• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

หนังตาตก (Ptosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in หาโรค
0
หนังตาตก
0
SHARES
119
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • อาการของโรคหนังตาตก
  • เราจะรักษาอาการหนังตาตกได้อย่างไร?
4.8 / 5 ( 18 votes )

โรคหนังตาตก (Ptosis) คืออาการที่เปลือกตาหย่อนหรือหนังตาตก อาจเกิดจากการบาดเจ็บ อายุที่มากขึ้น หรือความผิดปกติทางการแพทย์ต่างๆ

ภาวะนี้เรียกว่า unilateral ptosis เมื่อมีอาการหนังตาตกข้างเดียว และ bilateral ptosis เมื่อมีอาการกับตาทั้งสองข้าง

อาการนี้อาจจะเป็นๆหายๆหรือเป็นได้อย่างถาวร และเป็นได้ตั้งแต่แรกเกิด เรียกว่า ภาวะหนังตาตกโดยกำเนิด หรือเกิดขึ้นในภายหลังก็ได้

อาการหนังตาตก จะปิดกั้นการมองเห็นได้มากหรือน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ว่าเปลือกตาจะขวางรูม่านตามากหรือน้อย

ในกรณีส่วนใหญ่ อาการสามารถหายได้เอง แต่ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์

อาการของโรคหนังตาตก

อาการหนังตาตกเกิดจากการที่เปลือกตาหนึ่งหรือสองข้างหย่อนลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการมองเห็น อย่างไรก็ตามในบางครั้งก็แทบจะไม่สามารถสังเกตุเห็นได้หรือไม่ได้มีอาการตลอดเวลา

คุณอาจมีอาการตาแห้งหรือมีน้ำไหลในตามาก ใบหน้าจะดูอิดโรยและเหนื่อยล้า หนังตาหย่อน

บริเวณหลักที่จะได้รับผลกระทบคือ รอบดวงตา ในบางครั้งอาจมีอาการปวดและทำให้คุณดูเหนื่อยล้าได้

บางคนอาจมีอาการหนังตาตกอย่างรุนแรง จึงต้องเอียงศรีษะไปด้านหลังเพื่อที่จะสามารถมองเห็นได้ขณะพูด

แพทย์ควรที่จะตรวจดูอาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆ ถ้าหารคุณมีอาการปวดหัวไมเกรน หรืออาการอื่นๆ จำเป็นที่จะต้องบอกแพทย์ทันที

เราจะรักษาอาการหนังตาตกได้อย่างไร?

วิธีแก้หนังตาตกและการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ

หากอาการเกิดจากอายุหรือเป็นโดยกำเนิด แพทย์มักจะไม่แนะนำให้ทำอะไรเพราะจะไม่ส่งผลอันตรายใดๆต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามคุณสามารถทำศัลยกรรมเพื่อลดอาการได้

หากแพทย์พบว่าอาการเกิดจากสเหตุอื่น แพทย์จะทำการรักษาพื้นฐานเพื่อไม่ให้หนังตาหย่อนไปมากกว่าเดิม

หากหนังตาของคุณส่งผลกระทบต่อการมองเห็น แพทย์มักจะแนะนำให้คุณทำการผ่าตัด

แว่นตาที่ทำหน้าที่ในการดึงหนังตาขึ้น เรียกว่า ptosis crutch เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษา และมักจะได้ผลดีที่สุด หากเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงแค่ชั่วคราว แว่นตานี้ยังเป็นที่แนะนำอย่างมาก ถ้าหากว่าคุณไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัด

การผ่าตัด

แพทย์อาจแนะนำให้คุณทำการผ่าตัดเพื่อดึงหนังตาขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ การผ่าตัดจะทำให้กล้ามเนื้อตึงขึ้น สำหรับเด็กที่มีอาการหนังตาตก แพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดถ้าหากเริ่มมีอาการตาขี้เกียจ

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดอาจส่งผลกระทบอื่นๆ เช่น ตาแห้ง กระจกตาถลอก หรือเป็นห้อเลือด ห้อเลือดคือการสะสมของเลือด และในบางครั้งแพทย์อาจจะทำการปรับเปลือกตาไว้ในตำแหน่งที่สูงหรือต่ำเกินไป

อีกทางเลือกหนึ่งคือ การใช้สลิงกับกล้ามเนื้อเพื่อยกเปลือกตาขึ้น

Ptosis crutch

เป็นอาการที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด เป็นการติดอุปกรณ์เข้ากัแว่นตา คล้ายๆกับไม้ค้ำเพื่อป้องกันไม่ให้หนังตาตก

ไม้ค้ำจะมีอยู่สองประเภท คือไม้ค้ำแบบปรับได้และไม้ค้ำแบบเสริมแรง ไม้ค้ำแบบปรับได้จะติดอยู่ที่ด้านใดด้านหนึ่งของกรอบแม่ง ในขณะที่ไม้ค้ำแบบเสริมแรงจะติดอยู่ที่ทั้งสองข้างของกรอบแว่น

ไม้ค้ำสามารถติดตั้งได้กับแว่นทุกชนิด แต่จะดีที่สุดเมื่อใช้กับกรอบที่มีลักษณะเป็นโลหะ ก่อนติดตั้งควรได้รับคำแนะนำจากจักษุแพทย์อย่างใกล้ชิด


นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.aao.org/eye-health/diseases/what-is-ptosis
  • https://www.webmd.com/eye-health/ptosis
  • https://www.moorfields.nhs.uk/condition/ptosis
  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/323386

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post

ผดร้อน (Prickly Heat) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.