โรคจิต (Psychosis) : อาการ สาเหตุ ประเภท การรักษา

อาการโรคจิตหรือ (Psychosis) คือ ลักษณะอาการทางจิตที่ขัดแย้งด้านความสัมพันธ์กับความเป็นจริง เป็นอาการของความผิดปกติทางจิต คนที่เป็นโรคจิตอาจจะมีอาการทั้งอาการประสาทและอาการหลงผิดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอาการก็ได้ อาการประสาทหลอนนั้นเป็นอาการผิดปกติของระบบการรับรู้ความรู้สึกที่ขาดการกระตุ้น ตัวอย่างเช่นคนที่ประสาทหลอนทางการได้ยินอาจจะบอกว่าได้ยินเสียงของแม่ ทั้งๆที่แม่ไม่อยู่ที่นั้น หรือคนที่ประสาทหลอนทางการมองเห็นนั้นก็มักจะเห็นภาพที่อยู่ตรงหน้า แต่ความจริงนั้นไม่มีอะไรเลย ผู้ป่วยทางจิตนั้นบางทีอาจจะความผิดปกติทางด้านความคิดที่เข้าใจผิดจากจากความเป็นจริง อาการนี้ที่รู้จักกันดีใน อาการหลงผิด ผู้ป่วยทางจิตบางคนอาจจะขาดการเคลื่อนไหวและขาดการติดต่อกับสังคม อาการเหล่านี้สามารถกลายเป็นความหวาดกลัวได้ ผู้ป่วยทางจิตอาจจะคิดว่าเพราะคนที่ทำให้เขาและคนอื่นทำร้ายพวกเขาและคนอื่น มันเป็นที่สำคัญมากที่พวกเขาควรจะไปหาจิตแพทย์ถ้าผู้ป่วยทางจิตบางคนที่คุณรู้จักกำลังกลายเป็นอาการทางจิต อาการโรคจิตหรือ (Psychosis)

อาการทางจิตมีอะไรบ้าง

ผู้ป่วยโรคจิตและพฤติกรรมที่สามารถสังเกตุได้สำหรับผู้ป่วยทางจิตมีดังนี้
  • ควบคุมอารมณ์ได้ไม่ดี
  • อารมณ์ขึ้นๆลงๆ
  • นอนหลับนานเกินไปหรือนอนไม่เพียงพอ
  • ความวิตกกังวล(anxiety)
  • ดูมีพิรุธ ขี้ระแวง
  • ขาดแรงจูงใจจากครอบครัว และเพื่อน
  • อาการหลงผิด
  • อาการประสาทหลอน
  • พูดจาวกวน เช่น พูดไปอีกอย่างหนึ่ง
  • อาการซึมเศร้า
  • มีความคิดหรือการกระทำที่คิดจะฆ่าตัวตาย

อาการหลงผิดและอาการประสาทหลอนคืออะไร

อาการหลงผิดและอาการประสาทหลอนนั้นเป็น 2 อาการที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนที่สามารถเกิดได้ทั้ง 2 อาการของผู้ป่วยทางจิต 

อาการหลงผิด

อาการหลงผิดเป็นอาการที่หลงเชื่อในทางที่ผิด ซึ่งเชื่อว่ามันคือความจริงทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วนั้นมันตรงกันข้าม อาการหลงผิดมีทั้งมี อาการหลงผิดคิดว่ามีคนมาล่วงรู้ความลับ หรือคิดว่าตัวเองมีความสามารถเกินตัว ผู้ป่วยทางจิตแบบหลงผิดแบบคิดว่ามีคนมาล่วงรู้ความลับ อาจจะมีคนมาล่วงรู้ความลับส่วนตัวที่ไม่สามารถให้ใครรู้ได้ ส่วนอาการหลงผิดแบบคิดว่ามีความสามารถเกินตัว มักจะคิดว่าตัวเองมีความสามารถที่เกินตัว หรือมีความสำคัญกับบุคลดัง ส่วนอาการหลงผิดแบบคิดว่ามีความผิดปกติกับร่างกาย จะคิดว่าตัวเองมีอะไรบางอย่างผิดปกติ ทั้งที่มีร่างกายที่แข็งแรงปกติ

อาการประสาทหลอน

อาการประสาทหลอนเป็นความผิดปกติของการรับรู้ นั่นคือ รูป รส กลิ่น เสียงที่ไม่ปกติ ผู้ป่วยทางจิตประเภทนี้อาจจะได้ยินเสียงหรือเห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่รู้สึก

สาเหตุของโรคจิต

ผู้ป่วยทางจิตแต่ละกรณีนั้นมีความรู้สึกที่แตกต่างและเหตุผลที่ไม่ถูกต้อง นั่นคืออาการป่วยโดยมีผลวิกฤตมาจากการใช้ยา นอนไม่เพียงพอ หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ ในความเป็นจริสถานการณ์ที่แน่นอน อาจจะมีกลุ่มเฉพาะที่กำลังกลายเป็นโรคจิตเภท

อาการป่วยทางจิต

อาการป่วยที่มาจากโรคจิตจะมี อาการบางชนิดในกลุ่มสมองเสื่อม อาจจะเป็นผลให้เป็นโรคทางจิตเวช

ความเสี่ยงที่จะทำให้กลายเป็นโรคจิตเวช

คนที่มีโอกาสเป็นโรคจิตเวชอาจจะมีถ้าคนครอบครัวนั้นเป็นอยู่ เช่นพ่อแม่หรือพี่น้องที่เป็นโรคจิตเวช เด็กที่เติบโตด้วยพันธุกรรมที่แปรเปลี่ยนอย่างเช่นโรคดาวน์ซินโดรม อาจมีความเสี่ยงที่เป็นโรคทางจิตเวชเหมือนกัน โดยเฉพาะโรคทางจิตเภท

ประเภทของโรคทางจิตเวชมีอะไรบ้าง

กลุ่มโรคทางจิตเวชบางโรคมีโดยเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น มีดังต่อไปนี้

อาการซึมเศร้า

อาการซึมเศร้าขั้นแรกกับอาการป่วยทางจิต หากเป็นโรคซึมเศร้านาน ๆ อาจจะพัฒนากลายเป็นโรคทางจิตได้

โรคจิตเวชที่เกิดจากสารเสพติดหรือแอลกอฮอล์

อาการทางจิตอาจจะมีส่วนมาจากสารเสพติดหรือแอลกอฮอล์ เช่น เมทแอมเฟตามีน หรือ โคเคน สารเสพติดที่ทำให้ประสาทหลอน อย่างแอลเอสดี มักจะทำให้ภาพหลอน แต่อาการนี้มักเกิดชั่วคราวเท่านั้น ยาทางการแพทย์ เช่น สเตียรอยด์และสารกระตุ้น สามารถเป็นอาการของจิตเวชได้ ผู้ป่วยจิตเวชประเภทนี้มักจะมีอาการถ้าหยุดสิ่งของเหล่านั้น

โรคจิตระยะสั้น

โรคจิตระยะสั้นบางครั้งเรียกว่าโรคจิตชนิดเฉียบพลัน เกิดจากการสูญเสียคนในครอบครัว บางครั้งอาการนี้อาจจเป็นวันหรือเป็นเดือน แล้วแต่ความเครียดที่มีอยู่

โรคจิตเวชทางสมอง

อาการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือผลกระทบที่เข้าไปถึงสมองสามารถเป็นสาเหตุของโรคจิตเวชได้

โรคอารมณ์สองขั้ว

เมื่อผู้ป่วยทางจิตเวชมีอาการอารมณ์สองขั้ว อารมณ์ก็จะขึ้นและลง เมื่ออารมณ์ขึ้นนั้น อาจจะมีอาการทางจิตร่วม ผู้ป่วยทางจิตอาจจะดีอย่างน่าใจหายและเชื่อว่าตัวเองมีพลัง เมื่ออารมณ์ลงมาแล้วผู้ป่วยทางจิตอาจจะมีอาการทางจิตที่ทำให้เศร้า โกรธ หรือกลัว อาการนี้ ผู้ป่วยทางจิตจะคิดว่ามีคนมาทำร้ายเขา

อาการหลงผิด

ผู้ป่วยทางจิตที่เป็นโรคนี้ จะเชื่อในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง

โรคทางจิตเวชทางความคิดและการรับรู้

โรคทางจิตเวชประเภทนี้ สามารถเกิดได้จากความเครียด สุรายาเสพติด บาดเจ็บ หรือ การป่วย อาการนี้จะปรากฏในตัวของมันเอง อาการป่วยทางจิตดังกล่าว อาจมีอาการทางจิตเวชร่วมด้วย

การรักษาอาการทางจิต

การรักษาอาการทางจิตนั้นอาจจะผสมผสานระหว่างการใช้ยาและการบำบัด ผู้ป่วยทางจิตส่วนใหญ่ดีขึ้นจากการบำบัดทางจิตใจ

การกล่อมประสาทอย่างรวดเร็ว

ผู้ป่วยทางจิตบางคน เจอกับอาการทางจิตสามารถกลายเป็นความรุนแรงถึงขั้นจะทำร้ายตัวเองและคนอื่นได้ กรณีนี้ อาจต้องผู้ป่วยใจเย็นลงอย่างรวดเร็ว เรียกการรักษานี้ว่า การกล่อมประสาทแบบรวดเร็ว แพทย์ฉุกเฉินจะเข้าให้ความช่วยเหลือและให้พักและรักษาอย่างรวดเร็วโดยการฉีดยาหรือให้กินยาอย่างรวดเร็วแก่ผู้ป่วยทางจิต

การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา

การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญาสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางจิต หมายถึง การพบปะขั้นพื้นฐานเพื่อพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญสุขภาพทางจิต เพื่อจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยทางจิต การเข้าถึงนี้แสดงถึงผลลัพธ์ในการช่วยผู้ป่วยจิตเวชเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมได้อย่างถาวรและดีกว่าการจัดการอาการป่วยทางจิต มันสามารถช่วยให้อาการทางจิตที่ไม่สามารถใช้ยาได้นั้นมีอาการที่ดีขึ้น

การให้ยา

อาการทางจิตสามารถควบคุมได้โดยการใช้ยา เรียกว่ายาประสาท มันสามารถรักษาอาการหลงผิดและอาการประสาทหลอน หรืออาการโรคประสาทอ่อน ๆ ได้และสามารถช่วยผู้ป่วยให้คิดได้เห็นความจริงที่เผชิญอยู่ ยากดประสาทชนิดนี้แนะนำให้ใช้เหมาะกับอาการที่เป็นอยู่ ผู้ป่วยทางจิตหลายคนนั้นต้องการแค่ยากดประสาทในระยะเวลาอันสั้นเพื่อควบคุมอาการที่เป็นอยู่ ผู้ป่วยทางจิตเภทอาจต้องการยาเพื่อมีชีวิตอยู่ยืนยาว

ภาวะแทรกซ้อนและแนวโน้มในอาการโรคจิต

อาการทางจิตประสาทไม่มีภาวะแทรกซ้อนอะไรมากนัก อย่างไรก็ตาม ถ้าปล่อยปะละเลยไม่สามารถรักษาได้ ก็สามารถเป็นอาการโรคจิตได้ ซึ่งเป็นการท้าทายสำหรับอาการทางจิตด้วยการดูแลเอาใจใส่ นั่นก็อาจจะเป็นสาเหตุอาการทางจิตที่ไม่สามารถรักษาได้ ผู้ป่วยทางจิตส่วนใหญ่จะทำการบำบัดรักษาที่เหมาะสม ถึงแม้ว่าหลายกรณีที่ยาและการบำบัดทางจิตนั้นรักษาได้

จะวินิจฉัยอาการทางจิตอย่างไร

อาการทางจิตวินิจฉัยได้โดยการประเมินผลปัญหาทางจิต หมายความว่าจิตแพทย์จะดูพฤติกรรมของผู้ป่วยและถามสิ่งที่ผู้ป่วยกำลังประสบอยู่ ว่าเป็นคนโรคจิตหรือวิกลจริตหรือไม่ ผลการตรวจจากจิตแพทย์และเอ็กซเรย์ อาจตัดสินและหาสาเหตุการป่วยทางจิตของผู้ป่วยได้

ทำอย่างไรเมื่อมีอาการทางจิต

การใช้ชีวิตร่วมกับผู้ป่วยโรคจิตอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่ด้วยการสนับสนุนและกลยุทธ์ที่เหมาะสม คุณจะสามารถจัดการกับอาการและมีชีวิตที่สมบูรณ์ได้ คุณจำเป็นต้องขอคำแนะนำจากผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ที่กล่าวว่านี่คือคำแนะนำทั่วไปบางประการที่อาจช่วยบุคคลที่เป็นโรคจิตได้:
  • ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ: หากคุณสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคจิตหรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตทันที เพื่อที่แพทย์จะสามารถให้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง เสนอทางเลือกในการรักษา และสร้างแผนการดูแลเฉพาะบุคคลเพื่อจัดการกับอาการของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ปฏิบัติตามแผนการรักษาของคุณ: การปฏิบัติตามแผนการรักษาที่กำหนดไว้ ซึ่งอาจรวมถึงการใช้ยา การบำบัด หรือทั้งสองอย่างร่วมกันเป็นสิ่งสำคัญ โรคจิตสามารถจัดการได้ด้วยการแทรกแซงที่เหมาะสม และความสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผลลัพธ์ในเชิงบวก
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับอาการของคุณ: การทำความเข้าใจว่าโรคจิตคืออะไรและส่งผลต่อคุณอย่างไร ความรู้สามารถช่วยให้คุณรับรู้สิ่งกระตุ้น รับมือกับอาการ และตัดสินใจอย่างรอบรู้เกี่ยวกับการดูแลของคุณ
  • มีส่วนร่วมในการบำบัด: จิตบำบัด เช่น การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) หรือการบำบัดครอบครัว สามารถช่วยให้คุณเรียนรู้ทักษะการเผชิญปัญหา จัดการกับความเครียด และพัฒนาเครือข่ายการสนับสนุน
  • สร้างระบบสนับสนุน: ล้อมรอบตัวคุณด้วยคนที่เข้าใจและเห็นอกเห็นใจที่สามารถช่วยเหลือคุณในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ซึ่งอาจรวมถึงครอบครัว เพื่อน กลุ่มสนับสนุน หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต
  • ตรวจสอบอาการของคุณ: ให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงของอาการและอารมณ์ของคุณ การจดบันทึกจะเป็นประโยชน์ในการระบุรูปแบบหรือตัวกระตุ้น
  • จัดการกับความเครียด: ความเครียดอาจทำให้อาการทางจิตรุนแรงขึ้นได้ ดังนั้นการหาวิธีจัดการความเครียดที่ดีต่อสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งอาจรวมถึงการออกกำลังกาย เทคนิคการผ่อนคลาย การเจริญสติ งานอดิเรก หรือการใช้เวลาในธรรมชาติ
  • จัดลำดับความสำคัญของการดูแลตนเอง: การดูแลสุขภาวะทางร่างกายและอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญ ให้แน่ใจว่าคุณนอนหลับเพียงพอ รับประทานอาหารที่สมดุล และทำกิจกรรมที่ทำให้คุณมีความสุขและผ่อนคลาย
  • หลีกเลี่ยงยาเสพติดและแอลกอฮอล์: การใช้สารเสพติดอาจทำให้อาการของโรคจิตแย่ลงและรบกวนการรักษา ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงยาเสพติดและจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์
  • มีแผนสำหรับอาการวิกฤต: พัฒนาแผนกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิตของคุณเพื่อจัดการกับสถานการณ์วิกฤตที่อาจเกิดขึ้น การรู้ว่าต้องทำอะไรในช่วงเวลาที่ยากลำบากจะเป็นประโยชน์
  • หมั่นเข้าสังคมอยู่เสมอ: ความโดดเดี่ยวอาจทำให้ความรู้สึกทุกข์ใจรุนแรงขึ้นและทำให้อาการแย่ลง พยายามติดต่อกับผู้อื่นอยู่เสมอ แม้ว่าบางครั้งจะท้าทายก็ตาม
จำไว้ว่าประสบการณ์เกี่ยวกับโรคจิตของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ดังนั้นสิ่งที่ใช้ได้ผลกับคนๆ หนึ่งอาจไม่ได้ผลกับคนอีกคนหนึ่ง การทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาแผนการจัดการเฉพาะบุคคลและมีประสิทธิภาพ หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักกำลังประสบกับโรคจิตหรือวิกฤตสุขภาพจิต อย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทันที

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.rethink.org/advice-and-information/about-mental-illness/learn-more-about-conditions/psychosis/
  • https://www.nami.org/About-Mental-Illness/Mental-Health-Conditions/Psychosis
  • https://medlineplus.gov/psychoticdisorders.html
  • https://www.nimh.nih.gov/health/topics/schizophrenia/raise/what-is-psychosis.shtml

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด