• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home จิตวิทยา

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in จิตวิทยา, หาโรค
0
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
0
SHARES
14
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • ภาวะซึมเศร้า vs. อารมณ์เศร้า
  • อาการทางจิตหลังคลอดสามารถรักษาด้วยวิธีใด
  • ภาวะวิตกกังวลหลังคลอด
  • ภาวะหลังคลอดที่เกิดโรคย้ำคิดย้ำทำ
4.8 / 5 ( 13 votes )

ภาวะซึมเศร้า vs. อารมณ์เศร้า

ประมาณ 80 เปอร์เซนต์ของแม่ที่คลอดเด็กทารกมีอารมณ์ซึมเศร้า (Postpartum Depression) หลังจากให้กำเนิดบุตร ในทางกลับกันมีงานวิจัยขนาดใหญ่ในปี 2013 พบว่ามีคุณแม่หลังคลอดจำนวนเพียง 14 เปอร์เซนต์เท่านั้นที่มีผลทดสอบภาวะซึมเศร้าเป็นบวก นอกเหนือจากนั้นมีผู้หญิงจำนวน  19.3  เปอร์เซนต์มีความคิดเกี่ยวกับการทำร้ายตัวเองและ 22.6 เปอร์เซนต์ไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไบโพลาร์ 

Postpartum Depression

ปัจจัยเสี่ยง

ในงานวิจัยพบว่าผู้หญิงที่มีแนวโน้มเกิดภาวะซึมเศร้าได้แก่คนในกลุ่มดังต่อไปนี้

  • วัยรุ่น
  • มีการศึกษาต่ำ
  • ประกันสังคม
  • เชื้อชาติแอฟริกันอเมริกัน

การเกิดเริ่มต้น

นอกจากนี้ผู้เขียนยังพบข้อมูลในระหว่างทำการสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่บ้านหรือพูดคุยผ่านโทรศัพท์ ในการสัมภาษณ์ผู้หญิงจำนวน 973 คนพบข้อมูลทางสถิติดังต่อไปนี้ 

  • 26.5 เปอร์เซนต์มีภาวะซึมเศร้าก่อนการตั้งครรภ์ 
  • 33.4 เปอร์เซนต์เริ่มมีภาวะซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์ 
  • 40.1 เปอร์เซนต์เริ่มสังเกตุพบอาการซึมเศร้าหลังคลอดบุตร 

เข้ารับความช่วยเหลือ

เนื่องจากภาวะซึมเศร้าหลังคลอดไม่ได้เปนโรคที่มีพัฒนาการร้ายแรงเกิดขึ้นต่อไป ดังนั้นมีเพียงผู้หญิงจำนวน 15 เปอร์เซนต์เท่านั้นที่ได้รับความช่วยเหลือเพื่อรักษาอาการซึมเศร้าจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ตัวเลขดังกล่าวยังหมายถึงจำนวนผู้หญิงที่มีเด็กทารกที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ไม่รวมจำนวนผู้หญิงที่เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่เกิดการแท้งหรือเด็กเสียชีวิตตั้งแต่กำเนิด ดังนั้นหมายความว่าจำนวนของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอย่างแท้จริงอาจมีอัตราสูงกว่าที่เราคิด

สถิติอื่นๆ

  • ภาวะวิตกกังวลหลังคลอดเป็นอาการที่เกิดขึ้นปกติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้หญิงจำนวน 1 ใน 6 รายหลังจากการคลอดบุตร ในคุณแม่มือใหม่มีอัตราเกิดขึ้นจำนวน 1 ใน 5 ราย
  • การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของผู้หญิงที่มีเด็กเสียชีวิตหลังคลอด ซึ่งเป็นสาเหตุทั่วไปส่วนใหญ่ของผู้หญิงที่เสียชีวิตหลังคลอดบุตร 
  • ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตรที่เกี่ยวกับโรคย้ำคิดย้ำทำเป็นอาการที่ค่อนข้างพบได้ยาก ซึ่งพบได้ 1 ถึง 3 คนในผู้หญิงที่กำลังให้นมบุตรจำนวน 100 คน
  • โรคจิตหลังคลอดเป็นอาการที่พบได้น้อยมากซึ่งพบเพียง 1 ถึง 2 คนจากผู้หญิง 1,000 คนหลังจากคลอดบุตร
  • 25 เปอร์เซนต์ของคุณพ่อมีอาการซึมเศร้าหลังจากภรรยาคลอดบุตรในปีเเรก
  • หลังจากกำเนิดบุตร 1 ปีงานวิจัยในปี 2010 พบว่า 39 เปอร์เซนต์ของคุณแม่และ 21 เปอร์เซนต์ของคุณพ่อเป็นโรคที่มีอาการซึมเศร้าระหว่างช่วงเวลาที่เด็กมีอายุ 12 ปี 

อาการทางจิตหลังคลอดสามารถรักษาด้วยวิธีใด

มียาหลายชนิดที่ใช้รักษาอาการทางจิต ซึ่งสามารถใช้ยาชนิดเดียวหรือใช้ยาสองชนิดร่วมกันได้ 

  • ยาควบคุมอารมณ์
  • ยาต้านโรคซึมเศร้า
  • ยารักษาอาการทางจิต 

ยาเหล่านี้สามารถช่วยรักษาอาการต่างๆและควบคุมอารมณ์ให้สมดุล ถ้าหากใช้ยารักษาแล้วไม่ได้ผลสามารถใช้วิธีอื่นได้เช่นการรักษาด้วยกระเเสไฟฟ้า ซึ่งเป็นการใช้กระเเสไฟฟ้ากระตุ้นเพื่อให้สารเคมีในสมองเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยปกตินำวิธีนี้มาใช้กับผู้ที่สามารถทนต่อกระเเสไฟฟ้าได้และสามารถเข้ารับการรักษาอาการทางจิตได้เท่านั้น 

เมื่อคุณสามารถควบคุมอารมณ์ได้อย่างสมดุล แพทย์อาจเเนะนำให้คุณเข้ารับคำปรึกษาจากนักบำบัด ผู้ที่สามารถช่วยให้คุณสามารถจัดการกับความรู้สึกของคุณได้

การรักษาควรทำอย่างต่อเนื่องแม้ว่าคุณจะออกจากโรงพยาบาลเเล้ว เมื่อคุณหายดีขึ้น คุณอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการใช้ยารักษา 

ถ้าหากคุณเป็นโรคไบโพลาร์หรือมีความผิดปกติทางด้านจิตใจอื่นๆ คุณจำเป็นต้องทำการรักษาตามแผนเพื่อรักษาปัญหาทางจิตประเภทอื่นต่อไปด้วยเช่นกัน

ภาวะวิตกกังวลหลังคลอด

ภาวะวิตกกังวลหลังคลอดเป็นอาการที่ควรได้รับความใส่ใจ แต่อย่างไรก็ตามความวิตกกังวลหลังคลอดเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงจำนวนมากกว่า 1 ใน 6 คนหลังจากคลอดบุตร

เป็นเรื่องปกติที่คุณจะรู้สึกเครียดเล็ดน้อยหรือมีความกังวลหลังจากนำเด็กทารกกลับบ้าน บางครั้งคุณอาจรู้สึกวิตกกังวลเนื่องจากการถูกรบกวนในชีวิตประจำวัน 

อาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้แก่ภาวะหายใจเร็วเกินไปและภาวะตื่นตระหนกต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยไม่มีเหตุผล สำหรับอาการหายใจเร็วเกินไปมักเกิดขึ้นเมื่อคุณมีหายใจลึกและเร็วเกินไปจึงทำให้ก็าซคาร์บอนลดลงจึงทำให้คุณเกิดความรู้สึกหายใจไม่ออก 

ภาวะตื่นตระหนกโดยไม่มีสาเหตุมีอาการคล้ายกับภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีอาการใจสั่น
  • เจ็บหน้าอก
  • เหงื่อออก
  • หายใจสั้น

