โรคไลม์ (Lyme Disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคไลม์ (Lyme Disease) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Borrelia burgdoferi  ซึ่งเกิดจากเห็บที่มีเชื้อโรคนี้มากัดคน เห็บได้เชื้อมาจากนก กวางหรือหนู เห็บมีเชื้อโรคที่กัดคน ใช้เวลา 36 ช.ม.หรือนานกว่านั้นกว่าจะเริ่มมีอาการ ดังนั้นคนส่วนใหญ่มักจะลืมไปแล้ว โรคนี้พบครั้งแรกที่เมือง Old Lyme รัฐ Connecticut สหรัฐอเมริกา ในปี 1975 หลังจากนั้นก็กลายเป็นโรคจากเห็บกัดที่พบทั่วไปในยุโรปและอเมริกา  ผู้ที่อาศัยหรือไปเที่ยวป่าในบริเวณที่มีเชื้อโรค มีโอกาสป่วย ผู้ที่มีสัตว์เลี้ยงที่ชอบเข้าไปในป่าที่มีเชื้อโรค ก็มีโอกาสติดโรคเช่นเดียวกัน Lyme Disease

อาการของโรคไลม์

อาการแบ่งเป็นสามระยะคือ ผื่นกระจุก ผื่นกระจายและผื่นกระจายทั่ว บางคนอาจมีอาการของระยะหลังโดยไม่มีอาการระยะแรกก็ได้ อาการที่พบเช่น :  หากผู้ป่วยมีอาการดังนี้ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว อาการที่เกิดในเด็ก ส่วนใหญ่คล้ายในผู้ใหญ่ เช่น อ่อนแรง ปวดเข่าปวดข้อ มีไข้ อาจมีอาการคล้ายหวัด  อาการเหล่านี้อาจเกิดทันทีหรือล่าช้าไปเป็นเดือนหรือเป็นปี  ในเด็กพบมีผื่นด้วยราว 89% 

การรักษาโรคไลม์

ควรรีบรักษา การรักษาใช้เวลาให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียเป็นเวลาประมาณ 10-14วัน  ยาที่ใช้ คือ doxycycline,amoxicillin,cefuroxime และ ในแม่ที่กำลังให้นมบุตรควรใช้ยา amoxicillin, cefuroxime ถ้ามีอาการทางหัวใจและสมองรวมไปถึงระบบประสาท ซึ่งอาจจำเป็นต้องให้ยาทางเส้นเลือดดำ  หากอาการดีขึ้นแล้ว ก็จะเปลี่ยนเป็นยากิน โดยทั่วไปให้ยานาน 14-28 วันบางคนมีอาการข้ออักเสบ ต้องรักษาด้วยยากินนาน 28 วัน ถ้ารักษาด้วยยาต้านแบคทีเรียแล้วยังมีอาการอยู่ เรียกว่ากลุ่มอาการหลังเป็น Lyme ซึ่งเกิดได้ 10-20% ของผู้ป่วย  ซึ่งอาจส่งผลต่อการรับรู้และการเคลื่อนไหว การรักษาก็เพื่อช่วยลดความปวดและความไม่สบายตัว ส่วนใหญ่หายดี แต่อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือปี กลุ่มอาการหลังเป็น Lyme ก็คล้ายกับอาการที่เกิดก่อนหน้าเช่น อ่อนเพลีย หลับยาก ปวดข้อปวดกล้ามเนื้อ บวมที่ข้อใหญ่ เช่นข้อเข่า ข้อไหล่ ข้อศอก ขาดสมาธิ ความจำระยะสั้นเสียไป พูดลำบาก

โรคไลม์เป็นโรคติดต่อหรือไม่

ปัจจุบันนี้ยังไม่พบการติดต่อระหว่างคนสู่คน ไม่ติดต่อผ่านทางการไอ จาม หรือการจูบ และไม่ติดต่อผ่านทางการรับเลือด

ระยะต่างๆของโรค Lyme

ระยะที่ 1 ผื่นเฉพาะที่  เกิดหลังจากเห็บกัดหนึ่งถึงสองสัปดาห์ มักพบเป็นผื่นกลมแบบตาวัว (ตรงกลางวงกลมแดง รอบๆใส ขอบนอกป็นวงกลมสีแดง) เมื่อแตะจะอุ่นแต่ยังไม่ปวด ไม่คัน ส่วนใหญ่จะหายไปเอง  ลักษณะผื่นเช่นนี้เป็นลักษณะเฉพาะของโรค และอาจมีอาการอื่นเช่น หนาวสั่น ไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ ตามัว เมื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ระยะที่ 2 ผื่นกระจาย เกิดหลังถูกเห็บกัดหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สบาย มีผื่นกระจายทั่วตัว ซึ่งบ่งบอกว่ามีการติดเชื้อทั่วร่างกาย มีอาการ เช่น มีผื่นกระจาย หัวใจเต้นผิดปกติอาจแสดงถึงการอักเสบของหัวใจ อาการของระบบประสาทเช่น ชา เสียว เส้นประสาทหน้าและศีรษะเป็นอัมพาต และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทั้งนี้อาการของระยะที่ 1 และ 2 อาจเกิดพร้อมกันได้ ระยะที่ 3 ผื่นกระจายระยะท้าย หากไม่รักษาการติดเชื้อในระยะ 1 และ 2 อาจเกิดระยะ 3 แต่ทิ้งช่วงเป็นเดือนหรือเป็นปี อาการเช่น 
  • ข้อใหญ่อักเสบ 
  • ความผิดปกติทางสมองเช่น สมองพิการซึ่งอาจทำให้ความจำเสื่อม ขาดสมาธิ มึนงง สมองโต้ตอบได้ช้า นอนไม่หลับ 
  • แขนขามือเท้าชา

การวินิจฉัยโรคไลม์

แพทย์จะซักประวัติ รวมทั้งประวัติการถูกเห็บกัดหรืออยู่ในบริเวณที่เกิดโรค ดูว่ามีผื่นตามตัวหรือไม่ และอาการอื่นๆ การตรวจเลือดหลังจากมีการอักเสบนานพออาจพบภูมิคุ้มกันเกิดแล้ว

การป้องกันโรคไลม์

  • ใส่เสื้อผ้าแขนยาวขายาวเมื่ออกไปนอกอาคาร
  •  บริเวณบ้านควรโล่ง เก็บกองไม้ให้เรียบร้อย ตัดเล็มพุ่มไม้และให้แสงสว่างส่องถึงทั่ว
  •  เมื่อออกนอกอาคาร ควรทาครีมไล่แมลง
  •  หมั่นตรวจดูผื่นตามร่างกายของเด็กๆและสัตว์เลี้ยง แม้ท่านจะเคยเป็นโรคแล้ว ก็ต้องระวัง อาจป่วยอีกได้
  • หากเห็นเห็บ ใช้แหนบหนีบเอาตัวเห็บออก โดยหนีบที่หัวหรือปากของมัน และดึงเบาๆ ตรวจดูว่าดึงเห็บออกหมดแล้วไม่เหลือชิ้นส่วนใด
  • ถ้าถูกเห็บกัด ควรไปพบแพทย์
ข่าวดี คือโรคนี้ไม่ใช่โรคประจำถิ่นของไทย โอกาสที่จะเป็นจึงมีน้อยถึงน้อยที่สุด

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไลม์

แม้ว่าโรคไลม์ ส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะหากตรวจพบเร็ว แต่ภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นได้หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาการติดเชื้ออย่างทันท่วงที ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคไลม์ ได้แก่:
  • โรคไลม์เรื้อรัง : บุคคลบางคนยังคงมีอาการอยู่แม้ว่าจะได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมแล้วก็ตาม บางครั้งเรียกว่าโรคไลม์ เรื้อรังหรือกลุ่มอาการโรคไลม์ หลังการรักษา อาการต่างๆ ได้แก่ เหนื่อยล้า ปวดข้อและกล้ามเนื้อ ปัญหาด้านการรับรู้ และอื่นๆ อย่างไรก็ตาม มีการถกเถียงกันอย่างต่อเนื่องในวงการแพทย์เกี่ยวกับการดำรงอยู่และธรรมชาติของโรคไลม์ เรื้อรัง
  • ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท : โรคไลม์ อาจส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจรวมถึงอัมพาตใบหน้า (อัมพาตจากกระดิ่ง) อาการชาหรืออ่อนแรงในแขนขา และการอักเสบของสมองหรือไขสันหลัง (เยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือไข้สมองอักเสบ)
  • การอักเสบของข้อ : โรคข้ออักเสบไลม์ สามารถเกิดขึ้นได้ โดยทั่วไปจะส่งผลต่อข้อต่อขนาดใหญ่ เช่น หัวเข่า สิ่งนี้อาจทำให้เกิดอาการบวม ปวด และการเคลื่อนไหวของข้อต่อลดลง
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ : Lyme carditis เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ยากที่ส่งผลต่อหัวใจ อาจทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ (ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ) และในบางกรณีอาจเกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ (กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ)
  • ปัญหาเกี่ยวกับดวงตา : ในบางกรณีซึ่งพบไม่บ่อย โรคไลม์ อาจทำให้เกิดอาการตาอักเสบ ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ไวต่อแสง ปวดตา และการมองเห็นเปลี่ยนแปลง
  • การมีส่วนร่วมของอวัยวะอื่น ๆ : โรคไลม์ อาจส่งผลต่ออวัยวะอื่น ๆ แม้ว่าภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้จะพบได้น้อยกว่าก็ตาม ตัวอย่างเช่น อาจทำให้เกิดโรคตับอักเสบ (ตับอักเสบ) หรือม้ามโต (ม้ามโต)
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือ การตรวจหาและรักษาโรคไลม์ ในระยะเริ่มต้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ หากคุณสงสัยว่าคุณถูกเห็บกัดหรือมีอาการต่างๆ เช่น มีไข้ เหนื่อยล้า ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อและข้อ และมีผื่นผิวหนังที่มีลักษณะคล้าย “ตาวัว” สิ่งสำคัญคือต้องไปพบแพทย์ทันที การตรวจหาโรคไลม์เกี่ยวข้องกับการตรวจเลือดเพื่อค้นหาแอนติบอดีต่อแบคทีเรีย หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับโรคไลม์ หรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับข้อมูลและคำแนะนำที่ถูกต้อง

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.cdc.gov/lyme/signs_symptoms/index.html
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/lyme-disease/symptoms-causes/syc-20374651
  • https://www.webmd.com/rheumatoid-arthritis/arthritis-lyme-disease

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด