สิวข้าวสาร (Milium Cysts) : อาการ สาเหตุ การรักษา

สิวข้าวสาร หรือสิวหิน (Milium Cysts) มีลักษณะเป็นตุ่มสีขาวขนาดเล็กซึ่งมักขึ้นที่บริเวณจมูก และแก้ม มักจะมีลักษณะขึ้นรวมกันเป็นกลุ่ม กลุ่มของซีสต์จะเรียกว่า Milia สิวข้าวสารเกิดขึ้นเมื่อเคราติน อุดตันอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง เคราติน (Keratin) คือโปรตีนที่มีโครงสร้างแข็งแรง พบได้ในเซลล์เนื้อเยื่อผิวหนัง เส้นผม และเล็บ สิวข้าวสารสามารถพบได้ในคนทุกเชื้อชาติ ทุกเพศและทุกวัย แต่ส่วนใหญ่มักพบในเด็กแรกเกิด Milium Cysts

อาการของสิวข้าวสาร

สิวข้าวสารมีลักษณะเป็นตุ่มสีขาวขนาดเล็กรูปร่างเหมือนโดม มักมีสีขาวหรือเหลือง ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการคันหรือเจ็บ แต่อาจทำให้รู้สึกระคายเคืองในบางราย เสื้อผ้าหรือผ้าปูที่นอนที่มีเนื้อสากสามารถทำให้สิวข้าวสารเกิดอาการระคายเคืองและมีลักษณะแดงมากขึ้น ถุงน้ำ (Cysts) สามารถพบได้บ่อยบริเวณใบหน้า ริมฝีปาก เปลือกตา และแก้ม แต่ก็อาจพบในบริเวณอื่นของร่างกายได้บ้าง เช่น ลำตัว หรืออวัยวะเพศ ภาวะนี้มีความคล้ายกับอีกภาวะหนึ่งที่เรียกว่า Epstein pearls ซึ่งมีลักษณะของตุ่มคล้ายกันแต่จะเกิดขึ้นที่เหงือกและในปากของทารกแรกเกิด ภาวะ Milia มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสิวทารก (baby acne) ซึ่งที่จริงแล้ว คำว่า acne ใช้กับสิวที่เกิดจากเชื้อ P. acne ซึ่งมีกลไกการเกิดต่างกัน 

สาเหตุของสิวข้าวสาร

สาเหตุการเกิดในทารกแรกเกิด จะต่างกันกับในเด็กโตและผู้ใหญ่ 

ทารกแรกเกิด

ในทารกแรกเกิด สิวข้าวสารเกิดขึ้นได้โดยไม่ทราบสาเหตุ มักจะสับสนกับภาวะสิวทารก (Baby Acne) ที่เกิดจากฮอร์โมนจากแม่ สิวข้าวสารมักจะมักจะมีมาตั้งแต่แรกคลอด ไม่มีอาการอักเสบและบวม ซึ่งไม่เหมือนกับสิวทารก ที่จะมีอาการหลังคลอดประมาณ 2-4 สัปดาห์ มีอาการอักเสบและบวม ในเด็กโตและผู้ใหญ่ สิวข้าวสารมักจะเกิดจากผิวที่ถูกทำลายบางชนิด เช่น ตุ่มน้ำที่เกิดจากภาวะควมผิดปกติของผิวหนัง เช่น โรคดักแด้ (epidermolysis bullosa) โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองชนิดหนึ่ง (cicatrical pemphigoid) ความผิดปกติในกระบวนการสร้างเหล็ก (Porphyria Cutanea Tarda) ตุ่มน้ำที่เกิดจากการบาดเจ็บ เช่น สัมผัสโดนพืชที่มีพิษ

ภาวะผิวไหม้

ภาวะผิวถูกทำลายจากการสัมผัสแสงแดดเป็นระยะเวลานาน การใช้ยากลุ่มสเตรียรอยด์ทาผิวเป็นระยะเวลานาน หัตถการผลัดเซลล์ผิวบางชนิด เช่น การขัดผิวด้วยหัวขัด (Dermabrasion) หรือการใช้เลเซอร์ (Laser Resurfacing) สิวข้าวสารสามารถเกิดมากขึ้นได้หากผิวหนังสูญเสียกระบวนการผลัดเซลล์ผิวด้วยตัวเอง ซึ่งทำให้เซลล์ผิวเกิดความแก่

ประเภทของสิวข้าวสาร

ชนิดของสิวข้าวสารจะแยกตามอายุที่มีสิวเกิดขึ้น หรือสิ่งที่ทำให้เกิดสิว ทั้งสองชนิดนี้จะแบ่งการเกิดเป็น 2 ชนิด ดังนี้ Primary Milla จะเกิดจากเนื้อเยื่อเคราตินอุดตัน มักพบบริเวณใบหน้าของเด็กทารกและผู้ใหญ่ Secondary Milia มีลักษณะคล้ายกัน แต่จะเกิดจากมีบางสิ่งอุดตันรูขุมขน เช่นการบาดเจ็บที่ผิวหนัง ผิวไหม้ หรือผิวเป็นตุ่มน้ำ

สิวข้าวสารในทารก

มักจะเป็นชนิด primary milia พบในทารกแรกเกิดและหายได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์ สิวมักจะพบในบริเวณใบหน้า หนังศีรษะ และลำตัวช่วงบน จากการเก็บข้อมูลที่ Seattle Children Hospital พบสิวข้าวสารในทารกได้ 40% Primary Milia ในเด็กโตและผู้ใหญ่ สามารถพบสิวได้บริเวณเปลือกตา หน้าผาก และอวัยวะเพศ Primary milia สามารถหายเองได้ภายในไม่กี่สัปดาห์หรืออาจจะเป็นเดือน

รักษาสิวข้าวสารด้วยธรรมชาติ

ต่อไปนี้เป็นวิธีการรักษาแบบธรรมชาติที่บางคนแนะนำ:
  • น้ำผึ้ง:น้ำผึ้งมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียและสารต้านอนุมูลอิสระ การทาน้ำผึ้งจำนวนเล็กน้อยลงบนสิวข้าวสารโดยตรงและทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาทีก่อนล้างออกอาจช่วยให้ผิวนุ่มขึ้นและทำให้ซีสต์หลุดออกมาได้ง่ายขึ้น
  • ไอน้ำ:ไอน้ำสามารถช่วยเปิดรูขุมขนและอาจช่วยในการปล่อยวัสดุที่ติดอยู่ภายในสิวข้าวสาร ต้มน้ำและปล่อยให้ไอน้ำค่อยๆ ทำให้ใบหน้าของคุณอุ่นขึ้น โดยใช้ผ้าขนหนูมาทำเป็นเต็นท์คลุมศีรษะ ระวังอย่าให้ตัวเองไหม้ หลังจากนึ่งแล้ว คุณสามารถขัดผิวบริเวณนั้นอย่างอ่อนโยนด้วยผ้านุ่มที่สะอาด
  • น้ำมันละหุ่ง:บางคนแนะนำให้ทาน้ำมันละหุ่งเล็กน้อยที่สิวข้าวสาร เพื่อช่วยให้ผิวนุ่มขึ้นและอาจช่วยในการกำจัดมันออกไป อย่างไรก็ตาม ยังขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนข้อกล่าวอ้างนี้
  • การขัดผิวอย่างอ่อนโยน:การใช้สครับขัดผิวอย่างอ่อนโยนหรือผ้านุ่มสามารถช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว และอาจช่วยให้วัสดุที่ติดอยู่ในซีสต์หลุดออกได้ง่ายขึ้น หลีกเลี่ยงการขัดผิวที่รุนแรงซึ่งอาจทำให้ผิวระคายเคือง
  • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์รุนแรง:ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีฤทธิ์รุนแรงอาจทำให้ผิวหนังระคายเคืองและทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนและไม่ก่อให้เกิดสิว (ไม่อุดตันรูขุมขน)
  • อาหารเพื่อสุขภาพและความชุ่มชื้น:การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่อุดมไปด้วยวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ ตลอดจนการได้รับน้ำเพียงพอ สามารถส่งผลต่อสุขภาพผิวโดยรวมได้
  • หลีกเลี่ยงการบีบ:สิ่งสำคัญคือต้องหลีกเลี่ยงการบีบซีสต์ หรือสิวข้าวสารเนื่องจากอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้เกิดแผลเป็น หรืออาการแย่ลงได้
โปรดจำไว้ว่าผลลัพธ์อาจแตกต่างกันอย่างมาก และสิ่งที่ใช้ได้ผลกับคนคนหนึ่งอาจไม่ได้ผลกับอีกคนหนึ่ง หากสิวข้าวสารทำให้คุณรู้สึกไม่สบายอย่างมาก ควรปรึกษากับแพทย์ผิวหนัง และหากจำเป็น ก็สามารถดำเนินการตามขั้นตอนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการกำจัดสิวข้าวสารเช่น การรักษาด้วยเลเซอร์

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/320953
  • https://health.clevelandclinic.org/does-babys-skin-have-tiny-white-bumps-leave-them-alone/
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4760378/

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด