โรคเมลิออยโดสิส (Melioidosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคเมลิออยโดสิสคืออะไร

โรคเมลิออยโดสิส (Melioidosis) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Whitmore’s disease เป็นโรคที่ร้ายแรงที่สามารถทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ในทั้งมนุษย์และสัตว์ โดยมีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย  Burkholderia pseudomallei ที่สามารถแพร่กระจายโดยการสัมผัสน้ำและดินที่ปนเปื้อน

โรคเมลิออยโดสิสนี้เป็นปัญหาทางสาธารณสุขในเอเชียใต้ ออสเตเลียตอนเหนือ และพื้นที่อื่นที่มีสภาพอากาศแบบร้อนชื้น โรคเมลิออยโดสิส สามารถแพร่กระจายไปในพื้นที่ที่ไม่เคยก่อโรค ด้วยเหตุนี้เชื้อแบคทีเรีย B. pseudomallei ซึ่งเป็นตัวก่อโรคเมลิออยโดสิส ถูกระบุว่าเป็นอาวุธชีวภาพที่มีความรุนแรง

อาการของโรคเมลิออยโดสิส

อาการของโรคเมลิออยโดสิสมีหลายอย่างขึ้นอยู่กับประเภทของการติดเชื้อ ประเภทของโรคเมลิออยโดสิสได้แก่ การติดเชื้อในปอด  ติดเชื้อในกระแสเลือด  ติดเชื้อจำเพาะบริเวณ และการติดเชื้อแบบแพร่กระจาย

โดยทั่วไป เมื่อได้รับเชื้อแล้วผู้ป่วยจะแสดงอาการราว 2-4 สัปดาห์ภายหลังสัมผัสเชื้อแบคทีเรีย  และบางรายอาจเป็นโรคโดยไม่แสดงอาการอาการ

การติดเชื้อในปอด (Pulmonary infection)

เป็นอาการแสดงส่วนใหญ่ของโรคเมลิออยโดสิสที่จะเกิดในคนผ่านการติดเชื้อที่ปอด โดยปัญหาที่เกิดกับปอดนั้นอยู่ๆก็เกิดขึ้นเอง หรือเป็นผลมาจากการติดเชื้อในกระแสเลือด อาการแสดงของปอดอาจไม่รุนแรง เช่น หลอดลมอักเสบ  หรืออาจรุนแรง เช่น ปอดบวม  และ นำไปสู่การติดเชื้อจนถึงขั้นช็อกได้ ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock) เป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดที่สำคัญนำไปสู่การเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

อาการของการติดเชื้อในปอด ได้แก่:

การติดเชื้อในปอดจากโรคเมลิออยโดสิส มีลักษณะคล้ายกับวัณโรค เนื่องจากโรคทั้งสองนำไปสู่ปอดบวม  มีไข้สูง มีเหงื่อออกตอนกลางคืน  น้ำหนักตัวลด  มีเสมหะปนเลือด และมีหนองหรือเลือดในเนื้อเยื่อปอด การ X-ray ปอดที่เป็นโรคเมลิออยโดสิสอาจจะแสดงหรือไม่แสดงช่องว่างหรือโพรงภายในปอด เรียกว่า Cavitations ที่ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของวัณโรค

การติดเชื้อในกระแสเลือด (Bloodstream infection)

หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและรวดเร็ว การติดเชื้อในปอดจะพัฒนาไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia) ซึ่งเป็นการติดเชื้อภายในกระแสเลือด การติดเชื้อในกระแสเลือดมักรู้จักกันในนามภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock) และเป็นอาการที่ร้ายแรงที่สุดของโรคเมลิออยโดสิส มักเกิดขึ้นเสมอและคุกคามชีวิต

ภาวะช็อกจากการติดเชื้อมักเกิดอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะค่อยๆพัฒนาขึ้นในบางราย อาการได้แก่:

  • มีไข้ โดยเฉพาะมีอาการตัวสั่น และเหงื่อออก

  • ปวดศีรษะ

  • เจ็บคอ

  • มีปัญหาในการหายใจ เช่น หายใจเร็ว

  • ปวดท้องส่วนบน

  • ท้องเสีย

  • ปวดข้อและกล้ามเนื้อ

  • สับสน

  • มีแผลที่เป็นหนองที่ผิวหนัง หรือภายในตับ  ม้าม กล้ามเนื้อ หรือ ต่อมลูกหมาก

ผู้ที่มีโรคประจำตัวจะมีความเสี่ยงสูงในการพัฒนาโรคเมลิออยโดสิสไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือด:

ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป อาจมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อในกระแสเลือดของโรคเมลิออยโดสิส และมีอาการรุนแรงกว่าคนอายุน้อย

การติดเชื้อเฉพาะที่ (Local infection)

เป็นโรคเมลิออยโดสิสประเภทหนึ่งที่เกิดที่ผิวหนังและอวัยวะใต้ผิวหนัง การติดเชื้อเฉพาะที่สามารถแพร่กระจายไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือด และการติดเชื้อในกระแสเลือดก็เป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อเฉพาะที่ อาการมีดังนี้:

  • ปวด หรือบวมเฉพาะที่ เช่น ต่อมน้ำลาย  ซึ่งส่วนใหญ่สัมพันธ์กับโรคคางทูม  

  • มีไข้

  • มีแผล หรือฝี บริเวณภายในหรือด้านล่างผิวหนัง โดยเริ่มจากเป็นก้อนเนื้อ  ตุ่มสีเทาหรือขาวจากนั้นจะมีลัษณะนิ่มและอักเสบ จากนั้นจะมีลักษณะคล้ายแผลที่เกิดจากแบคทีเรียกัดกินเนื้อเยื่อ

การติดเชื้อแบบแพร่กระจาย (Disseminated infection)

เป็นประเภทหนึ่งของโรคเมลิออยโดสิส จะเกิดแผลมากกว่าหนึ่งอวัยวะและอาจจะหรืออาจจะไม่สัมพันธ์กับภาวะช็อกจากการติดเชื้อ อาการมีดังนี้:

  • มีไข้

  • น้ำหนักตัวลด

  • ปวดท้อง หรือเจ็บหน้าอก

  • ปวดข้อและกล้ามเนื้อ

  • ปวดศีรษะ

  • ชัก

แผลที่ติดเชื้อส่วนมากมักเกิดภายในตับ ปอด ม้าม และต่อมลูกหมาก น้อยรายที่จะติดเชื้อบริเวณข้อ  กระดูก ต่อมน้ำเหลือง หรือสมอง

สาเหตุของโรคเมลิออยโดสิส

มนุษย์และสัตว์ที่สัมผัสกับดินหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย B. pseudomallei โดยตรงจะนำไปสู่โรคเมลิออยโดสิส ส่วนใหญ่การสัมผัสโดยตรงได้แก่:

  • การหายใจรับเอาฝุ่นหรือละอองฝอยที่ปนเปื้อนเชื้อ
  • การดื่มน้ำที่มีเชื้อโดยน้ำไม่เคยฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน
  • สัมผัสดินที่ปนเปื้อนเชื้อด้วยมือ หรือเท้า โดยเฉพาะหากมีบาดแผลที่ผิวหนัง
Melioidosis

มีน้อยรายมากที่จะเกิดการแพร่เชื้อจากคนสู่สิ่งอื่น และแมลงไม่สามารถเป็นตัวแพร่เชื้อได้

แบคทีเรียสามารถมีชีวิตอยู่ได้เป็นปีในดินและน้ำ

โรคเมลิออยโดสิสพบได้ที่ไหนบ้าง

โรคเมลิออยโดสิสเกิดที่ไหน

ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าสาเหตุของโรคเมลิออยโดสิสเกิดในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนหลายแห่ง รายงานผู้เป็นโรคเมลิออยโดสิสส่วนมากมักเกิดในพื้นที่ดังนี้:

  • ประเทศไทย

  • มาเลเซีย

  • สิงคโปร์

  • ตอนเหนือของออสเตเลีย

และนอกจากนี้ยังพบได้มากในประเทศเวียดนาม  ปาปัวนิวกินี ฮ่องกง ไต้หวัน อินเดีย  ปากีสถาน และบังกลาเทศ มีรายงานน้อยในอเมริกากลาง  บราซิล เปรู  เม็กซิโก และเปอร์โตริโก

สภาพอากาศกับการแพร่เชื้อ

การระบาดของโรคเมลิออยโดสิสมักเกิดหลังช่วงที่ฝนตกหนัก  พายุ  ไต้ฝุ่น หรือน้ำท่วม แม้ในพื้นที่ที่แห้งแล้ง โรคปอดบวมมักเป็นอาการแสดงแรกที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว อาจมีวิธีอื่นในการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียสู่สิ่งแวดล้อมที่ยังไม่มีใครค้นพบ

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง

ผู้ที่มักจะสัมผัสเชื้อ  B. pseudomallei ในน้ำหรือดิน ได้แก่:

  • เจ้าหน้าที่ทหาร

  • คนงานในเขตก่อสร้าง เกษตกร  ชาวประมง และกรมป่าไม้

  • นักผจญภัย และนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เช่น ผู้ที่ใช้เวลาในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรค

สัตว์ที่ได้รับผลกระทบ

สัตว์หลายตัวที่อ่อนแอต่อโรคเมลิออยโดสิส นอกจากจะสัมผันกับน้ำหรือดินที่ปนเปื้อน สัตว์ยังได้รับเชื้อแบคทีเรียจากนมสัตว์  ฉี่  มูลสัตว์  สารคัดหลั่งจากจมูก และบาดแผล ซึ่งส่วนใหญ่มีผลต่อ:

  • แพะ

  • แกะ

  • สุกร

มีรายงานเคยเกิดโรคในม้า  แมว สุนัข  วัว ไก่  สัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง ปลาเขตร้อน  อิกัวน่า และสัตว์อื่นๆ สิ่งดังกล่าวได้ฆ่าประชากรสวนสัตว์บางส่วน

การวินิจฉัยโรคเมลิออยโดสิส

โรคเมลิออยโดสิสส่งผลต่ออวัยวะส่วนใหญ่และมีลักษณะคล้ายหลายๆโรค จึงเป็นเหตุผลที่ว่าบางครั้งถูกเรียกว่า the great imitator (ผู้ลอกเลียนที่ยิ่งใหญ่) แต่การวินิจฉัยผิดสามารถนำไปสู่การเสียชีวิตได้

การเพาะเชื้อแบคทีเรีย B. pseudomallei เป็นมาตรฐานที่ได้รับการแนะนำในการตรวจวินิจฉัย โดยแพทย์จะเก็บตัวอย่างเล็กน้อยจากเลือด  เสมหะ  หนอง  ปัสสาวะ  น้ำไขข้อ  น้ำในช่องท้อง หรือน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ ส่งตรวจเพื่อทำการเพาะหาเชื้อดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การเพาะเชื้ออาจไม่สำเร็จในทุกรายที่เป็นโรคเมลิออยโดสิส

บางครั้งระหว่างที่เกิดการระบาด ผู้เชี่ยวชาญจะเก็บตัวอย่างจากดินหรือน้ำ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคบอกเป็นการเสนอความช่วยเหลือในการวินิจฉัย

การรักษาโรคเมลิออยโดสิส

การักษาโรคเมลิออยโดสิสมีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับประเภทของโรค

การรักษาในขั้นแรกของโรคเมลิออยโดสิสคือการให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำเป็นเวลาอย่างน้อย 10-14 วัน การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอาจกินเวลานานกว่า 8 สัปดาห์ โดยแพทย์จะสั่งยา:

  • ceftazidime (Fortaz, Tazicef), ให้ทุกๆ 6-8 ชม.

  • meropenem (Merrem), ให้ทุกๆ 8 ชม.

ขั้นตอนที่สองของการรักษาคือการรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลา 3-6 เดือน:

  • sulfamethoxazole-trimethoprim (Bactrim, Septra, Sulfatrim), รับประทานทุกๆ 12 ชม.

  • doxycycline (Adoxa, Alodox, Avidoxy, Doryx, Monodox), รับประทานทุกๆ 12 ชม.

จะไม่เกิดการติดเชื้อซ้ำหากได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะครบตามที่แพทย์สั่ง ยกเว้นรับยาไม่ครบ

การป้องกันโรคเมลิออยโดสิส

ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเมลิออยโดสิสในมนุษย์ แม้ว่าจะกำลังศึกษาอยู่

ผู้ที่อาศัยอยู่ หรือไปในพื้นที่โรคเมลิออยโดสิสมักเกิด สิ่งที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้แก่:

  • เมื่อทำงานในน้ำหรือดิน ควรสวมรองเท้าบูทกันน้ำและถุงมือ

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและอยู่ในน้ำ หากมีแผลเปิด  เป็นโรคเบาหวานหรือโรคไตเรื้อรัง

  • ระวังการสัมผัสเชื้อโดยการสูดดมระหว่างสภาพอากาศที่แย่

  • บุคลากรทางการแพทย์ควรสวมหน้ากากอนามัย  ถุงมือ และเสื้อกาว์น

  • การแปรรูปเนื้อสัตว์ควรสวมถุงมือและหมั่นฆ่าเชื้อมีด

  • หากดื่มผลิตภัณฑ์จากนม ต้องแน่ใจว่าผ่านการพาสเจอร์ไรส์แล้ว

  • เข้ารับการคัดกรองโรคเมลิออยโดสิสหากคุณเริ่มการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเมลิออยโดสิส

โรคเมลิออยโดซิสเป็นโรคติดเชื้อที่อาจคุกคามถึงชีวิต เกิดจากแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei แบคทีเรียนี้พบได้ทั่วไปในดินและน้ำในบางภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียตอนเหนือ โรคเมลิออยโดสิสอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ ซึ่งบางรายอาจรุนแรงได้ ต่อไปนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเมลิออยโดสิส:
  • ภาวะโลหิตเป็นพิษ (การติดเชื้อในกระแสเลือด):โรคเมลิออยโดสิสมักเริ่มต้นจากการติดเชื้อเฉพาะที่ แต่สามารถลุกลามไปสู่ภาวะโลหิตเป็นพิษได้ ซึ่งแบคทีเรียจะเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งอาจนำไปสู่อาการทางระบบ เช่น มีไข้ หนาวสั่น และภาวะช็อกจากการติดเชื้อ ซึ่งเป็นภาวะที่คุกคามถึงชีวิตได้
  • โรคปอดบวม:หากแบคทีเรียติดเชื้อในปอด อาจทำให้เกิดโรคปอดบวมรุนแรง ทำให้เกิดภาวะหายใจลำบากและกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS) นี่เป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่อาจถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
  • ฝี: Burkholderia pseudomallei สามารถสร้างฝีในอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ม้าม และกล้ามเนื้อ ฝีเหล่านี้รักษาได้ยากและอาจต้องใช้การระบายน้ำหรือการผ่าตัด
  • การติดเชื้อของกระดูกและข้อ:โรคเมลิออยโดสิสอาจส่งผลต่อกระดูกและข้อต่อทำให้เกิดกระดูกอักเสบ (การติดเชื้อของกระดูก) หรือโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ สิ่งนี้อาจทำให้เกิดอาการปวดข้อ บวม และจำกัดการเคลื่อนไหว
  • การติดเชื้อที่ผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน:การติดเชื้อที่ผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน รวมถึงเซลลูไลติและฝีที่ฝังลึก อาจเกิดขึ้นได้จากภาวะแทรกซ้อนของโรคเมลิออยโดสิส
  • ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท:พบไม่บ่อย โรคเมลิออยโดสิสสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท เช่น ฝีในสมอง หรือโรคไข้สมองอักเสบ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น อาการชัก การเปลี่ยนแปลงสติ และการขาดดุลทางระบบประสาท
  • การติดเชื้อต่อมหู:การติดเชื้อของต่อมหูติด (ต่อมน้ำลายที่อยู่ด้านหน้าหู) เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเมลิออยโดสิสที่พบได้น้อยกว่า แต่มีบันทึกไว้
  • ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและความผิดปกติของอวัยวะหลายส่วน (MODS):ในกรณีที่รุนแรง โรคเมลิออยโดสิสอาจลุกลามไปสู่ภาวะติดเชื้อ ซึ่งการตอบสนองของร่างกายต่อการติดเชื้อจะควบคุมไม่ได้และอาจนำไปสู่กลุ่มอาการความผิดปกติของอวัยวะหลายส่วน (MODS) นี่เป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงและอาจถึงแก่ชีวิตได้
  • การกำเริบของโรค:แม้หลังจากรักษาการติดเชื้อระยะแรกได้สำเร็จแล้ว โรคเมลิออยโดสิสก็สามารถกำเริบได้ในบางครั้ง โดยต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม
โรคเมลิออยโดซิสเป็นโรคร้ายแรงที่ควรได้รับการรักษาทันทีด้วยยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม การเลือกใช้ยาปฏิชีวนะและระยะเวลาการรักษาอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงและขอบเขตของการติดเชื้อ การวินิจฉัยโรคตั้งแต่เนิ่นๆ และการดูแลรักษาทางการแพทย์อย่างเหมาะสมมีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนและปรับปรุงผลลัพธ์ของผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิส นอกจากนี้ บุคคลที่มีภาวะสุขภาพประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคตับ หรือระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเมลิออยโดสิส

แนวโน้มของโรคเมลิออยโดสิส

แม้ว่าจะมีการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำที่ใหม่กว่า แต่ผู้คนจำนวนมากยังคงเสียชีวิตจากโรคเมลิออยโดสิสทุกปีโดยเฉพาะจากการติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะแทรกซ้อน อัตราการเสียชีวิตสูงขึ้นในพื้นที่ที่เข้าถึงการรักษาได้จำกัด ผู้ที่ไปเที่ยวในพื้นที่เสี่ยงโรคควรระมัดระวังและทำตามขั้นตอนในการเลี่ยงการสัมผัสเชื้อ หากนักท่องเที่ยวเกิดโรคปอดบวมหรือเกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อจากการกลับมาจากพื้นที่เขตร้อนชื้นหรือกึ่งร้อนชื้น แพทย์จำเป็นต้องคิดถึงโรคเมลิออยโดสิสในการวินิจฉัย

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.medicinenet.com/melioidosis/article.htm

  • https://www.cdc.gov/melioidosis/index.html

  • https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12767750/

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด