โรคปอดรั่ว (Pneumothorax) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคปอดรั่ว (Pneumothorax) คือ ลักษณะผิดปกติที่เกิดเมื่ออากาศเข้าสู่ช่องว่างรอบ ๆ ปอด (เยื่อหุ้มปอด) โดยอากาศสามารถเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอดได้เมื่อมีการบาดเจ็บที่หน้าอกของ โดยเกิดการฉีกขาด หรือแตกบริเวณเนื้อเยื่อปอดซึ่งทำให้ความดันปอดลดลง และไม่พองตัว

สาเหตุของการที่หน้าอก หรือปอดได้รับความเสียหาย ได้แก่การได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุ หรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศแบบฉับพลัน เช่น การดำน้ำ หรือปีนเขา และในบางกรณีก็ไม่ทราบสาเหตุ

การเปลี่ยนแปลงความดันที่เกิดจากปวดรั่วจะทำให้ปอดยุบ และส่งผลกระทบต่อหัวใจได้

หากปอดรั่วเพียงเล็กน้อยสามารถหายเองได้ แต่ในกรณีที่ร้ายแรงกว่าที่ปอดต้องสูญเสียอากาศปริมาณมาก และยังไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

อาการของปอดรั่ว

ภาวะปอดรั่วจากอุบัติเหตุจะแสดงอาการในขณะที่ได้รับบาดเจ็บ หรือหลังจากนั้นไม่นาน ในขณะที่ปอดรั่วแบบเกิดขึ้นเอง อาการมักจะแสดงฉับพลันโดยไม่มีสัญญาณใดๆ โดยอาการที่แสดงออกมาจะมีดังนี้

  • หน้าอกเจ็บปวดเรื้อรัง
  • หายใจถี่
  • เหงื่อปริมาณมาก
  • แน่นหน้าอก
  • ตัวเริ่มเขียว
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
Pneumothorax

สาเหตุของปอดรั่ว

ปอดรั่วมี 2 ประเภทหลักๆ คือ ปอดรั่วจากอุบัติเหตุ และปอดรั่วจาสาเหตุอื่นๆ ดังนี้

ปอดรั่วจากอุบัติเหตุ

โรคปอดบวมจากการได้รับบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับหน้าอก และปอดไม่ว่าจะเป็นการได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย หรือรุนแรง อุบัติเหตุสามารถทำให้โครงสร้างหน้าอกเสียหาย และทำให้อากาศรั่วเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอด

สาเหตุของการได้รับบาดเจ็บที่สามารถทำให้เกิดปอดรั่วได้

  • อุบัติเหตุทางรถยนต์

  • ซี่โครงหัก

  • การกระแทกอย่างแรงบริเวณอกจากการเล่นกีฬา เช่น ฟุตบอล

  • ถูกแทง หรือยิงบริเวณอก

  • ขั้นตอนทางการแพทย์ เช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจ การตรวจชิ้นเนื้อปอด หรือ CPR

การเปลี่ยนแปลงความกดอากาศจากการปีนเขาหรือดำน้ำ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับความสูง

การรักษาปอดรั่วควรรักษาอย่างทันท่วงที เพราะสามารถทำให้อาการแย่ลง และส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ เช่น หัวใจหยุดเต้น ระบบหายใจล้มเหลว ช็อก และเสียชีวิต

ปอดรั่วจากสาเหตุอื่นๆ

ภาวะปอดรั่วที่ไม่ได้เกิดจากการได้รับบาดเจ็บ แต่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มี 2 ประเภทหลักๆ คือ แบบขั้นต้น และแบบทุติยภูมิ (มักพบในผู้สูงอายุ)

สาเหตุบางอย่างที่ทำให้ปอดรั่วโดยเกิดขึ้นเองได้แก่

Spontaneous hemopneumothorax (SHP) เป็นปอดรั่วที่พบได้ยากสำหรับปอดรั่วที่เกิดขึ้นเอง เกิดขึ้นเมื่อทั้งเลือด และอากาศเข้าไปในช่องว่างเยื่อหุ้มปอด โดยไม่มีบาดแผล หรือโรคปอดมาก่อน

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคปอดรั่ว

ปัจจัยเสี่ยงของปอดรั่วแบบอุบัติเหตุ และปอดรั่วที่เกิดขึ้นเองนั้นแตกต่างกัน

ปอดรั่วแบบอุบัติเหตุนั้นเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • เล่นกีฬาที่ได้รับการกระแทก เช่น ฟุตบอล หรือรักบี้

  • เป็นสตั๊นท์แมน และได้รับอุบัติเหตุบริเวณอก

  • ถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง

  • อุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือตกจากที่สูง

  • การรักษาทางการแพทย์ หรือการใช้เครื่องช่วยหายใจ

ปอดรั่วที่เกิดขึ้นได้เองมักพบในบุคคลต่อไปนี้

  • อายุน้อย

  • ผอม

  • เพศชาย

  • อายุ 10-30 ปี

  • ความผิดปกติจากกลุ่มอาการมาฟรานซินโดรม

  • สูบบุหรี่

  • สัมผัสกับสารอันตราย เช่น ซิลิโคซิส

  • ชั้นบรรยากาศที่เปลี่ยนแปลง

ความเสี่ยงยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเคยได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดมาก่อน

วินิจฉัยโรคปอดรั่ว

การวินิจฉัยปอดรั่ว แพทย์จะทำโดยการฟังเสียงของปอด แต่หากปอดรั่วเพียงเล็กน้อยก็ยากที่จะฟังเสียง ดังนั้นจึงต้องมีการทดสอบฉายภาพร่วมด้วย ได้แก่

  • ฉายรังสีทรวงอก

  • ซีทีสแกน

  • อัลตราซาวด์

การรักษาโรคปอดรั่ว

การรักษาจะแตกต่างตามความรุนแรงของภาวะปอดรั่ว รวมทั้งอาการที่เกิดขึ้น เคยเป็นโรคปอดมาก่อนหรือไม่ เคยได้รับการผ่าตัดปอดมาก่อนหรือไม่

การรักษาสามารถใช้วิธีดังต่อไปนี้ คือ การใส่ท่อในช่องอก หรือการผ่าตัดเพื่อแก้ไขการยุบตัวของปอด และทำให้ปอดได้รับออกซิเจนที่เพียงพอ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคปอดรั่ว

โรคปอดรั่วเป็นภาวะทางการแพทย์ที่อากาศสะสมอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด ซึ่งเป็นบริเวณระหว่างปอดและผนังหน้าอก การสะสมของอากาศอาจทำให้ปอดยุบบางส่วนหรือทั้งหมด ทำให้เกิดอาการและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขนาดของปอดอักเสบและสาเหตุที่แท้จริง ต่อไปนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะปอดรั่ว:
  • หายใจลำบาก:ภาวะแทรกซ้อนหลักของภาวะปอดรั่ว คือหายใจลำบาก เมื่ออากาศสะสมในช่องเยื่อหุ้มปอด จะทำให้เกิดความกดดันต่อปอดที่ได้รับผลกระทบ ลดความสามารถในการขยายและรับออกซิเจน สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การหายใจตื้นอย่างรวดเร็ว และรู้สึกหายใจไม่ออกหรือเจ็บหน้าอก
  • ภาวะขาดออกซิเจน:ในกรณีของภาวะปอดอักเสบจากปอดบวมขนาดใหญ่หรือตึงเครียด (ชนิดที่รุนแรงกว่า) การทำงานของปอดที่ลดลงอาจทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน สิ่งนี้สามารถนำไปสู่ความสับสน ตัวเขียว (ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน) และในกรณีที่รุนแรงอาจทำให้หมดสติได้
  • ภาวะช็อก:ภาวะปอดรั่วจากภาวะตึงเครียด ซึ่งเป็นภาวะปอดอักเสบจากภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบที่เป็นอันตรายถึงชีวิต อาจทำให้ความดันโลหิตลดลงอย่างมากและทำให้เกิดภาวะช็อกได้ อาการช็อกอาจถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
  • ภาวะแทรกซ้อนของหัวใจ:ภาวะปอดรั่วอย่างรุนแรง โดยเฉพาะภาวะปอดอักเสบจากภาวะตึงเครียด สามารถกดทับหลอดเลือดขนาดใหญ่ในหน้าอก ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปยังหัวใจลดลง สิ่งนี้อาจส่งผลต่อการทำงานของหัวใจและนำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ) หรือแม้แต่ภาวะหัวใจหยุดเต้น
  • ภาวะปอดบวมซ้ำ:บุคคลบางคนอาจมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะปอดรั่วซ้ำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีโรคปอด เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หรือโรคซิสติกไฟโบรซิส ภาวะปอดบวมซ้ำหลายครั้งอาจทำให้เกิดปัญหาปอดเรื้อรังได้
  • การติดเชื้อ:โรคปอดบวมสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่แบคทีเรียสามารถเพิ่มจำนวนได้ เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มปอด สิ่งนี้สามารถนำไปสู่ไข้ อาการเจ็บหน้าอก และความจำเป็นในการให้ยาปฏิชีวนะและขั้นตอนการระบายน้ำ
  • การยึดเกาะของเยื่อหุ้มปอด: เนื้อเยื่อแผลเป็นอาจก่อตัวขึ้นในบริเวณเยื่อหุ้มปอด ซึ่งอาจทำให้ปอดยึดติดกับผนังหน้าอกได้ สิ่งนี้สามารถจำกัดการขยายตัวของปอดและทำให้หายใจลำบากในระยะยาว

ภาพรวมปอดรั่วในระยะยาว

โรคปอดรั่วเพียงเล็กน้อยที่ไม่ก่อให้เกิดอาการรุนแรงสามารถแก้ไขด้วยการรักษาเพียงเล็กน้อย แต่หากปอดรั่วมีขนาดใหญ่ โดยปอดเสียหายทั้งสองข้างทั้งจากการได้รับอุบัติเหตุ หรือการผ่าตัด จะทำให้ยากต่อการรักษา และการฟื้นตัว

หากมีอาการปอดรั่วควรไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะอาการของผู้ป่วยจะแย่ลงทุกๆ วินาที หากไม่ได้รับการรักษาโดยทันท่วงทีสามารถสร้างอันตรายถึงกับชีวิตได้


นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pneumothorax/symptoms-causes/syc-20350367

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK441885/


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด