• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

พยาธิใบไม้ตับ (Liver fluke) : อาการ สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in หาโรค, โรคกระเพาะอาหาร
0
0
SHARES
82
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • พยาธิใบไม้ตับ
  • อาการและผลข้างเคียงของพยาธิใบไม้ตับ
  • สาเหตุของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ
  • การรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ
  • ปัจจัยเสี่ยงของโรคพยาธิใบไม้ตับ
4.7 / 5 ( 21 votes )

พยาธิใบไม้ตับ

โรคพยาธิใบไม้ตับหรือ (Liver fluke) คือ พยาธิชนิดหนึ่งที่สามารถอาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมได้ ในแมวและสุนัข พยาธิชนิดนี้มีลักษณะรูปร่างแบนคล้ายใบไม้ มีหัวและท้ายเรียวมน ลักษณะลำตัวเป็นสีแดงอ่อน ๆ  โดยการติดเชื้อจะมีสาเหตุมาจากการรับประทานปลาหรือสัตว์น้ำที่ปรุงไม่สุก โดยเมื่อพยาธิเข้าสู่ร่างกายแล้ว จากนั้นพยาธิจะไปอาศัยอยู่ในท่อน้ำดี

โรคพยาธิใบไม้ตับหรือ (Liver fluke)

อาการและผลข้างเคียงของพยาธิใบไม้ตับ

เมื่อผู้ป่วยติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ ให้สังเกตุถึงอาการจุกและแน่นบริเวณท้องใต้ชายโครงด้านขวา และลิ้นปี่ มีอาการท้องอืด ตับโต เมื่อเป็นไปถึงระยะสุดท้ายจะทำให้ตัวเหลือง เกิดโรคดีซ่าน

เมื่อผู้ป่วยติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ อาจจะส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงได้ดังนี้:

  • ท้องเสีย (diarrhea)
  • มีไข้ (fever)
  • เป็นผื่น
  • เบื่ออาหาร
  • ปวดท้อง
  • คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน

และนอกจากอาการข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว หากโชคร้ายเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงอาจจะก่อให้เกิดโรคร้ายได้เช่น เป็น 

นิ่วในไต(kidney stone)  มะเร็งท่อน้ำดี(bile duct cancer) โดยพยาธิใบไม้ตับเป็นสาเหตุหลักของการพัฒนาเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดี โดยมีสถิติของอุบัตการของโรคมะเร็งท่อน้ำดีและพยาธิใบไม้ตับรวบรวมไว้ดังนี้ ภาวะติดเชื้อทางเดินท่อน้ำดี (biliary infection)

สาเหตุของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ 

โดยทั่วไปแล้วคนหรือสัตว์จะได้รับเชื้อพยาธิใบไม้ตับจากการทานอาหารทะเล หรือปลาที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ พยาธิใบไม้ตับนี้พบมากในปลาน้ำจืดเช่น ปลาซิว ปลาสร้อย ปลาแก้มช้ำ ปลาขาว นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในปลาที่นำมาแปรรูปที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการที่ปรุงสุกและสะอาด เช่น ปลาร้า 

การรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ

ยาชนิดรับประทาน

แพทย์จะสั่งจ่ายยาพราซิควอเทลโดยพิจารณาตามน้ำหนักตัวของผู้ป่วยเพื่อการกำจัดไข่ของพยาธิ และหากผู้ป่วยมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยอาจจะต้องรับประทานยาปฎิชีวินะเพิ่ม  

การผ่าตัด

การผ่าตัดจะเกิดขึ้นหากผู้ป่วยได้มีภาวะแทรกซ้อนหรือติดเชื้อในระบบทางเดินท่อน้ำดี

การป้องกันพยาธิใบไม้ตับ 

การป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับนั้นไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเป็นวิธีที่ง่ายและเห็นผลดีที่สุดที่จะป้องกันไม่ให้ร่างกายติดเชื้อพยาธิ โดยควรพิจารณาอาหารที่จะรับประทานดังนี้: 

  • รับประทานอาหารทะเล หรือปลาน้ำจืดที่ปรุงสุกเท่านั้น ไม่ควรรับประทานหากปลายังดิบ หรือกึ่งสุกกิ่งดิบ 
  • เมื่อต้องการรับประทานปลาดิบควรแน่ใจว่าปลานั้นถูกแช่อยู่ในความเย็นต่ำกว่า -20 องศา เป็นเวลา หนึ่งอาทิตย์ 
  • เมื่อไปในยังแหล่งทุรกันดาร  ควรหลีกเลี่ยงอาหารและน้ำที่ไม่ต้ม อาหารที่ไม่ได้ปรุงสุกและสะอาด

ปัจจัยเสี่ยงของโรคพยาธิใบไม้ตับ

จากสถิติของการสุ่มตรวจโรคมะเร็งท่อน้ำดีและพยาธิใบไม้ตับในปี 2552 ได้พบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีส่วนใหญ่แล้วเป็นประชาชนในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพฤติกรรมการกินที่ผู้คนในแถบนี้นิยมรับประทาน ก้อย ซึ่งไม่ได้ปรุงสุก ดังนั้นการรับประทานอาหารจึงเป็นปัจจัยหลักที่จะทำความเสี่ยงต่อโรคพยาธิใบไม้ตับมาสู่ร่างกาย


นี่คือลิงค์แหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.cdc.gov/parasites/liver_flukes/index.html
  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/319479
  • https://www.msdmanuals.com/home/infections/parasitic-infections-trematodes-flukes/fluke-infections-of-the-liver

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

Tags: ปรสิต
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post

แผลริมอ่อน (Chancroid): อาการ สาเหตุ การวินิจฉัย การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.