โรคเนื้อเน่า (Necrotizing Fasciitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคเนื้อเน่า (Necrotizing Fasciitis) คือ Soft Tissue Inflammation หรือที่เรียกอีกชื่อว่าแบคทีเรียกินเนื้อ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียของเนื้อเยื่ออ่อน ซึ่งอาจทำให้ผิวถูกทำลายไปถึงเนื้อเยื่อชั้นกล้ามเนื้อ และชั้นใต้ผิวหนังได้   โรคเนื้อเน่า เกิดจากแบคทีเรียชนิดสเตรปโตค็อคคัส กลุ่มเอ (Group A Streptococcus) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “โรคแบคทีเรียกินเนื้อ” การติดเชื้อจะไม่ลามรุนแรงมาก หากผิวหนังไม่มีการรับเชื้อจากแบคทีเรียชนิดอื่น ร่วมด้วย  แบคทีเรียกินเนื้อชนิดนี้มักจะพบยากในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง หากพบว่ามีอาการเสี่ยงหรือคิดว่าได้รับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้แล้ว ควรพบแพทย์โดยทันที เพราะหากผิวหนังได้รับเชื้อแล้ว เชื้อแบคทีเรียจะลุกลามผิวหนังอย่างรวดเร็ว และควรรับรักษาอาการโดยเร็วที่สุด

สาเหตุของโรคแบคทีเรียกินเนื้อ

เมื่อผิวหนังบนร่างกายของคุณได้รับการบาดแผล หรือเป็นแผลแค่จุดเล็กๆ เชื้อแบคทีเรียนี้จะเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็ว และเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ ซึ่งอาจทำให้เลือดออกมาเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นไม่พอ และทำให้ผิวหนังตายได้ มีแบคทีเรียหลายชนิดที่ทำให้ผิวหนังเกิดอาการอักเสบ ชนิดที่พบมากที่สุดคือแบคทีเรีย สเตรปโตค็อคคัส กลุ่มเอ (Group A Streptococcus)  และแบคทีเรียชนิดอื่นๆอีกเช่น 

  • Aeromonas hydrophila
  • Clostridium
  • E. coli
  • Klebsiella
  • Staphylococcus aureus

อาการของโรคแบคทีเรียกินเนื้อ

หากผิวหนังได้รับเชื้อแบคทีเรียแล้ว จะมีอาการปวด อักเสบ บวมแดง และอาจทำให้ผู้ป่วยมีไข้อีกด้วย บริเวณผิวหนังที่ติดเชื้อเปลี่ยนเป็นสีคล้ำและอาจมีหนองไหลจากอาการพุพองอีกด้วย  อาการแทรกซ้อนอื่นๆ ของโรคเนื้อเน่า เช่น

การสังเกตอาการของโรคแบคทีเรียกินเนื้อ

การสังเกตอาการของโรคเนื้อเน่าหรือแบคทีเรียกินเนื้อ ในระยะแรกมีความสำคัญต่อผู้ป่วยมาก หากผู้ป่วยสังเกตอาการและระดับความรุนแรงของอาการได้ จะส่งผลให้สามารถรักษาได้ตรงตามระดับของอาการและ ป้องกันไมให้ลุกลามรุนแรงถึงชีวิตได้  ผู้ที่รักษาหายจะมีร่องรอยแผลเป็นเล็กน้อย หรืออาจจะนำไปถึงการผ่าตัดอวัยวะ แขน ขา การรักษามีหลายขึ้นตอน  แพทย์จะให้คำแนะนำในการรักษาตามลักษณะของผิวที่ติดเชื้อของโรคเนื้อเน่า  

ปัจจัยเสี่ยงของผู้ที่เกิดโรคเนื้อเน่า

โรคเนื้อเน่า (Necrotizing Fasciitis) ผู้ที่มีสุขภาพดีจะพบแบคทีเรียชนิดนี้ได้ยาก ส่วนผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ หรือภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงจะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่นผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงจะเห็นได้จากผู้ป่วยที่มีภาวะโรคเหล่านี้เช่น 
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือโรคปอดเรื้อรัง
  • ผู้ป่วยที่ใช้สารสเตียรอยด์รักษา
  • ผู้ที่ผิวหนังมีบาดแผล
  • ผู้ที่ติดสุราหรือผู้ติดยาเสพติด 

จะวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างไร 

แพทย์ที่รักษาโรคผิวหนังโดยตรง ใช้วิธีตรวจชิ้นเนื้อบริเวณที่ได้รับเชื้อแบคทีเรีย หรือการตรวจเลือดด้วยวิธีการCTสแกน จะทำให้สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้โดยตรง ผลตรวจเลือดจะทราบผลได้ชัดเจนหากว่าผิวหนังของคุณได้รับเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เป็นโรคเนื้อเน่า

วิธีการรักษาผู้เป็นโรคเนื้อเน่า 

การรักษาผู้เป็นโรคเนื้อเน่า เริ่มต้นด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ตัวยาปฏิชีวนะจะสมานแผลและรักษาโดยตรงไปยังบริเวณที่ผิวได้รับเชื้อแบคทีเรีย แต่ตัวยาปฏิชีวนะอาจไม่สามารถรักษาผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อได้ทั้งหมด แพทย์อาจใช้วิธีผ่าตัดเนื้อเยื้อหรือตัดชิ้นเนื้อที่ตายแล้วออก ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องตัดอวัยวะ แขน หรือ ขา ออก เพื่อหยุดการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรีย 

