มะเร็งผิวหนังมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma) : อาการ สาเหตุ การรักษา

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา( Melanoma) คือมะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่ง เกิดที่เซลล์เมลาโนไซต์ซึ่งเป็นส่วนที่ผลิตเมลานิน(เม็ดสี) ที่ทำให้คนมีสีผิวต่างกันไป

ราว1% ของมะเร็งผิวหนังเป็นชนิดมะเร็งผิวหนังเมลาโนมามีชื่อเรียกอื่นๆเช่น malignant melanoma หรือ cutaneous melanoma.

หากตรวจพบในระยะแรกๆ ส่วนใหญ่จะตอบสนองต่อการรักษาดี แต่ถ้าตรวจพบช้า จะกระจายไปทั่วร่างกายอย่างง่ายดาย

อาการของมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา

อาการและอาการแสดงเริ่มแรกของเมลาโนมาคือ

  • ไฝ(ที่มีอยู่แล้ว)เปลี่ยนแปลงไป เช่นโตขึ้น แผ่ขยายมากขึ้น

  •  มีจุดบนผิวหนังและขยายใหญ่อย่างรวดเร็ว

หากเมลาโนมานั้นยังผลิตเม็ดสีได้ ก้อนก็จะมีสีน้ำตาลหรือดำ แต่เมลาโนมาบางอันก็ไม่ผลิตเม็ดสี ก้อนจึงอาจเป็นสีน้ำตาลอ่อน ชมพูหรือขาว

วิธีสังเกตว่าไฝนั้นอาจเป็นมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาคือ

  • รูปร่างไม่แน่นอน

  • ขอบไม่เรียบ

  • ก้อนไฝสีไม่เสมอกันหรือมีหลายสี

  • ขนาดใหญ่กว่า ¼ นิ้ว

  • ขนาด รูปร่างหรือสีของไฝ เปลี่ยนแปลงไป

  • คันหรือมีเลือดออก

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาเกิดที่ผิวหนังได้ทุกที่ แต่ที่พบบ่อยคือ

  • ในผู้ชาย พบที่หน้าอกและหลัง

  • ผู้หญิง ที่ขา

  • คอ

  • ใบหน้า

อาจเพราะบริเวณนี้ถูกแสงแดดมากกว่าผิวหนังบริเวณอื่น แต่เมลาโนมาก็อาจเกิดบริเวณที่ไม่ค่อยถูกแสงอาทิตย์ เช่น ส้นเท้า ฝ่ามือ และซอกนิ้วได้ บางครั้งผิวหนังก็ดูเหมือนปกติแม้ว่าจะมีเมลาโนมาเกิดขึ้นแล้ว

ประเภทของมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา

ประเภทที่พบบ่อยเป็นชนิดตื้นและแผ่กระจาย มักจะกระจายไปทั่วผิวหนัง ขอบไม่เรียบ และมีสีต่างๆเช่น ดำ ชมพูหรือแดง

เมลาโนมาชนิดก้อน เป็นอีกชนิดหนึ่งที่โตขยายลึกลงไปในชั้นผิวหนัง มักจะเห็นเป็นก้อนนูน

เมลาโนมาชนิด Lentigo maligna มักเกิดกับส่วนของร่างกายที่ถูกแสงแดดมาก เช่น ใบหน้า มักเกิดในผู้สูงอายุ จะเห็นเป็นแผ่นดำขอบไม่เรียบที่ใบหน้า

เมลาโนมากระจาย คือเมื่อเซลล์มะเร็งกระจายไปสู่ส่วนอื่นๆของร่างกายเช่น ต่อมน้ำเหลือง อวัยวะต่างๆ และกระดูก

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาชนิดหายากนั้น นอกจากจะเกิดที่ผิวหนังแล้ว ยังเกิดในเนื้อเยื่อภายในของร่างกาย และดวงตา

Melanoma

เมลาโนมาของเยื่อบุ เกิดที่เยื่อบุต่างๆเช่น

  • ทางเดินอาหาร

  • ปาก

  • จมูก

  • ทางเดินปัสสาวะ

  • ช่องคลอด

เมลาโนมาที่ดวงตา เกิดที่ชั้นใต้ตาขาว

การรักษามะเร็งผิวหนังเมลาโนมา

การรักษาขึ้นกับระยะของมะเร็ง

ระยะ 0

มะเร็งอยู่ที่ชั้นบนของผิวหนัง ตัดออกได้ง่าย ไม่ต้องรักษาเพิ่ม

ระยะ 1 และ 2

ชั้นบางๆของเมลาโนมานั้นตัดออกให้หมดได้ง่าย แต่ถ้าเซลล์มะเร็งลงไปลึกกว่านั้น อาจต้องการการผ่าตัดออก โดยการตัดส่วนที่เป็นมะเร็งและขอบที่เป็นผิวหนังปกติ รวมถึงชั้นใต้บริเวณนั้นด้วย

เมลาโนมาระยะแรกๆไม่ต้องรักษาใดๆเพิ่ม

 ระยะ 3 และ 4

เมลาโนมาระยะ 3 จะกระจายออกจากจุดเริ่มต้น ไปที่ต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง ต้องผ่าตัดแบบกว้าง เพื่อเอาก้อนและต่อมน้ำเหลืองที่มีเซลล์มะเร็งออก

เมลาโนมาระยะที่ 4 มะเร็งจะกระจายไปไกลกว่านั้น นอกจากจะตัดก้อนมะเร็งและต่อมน้ำเหลืองที่มีเซลล์มะเร็งแล้ว ต้องตัดก้อนมะเร็งที่กระจายไปที่อวัยวะภายในอื่นๆด้วย มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับจำนวน ขนาด และบริเวณที่มีก้อน

ระยะที่ 3 และ 4 ต้องมีการรักษาเพิ่มเติม เช่น

  • การรักษาด้วยภูมิคุ้มกัน interferon หรือ interleukin-2 หรือ checkpoint inhibitors, เช่น ipilimumab (Yervoy), nivolumab (Opdivo), และ pembrolizumab (Keytruda).

  • การรักษาตรงเป้า สำหรับมะเร็งที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน  BRAF เช่น cobimetinib (Cotellic), dabrafenib (Tafinlar), trametinib (Mekinist),และ vemurafenib (Zelboraf).

  • วัคซีน เข่น Bacille Calmette-Guerin (BCG) และ T-VEC (Imlygic).

  • รังสีรักษา (ฉายแสง) เพื่อลดขนาดของก้อนและฆ่าเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่หลังจากการผ่าตัด และยังช่วยลดอาการเนื่องจากมะเร็งกระจายไปที่อวัยวะอื่น

  • Isolated limb perfusion คือการให้สารเคมีบำบัดชนิดร้อนที่บริเวณแขนหรือขาที่เป็นมะเร็ง

  • เคมีบำบัด เช่นdacarbazine (DTIC) และ temozolomide (Temodar) เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่กระจายไปทั่วร่างกาย

การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันและการรักษาแบบตรงเป้า ยังไม่พิสูจน์ว่ารักษาเมลาโนมาได้ แต่ช่วยยืดอายุได้

การให้เคมีบำบัด ช่วยลดขนาดมะเร็ง แต่กลับมาเป็นได้อีกในเวลา 2-3 เดือน

การรักษาแต่ละแบบนั้นมีผลข้างเคียงต่างกันไป บางครั้งผลข้างเคียงก็รุนแรงมาก ควรต้องปรึกษากับแพทย์ก่อน

สาเหตุของมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา

ปกติ ผิวหนังใหม่จะเติบโตและดันเซลล์ผิวหนังเก่าที่ตายแล้วออกไป(เป็นขี้ไคล) ถ้าเกิดความเสียหายของ DNA ในเซลล์เม็ดสี ทำให้เซลล์ผิวหนังที่เกิดใหม่เติบโตมากเกินไป ทำให้เกิดมะเร็ง

ยังไม่แน่ชัดว่า ทำไม DNA จึงเสียหายได้ อาจเกิดจากทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

สาเหตุหลักอาจจะเกิดจากการถูกรังสีอัลตร้าไวโอเลต ซึ่งรังสีนี้มาจากแสงอาทิตย์ และแสงจากการทำผิวสีแทน

ภาวะแทรกซ้อนของมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดในเซลล์เมลาโนไซต์ ซึ่งเป็นเซลล์ที่ผลิตเม็ดสีเมลานิน หากตรวจไม่พบและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ มะเร็งผิวหนังชนิดเนื้อร้ายอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ ซึ่งบางรายอาจถึงแก่ชีวิตได้ ต่อไปนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากมะเร็งผิวหนัง:
  • การแพร่กระจายของมะเร็ง : มะเร็งผิวหนังสามารถแพร่กระจาย (metastasize) ไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ตับ ปอด และสมอง เมื่อเซลล์มะเร็งผิวหนังเข้าถึงอวัยวะที่อยู่ห่างไกล การรักษาจะมีความท้าทายมากขึ้น และการพยากรณ์โรคอาจแย่ลง
  • การกลับเป็นซ้ำ : แม้ว่าการรักษามะเร็งผิวหนังในระยะเริ่มแรกจะประสบความสำเร็จ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอีก การนัดหมายติดตามผลเป็นประจำกับแพทย์ผิวหนังหรือผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้องอกวิทยาเป็นสิ่งสำคัญในการติดตามสัญญาณของมะเร็งผิวหนังชนิดที่เกิดซ้ำ
  • อาการบวมน้ำเหลือง : หากมะเร็งผิวหนังแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง หรือหากต่อมน้ำเหลืองถูกผ่าตัดออกโดยเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา อาจทำให้เกิดอาการบวมน้ำเหลืองได้ นี่คือภาวะที่มีอาการบวมที่แขนขาหรือบริเวณที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากการระบายน้ำเหลืองบกพร่อง
  • การเป็นแผล : มะเร็งผิวหนังบางชนิดอาจเป็นแผลหรือแตกออก ทำให้เกิดแผลหรือบาดแผลบนผิวหนัง มะเร็งผิวหนังชนิดที่เป็นแผลอาจรุนแรงมากขึ้นและมีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเนื้อร้ายมากขึ้น
  • การติดเชื้อ : แผลเปิดหรือแผลเปื่อยบนผิวหนังสามารถติดเชื้อได้ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพเพิ่มเติม
  • รอยแผลเป็น : การผ่าตัดเอาเนื้องอกออกหรือการรักษาอื่นๆ อาจส่งผลให้เกิดแผลเป็นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลต่อรูปลักษณ์และความนับถือตนเองของบุคคล
  • ผลกระทบทางอารมณ์และจิตวิทยา : การวินิจฉัยมะเร็งผิวหนังและการรักษาอาจทำให้เกิดความทุกข์ทางอารมณ์และความวิตกกังวลอย่างมาก การรับมือกับความกลัวว่ามะเร็งจะกลับมาเป็นอีกและผลกระทบต่อชีวิตอาจเป็นเรื่องท้าทาย
  • ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดด้วยภูมิคุ้มกัน : การรักษามะเร็งผิวหนังบางชนิด เช่น การบำบัดด้วยภูมิคุ้มกัน อาจมีผลข้างเคียงที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน สิ่งเหล่านี้อาจรวมถึงปฏิกิริยาแพ้ภูมิตัวเอง ผื่นผิวหนัง และปัญหาระบบทางเดินอาหาร
  • ผลข้างเคียงจากการฉายรังสี : หากใช้การฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งผิวหนัง ผลข้างเคียงอาจรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังในบริเวณที่ทำการรักษา ความเหนื่อยล้า และความเสียหายต่อเนื้อเยื่อที่มีสุขภาพดีในบริเวณใกล้เคียง
  • มะเร็งทุติยภูมิ : ผู้รอดชีวิตจากมะเร็งผิวหนังบางรายอาจเป็นมะเร็งทุติยภูมิ ไม่ว่าจะเนื่องมาจากการรักษาที่พวกเขาได้รับ หรือเนื่องมาจากปัจจัยเสี่ยงร่วมกันของโรคมะเร็ง
การติดเชื้อมะเร็งผิวหนังในระยะเริ่มแรกเป็นสิ่งสำคัญเมื่อสามารถรักษาได้มากกว่าและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า การตรวจผิวหนังด้วยตนเองและตรวจร่างกายกับแพทย์ผิวหนังเป็นประจำสามารถช่วยในการตรวจพบได้ตั้งแต่เนิ่นๆ หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งผิวหนัง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมดูแลสุขภาพของคุณเพื่อพัฒนาแผนการรักษาที่เหมาะสม และติดตามผลอย่างสม่ำเสมอเพื่อติดตามภาวะแทรกซ้อนหรือการกลับเป็นซ้ำที่อาจเกิดขึ้น การแทรกแซงและการจัดการตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถปรับปรุงผลลัพธ์ได้อย่างมาก

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/melanoma/symptoms-causes/syc-20374884

  • https://www.nhs.uk/conditions/melanoma-skin-cancer/


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด