• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home จิตวิทยา

โรคอารมณ์แปรปรวน (Rapid Mood Swing) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in จิตวิทยา, หาโรค
0
โรคอารมณ์แปรปรวน
0
SHARES
71
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • โรคอะไรบ้างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะอารมณ์แปรปรวน
  • ภาวะอารมณ์แปรปรวนมีวิธีรักษาอย่างไร
  • บทสรุป
4.6 / 5 ( 13 votes )

โรคอารมณ์แปลปรวน (Mood Swing) คืออาการเปลี่ยนแปลงทางอารณ์ ในวันธรรมดาที่คุณอาจรู้สึกเศร้าหรือรู้สึกมีความสุขมากเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาตราบใดที่การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ไม่รบกวนการใช้ชีวิตของคุณมากเกินไป ดังนั้นอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องปกติ

ในทางกลับกันถ้าคุณมีอาการทางจิตหรือเป็นโรค จะมีภาวะอารมณ์แปรปรวนที่เปลี่ยนแปลงจากมีความสุขมากไปเป็นภาวะซึมเศร้ามาก ถ้าหากคุณมีอารมณ์แปรปรวนรุนเเรง คุณจำเป็นต้องบอกให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับภาวะอารมณ์แปรปรวนของคุณ โดยแพทย์จะสามารถพูดคุยและหาเหตุผลว่าทำไมคุณจึงมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  

หนึ่งในสาเหตุของภาวะอารมณ์แปรปรวนมีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต ฮอร์โมน การใช้ยาบางประเภทหรือปัญหาทางสุขภาพ

Rapid Mood Swing

โรคอะไรบ้างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะอารมณ์แปรปรวน

ในหลายกรณีที่เกิดภาวะอารมณ์แปรปรวนอาจเป็นอาการที่เกิดจากปัญหาสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหรือสารภายในร่างกาย 

อาการทางสุขภาพจิต

สุขภาพทางจิตหลายประการสามารถทำให้เกิดภาวะอารมณ์แปรปรวนอย่างรุนเเรง ซึ่งมักหมายถึงความผิดปกติทางด้านอารมณ์หรือโรคจิตทางอารมณ์ ได้แก่

  • โรคไบโพลาร์ ถ้าคุณเป้นไบโพลาร์หรือโรคอารมณ์สองขั้ว ช่วงอารมณ์ของคุณจะมีตั้งแต่มีความสุขมากไปจนถึงเศร้ามาก แต่การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ที่เกิดจากโรคไบโพลาร์โดยปกติมักเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ครั้งต่อปี แม้ว่าจะมีอาการของโรคอารมณ์สองขั้วชนิดกลับไปกลับมา
  • โรคไบโพลาร์แบบอ่อน หรือโรค cyclothymia คือความผิดปกติทางอารมณ์ระดับปานกลางคล้ายกับโรคไบโพลาร์ชนิดที่ 2 ที่ทำให้มีอาการอารมณ์แปรปรวนแต่รุนเเรงน้อยกว่าโรคอารมณ์สองขั้ว
  • โรคซึมเศร้าเป็นอาการที่ทำให้คุณเกิดอารมณ์เศร้าเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังเรียกว่าโรค Clinical depression หมายถึง ภาวะซึมเศร้าที่มีมากกว่าอารมณ์เศร้า
  • โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมียปัจจุบันเรียกว่าโรคซึมเศร้าชนิดเรื้อรัง
  • ในภาวะความผิดปกติทางบุคลิกภาพบางประเภท คุณอาจมีภาวะอารมณ์แปรปรวนในช่วงเวลาสั้นๆ
  • โรคความผิดปกติในการควบคุมอารมณ์ (DMDD) โดยปกติมักวินิจฉัยพบเจอในเด็ก เป็นอาการที่คุณพบว่าลูกของคุณมีภาวะควบคุมอารมณ์ไม่ได้และมีอาการหงุดหงิดง่ายซึ่งไม่ใช่พัฒนาการด้านอารมณ์ที่เหมาะสม 

ทั้งนี้คุณอาจมีภาวะอารมณ์แปรปรวนอย่างรุนเเรงได้ ถ้าหากคุณมีอาการทางจิตชนิดอื่นๆเช่นโรคจิตเภทและโรคสมาธิสั้น

ข้อมูลจากงานวิจัยปี 2011 ระบุว่าเด็กที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมักมีสาเหตุเกิดจากโรคไบโพลาร์ แต่ในความเป็นจริงๆเเล้วอาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน กุมารแพทย์สามารถประเมินและวินิจฉัยสาเหตุของการเกิดอารมณ์แปรปรวนเพื่อช่วยวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป 

อาการทางจิตทุกประเภทสามารถจัดการได้ด้วยวิธีการรักษาที่ผสมผสานกันและการเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิตรวมถึงการบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิต

ฮอร์โมน

ฮอร์โมนสามารถทำให้เกิดภาวะอารมณ์แปรปรวนได้ เนื่องจากฮอร์โมนส่งผลต่อการทำงานของสมอง สำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์รวมถึงผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมีประสบการณ์อารมณ์แปรปรวนเนื่องจากการเจริญเติบโตของร่างกาย

นอกจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ภาวะอารมณ์แปรปรวนยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่น ถ้าหากคุณมีภาวะอารมณ์แปรปรวนอย่างรุนเเรง วิธีที่ดีที่สุดคือควรไปพบเเพทย์เพื่อวางแผนทำการรักษาให้เหมาะสมกับคุณ 

การใช้ยา

คุณอาจมีอารมณ์แปรปรวนในขณะที่ทานยาหรือดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาหรือดื่มแอลกอฮอลมากเกินไปทำให้เกิดอาการเสพติดได้ มีวิธีการรักษาหลายโปรแกรมที่ช่วยบำบัดการใช้ยาผิดปกติ 

การใช้ยาผิดปกติอาจทำให้ผู้ที่ติดยาและคนที่รักเผชิญกับความยากลำบากในการใช้ชีวิต คุณจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น แพทย์สามารถให้ความช่วยเหลือและวางแผนการรักษาให้กับคุณได้ ดังนั้นถ้าคุณไม่มั่นใจว่าคุณมีความผิดปกติเกี่ยวกับอาการเสพติดยาหรือไม่ คุณควรไปปรึกษาแพทย์ 

ปัญหาสุขภาพอื่นๆ

ปัญหาสุขภาพอื่นๆ สามารถทำให้เกิดภาวะอารมณ์แปรปรวนได้เช่นกัน ได้แก่ปัญหาที่ปอด ระบบหมุนเวียนเลือดและต่อมไทรอยด์ นอกจากนี้โรคที่เกิดขึ้นกับระบบประสาทส่วนกลางยังทำให้เกิดภาวะอารมณ์แปรปรวนได้เช่นกัน 

ปัจจัยกระตุ้นทั่วไป

ถ้าหากภาวะอารมณ์แปรปรวนของคุณไม่ได้เกิดจากโรคหรือปัจจัยทางด้านสุขภาพอื่นๆ อาจมีปัจจัยบางอย่างกระตุ้นทำให้เกิดภาวะอารมณ์แปรปรวนได้ ซึ่งได้แก่ 

  • ภาวะเครียด
  • การใช้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไป
  • การทานอาหาร
  • พฤติกรรมการนอน
  • การใช้ยา

ถ้าคุณมีอารมณ์แปรปรวนบ่อยและรุนเเรง ควรไปพบเเพทย์เพื่อรับคำปรึกษาที่เป็นประโยชน์เพื่อระบุสาเหตุของและสิ่งที่คุณควรทำก่อนหน้าที่จะเกิดภาวะอารมณ์แปรปรวน  แพทย์จะให้ความช่วยเหลือคุณและประเมินอาการของคุณเพื่อหาสาเหตุและวิธีการรักษาว่าควรเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิตหรือมีปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ 

ภาวะอารมณ์แปรปรวนมีวิธีรักษาอย่างไร

ถ้าคุณเคยมีอารมณ์แปรปรวนรุนเเรงหรือควบคุมอารมณ์ไม่ได้ซึ่งทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์ คุณควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ พวกเขาจะสามารถช่วยระบุสาเหตุและวิธีการรักษาโรคอารมณ์แปรปรวนให้คุณได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นคุณจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือทานยาเพื่อบรรเทาอารมณ์รุนแรงโมโหง่าย นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิตสามารถช่วยในการจัดการกับอารมณ์ได้เช่นกัน

ถ้าหากภาวะอารมณ์แปรปรวนไม่ได้ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของคุณในแง่ลบ คุณสามารถทำงานได้เป็นปกติในขณะที่อารมณ์ไม่ดีโดยไม่จำเป็นต้องทานยาควบคุมอารมณ์ คุณอาจจำเป็นต้องรักษาภาวะอารมณ์ของคุณให้เป็นปกติด้วยวิธีดังต่อไปนี้ 

  • กำหนดตารางเวลา พยายามสร้างกิจวัตรประจำวันให้กับตนเอง โดยเฉพาะเวลาทานอาหารหรือนอนหลับ 
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายมีประโยชน์หลายอย่าง ทำให้สุขภาพของคุณดีขึ้นทุกด้านรวมถึงทำให้อารมณ์ดีขึ้นอีกด้วย 
  • นอนหลับให้เพียงพอ การนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญและการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอส่งผลกระทบต่อภาวะอารมณ์ของคุณได้ 
  • ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การทานอาหารอย่างสมดุลสามารถทำให้อารมณ์ดีขึ้นเเละรักษาสุขภาพให้แข็งเเรง 
  • การฝึกสมาธิและการพักผ่อน เช่น การฝึกโยคะหรือการนั่งสมาธิ
  • หลีกเลี่ยงภาวะเครียด พูดง่ายกว่าการปฏิบัติใช่หรือไม่ ถ้าหากคุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเครียดได้ คุณควรจัดการและหาวิธีบรรเทาเมื่อเกิดความเครียด
  • พยายามค้นหาวิธีแสดงออกความเป็นตัวตนของคุณด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ 
  • พูดคุยกับผู้อื่นๆ ควรใครสักคนพูดคุยด้วยเช่นเพื่อน คนในครอบครัวหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษา 

นอกจากนี้การจดบันทึกอาการที่เกิดขึ้นเมื่อคุณมีภาวะอารมณ์แปรปรวนยังสามารถช่วยทำให้สามารถระบุสาเหตุของเมื่อไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ควรค้นหาวิธีและพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของคุณ การพูดคุยเกี่ยวกับลักษณะอาการที่เกิดขึ้นกับแพทย์ยังสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคอารมณ์รุนเเรงได้เช่นกัน

บทสรุป

ควรทราบว่าภาวะอารมณ์แปรปรวนสามารถทำให้เกิดอันตรายได้หลายอย่าง ในช่วงตลอดชีวิตของเรามีอารมณ์หลายอย่างเกิดขึ้น คุณอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตเพื่อทำให้คุณกลับไปมีภาวะอารมณ์ที่ปกติ ถ้าหากคุณเคยมีภาวะอารมณ์แปรปรวนเกิดขึ้นบางครั้ง

คุณควรตระหนักว่าภาวะอารมณ์แปรปรวนสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมอันไม่พึ่งประสงค์ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณและคนรอบข้างได้อย่างร้ายเเรง ดังนั้นควรติดต่อแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา ถ้าหากคุณมีภาวะอารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากอาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจากปัญหาสุขภาพได้


นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.medicinenet.com/mood_swings/symptoms.htm
  • https://www.webmd.com/bipolar-disorder/are-my-mood-swings-normal
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1876649/

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
โรคคอตีบ

โรคคอตีบ (Diphtheria) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.