• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

โรคถุงน้ำในรังไข่ (Ovarian Cyst): อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in หาโรค, โรคระบบสืบพันธุ์
0
โรคถุงน้ำในรังไข่
0
SHARES
277
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • ประเภทของถุงน้ำในรังไข่
  • อาการของถุงน้ำในรังไข่
  • ภาวะแทรกซ้อนของถุงน้ำรังไข่
  • การวินิจฉัยถุงน้ำรังไข่
  • การป้องถันโรคถุงน้ำรังในไข่
  • แนวโน้มระยะยาวของโรคถุงน้ำในรังไข่
4.7 / 5 ( 20 votes )

โรคถุงน้ำในรังไข่ (Ovarian Cysts) คืออะไรและถุงน้ำในรังไข่เกิดจากอะไร รังไข่เป็นอวัยวะสืบพันธ์ของผู้หญิง รังไข่อยู่บริเวณอุ้งเชิงกรานของมดลูกทั้ง 2 ข้าง ทำหน้าที่ผลิตไข่ ซึ่งเป็นเซลล์ในการสืบพันธ์ของเพศหญิงและจะทำหน้าที่ตกไข่ในแต่ละรอบเดือน พร้อมทั้งสร้างฮอโมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนเพศหญิงอีกด้วย  

การเกิดซีสต์ในรังไข่ของผู้หญิงจะไม่การแสดงอาการใดๆ เลย 

ประเภทของถุงน้ำในรังไข่ 

การทำงานของซีสต์ในรังไข่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • ซีสต์ถุงน้ำที่รังไข่ (Follicle Cyst)   ถุงน้ำในรังไข่เกิดจากการตกไข่ในกระบวนการมีรอบเดือน ในช่วงที่ผู้หญิงเกิดรอบประจำเดือน ไข่จะเจริญขึ้นในถุงน้ำที่อยู่ภายในรังไข่  โดยปกติถุงน้ำจะแตกออกและปล่อยไข่ออกมา แต่หากถุงน้ำไม่แตกออกมาขอเหลวที่อยู่ภายในถุงน้ำจะก่อตัวทำให้เกิดเป็นซีสต์ในรังไข่  แต่หากมีประจำเดือนมาหลาย ๆ วันสิ่งนั้นอาจจะก่อให้เกิดซีสต์ในมดลูกซึ่งต่างกันออกไปอีก 
  • ซีสต์ถุงน้ำคอร์ปัสลูเทียม (Corpus Luteum Cyst) โดยปกติแล้ว ถุงน้ำจะละลายหลังจากที่ปล่อยไข่ออกมา แต่หากถุงน้ำไม่มีการละลาย และไม่เปิดออก จะทำให้เกิดการสะสมของของเหลวภายในถุงน้ำ  และก่อให้เกิดเป็นซีสต์ถุงน้ำคอร์ปัสลูเทียม

ถุงน้ำในรังไข่ประเภทอื่นๆคือ 

  • เดอร์มอยด์ ซีสต์ (Dermoid Cyst) ถุงน้ำชนิดนี้มีลักษณะเฉพาะตัว คือ มักจะพบในเซลล์เนื้อเยื่อของร่างกายภายใน เช่น เส้นผม ผิวหนัง หรือฟัน
  • ถุงน้ำเนื้องอกซีสตาดีโนมา (Cystadenomas) เป็นถุงน้ำที่เจริญเติบโตในบริเวณพื้นผิวโดยรอบของรังไข่ และไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง 
  •  เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriomas) เป็นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก ที่เจริญเติบโตภายนอกมดลูกเกาะติดกับรังไข่ ก่อให้เกิดซีสต์

ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่พบการเกิดถุงน้ำจำนวนมากของรังไข่ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดซีสต์จำนวนเยอะมาก หากไม่รีบรับการรักษาจะทำให้เข้าสู่ภาวะมีบุตรยาก

อาการของถุงน้ำในรังไข่ 

อาการถุงน้ำในรังไข่ ส่วนใหญ่ซีสต์จะไม่แสดงอาการใดๆ แต่หากถุงน้ำในรังไข่โตขึ้น จะทำให้มีอาการดังต่อไปนี้ 

  • ท้องอืดท้องบวม
  • เจ็บปวดเนื่องการเคลื่อนไหวของลำไส้
  • ปวดกระดูกเชิงกรานก่อนหรือระหว่างรอบประจำเดือน
  • เจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ 
  • ปวดหลังส่วนล่างหรือต้นขา
  • เต้านมแข็ง และปวด
  • คลื่นไส้และอาเจียน

หากมีอาการรุนแรงของถุงน้ำรังไข่ดังกล่าวต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที:

  • ปวดกระดูกเชิงกรานอยากรุนแรง
  • มีอาการไข้ร่วมด้วย
  • มีอาการหน้ามืดหรือวิงเวียนศีรษะ
  • หายใจเร็ว

ภาวะแทรกซ้อนของถุงน้ำรังไข่ 

ซีสต์ในรังไข่ ส่วนใหญ่จะหายไปเองตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องรักษา   ซีสต์เหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการเล็กน้อย บางรายแพทย์อาจตรวจพบก้อนมะเร็งร่วมด้วย  หากมีคำถามว่าถุงน้ำในรังไข่อันตรายไหม บางครั้งอาจจะเป็นอันตรายได้เพราะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายจึงควรพบแพทย์ 

ภาวะการบิดขั้วของรังไข่เป็นภาวะที่พบได้ยาก แต่หากถุงน้ำมีขนาดใหญ่อาจะทำให้เกิดรังไข่บิดได้ หรือรังไข่อาจย้ายจากตำแหน่งเดิม ทำให้เลือดที่จะไปเลี้ยงในรังไข่ถูกตัดขาด กรณีนี้หากไม่รีบรักษาอาจะทำให้เนื้อเยื่อของรังไข่ถูกทำลายและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 

การแตกของซีสต์หรือถุงน้ำในรังไข่แตก กรณีนี้จะพบได้ยาก การแตกของซีสต์จะทำให้มีอาการปวดภายในเป็นอย่างมาก และมีเลือดออก กรณีนี้จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นอย่างมาก หากปล่อยไว้จะทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน 

การวินิจฉัยถุงน้ำรังไข่ 

แพทย์จะตรวจถุงน้ำรังไข่ บริเวณอุ้งเชิงกราน หากพบว่าถุงน้ำมีลักษณะบวม จะใช้วิธีอัลตร้าซาวน์เพื่อให้มั่นใจว่ามีถุงน้ำ ใช้คลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อตรวจสอบภายสารภายในถุงน้ำของผู้ป่วย 

การใช้เครื่องมือตรวจสอบลักษณะของถุงน้ำในรังไข่ 

  • ใช้ CT สแกน
  • ใช้วิธีอัลตร้าซาวน์
  • ใช้วิธี MRI 

ซีสต์ส่วนใหญ่จะหายไปภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ หรือเวลาหลายเดือน แพทย์จะใช้วิธีอัลตร้าซาวน์เพื่อตรวจสอบร่องรองของถุงน้ำในรังไข่อีกครั้ง หากมีถุงน้ำในรังไข่เพิ่มขึ้นแพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุการเพิ่มขึ้นของอาการเหล่านี้เพิ่มเติม 

  • ตรวจสอบการตั้งภรรค์  ให้มั่นใจว่าผู้ป่วยไม่ได้อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์
  • ตรวจสอบระดับฮอร์โมนว่ามีฮอร์โมนเพศหญิงหรือฮอร์โมสเอสโตรเจนมากเกินไปหรือไม่
  • การตรวจเลือด CA-125 เพื่อหามะเร็งรังไข่

การรักษาถุงน้ำในรังไข่ 

การรักษาถุงน้ำที่รังไข่ แพทย์จะทำการรักษาให้ถุงน้ำในรังไข่หัวตัวลงหรือไม่ให้ถุงน้ำมีขนาดโตขึ้น 

  • ยาคุมกำเนิด กินยาคุมกำเนิดเพื่อหยุดการตกไข่ และป้องกันการเกิดถุงน้ำใหม่ ยาคุมกำเนิดจะช่วยให้ลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่ได้อีกด้วย มะเร็งในรังไข่ จะพบได้มากในสตรีวัยหมดประจำเดือน 
  • การใช้กล้องส่องเข้าไปดูอวัยวะในอุ้งเชิงกราน เพื่อทำการผ่าตัดเอาถุงน้ำออก 
  • การผ่าตัดช่องท้องเพื่อเอาถุงน้ำขนาดใหญ่ออกมา หากตรวจสอบว่าถุงน้ำนั้นเป็นมะเร็ง แพทย์จะทำการผ่าตัดรังไข่และมดลูกออก

การป้องถันโรคถุงน้ำรังในไข่ 

โรคถุงน้ำรังไข่สามารถป้องกันได้ โดยการตรวจภายใน การตรวจภายใน จะทำสามารถตรวจซีสต์ในรังไข่ได้ หากพบเจอสามารถรักษาได้ทันท่วงที เพื่อไม่ให้มีอาการผิดปกติที่ตามมาในภายหลังได้

อาการที่อาจบ่งบอกถึงการเกิดโรคถุงน้ำในรังไข่ เช่น 

  • การเปลี่ยนแปลงรอบประจำเดือน
  • ปวดกระดูกเชิงกรานเป็นประจำ
  • ไม่เจริญอาหาร
  • น้ำหนักลด
  • มีอาการปวดท้อง

แนวโน้มระยะยาวของโรคถุงน้ำในรังไข่

ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน และผู้หญิงที่มีฮอร์โมนไม่สมดุล จะมีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคถุงน้ำในรังไข่ ส่วนผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธ์ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก หากเกิดขึ้นแล้วแพทย์แนะนำให้รอดูอาการของซีสต์ หากมีซีสต์มีขนาดใหญ่เกินกว่า 5 เซนติเมตร แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดออก เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งในรังไข่ต่อไป 


ลิ้งค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา

  • https://www.womenshealth.gov/a-z-topics/ovarian-cysts
  • https://www.nhs.uk/conditions/ovarian-cyst/ 
  • https://www.onhealth.com/content/1/ovarian_cysts

[ABTM id=1109]

Tags: การสืบพันธุ์ผิวหนังมะเร็งวิทยา
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
ซีสต์

ซีสต์ (Cyst): อาการ สาเหตุ การรักษา 

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.