อาการอื่นๆของภาวะวิตกกังวลหลังคลอดได้แก่

  • มีความกังวลมากเกินไปกับเหตุหารณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น
  • ไม่สามารถนอนหลับได้เนื่องจากเกิดความวิตกกังวล
  • คิดถึงปัญหาเดิมซ้ำๆ แม้ว่าปัญหาเหล่านั้นได้รับการแก้ไขเเล้วหรือเป็นปัยหาที่ไม่สำคัญ
  • มีสมาธิไม่ดีเนื่องจากเกิดความกังวล
  • ปกป้องลูกของตนเองมากเกินไปเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ 
  • มีความกังวลหรือจินตนาการเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ 

คุณสามารถมีอาการวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นพร้อมกัน เพื่อทำความเข้าใจเพื่อแยกความแตกต่างว่าคุณมีอาการใดเกิดขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์

อาการวิตกกังวลหลังคลอดสามารถหายไปได้เองหรืออาการวิตกกังวลอาจรุนเเรงขึ้น ดังนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่ควรไปพบเเพทย์เพื่อรับคำปรึกษา สำหรับภาวะวิตกกังวลสามารถรักษาด้วยยาระงับอาการวิตกกังวลและการบำบัด

ภาวะหลังคลอดที่เกิดโรคย้ำคิดย้ำทำ 

ถ้าหากคุณต้องการเลี้ยงบุตรในสภาพแวดล้อมที่ดี ซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกกดดันว่าทุกอย่างจำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ ความคิดเช่นนี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่ปกติสำหรับคุณแม่มือใหม่และความกดดันที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำได้ 

โรคย้ำคิดย้ำทำที่เกิดหลังคลอดเป็นอาการที่ผิดปกติมาก โดยผู้หญิงที่กำลังให้นมบุตรประมาณ 1 ถึง 3 เปอร์เซนต์มีอาการย้ำคิดย้ำทำซึ่งโดยทั่วไปมักเกิดขึ้นภายในสัปดาห์แรกหลังจากให้กำเนิดบุตร

อาการหมกหมุ่นหรือย้ำคิดย้ำทำหมายถึงอาการใดก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่เเล้วมักเป็นอาการที่มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของเด็ก เช่นคุณอาจมีความกังวลเกี่ยวกับว่าเด็กอาจเสียชีวิตตอนกลางคืนหรือคุณไม่สามารถวางเด็กลงได้

ถ้าหากคุณเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำหลังจากการคลอดบุตร คุณอาจมีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาการดังกล่าว อย่างเช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้ 

  • จัดของและทำความสะอาดบริเวณต่างๆซ้ำๆและหมกหมุ่นเกี่ยวกับเชื้อโรคที่ลูกอาจสัมผัสได้ 
  • ตรวจดูลูกซ้ำๆในช่วงกลางคืน แม้ว่าจะทราบว่าเพิ่งไปดูทารกมา 
  • มีภาวะย้ำคิดย้ำทำทางจิตเช่นการภาวนาให้เด็กปลอดภัยเป็นประจำ
  • ความเชื่อเช่นการสัมผัสกับบางอย่างหรือการห้อยเครื่องรางสามารถปกป้องเด็กจากที่เป็นอันตรายได้ 
  • ใช้เวลามากในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของลูก

คุณจำเป็นต้องควบคุมพฤติกรรมเหล่านี้ ถ้าหากคุณเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำหลังคลอดบุตรและถ้าหากอาการดังกล่าวไปมาหายไปภายในหนึ่งสัปดาห์ ควรไปพบเเพทย์เพื่อทำการรักษา

โรคย้ำคิดย้ำทำหลังคลอดบุตรสามารถรักษาได้ด้วยการบำบัดพฤติกรรมหรือการใช้ยาต้านภาวะซึมเศร้า 


 นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/postpartum-depression/symptoms-causes/syc-20376617
  • https://www.womenshealth.gov/mental-health/mental-health-conditions/postpartum-depression
  • https://www.webmd.com/depression/guide/postpartum-depression
  • https://www.nimh.nih.gov/health/publications/perinatal-depression/index.shtml

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
Flexadel

Flexadel gel รีวิว

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.