• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home มะเร็ง

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in มะเร็ง, หาโรค
0
0
SHARES
17
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • ประเภทของเซลมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • อาการมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ความเสี่ยงโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
  • การป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก
4.8 / 5 ( 19 votes )

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer) คือ โรคร้ายที่พบในเพศชายที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทยใพระบรมราชูปถัมภ์ให้ข้อมูลว่า ชายไทยมีโอกาสเสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้น โดยมีอุบัติการณ์อยู่ที่ 2.5-3 รายต่อแสนประชากร จากเดิมเป็นมะเร็งชายไทยอันดัน 7-8 ปัจจุบันสูงเป็นอันดับ 4 ของโรคมะเร็งทั่วไปในชายไทย

ต่อมลูกหมากนั้นเป็นต่อมขนาดเล็กที่อยู่ต่ำกว่าหน้าท้องช่วงล่างของเพศชาย ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะและล้อมรอบด้วยท่อปัสสาวะ ต่อมลูกหมากถูกควบคุมโดยฮอร์โมนเทสโทสเทอร์โรน (Testosterone) และเป็นส่วนผลิตของเหลวที่เรียกว่า น้ำอสุจิ

เมื่อเกิดความผิดปกติที่เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตในต่อมลูกหมาก เราจะเรียกว่า โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยเซลล์มะเร็งนี้สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ในร่างกายได้

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer)

ประเภทของเซลมะเร็งต่อมลูกหมาก

โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นกับต่อม โดยโรคนี้คือการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากจัดเป็นประเภทต่างๆ โดยความรวดเร็วในการเจริญของเซลล์มะเร็ง โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้

  • มะเร็งต่อมลูกหมากที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
  • มะเร็งต่อมลูกหมากที่เจริญเติบโตอย่างช้าๆ

มะเร็งต่อมลูกหมากที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เซลล์มะเร็งจะสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว เช่น กระดูก เป็นต้น

อาการมะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากอาการนั้นบางครั้งไม่ได้ร้ายแรง ดังนั้นผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการใดๆ อย่างไรก็ตามถ้าคุณมีสัญญาณหรืออาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก โปรดอย่าลังเลใจที่จะเข้าพบแพทย์ เมื่อคุณได้รับการตรวจสอบ แพทย์จะทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี

อาการของมะเร็งต่อมลูกหมากมีดังนี้

ปัญหาเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ

ปัญหาทางเดินปัสสาวะเป็นอาการทั่วไป เพราะต่อมลูกหมากนั้นมีตำแหน่งอยู่ใกล้กับกระเพาะปัสสาวะและล้อมรอบไปด้วยท่อปัสสาวะ เมื่อเนื้องอกหรือเซลล์ในต่อมลูกหมากเจริญเติบโตก็สามารถส่งผลไปเบียดกับกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะได้ โดยสามารถมีปัญหาดังนี้:

  • ปวดปัสสาวะบ่อยครั้ง
  • ใช้เวลาปัสสาวะนานกว่าปกติ
  • มีเลือดออกปนมากับปัสสาวะ

ปัญหาเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์

หย่อนสมรรถภาพทางเพศอาจเป็นอาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก รวมถึงมีเลือดในน้ำอสุจิในการหลั่งระหว่างมีเพศสัมพันธ์

ความเจ็บปวด

เซลล์มะเร็งในต่อมลูกหมากสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เมื่อเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากแพร่กระจายปยังกระดูกสามารถทำให้เกิดความเจ็บปวดในบริเวณต่อไปนี้:

  • กระดูกเชิงกราน
  • หลัง
  • อก

หากเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังกระดูกไขสันหลัง ผู้ป่วยอาจจะสูญเสียความรู้สึกที่ขาและระบบปัสสาวะ

สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากนั้นยังไม่มีสาเหตุที่แท้จริง เช่นเดียวกับมะเร็งอื่นๆ โดยสาเหตุนั้นอาจจะมาจากหลายๆ ปัจจัย อันประกอบด้วย ประวัติผู้ป่วยเป็นมะเร็งในครอบครัวหรือการสัมผัสสารเคมีบางชนิดอย่างไรก็ตามปัจจัยเหล่านี้สามารถนำไปสู่การกลายพันธุ์ของเซลล์และไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตได้ในต่อมลูกหมาก

ความเสี่ยงโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากนั้นสามารถพบในชายคนใดก็ได้ ปัจจัยบางประการสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ ประกอบไปด้วย:

  • อายุที่มากขึ้น
  • มีประวัติผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากในครอบครัว
  • เชื้อชาติ
  • ภาวะน้ำหนักเกิน
  • การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม

การวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก

การวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากมักขึ้นอยู่กับดุลยพินิจส่วนบุคคล เพราะมะเร็งต่อมลูกหมากส่วนใหญ่เติบโตช้าและไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ

นอกจากนี้ส่วนหนึ่งมีเหตุผลมาจากผลลัพธ์จากการทดสอบแอนติเจนเฉพาะต่อมลูกหมาก (PSA) ซึ่งสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การวินิจฉัยโรคมะเร็งที่ผิดพลาด ดังนั้นการคัดกรองด้วยวิธี PSA อาจจะไม่มีความจำเป็น

คำแนะนำเกี่ยวกับการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากมีดังนี้:

  • ช่วงอายุ 40 ปี: ชายที่จะมีความเสี่ยงได้แก่ ผู้ที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ช่วงอายุ 45 ปี: ชายที่จะมีความเสี่ยงได้แก่ เชื้อชาติแอฟริกัน เชื้อชาติอเมริกา
  • ช่วงอายุ 50 ปี: ชายทุกคนมีความเสี่ยงจะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก

เครื่องมือในการวินิจฉัยมะเร็งต่อลูกหมาก

หากคุณและแพทย์ตัดสินใจที่จะคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก สิ่งที่จะทำได้แก่การตรวจสอบร่างกาย และซักถามประวัติด้านสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัยมีดังนี้:

  • การตรวจทางทวารหนักแบบดิจิตอล (DRE): แพทย์ของคุณจะใช้นิ้วที่สวมถุงมือเข้าไปในไส้ตรงของผู้ป่วย เพื่อตรวจสอบต่อมลูกหมากของผู้ป่วยว่ามีก้อนเนื้อแข็ง ๆ ที่ต่อมลูกหมากซึ่งอาจเป็นเนื้องอกหรือไม่
  • การทดสอบแอนติเจนเฉพาะต่อมลูกหมาก (PSA): การตรวจเลือดนี้จะตรวจสอบระดับ PSA  ซึ่งเป็นโปรตีนที่ผลิตโดยต่อมลูกหมาก
  • การตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก: แพทย์จะทำการตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • การตรวจสอบอื่นๆ ได้แก่ MRI scan, CT scan หรือ Bone scan.

แพทย์จะทำการแจ้งผลการตรวจร่วมกับผู้ป่วย และแนะนำการรักษาในขั้นตอนต่อไป

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

แพทย์จะทำแผนการรักษาที่เหมาะสมสำหรับโรคมะเร็งของผู้ป่วย โดยพิจารณาจากอายุ สุขภาพและระยะของมะเร็งต่อมลูกหมากว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก หรือมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย

หากเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากที่เจริญเติบโตแบบช้าๆ แพทย์จะยังไม่ทำการรักษา แต่จะนัดตรวจติดตามอาการเป็นระยะ และเมื่อเซลล์มะเร็งเริ่มเจริญเติบโตเร็วขึ้น ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาดังนี้:

  • ผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • รังสีวิทยา
  • การบำบัดด้วยความเย็น
  • การบำบัดด้วยฮอร์โมน
  • การบำบัดด้วยเคมี
  • การผ่าตัดด้วยคลื่น
  • การบำบัดระบบภูมิคุ้มกัน

กรณีที่เซลล์มะเร็งลุกลามไปยังกระดูก อาจจะมีวิธีการรักษาอื่นๆ ร่วมด้วย

กรณีใช้วิธีการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นการผ่าตัดต่อมลูกหมากบางส่วนหรือทั้งหมดที่มีเซลล์มะเร็ง หากมะเร็งต่อมลูกหมากไม่ได้แพร่กระจายออกไปยังส่วนอื่นๆ แพทย์จะแนะนำให้คุณมีการผ่าตัดต่อมลูกหมากออกไปทั้งหมด

การป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก

ความเสี่ยงบางประการที่ทำให้เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้แก่ อายุ ซึ่งคุณไม่สามารถจะควบคุมอายุได้ อย่างไรก็ตามยังมีปัจจับอื่นๆ ที่คุณสามารถควบคุมได้ ตัวอย่างเช่น การเลิกสูบบุหรี่ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายก็เป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน

การควบคุมอาหาร

อาหารบางชนิดสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้แก่:

  • มะเขือเทศ
  • บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก และคะน้า
  • ปลา
  • ถั่วเหลือง
  • น้ำมันที่มีโอเมก้า 3 เช่น น้ำมันมะกอก

และอาหารที่จะเพิ่มความเสี่ยงได้แก่:

  • ผลิตภัณฑ์จากนม
  • กรดไขมันอิ่มตัว
  • เนื้อแดง
  • เนื้อย่าง

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ เนื่องจากการออกกำลังกายจะช่วยเผาผลาญและลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นการลดภาวะน้ำหนักเกินอันเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก แพทย์แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที/สัปดาห์

อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก

หากผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากได้รับการวินิจฉัยโดยเร็ว และเซลล์มะเร็งยังไม่ได้แพร่กระจายออกจากต่อมลูกหมากไปยังส่วนอื่นๆ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี การตรวจหาและการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดี หากมีอาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากคุณควรนัดพบแพทย์ทันที เพราะหากมะเร็งต่อมลูกหมากลุกลามไปนอกต่อมลูกหมากของคุณนั่นจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย


นี่คือลิงค์แหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/prostate-cancer/symptoms-causes/syc-20353087
  • https://www.urologyhealth.org/urologic-conditions/prostate-cancer
  • https://www.nhs.uk/conditions/prostate-cancer/
  • https://www.cancer.org/cancer/prostate-cancer.html

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

Tags: การสืบพันธุ์มะเร็งวิทยา
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post

เส้นเลือดขอด (Varicose Veins) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.