• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

ปวดอุ้งเชิงกราน (Pelvic Pain) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in หาโรค
0
0
SHARES
1.1k
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (PID)
  • สาเหตุการปวดอุ้งเชิงกราน
  • สาเหตุปวดอุ้งเชิงกรานในสตรีมีครรภ์
  • การบำบัดรักษาด้วยตนเอง
  • การวินิจฉัย
4.8 / 5 ( 21 votes )

กระดูกเชิงกราน (Pelvic Pain) คือ ตำแหน่งที่ตั้งของอวัยวะสืบพันธุ์ อยู่บริเวณท้องส่วนล่างติดกับส่วนขา โดยอาการปวดอุ้งเชิงกรานสามารถแผ่ออกไปที่ท้องส่วนล่าง ดังนั้นการแยกอาการปวดอุ้งเชิงกรานออกจากอาการปวดท้องจึงทำได้ยาก เพราะไม่ได้แบ่งแยกว่าเป็นการปวดท้องน้อยตรงกลางหรือปวดท้องน้อยที่ด้านในด้านหนึ่ง

ปวดอุ้งเชิงกราน (Pelvic Pain)

โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (PID)

โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (PID) คือ การติดเชื้อในระบบสืบพันธ์ุของเพศหญิงโดยทั่วไปจะเกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่และไม่ได้รับการรักษา เช่น หนองในเทียมหรือหนองใน เมื่อติดเชื้อครั้งแรก จะไม่เกิดอาการ แต่หากไม่ได้รับการรักษาอาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงรวมถึงอาการปวดเรื้อรังที่อุ้งเชิงกรานหรือในช่องท้อง

อาการอื่นๆ ประกอบไปด้วย:

  • มีเลือดออกระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • ไข้
  • ตกขาวมีกลิ่นแรง
  • เจ็บบริเวณท้องน้อยระหว่างถ่ายปัสสาวะ

สาเหตุการปวดอุ้งเชิงกราน

มีหลากหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยทั้งแบบฉับพลันและปวดท้องน้อยบ่อยๆ แบบเรื้อรัง การปวดอุ้งเชิงกรานแบบฉับพลัน คือ อาการปวดที่เพิ่งเกิดขึ้นและเกิดขึ้นอย่างทันที ในขณะที่การปวดอุ้งเชิงกรานแบบเรื้อรัง คือ อาการปวดที่มีระยะเวลายาวนาน 

โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (PID) จำเป็นต้องได้รับการรักษา เนื่องจากมีสาเหตุจาก:

  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • แผลเป็นที่อวัยวะสืบพันธุ์
  • ฝี
  • ความไม่สมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์

เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่

ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่สามารถเกิดขึ้นได้เสมอในช่วงวัยเจริญพันธุ์  เกิดจากการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อมดลูกนอกมดลูก และเนื้อเยื่อนี้ยังคงทำหน้าที่เหมือนที่มันเคยเป็น รวมถึงเรื่องการไหลเวียนเพื่อตอบสนองต่อรอบประจำเดือน

ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่มีหลายระดับความเจ็บปวดด้วยกันตั้งไม่รุนแรงไปจนถึงขั้นรุนแรงได้ ความเจ็บปวดนี้จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นจนทำให้สุขภาพทรุดโทรม และพบมากในช่วงที่เป็นประจำเดือนนอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์และมีการเคลื่อนไหวของลำไส้หรือกระเพาะปัสสาวะ ความเจ็บปวดในบริเวณอุ้งเชิงกราน แต่สามารถขยายเข้าไปในช่องท้อง

ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอาจส่งผลกระทบต่อปอดและกระบังลมแม้ว่าจะเกิดขึ้นได้น้อยก็ตาม

นอกจากอาการเจ็บปวดยังประกอบด้วยอาการเหล่านี้:

  • ประจำเดือนมามากกว่าปกติ
  • คลื่นไส้
  • ท้องอืด

การตกไข่

ในผู้หญิงบางคนอาจจะมีอาการเจ็บแปลบท้องช่วงที่ตกไข่คือเมื่อไข่ตกจากรังไข่  เรียกว่าอาการปวดท้องจากการตกไข่ (Mittelschmerz) อาการปวดนี้จะเกิดขึ้นไม่กี่ชั่วโมง และสามารถรักษาด้วยยาแก้ปวดทั่วไป

ปวดท้องประจำเดือน

อาการปวดท้องหน่วง ปวดท้องน้อย หรือปวดอุ้งเชิงกรานสามารถเกิดก่อนหรือระหว่างเป็นประจำเดือน เป็นอาการปวดเกร็งท้องน้อยหรือในกระดูกเชิงกราน ความรุนแรงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละเดือน

อาการปวดก่อนมีประจำเดือนอยู่ใน กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) หากความเจ็บปวดรุนแรงมากจนรบกวนกิจวัตรประจำวัน เราจะเรียกว่า กลุ่มอาการผิดปกติรุนแรงก่อนมีประจำเดือน (PMDD) PMS และ PMDD มักจะมาพร้อมกับอาการอื่น ๆ ได้แก่ :

  • ท้องอืด
  • หงุดหงิดง่าย
  • นอนไม่หลับ
  • วิตกกังวล
  • คัดเต้านม
  • อารมณ์เเปรปรวน
  • ปวดศีรษะ(headache)
  • ปวดข้อ

อาการเหล่านี้อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นทุกครั้งที่มีประจำเดือน

อาการปวดท้องประจำเดือนนี้จะรู้สึกปวดท้องเกร็งหรือเจ็บท้องน้อยและมาพร้อมกับอาการ:

  • คลื่นไส้
  • ปวดศีรษะ
  • วิงเวียนศีรษะ
  • อาเจียน

ถ้าคุณปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ด่วน เพื่อที่จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

โรครังไข่บิดขั้ว

หากรังไข่นั้นเกิดการบิดตัวจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดทันทีอย่างรุนแรง บางครั้งอาการปวดจะเกิดขึ้นพร้อมกับอาการคลื่นไส้และอาเจียน อาการนี้อาจจะเริ่มก่อนการปวดเกร็งหน้าท้อง โรครังไข่บิดขั้วถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินที่ผู้ป่วยต้องเข้าพบแพทย์เพื่อทำการผ่าตัดทันที

โรคถุงน้ำรังไข่

โรคถุงน้ำในรังไข่หรือซีสต์ในรังไข่มัก เริ่มแรกจะไม่ส่งผลให้เกิดอาการใด ๆ แต่หากมีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยเจ็บหรือปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน หรือหน้าท้องด้านใดด้านหนึ่ง และหน้าท้องส่วนล่างจะป่องกว่าปกติ

หากถุงน้ำในรังไข่แตกจะทำให้รู้สึกเจ็บปวดรุนแรงอย่างฉับพลัน ถุงน้ำในรังไข่สามารถหายไปเองได้ แต่อย่างไรก็ตามควรเข้าพบแพทย์ กรณีที่ถุงน้ำในรังไข่มีขนาดใหญ่ แพทย์จะทำการผ่าตัดออกให้ เพื่อหลีกเลี่ยงถุงน้ำรังไข่แตก

เนื้องอกในมดลูก (Myomas)

เนื้องอกในมดลูกนั้นเป็นอันตรายสำหรับมดลูก อาการแตกต่างกันไปตามขนาดและตำแหน่งที่เกิดเนื้องอก ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่ปรากฏอาการใดๆ อาการที่จะเกิดร่วมกรณีมีเนื้องอกในมดลูกได้แก่ :

  • มีเลือดออกระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • ประจำเดือนมามากกว่าปกติ
  • ปัสสาวะลำบาก
  • ปวดขา
  • ท้องผูก
  • ปวดหลัง

กรณีที่เนื้องอกในมดลูกทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดอุ้งเชิงกรานรุนแรง ผู้ป่วยควรพบแพทย์ โดยสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณดังนี้ :

  • ปวดกระดูกเชิงกรานเรื้อรัง
  • ปวดกระดูกเชิงกรานรุนแรง
  • ประจำเดือนมามากกว่าปกติ
  • ปัสสาวะติดขัด

โรคมะเร็งทางสูตินารีเวช

มะเร็งสามารถเกิดได้ในหลายตำแหน่งในอุ้งเชิงกราน ได้แก่:

  • มดลูก
  • เยื่อบุโพรงมดลูก
  • ปากมดลูก
  • รังไข่

อาการที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไป ในเรื่องของการปวดอุ้งเชิงกราน ช่องท้อง ความเจ็บระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงตกขาวผิดปกติ การตรวจสุขภาพประจำปีและการตรวจสอบภายในทางนารีเวชสามารถช่วยให้พบอาการของโรคมะเร็งได้เร็วขึ้น และหากพบจะทำให้สามารถรักษาได้ง่ายขึ้น

สาเหตุปวดอุ้งเชิงกรานในสตรีมีครรภ์

อาการปวดอุ้งเชิงกรานระหว่างการตั้งครรภ์ไม่ใช่สัญญาณปัญหาด้านสุขภาพ แต่กำลังจะบอกว่าร่างกายของคุณมีการเจริญเติบโต กระดูกเชิงกรานของคุณกำลังขยาย ทำให้คุณรู้สึกถึงความไม่สบายตัวและความเจ็บปวดได้

อย่างไรก็ตามความเจ็บปวดนี้สามารถทำให้คุณรู้สึกคลื่นไส้ได้ แม้จะไม่รุนแรง แต่คุณควรพบแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด เป็นต้น สาเหตุของการปวดอุ้งเชิงกรานระหว่างตั้งครรภ์ได้แก่ :

อาการเจ็บท้องเตือน Braxton-Hicks contractions

อาการนี้มักจะเป็นอาการเตือนถึงการตั้งครรภ์ และปัจจัยที่กระตุ้นอาการนี้ได้แก่:

  • การยกของหนัก
  • การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์
  • การขาดน้ำ

อาการเจ็บท้องเตือนนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาปกติ อาจจะมีอาการเจ็บปวดขึ้นหรือลงในบางเวลา และไม่ถือว่าเป็นอาการเจ็บปวดฉุกเฉิน แต่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงอาการที่เกิดขึ้น

การแท้งบุตร

การแท้งบุตร คือ การสูญเสียทารกในครรภ์ก่อนสัปดาห์ที่ 20 การแท้งบุตรส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นก่อนสัปดาห์ที่ 13 และจะมีอาการนี้ร่วมด้วย:

  • ตกเลือด
  • ปวดท้อง
  • ปวดอุ้งเชิงกราน
  • มีของเหลวหรือเนื้อเยื่อออกจากทางช่องคลอด

หากพบว่ามีอาการดังกล่าว ควรไปพบแพทย์ฉุกเฉินโดยทันที

การคลอดก่อนกำหนด

อาการนี้จะเกิดก่อนสัปดาห์ที่ 37 โดยมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย:

  • มีอาการปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง
  • ปวดหลังส่วนล่าง
  • เมื่อยล้า
  • ตกขาวหนักกว่าปกติ
  • ปวดเกร็งท้องน้อย

การคลอดก่อนกำหนดถือว่าเป็นอันตราย ควรพบแพทย์ในทันทีหากมีอาการดังข้างต้น เพื่อจะทำการรักษาได้ทันเวลา เพราะอาจนำไปสู่อาการของมดลูกอักเสบได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันเวลา เนื่องจากมีโอกาสสูงที่มดลูกติดเชื้อได้

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

รกนั้นก่อตัวและยึดติดกับผนังมดลูกตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ โดยมีหน้าที่ให้ออกซิเจนและสารอาหารแก่ลูกน้อยจนกว่าจะคลอด ภาวะนี้เกิดจากรกนั้นจะแยกตัวออกจากผนังมดลูกอาจจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด เราเรียกว่าภาวะรกลอก

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดอาจทำให้เกิดเลือดออกทางช่องคลอด ร่วมกับการปวดท้องและหลังอย่างรุนแรงฉับพลัน อาจเกิดขึ้นได้หลังสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ หากมีอาการดังกล่าวควรพบแพทย์ฉุกเฉินโดยทันที

การตั้งครรภ์นอกมดลูก

การตั้งครรภ์นอกมดลูกเกิดขึ้นหลังจากการปฏิสนธิของไข่ที่ท่อนำไข่หรือส่วนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ในมดลูก อาการแบบนี้ไม่สามารถรักษาได้และอาจส่งผลให้ท่อนำไข่แตกและมีเลือดออกภายใน ผู้ป่วยจะเจ็บช่องท้องอย่างรุนแรงและมีเลือดออกทางช่องคลอด รวมถึงอาจจะมีอาการปวดอุ้งเชิงกรานร่วมด้วย

สาเหตุปวดท้องน้อยอื่นๆ

อาการปวดอุ้งเชิงกรานสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นๆ นอกจากด้านบนได้ โดยอาจจะมีสาเหตุมาจากสิ่งเหล่านี้:

  • ม้ามโต
  • ไส้ติ่งอับเสบ
  • ท้องผูกเรื้อรัง
  • ถุงผนังลำไส้อักเสบ
  • ไส้เลื่อน(hernia)
  • กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานมีปัญหา
  • ลำไส้ใหญ่อักเสบ
  • นิ่วในไต

การบำบัดรักษาด้วยตนเอง

อาการปวดอุ้งเชิงกรานสามารถบรรเทาด้วยยาแก้ปวดท้องที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยารักษาใดๆ ระหว่างตั้งครรภ์ และการพักผ่อนสามารถช่วยได้ในการปวดอุ้งเชิงกรานจากสาเหตุบางประเภท สำหรับบางคนการออกกำลังกายเบาๆ สามารถช่วยได้ และคุณสามารถลองใช้เคล็ดลับเหล่านี้ได้:

  • ใช้กระเป๋าหรือขวดน้ำร้อนในการผ่อนคลายอาการปวดท้องน้อย หรืออาบน้ำอุ่น
  • ยกขาให้สูง อาจจะบรรเทาอาการปวดอุ้งเชิงกรานและอาการปวดหลังส่วนล่างหรือต้นขา
  • โยคะและทำสมาธิสามารถช่วยจัดการความเจ็บปวดได้
  • ใช้สมุนไพร เช่น เปลือกวิลโลว์ ช่วยลดอาการปวดได้ แต่ทั้งนี้ควรได้รับการอนุญาตจากแพทย์ก่อนการใช้ระหว่างตั้งครรภ์

สิ่งเหล่านี้เป็นเคล็ดลับดีๆ แต่อย่างไรก็ตามหากคุณมีอาการปวดอุ้งเชิงกรานควรพบแพทย์ และทำการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง

การวินิจฉัย

แพทย์จะทำการสอบถามและตรวจสภาพร่างกายโดยทั่วไป เพื่อหาอาการเบื้องต้นและความเจ็บปวดที่ได้รับ รวมถึงอาการผิดปกติร่วมอื่นๆ แพทย์อาจจะแนะนำแปปสเมียร์ (Pap smear) หากคุณไม่เคยมีอาการใดๆ ใน 3 ปีที่ผ่านมา

การตรวจสอบอาการโดยทั่วไปมีดังนี้:

  • การตรวจร่างกายทั่วไป เพื่อหาจุดที่ปวดบริเวณช่องท้องและอุ้งเชิงกราน
  • อัลตร้าซาวด์เชิงกราน เพื่อให้แพทย์สามารถดูโครงสร้างของมดลูกและระบบสืบพันธ์ทั้งหมด การทดสอบนี้ใช้เครื่องมือสอดเข้าไปในช่องคลอด เพื่อตรวจสอบผ่านทางจอคอมพิวเตอร์
  • การทดสอบเลือดและปัสสาวะ เพื่อหาการติดเชื้อ

หากวิธีการดังกล่าวไม่สามารถตรวจสอบพบได้ อาจจะใช้วิธีดังต่อไปนี้:

  • ซีทีสแกน CT scan
  • ทำเอ็มอาร์ไอ MRI อุ้งเชิงกราน
  • ส่องกล้องดูอุ้งเชิงกราน Pelvic laparoscopy
  • ส่องกล้องดูระบบลำไส้ Colonoscopy
  • ส่องกล้องดูกระเพาะปัสสาวะ Cystoscopy

นี่คือลิงค์ที่มาของแหล่งบทความของเรา

https://www.nhs.uk/conditions/pelvic-paincs

https://www.webmd.com/women/ss/slideshow-pelvic-pain-causes

https://www.onhealth.com/content/1/pelvic_pain_causes

https://medlineplus.gov/pelvicpain.html

https://patient.info/womens-health/pelvic-pain-in-women


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

Tags: การสืบพันธุ์ความเจ็บปวด
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post

โรคปอดอักเสบ หรือ โรคปอดบวม (Pneumonia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.