วีธีป้องกันโรคเนื้อเน่า

ควรล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่และหากผิวได้รับบาดแผล ควรรีบรักษาโดยทันที ควรเปลี่ยนผ้าพันแผล เมื่อเปียกน้ำ และไม่ควรปล่อยให้แผลสกปรก ควรหลีกเลี่ยงอย่าให้บริเวณที่เป็นแผลโดนน้ำ ไม่ควรลงอ่างน้ำ หรือสระว่ายน้ำ และควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในภาวะเสี่ยงที่ก่อให้ผิวเกิดบาดแผล ควรพบแพทย์ทันทีหากคิดว่าผิวหนังมีอาการอักเสบ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาในภายหลัง

คำถามที่พบบ่อย

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเนื้อเน่า โรคเนื้อเน่ามักเกิดจากแบคทีเรียกลุ่ม A streptococcus (GAS) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดคออักเสบ สัญญาณของเนื้อเน่าคืออะไร ความเจ็บปวด ความอุ่น ผิวหนังแดง หรือบวมที่แผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากรอยแดงนั้นแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ผิวหนังพุพอง บางครั้งมีความรู้สึก “แตก” ใต้ผิวหนัง ความเจ็บปวดจากบาดแผลที่ผิวหนังซึ่งมีสัญญาณของการติดเชื้อที่รุนแรงกว่า เช่น หนาวสั่นและมีไข้ ของเหลวสีเทามีกลิ่นเหม็นไหลออกจากบาดแผล โรคเนื้อเน่ามีลักษณะอย่างไร โรคเนื้อตายที่ผิวหนังมีลักษณะอย่างไร เนื้อเยื่อเนื้อตายมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ ในบาดแผล หนึ่งคือเนื้อเยื่อหนังที่แห้งและหนา มักจะเป็นสีแทน สีน้ำตาลหรือสีดำ อีกสีหนึ่งมักเป็นสีเหลือง สีแทน สีเขียว หรือสีน้ำตาล และอาจมีลักษณะชื้น หลวม และเป็นเส้นๆ อัตราการรอดชีวิตของโรคเนื้อเน่ามีแนวโน้มอย่างไร ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อัตราการตายของ necrotizing fasciitis อยู่ในช่วง11% ถึง 22 % necrotizing fasciitis และ streptococcal toxic shock syndrome (STSS) โดยบังเอิญมีอัตราการเสียชีวิตตั้งแต่ 16% – 33% โรคเนื้อเน่าแพร่กระจายเร็วแค่ไหน พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอาจแพร่กระจายจากจุดที่ ติดเชื้ออย่างรวดเร็ว บางครั้งอาจแพร่กระจายในอัตราหนึ่งนิ้วต่อชั่วโมง หากโรคมีความรุนแรง ผู้ป่วยจะยังคงมีไข้สูงมาก มากกว่า 40 องศาเซลเซียส หรืออาจกลายเป็นอุณหภูมิต่ำ (อุณหภูมิต่ำ) และกลายเป็นภาวะขาดน้ำ โรคเนื้อเน่าทำให้เสียชีวิตได้หรือไม่  แม้ว่าการตายของอะพอพโทซิสมักจะส่งผลดีต่อสิ่งมีชีวิต แต่เนื้อร้ายมักจะเป็นอันตรายและอาจถึงแก่ชีวิตได้ โรคเนื้อเน่าก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรือไม่ บางคนไม่มีอาการในระยะแรกของเนื้อร้ายในหลอดเลือด เมื่ออาการแย่ลง ข้อต่อที่ได้รับผลกระทบอาจเจ็บเมื่อลงน้ำหนักเท่านั้น ในที่สุดคุณอาจรู้สึกเจ็บปวดแม้ในขณะที่คุณนอนราบ อาการปวดอาจไม่รุนแรงหรือรุนแรง โรคเนื้อเน่าสามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้หรือไม่ เนื้อร้ายของเนื้องอกมักเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของเนื้องอกที่ลุกลามและการแพร่กระจาย และคิดว่าเป็นตัวบ่งชี้ถึงโรคที่ไม่ดีของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ปอด และไต ยาปฏิชีวนะชนิดใดที่รักษาโรคเนื้อเน่า   Ceftriaxone เป็นยาที่เลือกใช้ในการรักษาเบื้องต้น เป็นเซฟาโลสปอรินรุ่นที่ 3 ที่มีฤทธิ์ในวงกว้าง แกรมลบ มีประสิทธิภาพต่ำกว่าในการต่อต้านสิ่งมีชีวิตที่มีแกรมบวกและมีประสิทธิภาพสูงกว่าในการต่อต้านแบคทีเรีย

ลิ้งค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา 

  • http://rarediseases.org/rare-diseases/necrotizing-fasciitis/
  • http://www.cdc.gov/Features/NecrotizingFasciitis/
  • http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1988793
  • https://dermnetnz.org/topics/necrotising-fasciitis/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด