• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

โรคจอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration) : สาเหตุ ประเภท อาการ

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in หาโรค, โรคตา
0
0
SHARES
37
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • โรคจอประสาทตาเสื่อมคืออะไร
  • สาเหตุจอประสาทตาเสื่อม
  • ประเภทของจอประสาทตาเสื่อม
  • อาการของโรคจอประสาทตาเสื่อม
  • การวินิจฉัยโรคจอประสาทตาเสื่อม
  • การรักษาจอประสาทตาเสื่อม
  • เคล็ดลับในการป้องกันจอประสาทตาเสื่อม
  • สถิติผู้ป่วยจอประสาทตาเสื่อมในประเทศไทย
4.7 / 5 ( 20 votes )

โรคจอประสาทตาเสื่อมคืออะไร

จอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration) เกิดจากการที่ตามีปัญหาการมองเห็นเนื่องจากที่จุดรับภาพตรงกลางของตานั้นเสื่อมลง ซึ่งการมองเห็นแบบปกตินั้น มีจุดรับภาพตรงกลางซึ่งมองสิ่งของที่อยู่หน้าของคุณ และการมองเห็นด้านข้างคือสิ่งที่คุณมองเห็นด้านข้าง และการที่จอประสาทตาเสื่อมนั้นไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยตาบอด เพราะไม่ได้มีผลกระทบต่อจุดรับรับภาพส่วนปลายที่ตาของคุณ

โรคจอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration)

สาเหตุจอประสาทตาเสื่อม

สาเหตุของโรคจอประสาทตาเสื่อมเกิดจากการเสื่อมสภาพของจอประสาทตา ซึ่งเป็นพื้นที่เล็กในดวงตา ที่เป็นจุดศูนย์กลางของดวงตา ที่อยู่ด้านหลังของลูกตา

ทางการแพทย์ไม่ได้ทราบสาเหตุที่ชัดเจนสำหรับโรคจอประสาทตาเสื่อม แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบางอย่างก็ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นจอประสาทตาเสื่อมได้ ความเสี่ยงของการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมมีดังนี้:

  • อายุมากกว่า 65 ปี
  • มีประวัติว่ามีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
  • การสูบบุหรี่
  • มีน้ำหนักตัวเยอะ
  • มีโรคหัวใจและหลอดเลือด

ประเภทของจอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อมมีอยู่ 2 ประเภทคือจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง และจอประสาทเสื่อมตาชนิดเปียก

จอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้งนั้น เป็นอาการที่คนทั่วไปนั้นพบบ่อยที่สุด ซึ่งส่งผลประมาณ 85 ถึง 90 เปอร์เซนต์ ของคนที่มีอาการจอประสาทตาเสื่อม อาการนี้เกิดจากจุดสีเหลืองที่เรียกว่าดรูเซนเข้าไปสะสมในจอประสาทตา อาการนี้ทำให้จอประสาทตาได้รับความเสียหายและสูญเสียการมองเห็น

จอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกส่งผลได้ประมาณ 10 ถึง 15 เปอร์เซนต์ ของคนที่มีอาการจอประสาทตาเสื่อม อาการนี้เกิดขึ้นเมื่อมีความผิดปกติของเส้นเลือดฝอยด้านหลังจอประสาทตา หากคุณมีอาการจอประสาทตาเสื่อมชนิดนี้ คุณอาจเห็นจุดสีดำอยู่ตรงกลางของการมองเห็นของคุณ เนื่องจากหลอดเลือดมีการรั่วไหลหรือมีของเหลวรั่วไหลออกมา

อาการของโรคจอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อมเป็นโรคที่อันตรายมาก เนื่องจากเมื่อเวลาผ่านไป อาการนี้ก็จะแย่ลง คุณอาจจะไม่เห็นอาการแรกเริ่มของโรคจอประสาทตาเสื่อม นอกจากนี้คุณอาจไม่สังเกตเห็นอาการของมันเมื่อการมองเห็นของคุณยังปกติ เมื่อคุณใช้ตาสองข้างมองในเวลาที่พร้อมกัน

อาการของจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง มีอาการดังต่อไปนี้:

  • การมองเส้นตรงจะผิดเพี้ยนไป
  • การมองเห็นจุดตรงกลางเริ่มลดลง
  • มีความต้องการแสงสว่างที่มากกว่าปกติ
  • มีการปรับตัวในที่แสงน้อยยากลำบาก
  • มองภาพแล้วเบลอ
  • มีปัญหาในการจดจำใบหน้า

อาการบางอย่างของจอประสาทเสื่อมชนิดเปียกก็อาจคล้ายกันกับจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง เช่น การมองเห็นที่ผิดเพี้ยนการมองเห็นส่วนกลางนั้นเปลี่ยนไป

คนที่เป็นจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก อาจมีอาการต่อไปนี้:

  • การมองเห็นที่พร่ามัว
  • เห็นภาพเลือนลาง
  • อาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว

อาการจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกและแห้งนั้น ไม่มีผลต่อจุดรับการมองเห็นส่วนปลาย แม้ว่าอาการเหล่านี้จะสามารถป้องกันได้จากสิ่งที่มองเห็นตรงหน้าของคุณ แต่นั้นก็ไม่ใช่สาเหตุที่ให้ตาบอดได้ 

การวินิจฉัยโรคจอประสาทตาเสื่อม

การตรวจสายตาประจำปีเป็นเรื่องที่สำคัญ ถึงแม้ว่าการมองเห็นจะปกติก็ตาม คุณควรจะพบจักษุแพทย์หากคุณรู้สึกว่าการมองเห็นนั้นเปลี่ยนไป จักษุแพทย์จะตรวจหาความผิดปกติ และวินิจฉัยอาการจอประสาทตาเสื่อม เช่น จกษุแพทย์สามารถให้ยาหยอดตาชนิดพิเศษ เพื่อขยายม่านตาของคุณ และตรวจสอบด้านหลังตาของคุณเพื่อหาของเหลวในตาหรือจุดสีเหลืองในดวงตาของคุณ

ในระหว่างการตรวจสายตาของคุณ จักษุแพทย์สามารถตรวจจุดรับภาพส่วนกลางด้วยการมองตาราง หากมีเส้นบางเส้นมองไม่ชัด หรือแตก นั่นคือสัญญาณว่าคุณอาจเป็นจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งการวินิจฉัยแบบอื่นมีดังนี้:

เครื่องมือตรวจความหนาของชั้นจอประสาทตา

การวินิจฉัยนี้เป็นการถ่ายภาพขวางทางจอประสาทตา และตรวจหาอาการบวม หนา หรือบางของชั้นจอประสาทตา หลังจากที่คุณได้รับการวินิจฉัยแล้ว จักษุแพทย์อาจ ตรวจสอบว่าการตอบสนองต่อการรักษาเป็นอย่างไร

การตรวจหลอดเลือดในตาด้วยสารเรืองแสง

การวินิจฉัยด้วยวิธีนี้คล้ายกับการตรวจหลอดเลือดด้วยแสงฟลูออเรสเซนต์ จักษุแพทย์จะฉีดสารเรืองสีเขียวเข้าไปในหลอดเลือด การวินิจฉัยนี้เพื่อหาแสงฟลูออเรสเซนต์และวินิจฉัยอาการจอประสาทตาเสื่อมได้

การเอ็กซเรย์ตรวจเส้นเลือด

จักษุแพทย์จะทำการฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำที่แขนของคุณไปยังเส้นเลือดที่อยู่ในจอประสาทตาของคุณ จากนั้นก็จะใช้กล้องพิเศษ ถ่ายรูปดวงตาเก็บเอาไว้ และจักษุแพทย์ก็จะตรวจสอบจากสีที่ฉีดเข้าไปว่ามีความผิดปกติในจอประสาทตาหรือหลอดเลือดที่อยู่ในตาของคุณหรือไม่

การรักษาจอประสาทตาเสื่อม

ตอนนี้ไม่มีการรักษาที่แน่นอนของอาการจอประสาทตาเสื่อม แต่จักษุแพทย์สามารถให้คุณรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาอาการของโรค

การรักษาจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง

หากคุณเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง จักษุแพทย์อาจจะแนะนำให้คุณพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพสายตา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถสอนให้ปรับตัวและรับมือกับการสูญเสียการมองเห็นได้

จักษุแพทย์อาจแนะนำให้คุณผ่าตัด เพื่อปรับการมองเห็นให้ดีขึ้น ซึ่งในระหว่างการผ่าตัด แพทย์จะฝังเลนส์พิเศษไว้ในดวงตาของคุณ ซึ่งจะทำให้ขยายขอบเขตการมองเห็นให้มากขึ้น

การรักษาจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก

หากคุณมีอาการจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก จักษุแพทย์จะแนะนำให้ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสายตาต่ำ นอกจากนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำยาที่รักษาอาการนี้ได้โดยตรง เพื่อหยุดการเติบโตของเส้นเลือดใหม่ ซึ่งอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการรักษา ก่อนที่คุณจะเห็นถึงความแตกต่างในการรักษา

การรักษาจอประสาทตาเสื่อมในรูปแบบอื่น ก็มีการใช้พลังงานบำบัด จักษุแพทย์จะฉีดยาเข้าไปในหลอดเลือดดำของแขนข้างไหนก็ได้ และใช้แสงพิเศษเพื่อปิดรอยรั่วของหลอดเลือดในตาของคุณ การบำบัดนี้สามารถปรับปรุงการมองเห็นได้ แต่คุณอาจต้องมีการบำบัดที่หลากหลาย

การผ่าตัดตาด้วยแสงเลเซอร์ เป็นการรักษาจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก การรักษานี้เป็นการใช้แสงเลเซอร์พลังงานสูง เพื่อจัดการกับเส้นเลือดที่ผิดปกติ จุดประสงค์ของการบำบัดนี้คือเพื่อหยุดเลือดที่หลุดรั่วและลดความเสียหายต่อประสาทตาของคุณ แต่อย่างไรก็ตามเลเซอร์สามารถทำให้เกิดแผลเป็นและทำให้เกิดจุดบอดบนดวงตาของคุณ แม้ว่าการรักษานี้จะประสบความสำเร็จหลอดเลือดที่ผิดปกติสามารถกลับมาใหม่ได้และคุณจะต้องกลับไปรับการรักษาอีกครั้ง 

เคล็ดลับในการป้องกันจอประสาทตาเสื่อม

ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ได้กำหนดวิธีในการป้องกันจอประสาทตาเสื่อม แต่อย่างไรก็ตามคุณสามารถลดความเสี่ยงของโรคนี้ได้โดยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ซึ่งรวมถึง:

  • เลิกสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์
  • รักษาน้ำหนักตัวให้คงที่
  • ออกกำลังกายให้มาก

โรคจอประสาทตาเสื่อมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็เป็นไปได้ที่จะทำการวินิจฉัยให้เร็วกว่านี้ในการตรวจสายตา ยิ่งทำการรักษาให้เร็ว ก็มีโอกาสที่ชะลออาการจอประสาทตาเสื่อมและลดโอกาสในการสูญเสียการมองเห็นได้อีกด้วย

สถิติผู้ป่วยจอประสาทตาเสื่อมในประเทศไทย

สถิตินี้ได้มาจากเว็บไซต์ผู้จัดการในปี 2559 ซึ่งมีการวิจัยมาว่า สำหรับผู้ป่วยจอประสาทตาเสื่อมนั้น เคยเป็นอันดับที่ 4 ของผู้ป่วยโรคตาทั้งหมด โดยอันดับ 1โรคต้อกระจก อันดับ 2 โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา อันดับ 3 โรคต้อหิน แต่ภายใน 10 – 20 ปี ข้างหน้าหากเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว คาดว่า มีความเป็นไปได้ที่จำนวนผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อมจะเพิ่มขึ้น และขยับขึ้นมาอยู่ในอันดับ 2 – 3 ในที่สุด


นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/eye-health/macular-degeneration/age-related-macular-degeneration-overview
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dry-macular-degeneration/symptoms-causes/syc-20350375
  • https://www.nhs.uk/conditions/age-related-macular-degeneration-amd/

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post

เลือดออกตามไรฟัน (Bleeding Gum) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.