ฝีมะม่วง (Lymphogranuloma Venereum) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
Default Thumbnail
โรคฝีมะม่วง (Lymphogranuloma Venereum) คือโรคที่เกิดจาเชื้อโรค Chlamydia trachomatis ที่มีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ โดยจะมีลักษณะเป็นแผลที่ผิวหนัง มีขนาดเล็กและไม่แสดงอาการใดๆ จากนั้น ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบหรือกระดูกเชิงกรานจะมีอาการอักเสบ หากเป็นการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักอาจจะมีอาการที่รุนแรง เกิดแผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ หากไม่ได้รับการรักษา การไหลเวียนของน้ำเหลืองอาจมีการอุดตัน เนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะเพศอาจมีการบวมเรื้อรัง โดยแพทย์สามารถทำการวินิจฉัยโรคได้ ด้วยการตรวจเบื้องต้น หรือทดสอบด้วยการใช้เซรุ่มหรือ immunofluoresecent โดยการรักษาจะใช้เวลาทั้งหมด 21 วัน ด้วยการใช้ยา tetracycline หรือ erythromycin ฝีมะม่วงเกิดจากแบคทีเรีย 3 สายพันธุ์ L1,L2,L3 โดยจะแตกต่างกับแบคทีเรียของโรคหนองในเทียม ที่ทำให้เกิดริดสีดวง เยื่อบุตาอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ และปากมดูกอักเสบเนื่องจากต่อมน้ำเหลืองโดยทำร้าย  เป็นโรคที่สามารถพบได้ประรายในอเมริกา แต่เป็นโรคเฉพาะถิ่น เช่น บางส่วนของแอฟริกา อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกาใต้และแคริเบียน โรคนี้สามารถพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และ มีรายงานว่า สามารถพบได้มากในแถบอเมริกาเหนือ ยุโรปและออสเตรเลีย ซึ่งมักจะพบในกลุ่มของชายรักชาย ฝีมะม่วง (Lymphogranuloma Venereum)

อาการและสัญญาณของโรค

โรคฝีมะม่วงมีทั้งหมด 3 ระยะ ระยะแรก จะเกิดขึ้นหลังจากเชื้อโรคมีการฟักตัวแล้ว 3 วัน โดยจะมีแผลเล็กๆตามผิวหนัง แต่จะหายเร็วมากจนอาจจะไม่ได้สังเกต ระยะที่ 2 จะเกิดขึ้นหลังจากผ่านไป 2-4 สัปดาห์ โดยต่ิงน้ำเหลืองที่ขาหนีบจะมีการขยายใหญ่ขึ้นและกลานเป็นก้อนนิ่มๆ บางครั้งอาจคล้ายกับฟองสบู่ที่เกาะอยู่บริเวณเนื้อเยื่อ ทำให้บางครั้งผิวหนังมีอาการอักเสบ จนเป็นไข้และไม่สบายตัว ในผู้หญิงอาจมีอาการปวดหลังหรือปวดกระดูกเชิงกรานเพราะอาจมีการติดเชื้อบริเวณปากมดลูกหรือช่องคลอด ทำให้มีการขยายตัวและอักเสบ ในบางครั้งทางเดินไซนัสอาจมีการระบายของเหลว อาจทำให้เกิดหนองหรือมีเลือดออก ระยะที่ 3 แผลที่หายแล้วอาจจะเกิดเป็นแผลเป็น แต่ยังคงมีอาการอักเสบอยู่ ผิวหนังจะยังคงมีอาการบวมเพราะการติดเชื่อที่ยังไม่ได้รับการรักษา จะขวางท่อน้ำเหลือง ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก อาจมีอาการอย่างรุนแรง โดยที่จะมีเลือดออกทางทวารหนัง เป็นหนองในระยะแรก ลำไส้บวม ทำให้มีอาการปวดเกร็งและตีบในทวารหนัก เนื่องจากต่อมน้ำเหลืองอักเสบ จากการตรวจ อาจพบว่าเป็นการอักเสบแบบกระจายคล้ายกับโรคลำไส้อักเสบ

การวินิจฉัย

  • การตรวจหาแอนติบอดี้
  • ทดสอบการกระจายตัวของกรดนิวคลีอิก NAAT
ผู้ป่วนที่มีแผลที่อวัยวะเพศและต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบบวม มักจะได้รับการสันนิฐานว่าเป็นโรคฝีมะม่วง ผู้ที่อาศัยอยู่ร่วมกันหรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อ อาจได้รับการสงสัยว่ามีอาการนี้ด้วยเช่นกัน การวินิจฉัย มักทำโดยการตรวจหาแอนติบอดี้ของเอนโดทอกซิน หรือสร้างจีโนไทป์โดยการใช้ NAAT ที่ใช้ปฏิกริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส โดยระดับแอนติบอดี้จะสูงขึ้นเรื่อยๆ การทดสอบโดยตรงสำหรับการตรวจหนองมนเทียวด้วยวิธีการตรวจทางภูมิคุ้มกัน (เช่น การทดสอบภูมิคุ้มกันที่เชื่อมโยงกับเอนไซม์) หรือการตรวจด้วย immunofluorescence โดยทำการย้อมหนองในห้องปฏิบัติการ คู่นอนทุกคนของผู้ที่ติดเชื้อควรได้รับการตรวจด้วยเช่นกัน หลังการรักษา ควรได้รับการตรวจซ้ำภายใน6เดือน

การรักษาโรคฝีมะม่วง

  • ทานยา tetracyclines หรือ erythromycin
  • ระบายหนองออกเพื่อบรรเทาอาการ
ทานยา Doxycycline 100 มิลลิกรัม สองครั้งต่อวัน, erythromycin 500 มิลลิกรัม สี่ครั้งต่อวัน หรือ tetracycline 500 มิลลิกรัม สี่ครั้งต่อวัน เป็นระยะเวลา 21 วัน สำหรักอาการระยะแรก ทาน Azithromycin 1 กรัม อาทิตย์ละหนึ่งครั้งเป้นเวลา 3 อาทิตย์ อาจได้ผลแต่ไม่เพียงพอ อาการบวมของเนื้อเยื่อที่ได้รับการเสียหาย อาจจะไม่สามารรักษาได้ โดยที่ฟองในเนื้อเยื่อสามารถระบายออกได้ด้วยการเจาะเข็มหรือผ่าตัด แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะได้อย่างรวดเร็วจึงอาจไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่หากเป็นบริเวณท่อไตหรือทางเดินไซนัส ก็มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัด  หากท่านได้มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคฝีมะม่วงภายใน 60 วัน ก่อนที่พวกเขาจะมีอาการ ควรเข้ารับการตรวจโรคหนองใน ท่อปัสสาวะ ปากมดลูกหรือทวารหนัก และควรรับประทานยาAzithromycin 1 กรัม  หรือ doxycycline 100 มิลลิกรัม วันละสองครั้งเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการชัดเจนก็ตาม

สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำเมื่อเป็นฝีมะม่วง

สิ่งที่ควรทำ:

  • มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย: ใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอและถูกต้องระหว่างมีเพศสัมพันธ์เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ LGV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
  • รับการทดสอบเป็นประจำ: หากคุณมีเพศสัมพันธ์และมีคู่นอนหลายคน จำเป็นต้องได้รับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำ รวมถึง LGV แม้ว่าคุณจะไม่มีอาการก็ตาม
  • ไปพบแพทย์: หากคุณสงสัยว่าคุณได้รับเชื้อ LGV หรือมีอาการใดๆ เช่น แผลที่อวัยวะเพศ แผล หรือต่อมน้ำเหลืองบวม ให้ไปพบแพทย์ทันที
  • ติดตามการรักษา: หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น LGV ให้ปฏิบัติตามแนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะตามที่กำหนดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เสร็จสิ้นหลักสูตรทั้งหมด แม้ว่าอาการจะดีขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าการติดเชื้อจะหมดไป
  • แจ้งคู่นอน: หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น LGV ให้แจ้งคู่นอนรายล่าสุดของคุณเพื่อที่พวกเขาจะได้รับการตรวจและรักษาเช่นกัน
  • งดเว้นกิจกรรมทางเพศระหว่างการรักษา: สิ่งสำคัญคือต้องงดเว้นกิจกรรมทางเพศจนกว่าคุณจะรักษาครบตามหลักสูตรและได้รับอนุญาตจากผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ

สิ่งที่ไม่ควรทำ:

  • อย่าเพิกเฉยกับอาการ: LGV อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที หากคุณสังเกตเห็นสัญญาณของการติดเชื้อ อย่ารอช้าที่จะไปพบแพทย์
  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน: กิจกรรมทางเพศที่ไม่ได้ป้องกันจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติด LGV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันตัวเองและคู่ของคุณเสมอ
  • การวินิจฉัยตนเองและการรักษาตนเอง: หากคุณสงสัยว่าตนเองมีเชื้อ LGV หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ให้หลีกเลี่ยงการพยายามวินิจฉัยหรือรักษาตัวเอง ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องและการรักษาที่เหมาะสม
  • พึ่งพาการเยียวยาที่บ้าน: LGV ต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่แพทย์สั่ง การเยียวยาที่บ้านหรือยาที่ซื้อเองไม่เพียงพอที่จะรักษาอาการติดเชื้อ
  • ทำกิจกรรมทางเพศต่อก่อนเวลาอันควร: หลังจากเริ่มการรักษา LGV ให้รอจนกว่าคุณจะใช้ยาปฏิชีวนะครบตามหลักสูตรและได้รับอนุญาตจากผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณก่อนที่จะเริ่มกิจกรรมทางเพศต่อ
โปรดจำไว้ว่า LGV เป็นการติดเชื้อที่ร้ายแรง การตรวจหาและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการป้องกันภาวะแทรกซ้อนและการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น หากคุณมีข้อกังวลหรือสงสัยว่าคุณอาจมี LGV ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อรับการประเมินและการจัดการที่เหมาะสม

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.cdc.gov/std/tg2015/lgv.htm
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK537362/
  • https://www.msdmanuals.com/professional/infectious-diseases/sexually-transmitted-diseases-stds/lymphogranuloma-venereum-lgv
  • https://stanfordhealthcare.org/medical-conditions/sexual-and-reproductive-health/lgv.html

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด