หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum) : อาการ สาเหตุ การรักษา

หูดข้าวสุก คืออะไร

หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum) คือโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อไวรัส Molluscum contagiosum โรคหูดข้าวสุก ที่ทำให้เกิดตุ่มหูดเนื้อนูนออกมาจากผิวหนัง โดยหูดข้าวสุก เป็นโรคติดต่อทางผิวหนังที่สามารถส่งต่อไปยังบุคคลอื่นได้

สาเหตุของการเกิดหูดข้าวสุก

ผิวหนังเกิดการติดเชื้อไวรัส Molluscum contagiosum ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxvirus และผู้ป่วยสามารถติดหูดข้าวสุกจากการสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้โดยตรงทางผิวหนังบริเวณที่เป็นหูดข้าวสุก หรือการใช้สิ่งของร่วมกันเช่น ผ้าขนหนู หรือของใช้อื่น ๆ โดยทั่วไปแล้วจะมีการส่งผ่านเชื้อกันได้ง่ายในเด็กระหว่างกิจกรรมที่ทำร่วมกันโดยไม่ได้ระมัดระวัง การแบ่งปันของเล่น  ในส่วนของผู้ใหญ่อาจจะติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ หรือการเล่นกีฬาที่ต้องเกิดการสัมผัสทางผิวหนังโดยตรง เมื่อไปสัมผัสโดนเชื้อไวรัสนั้นก็จะได้รับเชื้อมาทันที และเมื่อรับเชื้อเข้ามาแล้วเชื้อสามารถแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ของร่างกายได้โดยการ สัมผัสส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

อาการของหูดข้าวสุก 

เมื่อผู้ป่วยรับเชื้อไวรัส Molluscum contagiosum เข้ามาสู่ร่างกายแล้ว ร่างกายอาจจะยังไม่แสดงอาการในทันที บางครั้งอาจจะนานถึง 6 เดือน แต่ระยะฟักตัวของเชื้อใช้เวลาประมาณ 2-7อาทิตย์  และกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายที่อ่อนแอ หรือบกพร่อง อาจจะส่งผลให้อาการมีความรุนแรงมากขึ้น และตุ่มหูดข้าวสุกอาจจะมีขนาดที่ใหญ่มากขึ้นและยากต่อการรักษา และเมื่อเกิดอาการคุณอาจจะพบตุ่มเนื้อเกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง อาจจะเป็นตุ่มเดียวหรือหลาย ๆ ตุ่ม อยู่บริเวณเดียวกัน ตุ่มหูดข้าวสุกนี้จะไม่มีอาการเจ็บ โดยจะมีลักษณะดังนี้
  • มีขนาดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร
  • เกิดเป็นสีเดียวกับผิว หรือสีชมพูอ่อน ๆ 
  • มีตุ่มเนื้อนูนกลมที่มีรอยบุ๋มอยู่ตรงกลาง
  • สามารถเกิดได้ทุกบริเวณของร่างกาย ยกเว้นฝ่ามือและฝ่าเท้า 
  • มีของเหลวเหนียวอยู่ภายในตุ่มเนื้อ
  • ตุ่มเนื้อของผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแออาจจะมีขนาดใหญ่ถึง 15 มิลลิเมตร

วิธีรักษาหูดข้าวสุก

โดยทั่วไปแล้วหูดข้าวสุกจะหายได้เองภายในระยะเวลา 6-12 เดือน แต่การรักษาอาจจะเป็นสิ่งที่จำเป็นเนื่องจากจะสามารถลดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปยังบุคคลอื่นได้  ในกรณีผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือภูมิคุ้มกันบกพร่องการรักษาเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะหากหากผู้ป่วยมีอาการดังนี้
  • เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
  • เชื้อแพร่กระจายไปบริเวณอื่น ๆ 
  • เป็นหูดข้าวสุกขนาดใหญ่บริเวณใบหน้าหรือลำคอ
โดยแพทย์อาจจะพิจารณาการรักษาดังนี้
  • การให้ยาชนิดรับประทานจำพวก cimetidine ซึ่งเป็นยารักษาหูดข้าวสุก
  • การจี้ด้วยไนโตรเจนเหลว
  • การใช้เลเซอร์ในการรักษา
  • การขูดเนื้อเยื่อเพื่อเอาหูดข้าวสุกออก
  • ใช้ยาทาหูดข้าวสุก จำพวก ซึ่งบางจำพวกอาจจะมีฤทธิ์เป็นกรด podophyllotoxin tretinoin, imiquimod, potassium hydroxide, cantharidin, trichloroacetic acid, Condylox, cantharidin 
ในการรักษาอาจจะต้องอาศัยระยะเวลา หรือต้องทำการรักษามากกว่าหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริเวณและขนาดของหูดข้าวสุก หากผู้ป่วยกำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในระยะให้นมบุตรควรแจ้งให้แพทย์ทราบ  ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือติดเชื้อ HIV รวมไปถึงผู้ป่วยโรคมะเร็ง เมื่อเป็นหูดข้าวสุกควรรับการรักษา แต่การรักษาอาจจะเป็นไปได้ยากกว่าผู้ป่วยปกติทั่วไป โดยอาจจะมีทางเลือกการรักษาดังนี้ Antiretroviral therapy เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV 

เชื้อไวรัสหูดข้าวสุกสามารถป้องกันได้อย่างไร?

หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum) คือ วิธีการป้องกันการติดเชื้อไวรัสหูดข้าวสุกที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวหนังของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าว การทำตามคำแนะนำดังนี้ สามารถช่วยคุณในการป้องกันการติดเชื้อได้ :
  • หมั่นล้างมือด้วยน้ำอุ่นและสบู่
  • หลีกเลี่ยงการแคะ แกะเกา หรือสัมผัสบริเวณผิวหนังของคุณที่มีตุ่มอยู่แล้ว
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน ได้แก่ ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า หวี หรือแม้กระทั่งสบู่ก้อน
  • หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์กีฬาร่วมกัน เพราะนั่นอาจจะเป็นการสัมผัสโดยตรงกับผิวหนังของผู้อื่น
  • ฝึกสอนให้เด็กๆ สามารถล้างมือได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เนื่องจากเด็กๆ มีการสัมผัสระหว่างการเล่นและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอื่นค่อนข้างมาก
  • หลีกเลียงการมีเพศสัมพันธ์หากคุณมีตุ่มเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ
  • หลีกเลี่ยงการโกนหนวดด้วยเครื่องโกนหนวดไฟฟ้าบริเวณที่ปรากฎตุ่ม
  • รักษาความสะอาดบริเวณที่เป็นตุ่มเพื่อเป็นการป้องกันตัวของคุณเองรวมถึงผู้อื่นจากการสัมผัสและการแพร่กระจายเชื้อไวรัส

ใครที่มีความเสี่ยงเป็นหูดข้าวสุก

ทุกคนสามารถมีโอกาศติดเชื้อไวรัส molluscum contagiosum แต่คนบางกลุ่มมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อมากกว่าคนอื่น คือ:
  • เด็กที่มีช่วงอายุ 1-10 ขวบ
  • นักกีฬาที่ต้องมีการสัมผัสโดยตรงทาง ร่างกายกับผู้อื่น
  • ผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง  หรือโรคผิวหนังอื่น ๆ ที่เป็นผื่นแล้วต้องเกาบ่อย ๆ
  • ผู้ที่อยู่อาศัยในโซนเขตร้อน
  • ผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ 

การวินิจฉัยหูดข้าวสุก

หูดข้าวสุกนั้นอาจจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปโดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะทำการวินิฉัยโดยการ  ตรวจดูด้วยสายตา หรืออาจจะมีการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อเพื่อทำการตรวจสอบ 

ผลที่เกิดขึ้นในระยะยาวสำหรับผู้ติดเชื้อไวรัสหูดข้าวสุกคืออะไร?

การติดเชื้อไว้รัสหูดข้าวสุกมักจะไม่เกิดขึ้นในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันปกติ โดยทั่วไปแล้วหูดข้าวสุกจะค่อยๆ ก่อตัวในระยะเวลา 6 – 12 เดือน และจะไม่ทิ้งรอยแผลเป็นในผู้ที่เป็น อย่างไรก็ตามอาจจะใช้เวลาอย่างน้อยไม่กี่เดือน หรืออาจจะถึงปีในการที่ตุ่มหูดจะหายไป การติดเชื้อสามารถที่จะขยายเวลาออกไปนานขึ้นสำหรับผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องหรืออ่อนแอ เมื่อร่องรอยของหูดข้าวสุกหายไป นั่นคือ เชื้อไวรัสหูดข้าวสุกไม่ได้อยู่ในร่างกายของผู้ป่วยอีกต่อไป หูดข้าวสุกหาย นั่นแสดงว่าการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นจะไม่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นหรือไปยังอวัยวะส่วนอื่นในร่างกาย ผู้ป่วยจะพบตุ่มของหูดข้าวสุกอีกครั้งก็ต่อเมื่อคุณมีการติดเชื้อไวรัสดังกล่าวอีกครั้งเท่านั้น สิ่งที่แตกต่างของโรคนี้กับอีสุกอีใสคือ ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะติดเชื้อไวรัสหูดข้าวสุกแล้วหนึ่งครั้งแต่ผู้ป่วยก็ยังไม่ได้มีภูมิต้านทานสำหรับโรคนี้ กล่าวคือ ผู่ป่วยยังสามารถติดเชื้อไวรัสนี้ซ้ำได้อีกครั้ง

ลิงค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด