• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

ภาวะกระดูกบาง (Osteopenia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
19/02/2021
in หาโรค
0
ภาวะกระดูกบาง
0
SHARES
15
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • ภาพรวม
  • สาเหตุของภาวะกระดูกบางและปัจจัยเสี่ยง
  • อาการของโรคกระดูกบาง
  • การวินิจฉัยภาวะกระดูกบาง
  • การป้องกันภาวะกระดูกบาง
  • การรักษาภาวะกระดูกบาง
  • อาหารสำหรับผู้ที่มีภาวะกระดูกบาง
  • การออกกำลังกายในผู้ที่มีภาวะกระดูกบาง
Rate this post

ภาพรวม

หากคุณมีภาวะกระดูกบาง (Osteopenia) คือการที่ร่างกายของผู้ป่วยมีความหนาแน่นและมวลกระดูกน้อยกว่าปกติ ความหนาแน่นของร่างกายจะขึ้นสูงสุดตอนอายุประมาณ 35 ปี

การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BMD) คือการตรวจความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูก เพื่อหาค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นกระดูกที่มีโอกาสแตกหักง่ายจากการทำกิจกรรมตามปกติ คนที่มีภาวะมวลกระดูกบางจะมีความหนาแน่นของกระดูกน้อยกว่าปกติ แต่ยังไม่ถือว่าเป็นโรค

แต่อย่างไรก็ตามคนที่มีภาวะกระดูกบางนั้นมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนด้วย โรคกระดูกพรุนเป็นต้นเหตุของกระดูกที่แตกหัก หลังค่อมและยังเป็นเหตุให้เกิดความเจ็บปวดที่รุนแรงและความสูงที่ลดหายไป

คุณสามารถป้องกันภาวะกระดูกบางได้ เพียงแค่ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรง หากคุณมีภาวะกระดูกบาง ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีที่คุณจะสามารถปรับปรุงและป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่ภาวะโรคกระดูกพรุน

สาเหตุของภาวะกระดูกบางและปัจจัยเสี่ยง

อายุเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุหลักของภาวะกระดูกบาง หลังจากความหนาแน่นของกระดูกขึ้นสูงถึงจุดสุดยอดแล้วนั้น ร่างกายของคนเราจะสลายเนื้อกระดูกเก่าได้รวดเร็วกว่าการเสริมสร้างกระดูกใหม่ นั้นหมายความว่าคุณกำลังสูญเสียความหนาแน่นของกระดูกไป

ผู้หญิงจะเสียความหนาแน่นของกระดูกไปอย่างรวดเร็วเมื่อย่างเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ในช่วงระหว่างที่ระดับเอสโตรเจนลดน้อยลง หากการสูญเสียมีมากเกินไป มวลของกระดูกคุณอาจตกต่ำลงจนเกินกว่าจะประเมินได้

กว่าครึ่งของชาวอเมริกันที่มีอายุเกินกว่า 50 ปีจะมีภาวะกระดูกบาง ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนมีปัจจัยเสี่ยง และจะยิ่งเสี่ยงมากยิ่งขึ้นเพราะ:

  • เพศหญิง ผู้หญิงชาวเอเซียที่มีกระดูกเล็กและฝรั่งขาวหรือชาวเชื้อสายคอเคเซียนจะมีความเสี่ยงสูงมากที่สุด

  • ประวัติครอบครัวมีภาวะมวลกระดูกต่ำ

  • มีอายุมากกว่า 50 ปี

  • ย่างเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี

  • มีการตัดรังไข่ออกก่อนวัยหมดประจำเดือน

  • ขาดการออกกำลังกาย

  • ขาดโภชนาการที่ดี โดยเฉพาะขาดแคลเซียมและวิตามินดี

  • สูบบุหรี่หรือยาสูบรูปแบบต่างๆ

  • การดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนมากเกินไป

  • มีการใช้ยาเพรดนิโซโลนหรือยาเฟนิโทอิน

การมีโรคประจำตัวอื่นๆก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกบางได้เช่น:

  • โรคกลัวอ้วน อะนอเร็กเซีย

  • โรคบูลิเมีย (Bulimia)

  • กลุ่มอาการคุชชิง

  • โรคฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง

  • โรคไทรอยด์เป็นพิษ

  • โรคที่เกิดจากการอักเสบต่างๆเช่น โรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคลูปัส หรือโรคโครห์น (Crohn’s disease)

อาการของโรคกระดูกบาง

ภาวะกระดูกบางตามปกติแล้วนั้นไม่มีอาการใด ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการสูญเสียความหนาแน่นของกระดูก และไม่มีอาการเจ็บปวด

การวินิจฉัยภาวะกระดูกบาง

ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจหาภาวะกระดูกบาง?

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งชาติได้แนะนำให้มีการตรวจหามวลของกระดูกหากคุณเป็นผู้ที่มีภาวะดังต่อไปนี้:

  • เพศหญิงที่มีอายุมากกว่า 65 ปี

  • เข้าข่ายวัยหลังหมดประจำเดือนโดยมีอายุน้อยกว่า 65 ปี และมีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อยหนึ่งอย่างหรือมากกว่า

  • อยู่ในวัยหลังหมดประจำเดือนและกระดูกแตกหักจากการทำกิจกรรมตามปกติธรรมดา เช่นการดันเก้าอี้เพื่อลุกขึ้นยืนหรือการดูดฝุ่น

แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจหามวลกระดูกจากเหตุผลอื่นได้ ยกตัวอย่างเช่น 1 ใน 3 ของหญิงผิวขาวหรือชาวเอเซียที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปที่มีความหนาแน่นกระดูกต่ำ

การตรวจ DEXA

การตรวจ Dual energy X-ray absorptiometry หรือที่เรียกว่า DEXA หรือ DXA คือเครื่องตรวจวัดมวลกระดูกที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน หรือที่เรารู้จักกันดีว่าการตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก เป็นวิธีการเอ็กซเรย์ด้วยรังสีปริมาณต่ำกว่าการเอ็กซเรย์ทั่วไป การตรวจรูปแบบนี้ไม่สร้างความเจ็บปวดใดๆแก่คนไข้

เครื่องตรวจ DEXA มักนำมาใช้ตรวจหาระดับความหนาแน่นของกระดูกที่อยู่บริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก ข้อมือ นิ้วมือ หน้าแข้งหรือส้นเท้า เครื่อง DEXA จะทำการเปรียบเทียบความหนาแน่นของกระดูกในคนที่มีอายุประมาณ 30 ปีที่มีเพศและเชื้อชาติเดียวกัน ผลที่ได้จากการตรวจ  DEXA คือ ค่าทีสกอร์มาตรฐานที่แพทย์สามารถนำมาใช้เพื่อประกอบการวินิจฉัยได้

ค่าT-score

การวิจฉัย

+1.0 to –1.0

ความหนาแน่นกระดูกปกติ

–1.0 to –2.5

ความหนาแน่นของกระดูกต่ำ หรือภาวะกระดูกบาง

–2.5 or more

ภาวะโรคกระดูกพรุน

หากค่าทีสกอร์แสดงผลว่าคุณเป็นภาวะกระดูกบาง ผลรายงานจากการตรวจ DEXA จะมีค่า FRAX รวมอยู่ด้วย แต่หากว่าไม่มีแพทย์ของคุณจะสามารถคำนวณหามาให้คุณรู้ได้

Osteopenia

เครื่องมือ FRAX เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อหาความหนาแน่นของกระดูกและสามารถคำนวณความเสี่ยงอื่นๆในอัตราค่าเฉลี่ยสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะมีการแตกหักของสะโพก กระดูกสันหลัง แขนท่อนล่าง หรือหัวไหล่ในอีก 10 ปีข้างหน้า

แพทย์ของคุณอาจจะใช้คะแนนจากการตรวจด้วย FRAX มาช่วยในการตัดสินใจเรื่องการดูแลรักษาภาวะกระดูกบางร่วมด้วย

การป้องกันภาวะกระดูกบาง

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการเกิดภาวะกระดูกบางคือการหลีกเลี่ยงหรือหยุดพฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดภาวะดังกล่าว ถ้าคุณสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ หรือคาเฟอีนในปริมาณมาก ให้เลิกซะ-โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีอายุต่ำกว่า 35 ปี ในช่วงวัยที่กระดูกยังคงสร้างตัวได้เองอยู่

หากคุณมีอายุเกิน 65 ปี แพทย์จะแนะนำให้คุณตรวจ DEXA สแกนอย่างน้อยหนึ่งครั้งเมื่อดูกระดูกที่สูญเสียไป

คนทั่วไปในทุกช่วงอายุสามารถช่วยทำให้กระดูกของตนเองมีความแข็งแรงได้ โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และแน่ใจว่าได้รับปริมาณสารอาหารแคลเซียมและวิตามินอย่างพอเพียง นอกจากได้จากการรับประทานอาหารแล้วนั้นยังมีวิธีได้รับวิตามินอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือการออกไปรับแสงแดดสักเล็กน้อย ควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการรับแสงแดดอย่างถูกวิธีและมีความปลอดภัย

การรักษาภาวะกระดูกบาง

เป้าหมายหลักของการรักษาคือการพยายามคงที่ภาวะกระดูกบางไว้ก่อนที่ภาวะดังกล่าวจะดำเนินต่อไปสู่โรคกระดูกพรุน

ช่วงแรกของการรักษาจะดูแลในเรื่องของโภชนาการอาหารและทางเลือกในการออกกำลังกาย ความเสี่ยงในการเกิดกระดูกแตกหักเมื่ออยู่ในภาวะกระดูกบางนั่นเป็นสิ่งที่พบได้ไม่บ่อยนัก ดังนั้นตามปกติแล้วแพทย์จะยังไม่มีการสั่งจ่ายยารักษาโรคใดๆให้ผู้ป่วย จนกว่าความหนาแน่นในกระดูกของผู้ป่วยจะแสดงผลว่าเริ่มเข้าสู่ภาวะกระดูกพรุนมากแล้ว

ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลสุขภาพอาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเสริมประเภทแคลเซียมหรือวิตามินดี ถึงแม้จะพบว่าเป็นเรื่องที่ดีมากกว่าเราหากได้รับมันจากอาหารที่เราเลือกรับประทานก็ตาม

อาหารสำหรับผู้ที่มีภาวะกระดูกบาง

ควรรับประทานแคลเซียมและวิตามินดี ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำและปราศจากไขมัน เช่น ชีส นม และโยเกิร์ต น้ำส้มบางชนิด ขนมปัง และซีเรียลที่เสริมแคลเซียมและวิตามินดี รวมไปถึงอาหารอื่นๆที่มีแคลเซียม เช่น:

  • ถั่วอบแห้งต่างๆ

  • บร็อคโคลี่

  • ปลาแซลมอน

  • ผักโขม

เพื่อตรวจเช็คคำนวณหาปริมาณสารอาหารสำหรับกระดูกที่เหมาะสม คุณสามารถใช้โปรแกรมคำนวณแคลเซียมจากบนหน้าเวบไซต์ของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งชาติได้ การคำนวณจะใช้มาตรวัดสัดส่วนเป็นกรัม ดังนั้นจึงควรจำไว้ว่า 30 กรัมคือประมาณ 1 ออนซ์

ปริมาณแคลเซียมที่เป็นเป้าหมายของผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนคือประมาณ 1200มิลลิกรัมต่อวัน และ วิตามินดี 800 IU แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะกระดูกบางยังไม่ได้รับรายงานว่าต้องรับในปริมาณเดียวกันหรือไม่แต่อย่างไร

การออกกำลังกายในผู้ที่มีภาวะกระดูกบาง

หากคุณมีภาวะกระดูกบาง ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวและเป็นเพศหญิงที่อยู่ในช่วงวัยก่อนหมดประจำเดือน การเดิน กระโดดหรือวิ่งอย่างน้อยวันละ 30 นาทีต่อวันจะช่วยเสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรง

การออกกำลังกายแบบแอโรบิกโดยมีการลงน้ำหนักที่ขาทุกรูปแบบนั่นหมายความว่าเท้าของคุณจะต้องแตะบนพื้น ในขณะที่การว่ายน้ำหรือการขี่จักรยานอาจช่วยเรื่องการทำงานของหัวใจและสร้างกล้ามเนื้อได้ด้วยโดยไม่ทำร้ายกระดูก

การเพิ่มมวลกระดูกที่แม้จะมีเพียงน้อยนิดแต่ก็พบว่าสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดการแตกหักได้ดีในช่วงท้ายของชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อคนเราเริ่มมีอายุเพิ่มมากขึ้น ถือว่าเป็นเรื่องยากแล้วในการสร้างกระดูก ในอายุที่เพิ่มขึ้นเราควรใช้การออกกำลังกายเพื่อเน้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและสร้างการทรงตัวให้กับร่างกายแทน

การเดินเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุด แต่ปัจจุบันนี้การว่ายน้ำหรือการขี่จักรยานก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดีเช่นกัน ด้วยการออกกำลังกายเหล่านี้จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการหกล้มได้ดี

ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการออกกำลังกายที่ดีที่สุดและมีความปลอดภัยมากที่สุด

นอกจากการออกกำลังกายด้วยการเดินหรือแบบอื่นๆแล้ว อาจลองการออกกำลังกายเพื่อความแข็งแรงดังต่อไปนี้:

การออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้านใน

กล้ามเนื้อต้นขาด้านในจะช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับสะโพก และช่วยให้ร่างกายทรงตัวได้ดีขึ้น ลองทำท่าดังต่อไปนี้อย่างน้อย 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์

  1. ยืนหันข้างขนานกับเก้าอี้ และจับบนเก้าอี้ด้วยมือข้างหนึ่ง ยืดตัวตรง

  2. วางมืออีกข้างไว้ตรงบริเวณด้านบนกระดูกเชิงกราน และยกขาขึ้นออกไปทางด้านข้าง ยืดตรง

  3. ชี้ปลายเท้าไปข้างหน้า ไม่ยกสูงเกินกว่าระดับเชิงกราน

  4. ลดขาลง ทำซ้ำ 10 ครั้ง

  5. เปลี่ยนข้าง และทำเหมือนเดิมกับขาอีกข้าง 10 ครั้ง

ยกเท้าและส้นเท้าให้สูง

การยกเท้าและส้นเท้าจะช่วยสร้างความแข็งแรงให้น่องขาและช่วงในการทรงตัวให้ดีขึ้น ควรทำทุกวัน หากคุณรู้สึกเจ็บเท้าควรสวมรองเท้าสำหรับการออกกำลังนี้

  1. ยืนตรงหันหน้าเข้าด้านหลังเก้าอี้ จับที่พนักเก้าอี้เบาๆด้วยมือข้างหนึ่งหรืออาจทั้งสองมือ ยืนทรงตัวให้ดี การออกกำลังนี้สามารถใช้มือข้างหนึ่งหรือนิ้วมือเพื่อช่วยในการทรงตัว

  2. ยืนตัวตรง

  3. วางส้นเท้าบนพื้น และยกปลายเท้าขึ้นจากพื้น ยืนตัวตรงพร้อมกับเข่าตรง

  4. ยกค้างไว้ 5 วินาที จากนั้นวางเท้าลง

  5. ยกส้นเท้าขึ้นเขย่ง นึกภาพคุณกำลังยื่นศีรษะขึ้นบนเพดาน

  6. ค้างไว้ 5 วินาที จงหยุดหากเกิดอาการกล้ามเนื้อเป็นตะคริว

  7. ค่อยๆลดส้นเท้าลงที่พื้น

  8. ทำซ้ำ 10 ครั้ง

นอนคว่ำยกขา

การนอนคว่ำแล้วยกขาเป็นการสร้างความแข็งแรงให้กับแผ่นหลังช่วงล่างและบริเวณก้น และยังทำให้ต้นขาด้านในของคุณแข็งแรง ออกกำลังด้วยท่านี้ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์

  1. นอนคว่ำลงบนเสื่อที่พื้นหรือที่นอนที่แข็งไม่อ่อนยวบ

  2. วางหมอนไว้บริเวณใต้ท้อง เมื่อคุณยกขาขึ้นจะอยู่ตำแหน่งตรงกลางพอดี คุณอาจวางพักศีรษะไว้บนแขนหรืออาจม้วนผ้าขนหนูรองไว้ที่บริเวณหน้าผาก บางคนอาจม้วนผ้าขนหนูรองไว้ที่ไหล่ทั้งสองข้างและที่ใต้เท้าด้วย

  3. สูดลมหายใจเข้าลึกๆ ค่อยๆกดเชิงกรานเข้ากับหมอน บีบก้นไว้.

  4. ยกต้นขาขึ้นจากพื้นอย่างช้าๆ พร้อมกับยืดหัวเข่าเบาๆ ค้างไว้นับถึง 2 ปล่อยเท้าตามสบาย

  5. ลดต้นขาและสะโพกลงกลับที่พื้น

  6. ทำซ้ำ 10 ครั้ง

  7. ทำแบบเดิมกับขาอีกข้างอีก 10 ครั้ง


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/osteoporosis/guide/osteopenia-early-signs-of-bone-loss

  • https://www.nhs.uk/conditions/osteoporosis/

  • https://www.medicinenet.com/osteopenia/article.htm

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK499878/


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
โรคกระดูกอักเสบ

โรคกระดูกอักเสบ (Bone Infection) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.