• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home การติดเชื้อ

กล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) : อาการ ประเภท สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in การติดเชื้อ, หาโรค, โรคระบบกล้ามเนื้อ
0
0
SHARES
570
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • ประเภทของโรคกล้ามเนื้ออักเสบ
  • สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออักเสบ
  • วิธีการวินิจฉัย
  • การรักษาโรคกล้ามเนื้ออักเสบ
  • ภาพรวมการรักษากล้ามเนื้ออักเสบ
4.8 / 5 ( 21 votes )

โรคกล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) คือ อาการอักเสบและอาการติดเชื้อในกล้ามเนื้อแบบเรื้อรังและในระยะยาวต่อเนื่องกัน โรคกล้ามเนื้ออักเสบบางประเภทเกี่ยวข้องกับผื่นที่ขึ้นบนผิวหนัง

โรคนี้เป็นโรคที่พบได้น้อย และการวินิจฉัยโรคทำได้ยากเพราะบางครั้งไม่สามารถทราบสาเหตุของการเกิดโรคได้ อาการของโรคสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วหรือค่อยๆเกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป อาการเบื้องต้นได้แก่ อาการปวดกล้ามเนื้อ และกล้ามเนื้ออ่อนเเรง มีปัญหากับการกลืนและหายใจลำบาก 

โรคกล้ามเนื้ออักเสบเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กเเละผู้ใหญ่ ยกเว้นโรคกล้ามเนื้ออักเสบบางประเภทที่มีเเนวโน้มเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 

โรคกล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis)

ประเภทของโรคกล้ามเนื้ออักเสบ

โรคกล้ามเนื้ออักเสบแบ่งเป็น 5 ประเภท ดังต่อไปนี้ 

  1. dermatomyositis โรคผิวหนังเเละกล้ามเนื้ออักเสบ
  2. inclusion-body myositis โรคปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย
  3. juvenile myositis โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบในเด็ก
  4. polymyositis โรคกล้ามเนื้ออักเสบแบบเฉียบพลัน
  5. toxic myositis โรคกล้ามเนื้ออักเสบเป็นพิษ
wait…

โรคผิวหนังเเละกล้ามเนื้ออักเสบ

โรคผิวหนังเเละกล้ามเนื้ออักเสบ เป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบที่สามารถวินิจฉัยได้ง่ายที่สุดเนื่องจากจะมีอาการผื่นแดงอมม่วงเป็นรูปดอกเฮเลียโทรฟปรากฎขึ้น ผื่นนี้เกิดขึ้นที่เปลือกตาแล้วลุกลามไปที่ใบหน้า หน้าอก ลำคอและหลัง นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นที่บริเวณเนื้อข้อต่อ เช่น ที่ข้อนิ้ว ข้อศอก หัวเข่าและนิ้วเท้าทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนเเรงตามมา 

อาการอื่นๆของโรคผิวหนังเเละกล้ามเนื้ออักเสบ ได้แก่

  • ผิวหนังแห้งหยาบหรือเกิดผิวหนังตกสะเก็ด
  • เกิดอาการ Gottron’s papules หรือ Gottron’s sign เป็นผื่นแดงนูนที่พบบนข้อนิ้วมือ ข้อศอก หัวเข่าและมักพบร่วมกับผิวหนังตกสะเก็ด
  • เกิดปัญหาในการลุกขึ้นจากท่านั่ง
  • รู้สึกอ่อนล้าเเละอ่อนเเรง
  • เกิดอาการปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อคอ สะโพก กล้ามเนื้อหลังอักเสบเรื้อรัง รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ด้วย
  • การกลืนลำบาก
  • เสียงแหบ
  • เกิดก้อนแคลเซียมเเข็งตัวใต้ผิวหนัง
  • รู้สึกเจ็บกล้ามเนื้อ
  • เกิดการอักเสบในข้อต่อ
  • บริเวณโค่นเล็บผิดปกติ 
  • น้ำหนักตัวลดลง
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • แผลในกระเพาะอาหาร

 โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วร่างกาย

โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วร่างกายหรือ (IBM) เป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบเพียงชนิดเดียวที่โดยปกติแล้วจะเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วร่างกายหรือ (IBM) มีอาการเริ่มต้นด้วยอาการข้อมือและนิ้วมืออ่อนเเรงรวมถึงอาการกล้ามเนื้อขาอักเสบเเละอ่อนเเรง อาการกล้ามเนื้ออ่อนเเรงมักเกิดขึ้นในกล้ามเนื้อมัดที่เล็กกว่าและทำให้เกิดความไม่สมดุลของร่างกายเมื่อเกิดกล้ามเนื้ออักเสบขึ้นบนร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง เชื่อว่าโรคกล้ามเนื้ออักเสบนี้เป็นโรคทางพันธุกรรม    

อาการโรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วร่างกาย (IBM)  ได้แก่ 

  • การเดินลำบาก
  • ไม่คล่องเเคล่วสูญเสียการทรงตัว
  • หกล้มง่าย
  • มีปัญหากับการลุกขึ้นจากท่านั่ง
  • การบีบและคลายมืออ่อนเเรง มือเล็กลงและใช้นิ้วไม่ถนัด
  • การกลืนลำบาก
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • เจ็บปวดในกล้ามเนื้อ
  • ปฏิกิริยาตอบสนองของเอ็นกล้ามเนื้อลดลง

โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบในเด็ก

โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบในเด็กเกิดขึ้นในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี โรคนี้เกิดขึ้นในผู้ป่วยเด็กอเมริกันจำนวน 3,000 ถึง 5,000 คน ซึ่งโรคนี้มีโอกาสเกิดขึ้นเด็กผู้หญิงมากกว่าสองเท่าของเด็กผู้ชาย อาการของโรคกล้ามเนื้ออักเสบชนิดนี้เหมือนกับโรคกล้ามเนื้ออักเสบชนิดอื่นๆ โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบในเด็กจะมีลักษณะกล้ามเนื้ออ่อนเเรงและผื่นขึ้นบนผิวหนัง

อาการของโรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบในเด็กได้แก่

  • เกิดผื่นสีแดงม่วงที่เห็นได้อย่างชัดเจนบนเปลือกตาหรือข้อต่อบางครั้งเห็นผื่นเป็นรูปดอกเฮเลียโทรฟ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • เกิดอารมณ์หงุดหงิด
  • ปวดท้อง
  • เกิดการเคลื่อนไหวผิดปกติเช่นมีปัญหาในการขึ้นบันได ลุกขึ้นจากท่านั่งยาก และยืนแต่งตัวยาก
  • เกิดปัญหากับการยกมือขึ้นเหนือศีรษะเมื่อทำกิจกรรมสระผมหรือหวีผม
  • เกิดปัญหากับการยกศีรษะขึ้นหรือการผงกศีรษะ
  • เกิดรอยแดงจากการอักเสบ
  • มีปัญหากับการกลืน
  • เกิดก้อนเเคลเซียมที่เเข็งใต้ผิวหนัง
  • กล้ามเนื้ออ่อนล้า
  • เกิดการเจ็บปวดในกล้ามเนื้อเเละข้อต่อ
  • เสียงแหบ
  • มีอาการ Gottron’s papules คือตุ่มที่พบบริเวณข้อนิ้วมือ ข้อศอกและหัวเข่า 
  • มีไข้หวัด

โรคกล้ามเนื้ออักเสบแบบเฉียบพลัน

โรคกล้ามเนื้ออักเสบแบบเฉียบพลันเริ่มจากอาการกล้ามเนื้ออ่อนเเรงเกิดขึ้นที่บริเวณใกล้ลำตัวที่สุดและจากนั้นจึงแพร่ขยายออกไปทั่วร่างกาย อาการของโรงกล้ามเนื้ออักเสบเฉียบพลันของแต่ละคนเกิดขึ้นแตกต่างกัน มักพบอาการของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องเกิดขึ้นร่วมด้วย

อาการของโรคกล้ามเนื้ออักเสบเฉียบพลัน มีดังต่อไปนี้

  • อาการกล้ามเนื้ออ่อนเเรง
  • อาการปวดกล้ามเนื้อ
  • การกลืนลำบาก
  • หกล้มง่าย
  • มีปัญหาในการลุกขึ้นจากท่านั่ง
  • รู้สึกอ่อนล้าเเละอ่อนเพลีย
  • มีอาการไอเเห้งแบบเรื้อรัง
  • ผิวที่มือหนาขึ้น
  • หายใจลำบาก
  • มีไข้หวัด
  • น้ำหนักลดลง
  • เสียงแหบ

โรคกล้ามเนื้ออักเสบเป็นพิษ

โรคกล้ามเนื้ออักเสบเป็นพิษมีเกิดจากสาเหตุการใช้ยาบางประเภทหรือการใช้ยาที่ผิดกฎหมาย การใช้กลุ่มยาลดคลอเลสเตอรอลหรือยาลดไขมันเช่นกลุ่มยาสแตติน (statins) เป็นยาที่ทำให้เกิดโรคนี้มากที่สุด แม้ว่าอาการของโรคนี้เป็นโรคที่หายากมาก แต่ก็มียาและสารชนิดอื่นๆที่อาจทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบเป็นพิษได้ ซึ่งได้แก่ยาประเภทต่อไปนี้  

  • ยาปรับภูมิคุ้มกันให้คงที่
  • ยารักษาโรคกระเพาะอาหารหรือยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
  • ยารักษาโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง
  • ยารักษาอาการไอและบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง
  • สารโทลูอีน (เป็นสารตัวทำละลายที่ใช้ในทินเนอร์ บางคนอาจนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมายเช่นการสูดดมทินเนอร์ )

อาการของโรคกล้ามเนื้ออักเสบเป็นพิษมีอาการคล้ายกับอาการของโรคกล้ามเนื้ออักเสบชนิดอื่นๆ ผู้ที่เคยมีอาการของโรคนี้มากก่อน เมื่อผ่านการรักษาจนหายดีขึ้นเเล้วพวกเขามักหยุดใช้ยาที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบเป็นพิษ

สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออักเสบ

ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบ ส่วนมากคิดว่าโรคกล้ามเนื้ออักเสบเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในตัวเองบกพร่องทำให้ร่างกายทำลายหรือโจมตีกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตามมักเกิดอาการบาดเจ็บและการติดเชื้อเกิดขึ้นเป็นหลัก

นักวิจัยบางท่านเชื่อว่าโรคกล้ามเนื้ออักเสบอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และโรคภูมิต้านทานทำร้ายตนเอง 
  • โรคที่เกิดจากไวรัสเช่นโรคไข้หวัดทั่วไป ไข้หวัดใหญ่และโรคเอดส์ (HIV)
  • Drug toxicity  อาการแพ้ยาบางตัว

วิธีการวินิจฉัย

ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออักเสบมักได้รับการวินิจฉัยโรคผิด เป็นเรื่องยากที่จะวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้ออักเสบเพราะเป็นโรคหาได้ยากและอาจเป็นเพราะอาการเบื้องต้นของโรคคือการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและอาการอ่อนล้าและอ่อนเพลีย ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบได้ในโรคทั่วไป 

แพทย์อาจจะวิธีใดวิธีหนึ่งได้ดังต่อไปนี้ในการวินิจฉัยโรค ได้แก่

  • การตรวจร่างกาย
  • การตัดกล้ามเนื้อไปตรวจ
  • การใช้เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ
  • การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • การตรวจเส้นประสาทรับความรู้สึกโดยใช้ไฟฟ้า 
  • การตรวจเลือดเพื่อระบุระดับ CPK 
  • การตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคภูมิเเพ้ตัวเอง
  • การตรวจเลือดเพื่อค้นหาภูมิคุ้มกันโรคกล้ามเนื้ออักเสบเฉพาะ
  • การตรวจความผิดปกติของดีเอ็นเอ

การรักษาโรคกล้ามเนื้ออักเสบ

โรคกล้ามเนื้ออักเสบไม่มียาและการรักษาโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามมียากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์เป็นยาที่สังเคราะห์ขึ้น เช่น ยาเพรดนิโซโลน (Rayos) มักนำมาใช้เพื่อรักษาโรคนี้ แพทย์มักจัดยานี้ให้ร่วมกับยาที่กดภูมิคุ้มกัน เช่น ยาอะซาไธโอพรีน(Azasan) และยาเมทโธเทร็กเซต  (Trexall)

เนื่องจากโดยธรรมชาติของโรคกล้ามเนื้ออักเสบนี้อาจจะทำให้คุณได้รับการรักษาหลายแบบและต้องเปลี่ยนการรักษาไปเรื่อยๆเพื่อค้นหาแผนการรักษาที่เหมาะสมสำหรับคุณ คุณต้องให้ความร่วมมือในการรักษากับคุณหมอจนกว่าการรักษาประสบความสำเร็จดีที่สุด   

การทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกาย การยืดกล้ามเนื้อและการเล่นโยคะสามารถรักษากล้ามเนื้อให้แข็งเเรงและยืดหยุ่นเป็นการป้องกล้ามเนื้อเสื่อมสภาพได้

ภาพรวมการรักษากล้ามเนื้ออักเสบ

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาสำหรับโรคกล้ามเนื้ออักเสบ ผู้ป่วยบางคนที่มีอาการโรคกล้ามเนื้ออักเสบอาจจะต้องใช้ไม้เท้า อุปกรณ์ช่วยพยุงเดินหรือรถเข็น หากปล่อยให้กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังและไม่รักษา อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเรื้อรังและอาจทำให้เสียชีวิตได้

อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางคนสามารถจัดการกับอาการเจ็บป่วยของตนเองได้ดีจนหายปวดกล้ามเนื้อทั้งหมดหรือผู้ป่วยบางคนอาจจะหายปวดกล้ามเนื้อบางส่วน


นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/a-to-z-guides/myositis-symptoms-treatments-prognosis
  • https://medlineplus.gov/myositis.html
  • https://www.myositis.org/about-myositis/types-of-myositis/
  • https://www.myositis.org/about-myositis/
  • https://www.hopkinsmyositis.org/myositis/

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

Tags: ระบบประสาทแบคทีเรีย
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post

ตะคริว (Muscle-cramps) : สาเหตุ การวินิจฉัย อาการ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.