แผลในปาก หรือที่เราเรียกว่า แผลร้อนใน (Mouth ulcers) คือ แผลขนาดเล็กที่ทำให้คุณรู้สึกเจ็บที่เกิดในปากหรือเหงือก ส่งผลให้ไม่สามารถรับประทานอาหารหรือพูดคุยได้อย่างสะดวก
เพศหญิงและผู้ที่มีประวัติว่าสมาชิกในครอบครัวเป็นแผลในปากนั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการผิดปกตินี้มากกว่าคนทั่วไป
แผลที่ปากไม่ใช่โรคติดต่อและมักหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามหากมีแผลร้อนในที่มีขนาดใหญ่หรือเจ็บปวดมาก เป็นเวลานานควรพบแพทย์
การแบ่งประเภทแผลในปาก
แผลในปากนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก
แผลในปากขนาดเล็ก (Minor)
แผลร้อนในขนาดเล็ก เป็นแผลรูปวงรีหรือกลมเล็ก ๆ ซึ่งจะหายภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยไม่มีแผลเป็น
แผลในปากขนาดใหญ่ (Major)
แผลร้อนในที่มีขนาดใหญ่ และลึกกว่าแผลในปากขนาดเล็ก โดยขอบที่ผิดปกติ และอาจใช้เวลายาวนาน 6 สัปดาห์ ในการรักษา โดยแผลในปากใหญ่อาจส่งผลให้เกิดแผลเป็นในระยะยาว
แผลชนิดคล้ายเฮอร์ปีส์ (Herpetiform)
เป็นแผลในปากมีขนาดที่แน่ชัดเกิดขึ้นเป็นชุดสามารถเกิดได้ตั้งแต่ 10 ถึง 100 และมักส่งผลกระทบต่อผู้ใหญ่ แผลในปากแบบนี้มีขอบที่ผิดปกติและมักจะหายขาดโดยไม่ทำให้เกิดแผลเป็นภายใน 1-2 สัปดาห์
หากมีอาการแผลในปากดังนี้ควรพบแพทย์โดยทันที
- แผลในปากขนาดใหญ่ผิดปกติ
- มีแผลในปากเพิ่ม ก่อนที่แผลเก่าจะหาย
- แผลในปากนานกว่า 3 สัปดาห์
- แผลในปากที่ไม่มีอาการเจ็บปวด
- แผลในปากที่ขยายไปถึงริมฝีปาก
- แผลในปากที่ยาไม่สามารถบรรเทาความเจ็บปวดได้
- แผลในปากที่กระทบการรับประทานอาหารและการพูดคุยอย่างรุนแรง
- ไข้สูง หรือท้องเสีย เมื่อแผลในปากเกิดขึ้น
ปัจจัยที่ทำให้เกิดแผลในปาก
ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดสำหรับแผลในปาก แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยบางประการก็สามารถส่งเสริมการเกิดแผลในปากได้ ได้แก่ปัจจัยดังนี้
- อาการบาดเจ็บที่ปากเล็กน้อยจากการแปรงฟัน ทันตกรรม การเล่นกีฬา หรือการกัดปากโดยไม่ตั้งใจ
- ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีโซเดียมลอริลซัลเฟต
- อาหารที่เป็นกรด เช่น สตรอเบอร์รี่ ส้ม และสับปะรด และสิ่งกระตุ้นอื่น ๆ เช่น ช็อคโกแลตและกาแฟ
- การขาดวิตามินที่จำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง B-12, ซิงค์ โฟเลตและเหล็ก
- การแพ้แบคทีเรีย
- การแพ้เครื่องมือจัดฟัน
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างมีประจำเดือน
- ความเครียดทางอารมณ์ หรือการนอนหลับไม่เพียงพอ
- การติดเชื้อแบคทีเรียไวรัสหรือเชื้อรา
แผลในปากอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอาการที่รุนแรงและต้องได้รับการรักษา อาจจะเป็นสัญญาณของสิ่งเหล่านี้
- โรค Celiac (ความผิดปกติที่ร่างกายไม่สามารถทนต่อกลูเตน)
- โรคลำไส้อักเสบ
- โรคเบาหวาน
- โรคเบห์เซ็ต (ความผิดปกติที่ทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย)
- ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ โจมตีเซลล์ปากที่มีสุขภาพดีแทนไวรัสและแบคทีเรีย
- เอชไอวี / เอดส์
การวินิจฉัยแผลในปาก
แพทย์สามารถวินิจฉัยแผลในปากด้วยการตรวจสายตา หากมีแผลในปากบ่อยครั้ง และรุนแรงอาจจำเป็นต้องตรวจสอบอื่นๆ ร่วมด้วย
วิธีการรักษาแผลในปาก
แผลในปากส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรักษา อย่างไรก็ตามหากมีแผลในปากบ่อย ๆ หรือแผลทำให้เจ็บปวดมาก การรักษาเหล่านี้ช่วยลดความเจ็บปวดได้ :
- ใช้น้ำเกลือและเบกกิ้งโซดาล้างแผลในปาก
- ปิดแผลในปากด้วยนมแมกนีเซีย
- ปิดแผลในปากด้วยเบกกิ้งโซดา
- ใช้ยาเบนโซเคนที่ขายตามร้านขายยาทั่วไป (ยาชาเฉพาะที่) เช่น Orajel หรือ Anbesol
- ใช้น้ำแข็งประคบแผลในปาก
- ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีสารสเตียรอยด์ เพื่อลดอาการปวดและบวม
- ใช้ยาทาปกปิดแผลในปาก
- ประคบแผลในปากด้วยถุงชาชื้น
- การทานอาหารเสริม เช่น กรดโฟลิก วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และสังกะสี
- พยายามรักษาธรรมชาติ เช่น ชาดอกคาโมไมล์ ไม้หอม และรากชะเอม เป็นต้น
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/mouth-ulcers
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/317984
- https://dermnetnz.org/topics/mouth-ulcer/
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team