โรคแพ้ภูมิตัวเอง (Lupus): อาการ สาเหตุ การรักษา ภาวะแทรกซ้อน

โรคแพ้ภูมิตัวเอง (Lupus) เป็นอาการที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่มีความผิดปกติ และภูมิคุ้มกันจะโจมตีเนื้อเยื่อและอวัยวะส่วนต่างๆ จนเกิดการอักเสบและบวมแบบเรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย ร่างกายอ่อนเพลีย ตัวบวม ผมร่วงเป็นต้น หลายคนอาจจะรู้จักโรคนี้ในชื่อของโรคพุ่มพวง โรคแพ้ภูมิตัวเอง (Lupas)

ประเภทของโรคภูมิแพ้ตัวเอง

โรคภูมิแพ้ตัวเองนี้มีหลายประเภทด้วยกัน ดังนี้ :
  • โรคภูมิแพ้ตัวเองประเภท SLE เป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองที่พบได้บ่อย โดยโรคนี้ภูมิคุ้มกันจะโจมตีอวัยวะในร่างกายและเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบตามข้อ ผิวหนังเกิดอาการแพ้มีผื่นแดง ไตได้รับความเสียหาย และส่งผลต่อสมองและระบบประสาท หากอาการรุนแรงจะเกิดอาการทางประสาท ผู้ป่วยจะเห็นภาพหลอน 
  • โรคภูมิแพ้ตัวเองประเภทผื่น หรือ Subacute Cutaneous Lupus Erythematosus ส่งผลให้ร่างกายเกิดผื่นได้เฉียบพลันเมื่อผิวโดนแสงแดด
  • โรคภูมิแพ้ที่เกิดจากการใช้ยาบางประเภท อาการนี้จะหายไปได้เองเมื่อหยุดใช้ยาประเภทนั้น
  • โรคภูมิแพ้ในทารกแรกเกิด Neonatal Lupus เป็นอาการที่เกิดกับทารกที่ไม่ได้พบได้บ่อยนัก โดยทารกจะมีอาการทางผิวหนัง และระบบโลหิต รวมไปถึงอาการทางระบบหัวใจที่ผิดปกติ

อาการของโรคแพ้ภูมิตัวเอง

อาการของโรคแพ้ภูมิตัวเองนั้นขึ้นอยู่กับอาการที่แสดงในแต่ละส่วนของร่างกาย อาการอักเสบที่คุณเห็นนั้น สามารถส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะในร่างกายได้ เช่น:
  • ข้อต่อกระดูก
  • ผิวหนัง
  • หัวใจ
  • เลือด
  • ปอด
  • สมอง
  • ไต
โดยอาการของโรคนั้นอยู่กับบุคคล และอาการรวมถึงประเภทของโรคที่เป็น ในบางกรณีผู้ป่วยอาจจะเป็น ๆ หาย ๆ แต่สำหรับบางกรณีอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยเรื้อรัง  แต่อาการและสัญญาณที่ปรากฏให้เห็นนั้นที่พบได้ มีดังนี้:
  • ไข้สูง
  • อาการเมื่อยล้า
  • อาการปวดตามตัว
  • อาการปวดตามข้อ
  • ผื่น รวมถึงผื่นผีเสื้อที่อยู่บนหน้า
  • โรคผิวหนัง
  • หายใจถี่
  • โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ และ โรคเยื่อหุ้มปอดอักเสบ 
  • อาการปวดหัว
  • เกิดความสับสน
  • สูญเสียความทรงจำ
อาการอักเสบของโรคแพ้ภูมิตัวเอง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงต่ออวัยวะในร่างกาย เช่น:
  • ไต
  • เลือด
  • ปอด

สาเหตุโรคแพ้ภูมิตัวเอง

ในขณะที่แพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคแพ้ภูมิตัวเอง ซึ่งอาจเป็นการรวมกันปัจจัยต่างๆมากมาย เช่น:
  • สภาพแวดล้อม: แพทย์ได้ระบุสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ว่าสาเหตุเกิดจาก การสูบบุหรี่ ความเครียด และการสัมผัสสารพิษเช่นฝุ่นซิลิก้า อาจจะเป็นสาเหตุของโรคแพ้ภูมิตัวเองได้
  • การติดเชื้อ: แพทย์ยังศึกษาถึงเรื่องโรคแพ้ภูมิตัวเอง ระหว่างการติดเชื้ออย่างไวรัสไซโตเมกะโลและ ไวรัสเอ็บสไตร์บาร์ ที่เป็นเหตุทำให้เกิดโรคแพ้ภูมิตัวเอง
  • การใช้ยา: การใช้ยาบางชนิดมาเป็นเวลานาน เช่น ยาไฮดราลาซิน (ยาขยายหลอดเลือด) ยาโพรเคเนไมด์ (ยารักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ)และ ยาควินิดีน มีการเชื่อมโยงของโรคแพ้ภูมิตัวเองประเภท โรคแพ้ภูมิตัวเองจากยา (DIL) นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคพุ่มพวงที่ใช้ยาTNF blocker เพื่อรักษาอาการ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์(RA) โรคทางเดินอาหารอักเสบ(IBD)และ โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด สามารถกลายเป็นโรคแพ้ภูมิจากยา ถึงแม้ว่ายาเตตราไซคลีนจะหายากเหมือน ยาไมโนไซคลีน ซึ่งมันก็สามารถรักษาสิวและอาการโรคผิวหนังโรซาเชีย ก็สามารถเป็นสาเหตุโรคแพ้ภูมิจากยาได้เช่นกัน
  • พันธุกรรม: ถ้ามีคนในครอบครัวเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง อาจทำให้มีความเสี่ยงที่จะมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงขึ้นเล็กน้อย
  • ฮอร์โมน: การศึกษาในบางกรณี พบว่าโรคภูมิแพ้ตัวเองนั้นมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ เช่น ฮอร์โมนเอสโทรเจนเพิ่มขึ้นผิดปกติ ทำให้เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองได้

วิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเอง

ในขณะนี้ยังไม่มีวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองโดยตรง แต่การใช้ยาก็ยังที่ช่วยรักษาอาการแพ้ภูมิตัวเองเพื่อไม่ให้ลุกลามและกำเริบ แพทย์จะวินิจฉัยอาการและความรุนแรง เพื่อที่จะทำการรักษาอาการแพ้ภูมิแพ้ตามอาการที่เกิดขึ้น หากผู้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเอง แพทย์จะทำการนัดหมายเพื่อรวจสุขภาพเป็นระยะ ๆ เพื่อเฝ้าระวังอาการข้างเคียง หรืออาการที่อาจจะกำเริบรุนแรงได้  นอกจากนี้ โรคภูมิแพ้ตัวเองยังมีอาการที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การพบแพทย์เพื่อการปรับเปลี่ยนตัวยาหรือปรับความแรงของในวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองอาจจะเป็นวิธีที่ควบคุมอาการของโรคได้ดีเช่นกัน นอกจากการรักษาโดยใช้ยาแล้ว แพทย์อาจให้คุณลองเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อรักษาอาการแพ้ภูมิตัวเอง อาจรวมถึงปัจจัยเหล่านี้:
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดที่มากเกินไป
  • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
  • การรับประทานอาหารเสริม อาจจะลดอาการของแพ้ภูมิตัวเอง เช่น วิตามินดี แคลเซียม และ น้ำมันปลา
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • เลิกสูบบุหรี่

ภาวะแทรกซ้อนของโรคแพ้ภูมิตัวเอง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคแพ้ภูมิตัวเอง มีสาเหตุมาจากการอักเสบซึ่งเชื่อมโยงกับอาการแพ้ภูมิ ภาวะแทรกซ้อนของโรคแพ้ภูมิตัวเองสามารถทำให้เกิดปัญหาต่อร่างกายดังต่อไปนี้:
  • ไต: การอักเสบของอาการแพ้ภูมิตัวเองเป็นสาเหตุให้ไตเกิดการเสียหาย และอาจทำให้เกิด ภาวะไตล้มเหลว
  • หลอดเลือดอักเสบ: หลอดเลือดเกิดการติดเชื้อเนื่องจากอาการแพ้ภูมิตัวเอง จนทำให้เป็นโรคหลอดเลือดอักเสบ 
  • หัวใจ: อาการแพ้ภูมิตัวเอง สามารถเกิดการอักเสบของหัวใจและรอบเนื้อเยื่อของหัวใจ และอาจเกิดเป็นความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ หัวใจวาย หรือ โรคหลอดเลือดสมอง
  • ปอด: การอักเสบของปอดเนื่องจากอาการแพ้ภูมิตัวเอง ส่งผลทำให้หายใจติดขัดได้อีกด้วย
  • ระบบประสาท: เมื่ออาการแพ้ภูมิตัวเองส่งผลไปถึงสมองและระบบประสาท ทำให้เกิดอาการ อาการเวียนศีรษะ อาการปวดหัว อาการชัก หรือหากร้ายแรงอาจจะมีอาการประสาทหลอนได้ด้วย
คนที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง จะติดเชื้อได้ง่ายขึ้น เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่เป็นปกติแล้ว การใช้ยารักษาโรคภูมิแพ้ตัวเองจะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันทำงานบกพร่องไปกว่าเดิมด้วย หากคุณมีอาการโรคแพ้ภูมิตัวเอง สิ่งที่สำคัญก็คือ การปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเค่งครัด การดูแลตัวเองไม่เพียงแค่ป้องกันการลุกลามของโรคภูมิแพ้ตัวเองเท่านั้น แต่ยังป้องกันการเสียหายของอวัยวะด้วย

การป้องกันโรคแพ้ภูมิตัวเอง

ส่วนใหญ่ประเภทของโรคแพ้ภูมิตัวเองนั้น ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่โรคแพ้ภูมิจากยาเป็นข้อยกเว้น แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สามารถลดความเสี่ยงของอาการโรคภูมิแพ้ตัวเองเกิดการกำเริบได้ ควรปฎิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้:
  • การหลีกเลี่ยงแสงแดดโดยตรง: การสัมผัสกับแสงมากเกินไป ทำให้เกิดผื่นที่มาจากโรคแพ้ภูมิตัวเอง ควรใช้ครีมกันแดดเมื่อจะออกข้างนอก และไม่รับแสงแดดโดยตรงตอนเช้า ในระหว่าง10.00-16.00น. 
  • การฝึกฝนจัดการกับความเครียด:อาจหมายถึง การทำสมาธิ โยคะ หรือการทำกิจกรรมที่ช่วยคลายเครียดให้ผู้ป่วย
  • การป้องกันการติดเชื้อ: อาจหมายถึงการล้างมือให้เป็นประจำและหลีกเลี่ยงอากาศเย็นจัด หรือร้อนจัดที่สามารถทำให้คุณเกิดอาการป่วยอื่นๆ 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ: การพักผ่อนช่วยให้ร่างกายของคุณได้ผ่อนคลาย
ผู้ป่วยควรปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และรับประทานยา เพื่อช่วยป้องกันการลุกลามของโรคแพ้ภูมิเท่านั้นและช่วยป้องกันความเสียหายของอวัยวะด้วย หากคุณพบว่ายาที่คุณรับประทานนั้น ไม่ช่วยรักษาอาการแพ้ภูมิตัวเองให้ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ทันที

รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเมื่อคุณเป็นโรคลูปัส

การกินเพื่อสุขภาพสามารถสร้างความแตกต่างอย่างมากในอาการของโรคลูปัสและสุขภาพโดยรวม  นอกจากนี้ยังสามารถช่วยป้องกันหรือจัดการกับภาวะสุขภาพอื่นๆ ที่คุณอาจมี เช่น ความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน คุณไม่จำเป็นต้องทำตาม “อาหารโรคลูปัส” แบบพิเศษ เพียงแค่พยายามสร้างอาหารที่สมดุลด้วยอาหารเพื่อสุขภาพที่คุณชอบ

กินอาหารเพื่อสุขภาพที่หลากหลาย

การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่หลากหลายสามารถช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นในการจัดการกับอาการต่างๆ ของคุณ ทำตามคำแนะนำเหล่านี้:
  • 1. รับประทาน ผักและผลไม้ให้มาก 
  • 2. เลือกเมล็ดธัญพืชเช่น ขนมปังโฮลวีตและพาสต้า ข้าวโอ๊ต และข้าวกล้อง
  • 3. ทานโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพเช่น เนื้อไม่ติดมัน สัตว์ปีก อาหารทะเล ถั่ว ถั่วเปลือกแข็ง และไข่
  • 4. เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันดีเช่น น้ำมันมะกอก อะโวคาโด ถั่ว และปลา
หากคุณมีโรคไตอักเสบจากลูปัส (โรคไตที่เกิดจากโรคลูปัส) คุณอาจต้องจำกัดอาหารบางประเภท 

รับสารอาหารที่สำคัญสำหรับสุขภาพกระดูกและหัวใจ

โรคลูปัสเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและโรคกระดูกพรุน (โรคกระดูกที่ทำให้กระดูกแตกง่าย) ข่าวดีก็คือการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพสามารถช่วยลดความเสี่ยงของคุณได้ เพื่อสุขภาพกระดูก กินอาหารที่มี แคลเซียมมากได้แก่:
  • ผักใบเขียว — เช่น ผักโขมและคะน้า
  • อาหารที่ทำจากนม เช่น นม โยเกิร์ต และนมถั่วเหลือง
  • ซีเรียลโฮลเกรนเสริมแคลเซียม
เพื่อสุขภาพของหัวใจ กินอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ได้แก่:
  • ปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมกเคอเรล และปลาซาร์ดีน
  • ถั่วและเมล็ดพืช เช่น วอลนัทและเมล็ดแฟลกซ์

จำกัดโซเดียม ไขมันอิ่มตัว และน้ำตาลที่เติมเข้าไป

การลด 3 สิ่งนี้สามารถลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน หรือช่วยให้คุณจัดการกับสภาวะเหล่านี้ได้ และการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ในพฤติกรรมการกินของคุณก็สร้างความแตกต่างได้มาก!

ลดโซเดียม

การรับประทานโซเดียม (เกลือ) มากเกินไปสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจทำให้หัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองได้ คุณอาจมีความดันโลหิตสูงโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น สิ่งสำคัญคือต้องจำกัดโซเดียมเพื่อให้ความดันโลหิตของคุณอยู่ในช่วงที่ดีต่อสุขภาพ ลองใช้เคล็ดลับเหล่านี้:
  • ปรุงอาหารที่บ้านมากขึ้น อาหารสำเร็จรูปและอาหารในร้านอาหารมักมีโซเดียมสูง
  • ตรวจสอบฉลากข้อมูลโภชนาการบนอาหารบรรจุหีบห่อ และเลือกตัวเลือกที่มีโซเดียมน้อย
  • ปรุงรสอาหารด้วยสมุนไพรและเครื่องเทศแทนเกลือ

เปลี่ยนไปใช้ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ

การกินไขมันอิ่มตัวมากเกินไป (ไขมันชนิดหนึ่งในอาหารสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ติดมันและนม) สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและเบาหวานได้ และการแทนที่ไขมันอิ่มตัวด้วยไขมันไม่อิ่มตัวที่ดีต่อสุขภาพสามารถลดความเสี่ยงของคุณได้ ลองใช้เคล็ดลับเหล่านี้:
  • ปรุงอาหารด้วยน้ำมันมะกอกแทนเนย 
  • รับประทานปลาหรือไก่เป็นโปรตีนแทนเนื้อสัตว์ที่มีไขมัน เช่น ซี่โครงหรือไส้กรอก
  • เลือกนมไขมันต่ำ เช่น นมพร่องมันเนยหรือไม่มีไขมัน และโยเกิร์ต

ข้ามการเพิ่มน้ำตาล

การหลีกเลี่ยงน้ำตาลที่เติมเข้าไปยังสามารถช่วยป้องกันหรือจัดการกับภาวะต่างๆ เช่น โรคหัวใจและเบาหวาน มีน้ำตาลเพิ่มจำนวนมากในอาหารและเครื่องดื่มแบบบรรจุกล่อง เช่น คุกกี้และโซดา แต่น้ำผึ้ง น้ำตาล และน้ำเชื่อมที่คุณเติมลงในอาหารและเครื่องดื่มที่บ้านก็นับด้วยเช่นกัน ลองใช้เคล็ดลับเหล่านี้:
  • ดื่มน้ำแทนโซดาหวาน ลองเพิ่มสมุนไพรหรือผลไม้สดลงในน้ำอัดลมเพื่อเพิ่มรสชาติ
  • กินผลไม้เป็นของหวานแทนของหวานอย่างเค้กหรือไอศกรีม
  • ลองดื่มกาแฟและชาที่ไม่ใส่น้ำตาล — หรือใส่เพียง 1 ช้อนชา

 จำเป็นต้องจำกัดแอลกอฮอล์หรือไม่ 

หากคุณดื่มแอลกอฮอล์ สิ่งสำคัญคือต้องดื่มในปริมาณที่พอเหมาะเท่านั้น ซึ่งหมายถึงหนึ่งแก้วหรือน้อยกว่านั้นในหนึ่งวัน แอลกอฮอล์ยังสามารถโต้ตอบกับยารักษาโรคลูปัสบางชนิดได้ เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ถามแพทย์ของคุณว่าคุณจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับยาของคุณหรือไม่

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/lupus/symptoms-causes/syc-20365789
  • https://www.nhs.uk/conditions/lupus/
  • https://www.webmd.com/lupus/arthritis-lupus
  • https://medlineplus.gov/lupus.html
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด