• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home การติดเชื้อ

มาลาเรีย (Malaria) : อาการ สาเหตุ การรักษา ภาวะแทรกซ้อน

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in การติดเชื้อ, หาโรค
0
มาลาเรีย
0
SHARES
112
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • มาลาเรียคืออะไร
  • อาการไข้มาลาเรีย
  • สาเหตุของมาลาเรีย
  • การรักษาโรคมาลาเรีย
  • ภาวะแทรกซ้อนของมาลาเรีย
  • การวินิจฉัยมาลาเรีย
  • สถิติผู้ป่วยมาลาเรียในประเทศไทย
  • การป้องกันมาลาเรีย
4.8 / 5 ( 13 votes )

มาลาเรียคืออะไร

โรคมาลาเรีย (Malaria) คือโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวในกลุ่ม“พลาสโมเดียม” (Plasmodium)เข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงของผู้ที่ติดเชื้อซึ่ง เกิดจากการที่ถูกยุงก้นป่องกัด เมื่อติดเชื้อมาลาเรียแล้วอาจจะก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เมื่อเวลาผ่านไป เชื้อนี้จะส่งผลต่อตับ เมื่อเชื้อเจริญเติบโตเต็มที่ เชื้อนั้นจะเข้าสู่กระแสเลือด และแพร่เชื้อมาลาเรียที่เซลล์เม็ดเลือดแดง

เชื้อมาลาเรียนี้อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดงและจะเพิ่มขึ้นภายใน 48 ถึง 72 ชั่วโมง เชื้อมาลาเรียนั้นยังลุกลามต่อไปในเซลล์เม็ดเลือดแดง มาลาเรียนั้นมักพบในภูมิอากาศที่ร้อนชื้นและกึ่งเขตร้อน ซึ่งทำให้เชื้อมาลาเรียนั้นเติบโตได้ดี

จากการสถิติ ในปี 2559 มีผู้ป่วยโรคมาลาเรีย 216 ล้านคนใน 91 ประเทศทั่วโลก 

โรคมาลาเรีย

อาการไข้มาลาเรีย

อาการโรคไข้มาลาเรียจะแสดงภายใน 10 วันถึง 4 สัปดาห์หลังจากการติดเชื้อมาลาเรีย แต่ในบางกรณีเมื่อรับเชื้อเข้ามาแล้วอาจจะไม่แสดงอาการเป็นเวลาหลายเดือน 

อาการเบื้องต้นของไข้มาลาเรียมีดังนี้:

  • มีอาการหนาวสั่นในระดับปานกลางถึงระดับที่รุนแรงขึ้น
  • มีอาการท้องเสีย (Diarrhea)
  • มีอาการไข้สูง (Fever)
  • มีอาการปวดหัว
  • เหงื่อออกมากผิดปกติ
  • มีอาการวิงเวียนศีรษะ (Dizziness)
  • มีอาการอาเจียน (Vomit)
  • มีอาการปวดท้อง (Stomach pain)
  • โรคโลหิตจาง
  • มีอาการปวดกล้ามเนื้อ
  • มีอาการชัก (Convulsions)
  • มีอาการโคม่า (Coma)
  • ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด

สาเหตุของมาลาเรีย

โรคไข้มาลาเรียสามารถเกิดขึ้นจากการที่ถูกยุงที่มีเชื้อปรสิตพลาสโมเดียมกัด ซึ่งมีเชื้อปรสิตที่ทำให้เกิดไข้มาลาเรียมีอยู่ 4 ชนิดคือ Plasmodium vivax P. ovale P. malariae และ P. falciparum.

ไข้มาลาเรียที่มีเชื้อปรสิตประเภท P. falciparum เป็นสาเหตุที่ไข้มาลาเรียที่รุนแรงขึ้น มีความเสี่ยงที่จะทำให้เสียชีวิตได้ ไข้มาลาเรียนั้นสามารถติดเชื้อได้ผ่านแม่ไปสู่ทารกในครรภ์ได้ ซึ่งเรียกไข้มาลาเรียชนิดนี้ว่า การติดเชื้อมาลาเรียระหว่างการตั้งครรภ์ 

ไข้มาลาเรียสามารถส่งผ่านเชื้อผ่านทางเลือดได้ เช่น

  • การปลูกถ่ายอวัยวะ
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • การบริจาคเลือด

การรักษาโรคมาลาเรีย

โรคมาลาเรียอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณติดเชื้อมาลาเรียประเภท P. falciparum การรักษามาลาเรีย แพทย์จะสั่งยาตามชนิดของเชื้อมาลาเรียที่คุณมี

นอกจากนี้เชื้อมาลาเรียบางชนิดเช่น P. vivax และ P. ovale ซึ่งมีอยู่ในตับ สามารถอาศัยอยู่ในร่างกายของคุณเป็นระยะเวลานานและเชื้อมาลาเรียจะกลับมากำเริบได้ในภายหลัง ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ

หากคุณพบว่ามีเชื้อมาลาเรียประเภทใดประเภทหนึ่ง คุณจะได้รับยาตัวที่สองเพื่อเป็นการป้องกันมาลาเรียที่อาจจะกลับมากำเริบได้ในอนาคต

ภาวะแทรกซ้อนของมาลาเรีย

โรคมาลาเรียสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้ ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้:

  • โรคมาลาเรียขึ้นสมอง
  • มีการสะสมน้ำในปอดจนปอดบวมน้ำ ซึ่งทำให้มีปัญหาการหายใจหรือ มีอาการปอดบวม(Pnuemania)
  • อวัยวะภายในล้มเหลว เช่น ไต ตับ หรือ ม้าม
  • โรคโลหิตจางเนื่องจากการถูกทำลายของเซลล์เม็ดเลือดแดง
  • ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

การวินิจฉัยมาลาเรีย

หากคุณมีอาการโรคมาลาเรีย แพทย์จะวินิจฉัย ว่าผู้ป่วยมีอาการม้ามหรือตับโตหรือไม่   แพทย์อาจสั่งการตรวจเลือดเพิ่มเติม เพื่อยืนยันการวินิจฉัยของคุณ

การวินิจฉัยจะแสดงให้เห็นถึง :

  • ผู้ป่วยเป็นมาลาเรียหรือไม่
  • ผู้ป่วยเป็นไข้มาลาเรียประเภทใด
  • หาการติดเชื้อมาลาเรียจากเชื้อปรสิตจะไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาบางชนิด
  • ผู้ป่วยเกิดภาวะโลหิตจางเนื่องจากเป็นไข้มาลาเรีย
  • โรคมาลาเรียส่งผลกระทบถึงอวัยวะของผู้ป่วย

สถิติผู้ป่วยมาลาเรียในประเทศไทย

สถิตินี้มาจากเว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค จากหัวข้อ กรมควบคุมโรค พัฒนารูปแบบการดำเนินงานโรคมาลาเรียชุมชน ในหมู่บ้านที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรีย สามารถตรวจวินิจฉัยและรักษาได้ทันที ซึ่งมีการสำรวจมาแล้ว พบว่าในปี 2562 พบผู้ป่วยจำนวน 5,834 ราย โดยพบในพื้นที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 5,604 ราย ได้แก่ ชายแดนไทย-เมียนมาร์ จำนวน 3,070 ราย จังหวัดชายแดนไทย-มาเลเซีย จำนวน 1,795 ราย และชายแดนไทย-กัมพูชา จำนวน 739 ราย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโรคไข้มาลาเรียจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขด้านโรคติดต่อชายแดนที่สำคัญ

การป้องกันมาลาเรีย

การใช้วัคซีนโรคมาลาเรีย 

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนมาลาเรียที่ได้รับการยอมรับให้ใช้อย่างแพร่หลายแต่มีวัคซีนที่มีแนวโน้มประสบความสำเร็จมากที่สุดในปัจจุบันชื่อ Mosquirix (RTS,S/AS01)

ยาป้องกันโรคมาลาเรีย

แพทย์จะจ่ายยาป้องกันโรคมาลาเรียให้โดยประเมินจากพื้นที่ที่คุณต้องการเดินทางไป โดยดูว่าพื้นที่นั้นพบการระบาดของเชื้อมาลาเรียชนิดใด 

การดูแลตัวเอง 

วิธีป้องกันมาลาเรียเบื้องต้นที่สามารถทำเองได้คือ หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อ 

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่กลางแจ้งระหว่างช่วงหัวค่ำและเช้ามืด
  • สวมเสื้อผ้าที่ปกปิดผิวหนังให้มากที่สุด
  • ทายากันยุง 

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/malaria/symptoms-causes/syc-20351184
  • https://www.cdc.gov/malaria/about/disease.html
  • https://www.nhs.uk/conditions/malaria/causes/
  • https://www.webmd.com/a-to-z-guides/malaria-symptoms

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

Tags: ปรสิต
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post

โรคเรื้อน (Leprosy) : อาการ สาเหตุ การรักษา โรคแทรกซ้อนที่

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.