• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)
10/02/2021
in หาโรค, โรคระบบประสาท
0
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
0
SHARES
31
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งคืออะไร
  • สาเหตุของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • การประมาณอายุขัยเฉลี่ยของผู้ป่วยที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • อาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • วินิจฉัยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • สัญญาณแรกของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • การรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • การใช้ชีวิตร่วมกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
Rate this post

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งคืออะไร

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ( Multiple Sclerosis) หมายถึงอาการเจ็บป่วยเรื้อรังที่เกิดจากการอักเสบของปลอกประสาทภายในระบบประสาทส่วนกลาง เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไปทำลายไมอีลิน ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มที่ทำหน้าที่ป้องกันเส้นใยประสาท

นอกจากนี้การที่ปลอกประสาทอักเสบและการเป็นแผลเป็นเนื้อเยื่อหรือรอยโรคส่งผลทำให้สมองส่งสัญญาณไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายได้ลำบากมากขึ้นเช่นกัน

สาเหตุของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหมายความว่าเกิดความเสียหายที่เนื้อเยื่อปลอกหุ้มประสาทไมอีลินที่อยู่บริเวณรอบเส้นประสาทส่วนกลาง

ความเสียหายเกิดขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ นักวิจัยคาดว่าเกิดจากการปัจจัยกระตุ้นในสิ่งแวดล้อม เช่นเชื้อไวรัสหรือสารพิษ ซึ่งส่งผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ

เมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำลายไมอีลินก่อให้เกิดการอักเสบขึ้นและนำไปสู่การเกิดแผลเป็นที่เนื้อเยื่อหรือรอยโรค ซึ่งการอักเสบและเนื้อเยื่อแผลเป็นสิ่งที่ขัดขวางการส่งสัญญาณระหว่างเส้นประสาทจากสมองไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย

แม้ว่าโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งไม่ใช่โรคที่เกิดจากพันธุกรรม แต่หากบุคคลใดมีพ่อแม่หรือญาติเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง บุคคุลนั้นก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังได้ระบุว่ามียีนบางตัวที่ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

การประมาณอายุขัยเฉลี่ยของผู้ป่วยที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

อายุขัยเฉลี่ยของผู้ที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งจะสั้นกว่าคนทั่วไปประมาณ7.5ปี แต่ข่าวดีก็คืออายุขัยของคนเป็นโรคนี้มีเพิ่มมากขึ้น

อาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งจะมีอาการที่หลากหลายอาการแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละคน

ความรุนแรงของโรคอาจเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่ปีต่อปี เดือนต่อเดือน วันต่อวัน

อาการหลักที่พบได้ทั่วไปได้แก่ อาการเหนื่อยล้าและมีปัญหาในการเดิน

ร่างกายอ่อนเพลีย

จากข้อมูลพบว่ากว่าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งจะมีอาการอ่อนล้าและอ่อนเพลีย ซึ่งอาการดังกล่าวทำให้ความสามารถในการทำงานลดลงและการดำเนินแบบผิดปกติ

มีปัญหาในการเดิน

ปัญหาเกี่ยวกับการเดินที่เกิดจากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งได้แก่

  • มีอาการชาที่ขาหรือเท้า

  • สูญเสียการทรงตัว

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง

  • เกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง

  • มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น

เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการเดินอาจทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับบาดเจ็บอื่นๆตามมา ถ้าหากมีล้มเกิดขึ้น

อาการอื่นๆ

อาการอื่นๆที่สามารถพบได้จากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งได้แก่

  • มีอาการเจ็บปวดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง

  • มีอาการหนาวสั่น

  • มีปัญหาด้านการคิดและการใช้สมาธิสั้นจดจ่อส่งผลให้มีความจำไม่ดีและทำความเข้าใจข้อมูลได้ช้า

ซึ่งอาการดังกล่าวอาจทำให้ปัญหาด้านการพูดได้

วินิจฉัยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

แพทย์จำเป็นต้องตรวจทางระบบประสาทวิทยา รวมถึงประวัติการรักษาและอาจสั่งตรวจสอบอย่างอื่นร่วมด้วยเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจเพิ่มเติมเช่น

  • การทำ MRI แพทย์จะทำการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดดำเพื่อให้มองเห็นร่องรอยทำให้แพทย์สามารถระบุรอยแผลบริเวณสมองและไขสันหลังของผู้ป่วยได้

  • การตรวจจอประสาทตาด้วยเครื่อง Optical coherence tomography (OCT)คือการถ่ายภาพชั้นของเส้นประสาทที่อยู่ด้านหลังนัยน์ตาและสามารถประเมินความบางของประสาทตาได้ด้วย

  • การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง แพทย์จะทำการเจาะเพื่อดูดเอาน้ำจากไขสันหลังไปตรวจเพื่อหาสิ่งผิดปกติ โดยการตรวจสอบด้วยวิธีนี้จะช่วยหาเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคได้ นอกจากนี้ยังช่วยในการหาดูโอลิโกโคลนอลแบน ซึ่งสามารถนำมาตรวจวินิจฉัยเพื่อค้นหาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นได้

  • การตรวจเลือด แพทย์จะสั่งตรวจเลือดเพื่อช่วยคัดกรองโรคอื่นๆที่มีอาการคล้ายคลึงกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

  • การตรวจด้วย Visual evoked potentials (VEP) เป็นการตรวจเพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทเพื่อวิเคราะห์คลื่นกระแสไฟฟ้าในสมอง ในอดีตจะใช้การตรวจด้วยวิธีวัดคลื่นจากประสาทหูและก้านสมองหรือวัดคลื่นไฟฟ้าของระบบประสาทรับความรู้สึก เพื่อวินิจฉัยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

นอกจากนี้การวินิจฉัยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง สามารถดูได้จากการเสื่อมสลายของปลอกไมอีลีนที่เกิดขึ้นภายในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน รวมถึงแต่ละพื้นที่ในบริเวณสมองและไขสันหลังหรือประสาทตา

นอกจากนี้การวินิจฉัยโรคจำเป็นต้องพิจารณาถึงความแตกต่างของอาการที่เกิดจากโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เช่นโรคลายม์และโรคภูมิแพ้ลูปัสรวมถึงกลุ่มอาการโจเกรน

สัญญาณแรกของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีอาการที่หลากหลาย ซึ่งอาการที่ยังไม่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนทำให้วินิจฉัยผิดพลาดได้ง่าย โดยอาการทั่วไปที่พบได้ในช่วงแรกได้แก่:

  • มีอาการเหน็บชาและรู้สึกเจ็บเหมือนเข็มทิ่มที่แขนและขาหรือเกิดอาการชาที่ใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง ความรู้สึกคล้ายโดนเข็มทิ่ม

  • ขาอ่อนแรงและสูญเสียการทรงตัว ทำให้ผู้ป่วยล้มง่ายในขณะเดินหรือออกกำลังกาย

  • มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นอย่างเช่น ตามัวหรือสูญเสียการมองเห็น ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญาณแรกของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการตาเจ็บร่วมด้วย

อาการดังกล่าวเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนั้นหากคุณมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นไม่หมายความว่าคุณจะเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเสมอไป

การรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่มีทางเลือกในการรักษาหลายวิธีได้แก่

การรักษาด้วยกลุ่มยาเพื่อการปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค Disease-modifying therapies (DMTs)

Disease-modifying therapies (DMTs) การรักษาวิธีนี้เป็นการรักษาที่ออกแบบมาเพื่อชะลอโรคและลดอัตราการกำเริบของโรคลง

การรักษาด้วยยาชนิดอื่นๆ

แพทย์จะให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เช่นยาเมทิลเพรดนิโซโลน (Medrol) หรือแอคธาร์ เจล(ACTH) เพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ

นอกจากนี้ยังการรักษารูปแบบอื่นที่ช่วยบรรเทาอาการและทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

การเกิดโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีอาการแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน ดังนั้นการรักษาจึงขึ้นอยู่อาการของผู้ป่วยแต่ละราย

การใช้ชีวิตร่วมกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งพบวิธีในการรับมือกับอาการต่างๆได้โดยวิธีดังนี้

การรักษาด้วยยา

เมื่อมีภาวะโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งนั้นหมายความว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา

หากผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยวิธีการชะลอการลุกลามของโรค ( DMTs) ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ซึ่งแพทย์อาจให้ยาชนิดอื่นๆเพื่อรักษาอาการบางอย่างโดยเฉพาะอาการร่วมด้วย

การดูแลเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย

ออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับร่างกายและจิตใจ ยกเว้นว่าผู้ป่วยไม่สามารถทำได้

หากการออกกำลังกายทั่วไปทำได้ลำบาก การว่ายน้ำหรือการออกกำลังกายในน้ำก็สามารถช่วยได้ ซึ่งบางครั้งการออกกำลังแบบโยคะได้ถูกออกแบบมาให้สำหรับผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเช่นกัน

การรับประทานอาหารที่สมดุล รับประทานอาหารแคลลอรี่ต่ำ อาหารที่มีกากใยและสารอาหารสูงจะช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดีมากขึ้น

อาหารที่ควรรัยประทานมีดังนี้:

  • รับประทานผักและผลไม้ที่หลากหลาย

  • ทานอาหารจำพวกโปรตีนที่ไขมันต่ำ เช่นปลา หรือเนื้อไก่ไม่มีหนัง

  • ถั่วชนิดต่างๆ

  • ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ

  • ดื่มน้ำและของเหลวอื่นๆในปริมาณที่เหมาะสม

การรับประทานอาหารที่ดี จะทำให้สุขภาพดีขึ้นด้วย ผู้ป่วยจะไม่เพียงแค่รู้สึกดีในระยะสั้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้มีสุขภาพที่ดีมากขึ้นในอนาคตได้ด้วย

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง:

  • ไขมันอิ่มตัว

  • อาหารที่มีไขมันทรานซ์แฟต

  • เนื้อแดง

  • อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง

  • อาหารที่มีโซเดียมสูง

  • อาหารแปรรูป

หากมีโรคประจำตัวอื่นๆร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์หากคุณต้องการรับประทานอาหารแบบพิเศษหรือทานวิตามินเสริม

การรับประทานอาหารในรูปแบบพิเศษอื่นๆเช่นการทานแบบคีโต เพลโลหรือเมดิเตอร์เรเดียน อาจช่วยในโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งได้

การบำบัดเสริมอื่นๆ

การบำบัดต่อไปนี้อาจช่วยลดความตึงเครียดของปลอกประสาทที่อักเสบและเพิ่มความรู้สึกสบายได้:

  • การทำสมาธิ

  • การนวด

  • กายบริหารไทชิ

  • การฝังเข็ม

  • สะกดจิตบำบัด

  • ดนตรีบำบัด


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/multiple-sclerosis/symptoms-causes/syc-20350269

  • https://www.nhs.uk/conditions/multiple-sclerosis/

  • https://www.webmd.com/multiple-sclerosis/default.htm


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

Tags: ระบบประสาท
นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล คือทีมผู้เขียนของทีม Bupa Active Blog จากจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณนิตตยา คือผู้เขียนบทความทางการแพทย์ คุณนิตยามีความสนใจทางการแพทย์และหาความรู้เพิ่มเติมในห้องสมุดที่บ้านอยู่ตลอดเวลา

Next Post
โรคลำไส้กลืนกัน

โรคลำไส้กลืนกัน (Intussusception) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.