• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home มะเร็ง

โรคเลือดข้น (Polycythemia Vera) อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
05/04/2021
in มะเร็ง, หาโรค
0
โรคเลือดข้น
0
SHARES
442
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • โรคเลือดข้นคืออะไร ?
  • อาการของโรคเลือดข้น
  • สาเหตุของอาการและความเสี่ยงจากโรคเลือดข้น
  • การวินิจฉัยโรคเลือดข้น
  • การรักษาโรคเลือดข้น
  • อาการของผู้ที่เป็นโรคเลือดข้น
  • การวินิจฉัยโรคเลือดข้น
  • อายุของโรคภาวะเลือดข้น
  • การรักษาตัวด้วยตัวเอง
4.7 / 5 ( 21 votes )

โรคเลือดข้นคืออะไร ?

โรคเลือดข้น (Polycythemia vera) คือมะเร็งเม็ดเลือดที่หาได้ยาก เนื่องจากร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดแดงที่มากเกินไป โดยที่เซลล์เม็ดเลือดแดงจะพาออกซิเจนไปทั่วร่างกาย

เมื่อคุณมีเม็ดเลือดแดงมากเกินไป เลือดของคุณจะข้นขึ้นและไหลช้าลง เซลล์เม็ดเลือดแดงสามาถรวมตัวกันเป็นก้อนอยู่ในหลอดเลือดของคุณได้

ถ้าหากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เมื่อเลือดไหลเวียนช้า ปริมาณออกซิเจนที่ไปถึงสมองและอวัยวะสำคัญอื่นๆก็จะลดลงไปด้วย อีกทั้งยังทำให้การไหลเวียนของเลือดภายในหลอดเลือดไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองสมองจนสามารถเสียชีวิตได้ ถ้าปล่อยไว้ในระยะยาวอาจเกิดแผลในกระดูกสันหลัง นำไปสู่มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้

โรคเลือดข้นไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถประคับประคองอาการได้ โดยแพทย์จะทำการเจาะเลือดไปตรวจ เพื่อจ่ายยาที่ช่วยยับยั้งการเกิดลิ่มเลือด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากที่คุณควรพบแพทย์ทันทีหากสงสัยว่าตัวเองมีอาการของโรคหรือเกิดความผิดปกติอื่นๆ

Polycythemia Vera

อาการของโรคเลือดข้น

โรคเลือดข้นอาจจะไม่แสดงอาการให้เห็นเลยเป็นเวลาหลายปี อาการในระยะแรกอาจจะไม่รุนแรงและอาจจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเป็นโรคนี้ถ้าหากไม่ได้รับการตรวจเลือดอย่างต่อเนื่อง

ถ้าหากรู้อาการตั้งแต่ระยะแรกๆ คุณสามารถทำการรักษาได้อย่างทันที และสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้ อาการทั่วไปของภาวะเลือดข้นได้แก่ : 

  • อาการเหนื่อยล้า
  • อาการคัน
  • หายใจลำบากเมื่อนอน
  • ไม่มีสมาธิ
  • น้ำหนักลด
  • ปวดท้อง
  • รู้สึกอิ่มงาย
  • มองเห็นไม่ชัดหรือเห็นภาพซ้อน
  • เวียนหัว
  • ความอ่อนแอ
  • เหงื่อออกมากผิดปกติ
  • มีเลือดออกหรือช้ำง่าย

ในขณะที่เป็นโรค เลือดของคุณจะข้นขึ้น มีเม็ดเลือดแดงมากขึ้น และอาการจะร้ายแรงมากขึ้น เช่น :

  • มีเลือดออกมาก จากการเป็นแผลเล็กน้อย
  • ข้อบวม
  • ปวดกระดูก
  • มีผื่นสีแดงปรากฏบนใบหน้า
  • มีเลือดออกตามไรฟัน
  • รู้สึกแสบที่มือหรือเท้า

อาการเหล่านี้สามารถเกิดจากภาวะอื่นๆได้ด้วย ดังนั้นคุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการที่เกิดได้อย่างถูกต้อง

สาเหตุของอาการและความเสี่ยงจากโรคเลือดข้น

โรคเลือดข้นมักเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และอาการของโรคโดยส่วนมากมักพบได้ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี แต่ก็อาจเกิดขึ้นก่อนได้

การเปลี่ยนแปลงของยีนส์ JAK2 เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรค ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการผลิตโปรตีนที่ช่วยสร้างเม็ดเลือด โดยส่วนมากผู้ที่เป็นโรคเลือดข้นจากการกลายพันธุ์มีอยู่ประมาณ 95%

การกลายพันธุ์สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แต่บางครั้งก็เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับครอบครัวได้เลย ซึ่งปัจจุบันยังคงมีการวิจัยเพื่อหาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมได้

