• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

แท้งบุตร (Miscarriage) : อาการ สาเหตุ วิธีป้องกัน การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in หาโรค
0
การแท้งบุตร
0
SHARES
93
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • สัญญาณของอาการแท้ง
  • สาเหตุการแท้ง
  • วิธีป้องกัน
  • วิธีการรักษา
4.8 / 5 ( 21 votes )

การแท้งบุตร (Miscarriage) คือการแท้งลูกตามธรรมชาติ คือการสูญเสียยทารกในครรภ์ที่มีอายุน้อยกว่า 20 สัปดาห์ โดยมักจะเกิดขึ้นในไตรมาสแรกหรือสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์

การแท้งบุตรอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุทางการแพทย์ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ แต่การเข้าใจถึงสัญญาณของอาการเสี่ยงต่างๆและทรายถึงสาเหตุที่แน่ชัด จะทำให้คุณสามารถเข้าใจและรับการรักษาได้อย่างรวดเร็ว

Miscarriage

สัญญาณของอาการแท้ง

อาการจะแตกต่างกันไปตามระยะเวลาของการตั้งครรภ์ และสามารถเกิดขึ้นได้อยางรวดเร็ว ในบางครั้งก็เกิดขึ้นก่อนที่คุณจะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์

นี่คือสัญญาณของอาการแท้ง :

  • มีหยดเลือด
  • มีเลือดออกจากช่องคลอด
  • มีของเหลวหรือเนื้อเยื่อออกมากจากช่องคลอด
  • ปวดท้องอย่างรุนแรงหรือมีอาการเกร็ง
  • ปวดหลังเล็กน้อยถึงรุนแรง  

ติดต่อแพทย์ทันทีที่พบอาการเหล่านี้ในขณะที่ตั้งครรภ์ แต่อาการเหล่านี้ไม่ได้ยืนยันว่าคุณแท้งเสมอไป แต่จำเป็นที่จะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจ

สาเหตุการแท้ง

แม้ว่าการกระทำบางอย่างจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการแท้งบุตร แต่บางครั้งก็เกิดจากสิ่งที่คุณไม่สามารถควบคุมได้ ถ้าหากว่าคุณมีปัญหาในการตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของการแท้ง

ขณะที่ตั้งครรภ์ ฮอร์โมนจะทำหน้าที่ส่งอาหารไปยังทารกที่กำลังเจริญเติบโต โดยส่วนมาก การแท้งจะเกิดขึ้นในไตรมาสแรกเพราะทารกมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ และอาจรวมไปถึงปัจจัยอื่นๆด้วย 

ความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือฮอร์โมน

โครโมโซมจะมีสิ่งที่เรียกว่ายีน ในตัวอ่อนที่กำลังเจริญเติบโต จะมีโครโมโซมจากแม่หนึ่งชุดและจากพ่ออีกหนึ่งชุด

ตัวอย่างความผิดปกติทางพันธุกรรม :

  • กาาตายในมดลูก : ตัวอ่อนมีการฝังตัวแต่ไม่มีการเจริญเติบโต โดยเกิดขึ้นก่อนที่คุณจะรู้ถึงการตั้งครรภ์
  • ไข่ฝ่อ : ไม่มีตัวอ่อน
  • ครรภ์ไข่ปลาอุก : ตัวอ่อนไม่เจริญเติบโตเพราะโครโมโซทที่ได้จากพ่อไม่มีการพัฒนา
  • ครรภ์ไข่ปลาอุกแบบมีทารก : ทารกยังมีโครโมโซมของแม่ แต่ได้รับโครโมโซมจากพ่อสองชุด

ข้อผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้ ในขณะที่เซลล์ของตัวอ่อนกำลังแบ่งตัวหรือเกิดความเสียหายของไข่หรืออสุจิ ทำให้นำไปสู่การแท้งบุตรได้

ข้อปฏิบัติพื้นฐานและหลักการใช้ชีวิตประจำวัน

สุขภาพและพฤติกรรมการใช้ชีวิตอาจส่งผลต่อการพัฒนาของทารกในครรภ์ การออกกำลังกานและการมีเพศสัมพันธ์ไม่ทำให้เกิดการแท้ง รวมไปถึงการทำงานทั่วไปก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์เช่นกัน ยกเว้นว่าได้รับสารเคมีหรือรังสีที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์

พฤติกรรมที่อาจรบกวนพัฒนาการของทารกในครรภ์มีดังนี้ :

  • การทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ หรือลดน้ำหนักจนขาดสารอาหาร
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • มารดามีอายุสูง
  • เป็นโรคไทรอยด์ที่ไม่ได้รับการรักษา
  • ปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน
  • โรคเบาหวานเรื้อรัง
  • การติดเชื้อ
  • ได้รับบาดเจ็บ
  • โรคอ้วน
  • ปัญหาเกี่ยวกับปากมดลูก
  • มีความดันโลหิตสูงมาก
  • อาหารเป็นพิษ
  • การใช้ยาบางชนิด

ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อครรภ์

ถ้าหากว่ามีเลือกออกเป็นจำนวนมากหรือคิดว่ากำลังมีอาการแท้ง ควรรีบติดต่อแพทย์โดยด่วนเพื่อตรวจสอบว่าเป็นเพียงประจำเดือนหรือเป็นการแท้งบุตร

การที่มีอายุมาก ทำให้มีความเสี่ยงในการแท้งได้ง่าย ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี จะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิงที่มีอายุน้อยกวว่า และความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นในทุกๆปี

วิธีป้องกัน

ไม่มีวิธีใดที่สามารถป้องกันการแท้งได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตามมีขั้นตอนที่สามารถช่วยให้คุณรักษาการตั้งครรภ์ไว้ให้แข็งแรงได้ ดังนี้ :

  • ฝากครรภ์และตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ 
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ใช้ยาเสพติดหรือสูบบุหรี่ขณะที่ตั้งครรภ์
  • รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทั้งก่อนและขณะตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงการติดเชื้อ หมั่นล้างมือและอยู่ให้ห่างจากผู้ที่มีอาการไม่สบาย
  • จำกัดปริมาณคาเฟอีนไม่ให้มากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ทาวิตามินบำรุงครรภ์เพื่อให้ทารกในครรภ์สามารถเจริญเติบโตได้ดีได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ควบคุมอาหารเพื่อสุขภาพ รับประทานผักและผลไม้เยอะๆ

จำไว้ว่าการแท้งไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่สามารถตั้งครรภ์อีกได้ในอนาคต โดยส่วนมากผู้ที่เคยมีการแท้งสามารถตั้งครรภ์ที่แข็วแรงได้ในภายหลัง

วิธีการรักษา

การรักษาจะขึ้นอยู่กับประเภทของการแท้งบุตร หากไม่มีเนื้อเยื่อเหลืออยู่ในร่างกาย (การแท้งแบบสมบูรณ์) ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษา

แต่ถ้าหากว่ายังมีเนื้อเยื่อบางส่วนเหลืออยู่ในร่างกาย วิธีการรักษาจะแตกต่างกันออกไปดังนี้ :

  • บริหารร่างกายเพื่อให้เนื้อเยื่อหลุดออกไปเองตามธรรมชาติ
  • ใช้วิธีทางการแพทย์ ซึ่งเป็นการรับประทานยาเพื่อให้เนื้อเยื่อที่อยู่ในร่างกายหลุดออกมา
  • ใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อเอาเนื้อเยื่อออก

โดยที่วิธีการเหล่านี้จะมีภาวะแทรกซ้อนต่ำ คุณสามารถปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการรักษาที่เหมาะสมกัยคุณมากที่สุด

การฟื้นฟูร่างกาย

การฟื้นตัวของร่างกายขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการตั้งครรภ์ก่อนแท้ง หลังการแท้งบัตรคุณอาจจะมีอาการต่างๆเช่น มีความไม่สบายในช่องท้อง

ฮอร์โมนเกี่ยวกับการตั้งครรภ์จะยังคงอยู่ในเลือดอีก 2-3 เดือนหลังจากการแท่ง คุณจะมีประจำเดือนตามปกติอีกครั้งในระยะเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์และการใช้ผ้าอนามัยแบบอดอย่างน้อยสองสัปดาห์หลังการแท้ง

การดูแลหลังการแท้งบุตร

หลังการแท้งบุตร คุณอาจมีอาการอารมณ์แปรปรวนซึ่งเป็นเรื่องปกติ รวมไปถึงอาจมีอาการนอนไม่หลับ ไม่มีแรง และร้องไห้บ่อยอีกด้วย

คุณควรใช้เวลาเสียใจกับการสูญเสียของคุณ เพื่อให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ โดยในบางครั้งอาจต้องการความช่วยเหลือดังนี้ :

  • หากคุณประสบปัญหาว่าเพื่อนหรือคนในครอบครัวไม่เข้าใจความรู้สึกของคุณ ควรคุยกับเขาอย่างจริงจังว่าคุณกำลังรู้สึกแบบไหน
  • เก็บของใช้ต่างๆไว้เป็นที่ระลึก จนกว่าคุณจะพร้อมกลับมาดูอีกครั้ง
  • สร้างสัญลักษณ์ไว้เพื่อให้ระลึกถึงได้ เช่นบางคนปลูกต้นไม้ หรือสวมเครื่องประดับชิ้นพิเศษ
  • ขอคำปรึกษาจากนักบำบัดเพื่อช่วยให้คุณสามารถรับมือกับความหดหู่ สูญเสียหรือรู้สึกผิดได้
  • เข้าร่วมกลุ่มที่สนับสนุนหรือมีการพูดคุยกับผู้ที่เคยมีประสบการณ์เดียวกัน

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.plannedparenthood.org/learn/pregnancy/miscarriage
  • https://www.nhs.uk/conditions/miscarriage/
  • https://www.health.harvard.edu/a_to_z/miscarriage-a-to-z
  • https://www.webmd.com/baby/guide/pregnancy-miscarriage#1

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post

นิ่วทอนซิล (Tonsil Stones) : อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.