ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis) คือการสลายตัวของกล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อยึดกระดูก

การสลายตัวของกล้ามเนื้อลายจะมีการปล่อยไมโอโกลบินเข้าสู่กระแสเลือด ไมโอโกลบินคือโปรตีนที่ใช้เก็บออกซิเจนเอาไว้ในกล้ามเนื้อ หากระดับไมโอโกลบินในเลือดสูงเกินไปอาจทำให้ไตเสียหายได้

ส่วนใหญ่การรักษาภาวะกล้ามเนื้อลายสลายคือการนำของเหลวผ่านทางหลอดเลือดดำ (IV) ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจต้องฟอกไตหรือฟอกเลือดเพื่อแก้ไขปัญหาที่ไต

สาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย

ภาวะกล้ามเนื้อลายสลายมักเกิดจากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ การบาดเจ็บนี้อาจเกิดทั้งทางกายภาพ เคมี หรือพันธุกรรม ซึ่งล้วนมีผลในการทำลายกล้ามเนื้อ โดยมีสาเหตุดังต่อไปนี้:

การได้รับบาดเจ็บ ความร้อน และความรุนแรง :

  • อาการบาดเจ็บที่เกิดจากการได้รับแรงกระแทกจากบางสิ่ง

  • ภาวะร้อนสูงเกินไป

  • แผลไฟไหม้ระดับ 3

  • เส้นเลือดอุดตัน

  • ถูกฟ้าผ่า

  • แรงสั่นสะเทือนที่รุนแรง

  • อาการบาดเจ็บจนแขน หรือขาขาด ซึ่งส่งผลให้เนื้อเยื่อของผู้ป่วยเกิดภาวะขาดเลือดได้

  • สารพิษที่ขับออกมาขณะที่กล้ามเนื้อกำลังออกแรง

  • ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์

  • การออกกำลังกายที่หนักเกินไป อย่างการวิ่งมาราธอน

ความผิดปกติทางพันธุกรรมและการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย

ปัญหาทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญ สิ่งต่อไปนี้

  • น้ำมันหรือไขมัน

  • คาร์โบไฮเดรต

  • พิวรีนสารประกอบอินทรีย์ที่มีอยู่ในอาหารบางชนิด เช่น ปลาซาร์ดีน ตับ หน่อไม้ฝรั่ง

ระบบการเผาผลาญที่ผิดปกติ จะนำไปสู่อาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย ดังต่อไปนี้

ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่อาจนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย ได้แก่ :

  • ภาวะขาดคาร์นิทีน

  • โรคแมคคาร์เดิล McCardle disease

  • ภาวะขาดแลคเตทดีไฮโดรจีเนส

  • โรคกล้ามเนื้อเสื่อมพันธุกรรมดูเชน

    Rhabdomyolysis

การติดเชื้อและการอักเสบ

การติดเชื้อและการอักเสบที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย ได้แก่ :

ยาและสารพิษ

สาเหตุสำคัญของภาวะกล้ามเนื้อลายสลายคือยากลุ่ม statin เป็นยาลดคอเลสเตอรอล ซึ่งได้แก่:

  • atorvastatin (Lipitor)

  • rosuvastatin (Crestor)

  • pravastatin (Pravachol)

แม้ว่าผู้ที่รับประทานยากลุ่ม statin จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อลายสลายเพียงบางราย แต่ก็ถือว่าการรับประทานยากลุ่มนี้มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงได้

ภาวะกล้ามเนื้อลายสลายยังเกิดจาดการสัมผัสกับยาอื่น ๆ สารพิษบางชนิด และแอลกอฮอล์ในปริมาณสูง ได้แก่ :

  • cyclosporine

  • erythromycin

  • colchicine/”>colchicine/”>colchicine/”>colchicine/”>colchicine/”>colchicine

  • โคเคน

  • ยาบ้า

  • ยาอี

  • LSD

  • สารพิษอื่น ๆ

แพทย์ตรวจด้วยการดูและสัมผัสกล้ามเนื้อลายของผู้ป่วย โดยเฉพาะบริเวณที่เกิดอาการปวดเพื่อตรวจหาจุดที่เกิดโรค และอาจทำการตรวจปัสสาวะและเลือดเพื่อวินิจฉัย ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย

การทดสอบเพื่อวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย คือการตรวจสอบระดับของ:

  • ครีเอทีนไคเนส เอนไซม์ที่พบในกล้ามเนื้อลาย สมอง และหัวใจ

  • ไมโอโกลบินในเลือด และปัสสาวะ เป็นโปรตีนที่เกิดจากการสลายตัวของกล้ามเนื้อ

  • โพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุรั่วไหลจากกระดูก และกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ

  • ครีอะตินีนในเลือด และปัสสาวะเกิดจากการสลายตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งโดยปกติไตจะทำหน้าที่กำจัดออกจากร่างกาย

ระดับสารเหล่านี้ยิ่งพบมากยิ่งเป็นสัญญาณความเสียหายของกล้ามเนื้อ

อาการของภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย

อาการเริ่มต้นของภาวะกล้ามเนื้อลายสลายอาจน้อยมาก และมักมีอาการคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ ได้แก่ :

การรักษาภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย

ยิ่งรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย ก็ยิ่งลดความเสียหายที่อาจเกิดที่ไตได้มาก

การให้สารน้ำทดแทน: การให้สารน้ำเข้าสู่ร่างกายที่เพียงพอเป็นวิธีการรักษาอันดับต้น ๆ ที่สำคัญมาก โดยให้ของเหลวทางหลอดเลือด ของเหลวนี้มีส้วนประกอบของไบคาร์บอเนตซึ่งช่วยล้างไมโอโกลบินออกจากไต

การรักษาด้วยยา: แพทย์อาจสั่งจ่ายยาเช่นไบคาร์บอเนต และยาขับปัสสาวะบางชนิดเพื่อช่วยให้ไตทำงานได้ปกติ และใช้ยาเพื่อรักษาระดับโพแทสเซียมในเลือด และระดับแคลเซียมในเลือดให้เหมาะสม

การฟอกไต: หากไตถูกทำลาย กรือเกิดอาการไตวายเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการฟอกไต การฟอกไตคือการนำเลือดออกจากร่างกาย และทำความสะอาดด้วยเครื่องมือเฉพาะเพื่อกำจัดของเสีย

การรักษาตัวที่บ้าน: ในกรณีภาวะกล้ามเนื้อลายสลายอาการไม่รุนแรง การรักษาตัวที่บ้านก็สามารถยรรเทาอาการได้ โดยการพักผ่อนร่างกายให้กล้ามเนื้อฟื้นตัว และเติมน้ำให้ร่างกายเพื่อช่วยป้องกันความเสียหายของไต

หากรู้สึกเหนื่อยล้าให้เอนกายในท่าที่สบาย และพยายามผ่อนคลายร่างกาย ดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ และอาหารเหลวอย่างน้ำซุปใส ๆ และเครื่องดื่มของนักกีฬา

อาการแทรกซ้อนของภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย

การสลายตัวของกล้ามเนื้อเป็นภาวะทางการแพทย์ที่มีลักษณะเฉพาะคือการสลายเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ ซึ่งนำไปสู่การปล่อยเนื้อหาของเซลล์กล้ามเนื้อออกสู่กระแสเลือด ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ต่อไปนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับภาวะกล้ามเนื้อสลาย:
  • การบาดเจ็บที่ไตเฉียบพลัน (AKI): หนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่สุดของการสลายตัวของภาวะกล้ามเนื้อสลาย คือการบาดเจ็บที่ไตแบบเฉียบพลัน โปรตีนจากกล้ามเนื้อที่ปล่อยออกมา โดยเฉพาะไมโอโกลบิน อาจทำให้ท่อไตอุดตัน ส่งผลให้ไตเสียหายได้ ซึ่งอาจส่งผลให้การทำงานของไตลดลงและอาจต้องฟอกไตหรือการรักษาแบบเข้มข้นอื่นๆ
  • ความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์: การสลายตัวของเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อสามารถนำไปสู่การปล่อยโพแทสเซียมและฟอสเฟตเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งอาจรบกวนสมดุลอิเล็กโทรไลต์ของร่างกาย ระดับโพแทสเซียมที่เพิ่มขึ้นสามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และในกรณีที่รุนแรงอาจเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นได้
  • ความไม่สมดุลของของเหลว: การสลายตัวของแรบโดไมโอไลซิสอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและความไม่สมดุลของของเหลวเนื่องจากการสูญเสียของเหลวผ่านเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อที่เสียหาย ซึ่งอาจนำไปสู่ความดันโลหิตต่ำและภาวะช็อกได้หากไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม
  • Disseminated Intravascular Coagulation (DIC): ในบางกรณีภาวะกล้ามเนื้อสลายสามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะที่เรียกว่า disseminated intravascular coagulation ซึ่งกลไกการแข็งตัวของเลือดจะแข็งตัวมากเกินไป และอาจทำให้มีเลือดออกมากเกินไปหรือเกิดลิ่มเลือดได้
  • Compartment Syndrome: ภาวะกล้ามเนื้อสลาย อาจทำให้เกิดอาการบวมภายในช่องของกล้ามเนื้อซึ่งนำไปสู่แรงกดดันที่เพิ่มขึ้น ความกดดันนี้สามารถขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไปยังกล้ามเนื้อและเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ อาจทำให้เนื้อเยื่อเสียหายและได้รับบาดเจ็บที่เส้นประสาท
  • ภาวะแทรกซ้อนของหัวใจ: ในกรณีที่รุนแรง การสลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนของหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย หรือหัวใจหยุดเต้น โดยมีสาเหตุหลักมาจากความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์และการปล่อยไมโอโกลบินเข้าสู่กระแสเลือด
  • ภาวะกรดในเมตาบอลิซึม: การปล่อยกรดแลคติคออกจากเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อที่เสียหายอาจทำให้เกิดภาวะกรดในเมตาบอลิซึม ซึ่งเป็นความไม่สมดุลของระดับ pH ของร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลต่อระบบอวัยวะต่างๆ และก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือไม่ใช่ทุกคนที่มีภาวะกล้ามเนื้อสลาย จะประสบกับภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ทั้งหมด และความรุนแรงของอาการอาจแตกต่างกันไป การวินิจฉัยอย่างทันท่วงทีและการรักษาที่เหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญในการลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับภาวะกล้ามเนื้อสลาย โดยทั่วไปการรักษาเกี่ยวข้องกับการให้ของเหลวในหลอดเลือดดำเพื่อชะล้างไมโอโกลบินและสารพิษอื่นๆ ออกจากกระแสเลือด การจัดการกับความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ และการจัดการสาเหตุที่ซ่อนอยู่ เช่น การบาดเจ็บ ความเป็นพิษของยา หรือโรคของกล้ามเนื้อ ในกรณีที่รุนแรง อาจจำเป็นต้องฟอกไตเพื่อช่วยในการทำงานของไต การแทรกแซงทางการแพทย์และการติดตามตั้งแต่เนิ่นๆ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผลลัพธ์ที่ดีในกรณีของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อสลาย

สรุปภาพรวมภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย

ในระยะยาวของภาวะกล้ามเนื้อลายสลายมักก่อให้เกิดความเสียหายกับไต การรีบรักษาภาวะกล้ามเนื้อลายสลายที่จะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ และร่างกายจะฟื้นฟูสู่ภาวะปกติได้ในเวลาไม่กี่สัปดาห์ แต่อาจยังมีอาการอ่อนแรงและปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออยู่บ้าง

หากไตได้รับความเสียหายมาก อาจกลายเป็นอาการถาวร

อาการและภาวะแทรกซ้อนของภาวะกล้ามเนื้อลายสลายนั้นร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

ภาวะกล้ามเนื้อลายสลายสามารถป้องกันได้ด้วยการดื่มน้ำมาก ๆ ก่อนและหลังการออกกำลังกาย ช่วยเจือจางปัสสาวะ และช่วยให้ไตสามารถกำจัดไมโอโกลบินที่กล้ามเนื้อปล่อยออกมาระหว่างออกกำลังกายได้ดี ยิ่งเมื่อได้รับบาดเจ็บการรักษาระดับน้ำก็ยิ่งมีความสำคัญ ดื่มน้ำเมื่อรู้สึกกระหาย อย่าแล่อยให้คอแห้งนานเกินไป


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/a-to-z-guides/rhabdomyolysis-symptoms-causes-treatments

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4365849/

  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/21184-rhabdomyolysis

  • https://medlineplus.gov/ency/article/000473.htm


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด