวลา
- เส้นเลือดฝอยแตกแดง
- ผิวหนังแสบคัน
- ประเภท Papulopustular rosacea เป็นชนิดที่มีอาการหน้าแดงตลอดเวลา ใบหน้าอาจจะมีตุ่มแดงหรือตุ่มหนองคล้ายสิว โดยจะมีสัญญาณของโรคเบื้องต้นดังนี้
- ผิวบอบบางแพ้ง่าย
- มีตุ่มหนองหรือสิว ตุ่มแดงบนใบหน้า
- มีเส้นบนใบหน้าที่แตกและแดงชัดเจน
- ผิวหน้ามัน
- รูขุมขนอักเสบ
- ประเภท Ocular rosacea คือโรคโรซาเชียที่ตา เปลือกตาและผิวหนังรอบดวงตาจะแดง ตาบวมแห้ง น้ำตาไหลง่าย บางคนอาจจะมีอาการติดเชื้อที่ตาบ่อย ๆ ถ้าหากกรณีที่ร้ายแรงอาจจะมีแผลที่กระจกตาได้
- การมองเห็นลดลง
- เส้นเลือดฝอยที่เปลือกตาแตก
- ตาแห้ง คัน
- ดวงตามีความไวต่อแสง
- มีซีสบริเวณรอบดวงตา
การรักษาโรคโรซาเซีย
โรคโรซาเซียยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ แพทย์จะทำได้เพียงควบคุมอาการไม่ให้กำเริบเท่านั้น แต่ทั้งนี้อาการสามารถกลับมาได้ตลอดเวลาหากเจอ สิ่งเร้าจากสภาพแวดล้อมหรืออื่น ๆ ทั้งนี้การรักษาควบคุมอาการก็ขึ้นอยู่กับประเภทที่เป็นและความรุนแรงของอาการด้วย โดยแพทย์อาจจะนำการรักษาดังนี้มาใช้กับคนไข้ :
- IPL (Intense Pulsed Light Therapy) คือการฉายแสงเลเซอร์ และใช้ความยาวช่วงคลื่นแสงยิงตรงไปที่บริเวณผิวที่มีอาการ
- การใช้ยา แพทย์อาจจะสั่งจ่ายยาปฎิชีวินะชนิดรับประทานเพื่อลดการอักเสบและลดเชื้อแบคทีเรีย และยาชนิดอื่น ๆ เพื่อช่วยลดตุ่มสิว หรือตุ่มคัน หรือผื่นแดง
หากโรคมีอาการกำเริบอาจจะส่งผลที่ใบหน้า จมูกและหน้าผากเท่านั้น และเมื่อเป็นแล้วอาการตั้งแต่หนึ่งอาทิตย์ถึงหนึ่งเดือนและจะหายเองได้หากอาการไม่รุนแรงแต่อาการอาจจะกลับมาอีกครั้ง
การป้องกันโรคโรซาเซียไม่ให้เกิดขึ้น
การดูแลรักษาผิวหนังและหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้อาจจะช่วยลดหรือป้องกันไม่ให้โรคโรซาเซียเกิดขึ้นได้เพราะอาจจะทำให้ผิวระคายเคือง
- ผลิตภัณฑ์ที่ผลัดเซลล์ผิว
- ผลิตภัณฑ์จาก witch Hazel
- เมนทอล
- แอลกอฮอล์
ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนโยนต่อผิวและไม่มีส่วนผสมของน้ำมันจะช่วยให้อาการไม่กำเริบได้ และระวังอาหารที่รับประทานหมั่นจดและตรวจดูอาการตนเองทุกครั้งว่ามีอาหารชนิดใดทำให้โรคกำเริบหรือไม่ และยังมีการควบคุมอาการด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น
- ใช้เลเซอร์และการรักษาด้วยแสงเพื่อช่วยในกรณีที่รุนแรงของโรค
- หลีกเลี่ยงแสงแดด ทาครีมกันแดด
- ทำทรีทเม้นต์เพื่อลดความหนาของผิว
- งดการดื่มแอลกอฮอล์
อ่านเพิ่มเติม : ซีสต์ (Cyst): อาการ สาเหตุ การรักษา
ใครที่มีความเสี่ยงเป็นโรคโรซาเซีย
มีปัจจัยบางที่จะทำให้บางคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคโรซาเซียมาก กว่าคนอื่น ๆ เช่นชาวคอเคเชียนที่มีผิวขาว ผมบลอนด์และตาสีฟ้า มักพบความเสี่ยงมาก และคนในกลุ่มอายุ 30-50 ปี หรือได้รับสืบทอดทางพันธุกรรม
ลิงค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา
- https://www.webmd.com/beauty/intense-pulsed-light-treatment-overview#1
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/rosacea/symptoms-causes/syc-20353815
- https://www.nhs.uk/conditions/rosacea/
- https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/understanding-rosacea-basics#1
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/h-pylori/symptoms-causes/syc-20356171
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5023001/
[ABTM id=1109]