ถ้าหากคุณมีความเสี่ยงของโรคเลือดข้น คุณสามารถมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้ ขึ้นอยู่กับการเกิดลิ่มเลือด ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดในโรคเลือดข้นได้แก่ :

  • ประวัติของการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
  • มีอายุมากกว่า 60 ปี
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคเบาหวาน
  • การสูบบุหรี่
  • คอเลสเตอรอลสูง
  • การตั้งครรภ์

เลือดที่ข้นมากกว่าปกติ จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดได้ ไม่ว่าสาเหตุจะเกิดจากอะไรก็ตาม

การวินิจฉัยโรคเลือดข้น

หากคุณคิดว่าคุณมีอาการของโรคเลือดข้น แพทย์ขะทำการตรวจนับเม็ดเลือด (CBC) เพื่อตรวจปัจจัยดังต่อไปนี้ :

  • จำนวนของเม็ดเลือดแดง
  • จำนวนของเม็ดเลือดขาว
  • จำนวนของเกล็ดเลือด
  • ปริมาณฮีโมโกลิน (โปรตีนที่มีหน้าที่ส่งออกซิเจน)
  • ปริมาณของพื้นที่ที่เซลล์เม็ดเลือดแดงดูดเข้าไปในเลือด เรียกว่า ฮีมาโตคริต

หากคุณมีอาการเลือดข้น เป็นไปได้ว่าคุณจะมีจำนวนเม็ดเลือดแดงและฮีโมโกลบินสูงกว่าปกติ และมีค่าฮีมาโตคริตสูงผิดปกติ คุณอาจจะมีจำนวนเกล็ดเลือดหรือจำนวนเม็ดเลือดขาวผิดปกติ

หากผลการตรวจ CBC ของคุณมีความผิดปกติ แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อหาการกลายพันธุ์ของ JAK2 คนส่วนใหญ่ที่ได้รับการทดสอบมักมีผลออกมาเป็นบวก

นอกจากการตรวจเลือดอื่นๆ และอาจจะจำเป็นต้องทำการตรวจชิ้นเนื้อไขกระดูกเพื่อยืนยันการวินิจฉัยเลือดได้ด้วย

หากพบว่าคุณสามารถตรวจพบอาการของโรคได้เร็วเท่าไหร่ ก็สามารถทำการรักษาได้เร็วมากขึ้น เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน

การรักษาโรคเลือดข้น

โรคเลือดข้นเป็นภาวะเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาได้ ซึ่งสามาถช่วยให้คุณจัดการกับอาการและภาวะแทรกซ้อนได้  โดยที่แพทย์จะเป็นคนวางแผนการรักษาตามความเสี่ยงของอาการที่เกิดขึ้น

วิธีการรักษาสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ

การรักษาทั่วไปสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดต่ำมีสองวิธีได้แก่ การรับประทานแอสไพริน และการเจาะเลือด

  • การใช้แอสไพรินในปริมาณต่ำ : แอสไพรินมีผลต่อเกล็ดเลือดและลดความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือด
  • การเจาะเลือด เป็นการใช้เข็มเจาะเพื่อเอาเลือดจำนวนเล็กน้อยจากหลอดเลือดดำของคุณ ซึ่งช่วยลดจำนวนเม็ดเลือดแดง โดยทั่วไปการเจาะเลือดจะทำสัปดาห์ละครั้งในช่วยแรก และทุกๆสองถึงสามเดือน จนกว่าระดับฮีมาโตคริตของคุณจะเข้าใกล้ภาวะปกติมากที่สุด

การรักษาสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง

นอกเหนือจากการใช้ยาแอาไพรินและการเจาะเลือดแล้ว ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดลิ่มเลือด จำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาเฉพาะทาง เช่น 

  • ไฮดรอกซียูเรีย (Droxia, Hydrea) เป็นยารักษามะเร็งที่ป้องกันไม่ให้ร่างกายของคุณสร้างเม็ดเลือดแดงมากเกินไป และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือด
  • อินเตอร์เฟอรอนอัลฟา จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณ แข็งแรงพอที่จะจัดการกับเซลล์ไขกระดูกที่เป็นส่วนหนึ่งของอาการโรคเลือดข้น  และยังช่วยให้ร่างกายของคุณไม่สร้างเม็ดเลือดแดงจนมากเกินไป
  • บูซัลแฟน (Myleran). เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • รูโซลิทินิบ (Jakafi). เป็นยาชนิดเดียวที่ได้รับการรับรองอย.ของสหรัฐอเมริกา แพทย์จะจ่ายยาชนิดนี้ก็ต่อเมื่อคุณไม่สามารถอดทนต่อไฮดรอกซียูเรียได้

