ตาบอดกลางคืน (Night Blindness) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ตาบอดกลางคืน

ตาบอดกลางคืนคืออะไร

โรคตาบอดกลางคืน (Night Blindness) คือ ความบกพร่องทางการมองเห็นชนิดหนึ่ง ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Nyctalopia ผู้คนที่มีภาวะตาบอดกลางคืนจะมองเห็นไม่ชัดในเวลากลางคืนหรือในที่แสงสลัว

แม้ว่าความหมายของโรคตาบอดกลางคืนจะหมายถึงการไม่สามารถมองเห็นได้ในเวลากลางคืน ไม่เพียงเท่านั้น คุณอาจมีความลำบากในการมองเห็นหรือการขับรถในที่มืด

ตาบอดกลางคืนบางชนิดสามารถรักษาได้ ขณะที่ชนิดอื่นรักษาไม่ได้ การไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของการบกพร่องทางการมองเห็น ซึ่งหากทราบสาเหตุของปัญหาแล้วนั้น ก็จะช่วยให้ทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องเพื่อแก้ไขการมองเห็นได้

อาการเพียงอย่างเดียวของตาบอดกลางคืนคือการมองเห็นในที่มืดลำบาก คุณมีแนวโน้มที่จะเกิดตาบอดกลางคืนมากขึ้น เมื่อตาของคุณเปลี่ยนการมองเห็นจากสภาพแวดล้อมที่สว่างไปสู่ที่ที่มีแสงสว่างน้อย เช่น เมื่อคุณออกจากทางเดินที่มีแดดส่องเพื่อเข้าไปในร้านอาหารที่มีแสงสลัว

คุณมีแนวโน้วบกพร่องในการมองเห็นเมื่อขับรถเนื่องจากความสว่างที่ไม่ต่อเนื่องจากไฟหน้ารถและไฟจากถนน

สาเหตุของตาบอดกลางคืน

ภาวะทางตาบางอย่างอาจทำให้ตาบอดกลางคืน ได้แก่:

  • สายตาสั้น หรือการมองเห็นไม่ชัดเมื่อวัตถุอยู่ไกล

  • ต้อกระจก หรือเลนส์ตาขุ่นมัว

  • โรคจอประสาทตาเสื่อม (Retinitis pigmentosa) เกิดจากเม็ดสีเข้มสะสมในเรตินาและสร้างการมองเห็นแบบอุโมงค์

  • กลุ่มอาการอัชเชอร์ (Usher syndrome) เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการได้ยินและการมองเห็น

ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสูงในการเกิดต้อกระจก พวกเขาจึงมีแนวโน้มที่จะตาบอดกลางคืนเนื่องจากต้อกระจกมากกว่าในเด็กหรือผู้ใหญ่ตอนต้น

วิตามินเอ หรือที่เรียกว่า เรตินอล (Retinol) มีบทบาทในการเปลี่ยนกระแสประสาทเป็นภาพในเรตินา โดยเรตินาคือบริเวณที่ไวต่อแสงอยู่ส่วนหลังของดวงตา

คนที่เป็นโรคตับอ่อนทำงานบกพร่อง (Pancreatic insufficiency) เช่น บุคคลที่เป็นโรคซีสติดไฟโบรซีส (Cystic fibrosis), มีปัญหาในการดูดซึมไขมัน และมีความเสี่ยงที่จะขาดวิตามินเอเนื่องจากวิตามินเอสลายในไขมัน ทำให้พวกเขามีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดตาบอดกลางคืน

คนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือโรคเบาหวาน จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคทางตา เช่น ต้อกระจก

Night Blindness

แนวทางในการรักษาตาบอดกลางคืน

จักษุแพทย์จะซักประวัติทางการแพทย์และตรวจตาเพื่อทำการวินิจฉัยโรคตาบอดกลางคืน คุณอาจต้องเจาะเลือดส่งตรวจ เพื่อประเมินระดับวิตามินเอและน้ำตาลในเลือด

ตาบอดกลางคืนที่มีสาเหตุมาจาก สาตาสั้น ต้อกระจก หรือการขาดวิตามินเอ สามารถรักษาได้ การแก้ไขสายตา เช่น การสวมแว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ สามารถแก้ไขสายตาสั้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน

แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณยังมีปัญหาในการมองเห็นในที่สลัว แม้จะได้รับการแก้ไขสายตามาแล้ว

ต้อกระจก

ส่วนที่ขุ่นมัวในเลนส์ตาของคุณ เรียกว่า ต้อกระจก

สามารถแก้ไขต้อกระจกได้ด้วยการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะทำการเปลี่ยนเลนส์ตาที่ขุ่นมัวออกมาและแทนที่ด้วยเลนส์ตาเทียม ตาบอดกลางคืนของคุณก็จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายหลังการผ่าตัด หากนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดตาบอดกลางคืน

การขาดวิตามินเอ

หากคุณมีระดับวิตามินเอต่ำ แพทย์จะแนะนำให้เสริมวิตามินตามที่กำหนด

คนส่วนใหญ่มักไม่เกิดภาวะขาดวิตามินเอ เนื่องจากพวกเขาสามารถเข้าถึงโภชนาการที่เหมาะสม

ภาวะทางพันธุกรรม

ภาวะทางพันธุกรรมที่เป็นสาเหตุให้เกิดตาบอดกลางคืน เช่น จอประสาทตาอักเสบ (Retinitis pigmentosa) ไม่สามารถรักษาได้ ซึ่งพันธุกรรมดังกล่าวเป็นเหตุให้เม็ดสีที่ถูกสร้างขึ้นในเรตินาไม่ตอบสนองต่อการแก้ไขเลนส์ตา หรือการผ่าตัด

คนที่มีรูปแบบของตาบอดกลางคืนดังกล่าวควรเลี่ยงการขับรถในเวลากลางคืน

การป้องกันตาบอดกลางคืน

คุณสามารถหลีกเลี่ยงตาบอดกลางคืนได้โดยการตรวจกาความผิดปกติตั้แต่เกิด หรือการตรวจพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการอัชเชอร์ (Usher syndrome) อย่างไรก็ตามคุณสามารถตรวจระดับน้ำตาลในเลือดควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และรับประทานอาหารอย่างสมดุลเพื่อทำให้ตาบอดกลางคืนน้อยลง

รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน และแร่ธาตุที่ช่วยป้องกันต้อกระจก นอกจากนี้การเลือกรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอสูงจะช่วยลดความเสี่ยงของตาบอดกลางคืน

อาหารที่มีสีส้ม-เหลืองเป็นแหล่งวิตามินเอชั้นดี เช่น:

  • แคนตาลูป

  • มันหวาน

  • แครอท

  • ฟักทอง

  • ฟักทองน้ำเต้า

  • มะม่วง

วิตามินเอมักอยู่ใน:

แนวโน้มระยะยาว

หากมีอาการตาบอดกลางคืน ควรใช้ความระมัดระวัง เพื่อให้ตนเอง และผู้อื่นปลอดภัย งดการขับขี่ในเวลากลางคืนมากเท่าที่จะเป็นไปได้จนกว่าสาเหตุของโรคตาบอดกลางคืนของคุณคงที่ หากรักษาได้

จัดช่วงเวลาในการขับขี่ให้อยู่ในเวลากลางวัน หรือให้เพื่อน สมาชิกในครอบครัว หรือใช้บริการแท็กซี่แทนเมื่อจำเป็นต้องเดินทางในเวลากลางคืน

สวมใส่แว่นตากันแดด หรือหมวกมีปีกที่สามารถลดแสงจ้าระหว่างที่คุณอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงจ้า ซึ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงไปสู่สภาพแวดล้อมที่มืดลงได้ง่ายขึ้น


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://my.clevelandclinic.org/health/symptoms/10118-night-blindness-nyctalopia

  • https://www.webmd.com/eye-health/night-blindness

  • https://www.optometrists.org/general-practice-optometry/what-causes-night-blindness/

  • https://www.medicinenet.com/night_blindness/definition.htm


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด