อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ Muscle aches (Myalgia) คือ อาการปวดที่ธรรมดามาก เพราะทุกคนสามารถมีอาการไม่สบายกล้ามเนื้อในบางช่วงเวลาได้
เนื่องจากเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อมีอยู่เกือบทุกส่วนของร่างกาย ทำให้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อสามารถเกิดได้หลายบริเวณ และก็มีสาเหตุหลายประการด้วยกัน
การใช้งานกล้ามเนื้อหนักเกินไปและได้รับบาดเจ็บเป็นสาเหตุหลัก แต่ก็มีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้เช่นกัน
สาเหตุหลักของอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อส่วนมากจะสามารถระบุสาเหตุได้ง่าย เนื่องจากอาการปวดกล้ามเนื้อส่วนใหญ่เกิดจากความตึงเครียด หรือการออกกำลังกายมากเกินไป และสาเหตุอื่นๆ โดยทั่วไปได้แก่
- ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อร่างกาย
- การใช้กล้ามเนื้อมากเกินไปในการออกกำลังกาย
- กล้ามเนื้อบาดเจ็บจากการทำงานหรือออกกำลังกาย
- ไม่อบอุ่นร่างกายก่อนการออกกำลังกาย
ปัญหาด้านสุขภาพที่ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อไม่ไม่ได้มาจากความตึงเครียด และการออกกำลังกาย อาจจะมาจากปัญหาสุขภาพบางประการได้
- Fibromyalgia จะมีอาการปวดเมื่อยและปวดนานกว่า 3 เดือน
- โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง
- Myofascial pain syndrome ทำให้เกิดการอักเสบในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของกล้ามเนื้อ Fascia
- การติดเชื้อ เช่น ไข้หวัด โปลิโอ หรือการติดเชื้อแบคทีเรีย
- ภูมิต้านทานร่างกายผิดปกติ เช่น โรคลูปัส ผิวหนังอักเสบ และ Polymyositis
- ยาและสารเสพติดบางชนิด เช่น ยากลุ่มสแตติน สารยับยั้ง ACE หรือโคเคน
- ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ เช่น ภาวะพร่องไทรอยด์หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ
- Hypokalemia (โพแทสเซียมต่ำ)
วิธีแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อด้วยตนเอง
อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อสามารถรักษาได้ด้วยตนเองที่บ้าน มีวิธีการบรรเทาอาการปวดเมื่อยบางอย่างที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดจากการใช้กล้ามเนื้อหนักและได้รับบาดเจ็บได้
- หยุดใช้งานบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อย
- ใช้ยาแก้ปวดกล้ามเนื้ออักเสบโดยทั่วไป เช่น ไอบูโพรเฟน (Advil)
- ใช้น้ำแข็งประคบในบริเวณที่มีอาการปวด เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดและลดการอักเสบ
ควรใช้น้ำแข็งประคบเป็นเวลา 1 – 3 วันหลังจากที่กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ และประคบด้วยความร้อนสำหรับอาการปวดที่ยังคงอยู่หลังจากผ่านไป 3 วัน
วิธีการอื่นๆ ที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- ยืดกล้ามเนื้อ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อหนัก จนกว่าจะหายบาดเจ็บ
- หลีกเลี่ยงการยกน้ำหนักมากๆ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- คลายเครียด
- ออกกำลังกาย
เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์
อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อไม่ได้เป็นอันตรายเสมอไป และบางครั้งก็สามารถหายได้ด้วยการรักษาได้ด้วยตนเอง แต่บางกรณีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อก็สามารถเป็นสัญญาณบ่งชี้ความผิดปกติบางอย่างดังนี้
- อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อไม่หายไปหลังจากการรักษาด้วยตนเอง
- อาการปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน
- อาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นพร้อมกับผื่น
- อาการปวดกล้ามเนื้อที่มีรอยแดงหรือบวม
- อาการปวดที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากรับประทานยาบางชนิด
- อาการปวดที่เกิดพร้อมกับการมีไข้
หากคุณมีอาการปวดเมื่อยพร้อมกับอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์โดยทันที
- ปัสสาวะลดลง
- กลืนลำบาก
- อาเจียนหรือมีไข้
- หายใจขัดข้อง
- กล้ามเนื้ออ่อนแอ
- ไม่สามารถขยับบริเวณที่ปวดได้
เคล็ดลับในการป้องกันกล้ามเนื้ออักเสบ
หากอาการปวดกล้ามเนื้อเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อหนักหรือการออกกำลังกาย ควรทำตามคำแนะนำนี้เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการปวด
- ยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังออกกำลังกาย
- อบอุ่นร่างกายก่อนและหลังออกกำลังกายครั้งละประมาณ 5 นาที
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยเฉพาะในวันที่ออกกำลังกาย
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- ยืดตัวเป็นประจำ เมื่อทำงานที่โต๊ะทำงาน หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้กล้ามเนื้อตึง
ภาพรวม
อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในบางครั้งเป็นเรื่องปกติ เมื่อเกิดหลังการออกแรงหรือออกกำลังกายใหม่ๆ
ควรหยุดกิจกรรมที่ทำให้กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวด
อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อสามารถเกิดจากสิ่งอื่นๆ ไม่ใช่ความตึงเครียดและการออกกำลังกาย หากเป็นกรณีนี้จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
และที่สำคัญควรไปพบแพทย์หากอาการปวดกล้ามเนื้อรักษาไม่หาย หลังจากการบรรเทาด้วยวิธีการต่างๆ แล้วเป็นเวลา 3 วัน
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/symptoms/muscle-pain/basics/causes/sym-20050866
- https://www.voltarol.co.uk/pain-treatments/muscle-pain/
- https://my.clevelandclinic.org/health/symptoms/17669-muscle-pain/possible-causes
- https://medlineplus.gov/ency/article/003178.htm
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team