วิธีการรักษาอื่นๆ

แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้คุณทำการรักษาด้วยวิธีอื่น วิธีบางอย่างอาจช่วยรักษาอาการคัน ซึ่งเป็นปัญหาต่อเนื่องและน่ารำคาญสำหรับหลายๆคนที่เป็นโรคนี้ โดยวิธีการรักษาได้แก่ :

  • การใช้ยาแก้แพ้
  • ยารักษาโรคซึมเศร้า
  • การส่องไฟด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต

อาการของผู้ที่เป็นโรคเลือดข้น

โดยทั่วไปแล้ว อาหารสำหรับผู้ที่เป็นโรคเลือดข้นจะเหมือนกันอาหารทั่วไป แต่จำเป็นที่จะต้องมีความสมดุลของผักและผลไม้ ธัญพืช โปรตีนที่ไม่มีไขมันและนมไขมันต่ำ ปริมาณแคลอรี่ที่รับประทานเข้าไปในแต่ละวันเพื่อรักษาน้ำหนักให้แข็งแรง

นอกจากนี้ยังจำเป็นที่จะต้องควบคุมปริมาณเกลือ อาหารที่มีโซเดียมสูง เพราะสามารถทำให้อาการของโรคเลือดข้นสามารถร้ายแรงขึ้นได้ นอกจากนี้ควรที่จะทานน้ำให้ได้อย่างเพียงพอเพื่อที่หลีกเลี่ยงการขาดน้ำและรักษาการไหลเวียนของเลือด 

การวินิจฉัยโรคเลือดข้น

การพยากรณ์ของโรคขึ้นอยู่กับการรักษา การลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน เช่น

  • myelofibrosis: ระยะที่มากที่สุดของโรค ทำให้เกิดแผลที่ไขกระดูก และทำให้ตับและม้ามขยายและสามารถหัวใจวายได้
  • หัวใจวาย
  • การอุดตันของหลอดเลือด
  • โรคหลอดเลือดของสมองตีบ เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
  • เส้นเลือดอุดตันในปอด การมีก้อนเลือดในปอด
  • เสียชีวิตจากการมีเลือดออก มักจะเกิดจากการที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือส่วนอื่นๆของทางเดินอาหาร
  • ความดันโลหิตสูงพอร์ทัล เกิดจากความดันโลหิตในตับซึ่งอาจนำไปสู่ความล้มเหลวของตับ
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีลอยด์เฉียบพลัน เป็นมะเร็งเม็ดเลือดชนิดหนึ่งที่มีผลต่อเซลล์เม็ดเลือดขาว

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเลือดข้นยังคงสามารถเกิดขึ้นได้ถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษแล้ว แต่จะมีความเสี่ยงต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้รับการรักษา 5-15%

โดยทั่วไปจะมีการพัฒนาของ myelofibrosis 15 ปีหลังจากที่ได้รับการรักษา น้อยกว่า 10% และมักเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว 20 ปี แต่โดยรวมแล้ว ผู้ที่ได้รับการรักษามักจะมีแนวโน้มที่ดีกว่าผู้ที่ไม่ได้รับการรักษา

นอกจากนี้การดูแลตัวเองและสุขภาพ สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดได้ การเลิกสูบบุหรี่และการออกกำลังกาย เพื่อจัดการกับสภาวะอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ

อายุของโรคภาวะเลือดข้น

อาการของโรคเลือดข้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่ผู้ที่เข้ารับการรักษาแบบเป็นประจำ จะสามารถช่วยหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนได้

การรักษาเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ที่ไม่ได้รับการรักษา มักจะมีชีวิตอยู่ได้น้อยกว่า 2 ปี ขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพโดยรวมได้ด้วย แต่ผู้ที่ได้รับการรักษา สามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกหลายสิบปี โดยระยะเวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 20 ปี

การรักษาตัวด้วยตัวเอง

โรคเลือดข้นเป็นโรคที่หาได้ยาก ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด ที่เป็นอันตรายรวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ

ถ้าหากคุณมีอาการของโรคเลือดข้น ควรได้รับการปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ๆชิด เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะกับคุณ ซึ่งอาจรวมไปถึงการเจาะเลือดและการใช้ยาต่างๆ เพื่อให้คุณได้รับการดูแลและป้องกันการอุดตันของเส้นเลือดได้อย่างเร็วที่สุด


นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/polycythemia-vera/diagnosis-treatment/drc-20355855
  • https://www.webmd.com/cancer/polycythemia-vera#1
  • https://www.nhs.uk/conditions/polycythaemia/
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน(Meniere’s Disease) อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.