ภาพรวม

ไลโปโซม (Liposome) คือ ถุงน้ำขนาดเล็กระดับอนุภาค โดยประกอบขึ้นมาจากฟอสโฟลิพิดที่เรียงตัวกันเป็น 2 ชั้น หรือเรียกว่า phospholipid bilayer โดยชั้นเหล่านี้จะหันส่วนหางเข้าหากัน ซึ่งมีลักษณะคล้ายโครงสร้างของผิวเรา โดยไลโปโซมจะเข้าไปหุ้มสารสำคัญที่ชอบน้ำเอาไว้ตรงกลางอนุภาคทรงกลม และสารสำคัญที่ชอบน้ำมันในชั้นของฟอสโฟลิฟิด ซึ่งสารที่ไลโปโซมห่อหุ้มไว้ได้แก่ สารที่ไม่ชอบน้ำ หรือละลายน้ำได้ยาก หรือทำหน้าที่กักสารที่ไม่ละลายน้ำ
โดยบริษัท สุพรีม ฟาร์มาเทค จำกัด (Supreme Pharmatech) เป็นบริษัทเภสัชกรรมยุคใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนา และสร้างผลิตภัณฑ์ทางเภสัชจากธรรมชาติสำหรับการแพทย์ผสมผสาน และโภชนศาสตร์คลินิกที่หลากหลาย สุพรีมเป็นพันธมิตรกับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หลายพันคนทั่วโลก ซึ่งบริษัท สุพรีม ฟาร์มาเทค จำกัดมีแผนจะเริ่มผลิตผลิตภัณฑ์ไลโปโซมจำนวนมากในปี 2564 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท สุพรีม ฟาร์มาเทค จำกัดคุณสามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้ https://supremepharmatech.com/

ไลโปโซมคืออะไร

ไลโปโซมมีลักษณะเป็นทรงแคปซูลที่ประกอบไปด้วยลิพิดชนิดฟอสโฟลิพิด 2 ชั้น (Phospholipids Bilayers) หรือมากกว่าขึ้นไป ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์มาก (Cell Membrane) ปัจจุบันมีการนำสารไลโปโซมมาใช้เป็นส่วนประกอบของยาและเครื่องอาง เพื่อช่วยในการลำเลียงส่งยาไปรักษาที่เซลล์เป้าหมายให้ได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งไลโปโซมมีประโยชน์ต่อชีวการแพทย์หลายอย่างมาก เช่น สารไลโปโซมได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นประโยชน์สำหรับการรักษาเสถียรภาพของยารักษาโรค และสามารถเอาชนะอุปสรรคในการดูดซึมของเซลล์ และเนื้อเยื่อได้ รวมถึงช่วยทำให้การดูดสารอาหารทางชีวภาพของร่างกายดีขึ้น ปัจจุบันโลโปโซมถูกนำมาใช้บ่อยมากขึ้นในเครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นครีมหรือเจล และโลชั่นให้ความชุ่มชื้นกับผิว เนื่องจากลิพิดชนิดไลโปโซมนี้ประกอบไปด้วยสารทำความชุ่มชื้น ดังนั้นเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารไลโปโซมแล้วจะทำให้ความชุ่มชื้นติดอยู่กับผิวได้นานขึ้นส่งผลให้มีผิวพรรณที่ชุ่มชื้น และไม่หยาบกร้าน เนื่องด้วยคุณสมบัติของไลโปโซมที่ยอดเยี่ยมนี้ ไลโปโซมจึงได้รับการเลือกให้เป็นสารประกอบที่สำคัญในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวชนิดต่างๆ โดยเฉพาะครีมบำรุงผิวที่มีความแห้งกร้าน ไลโปโซมไม่เพียงแต่มอบความชุ่มชื้นให้กับผิวเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างเกราะป้องกันให้กับผิวหนังด้านนอก เพื่อกักเก็บความชุ่มชื้นได้อย่างยาวนาน โดยถุงน้ำไลโปโซมที่มีขนาดเล็กระดับอนุภาคเหล่านี้ ทำหน้าที่เป็นชั้นปิดกั้นกับพื้นผิวของผิวหนังชั้นนอก ซึ่งการปิดกั้นของผนังไลโปโซมนี้ช่วยทำให้การดูดซึมของสารที่อยู่ในครีมสามารถซึบซับเข้าสู่ผิวได้ และป้องกันการหลุดลอกของครีมที่ทาเมื่อมีเหงื่อออกหรือผิวหนังสัมผัสกับแสงแดด ไลโปโซมเป็นเทคโนโลยีการลำเลียงสารบำรุงผิวในเครื่องสำอางที่ช่วยทำให้ส่วนประกอบในเครื่องสำอางสามารถซึมเข้าสู่ผิวหนังชั้นลึกมากขึ้น ดังนั้นการผลิตเครื่องสำอางส่วนใหญ่มักนำไลโปโซมมาใช้ อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดที่มีไลโปโซมชนิดแคปซูลขนาดเล็กทำหน้าที่กรองแสงแดดและเป็นสารที่สามารถกันน้ำได้ ผลิตภัณฑ์เจลว่านหางจระเข้ยังมีส่วนประกอบของไลโปโซมชนิดแคปซูลที่มีคุณสมบัติป้องกันการเกิดริ้วรอยจึงทำให้การใช้เจลว่านหางมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ไลโปโซมยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ และทรงพลังอย่าง CoQ10 หุ้มห่อในถุงแคปซูลซึ่งเป็นสารที่นำมาใช้บำรุงผิวพรรณได้อย่างยอดเยี่ยมเช่นกัน วิตามินที่มีอนุพันธ์ขนาดใหญ่อย่าง เช่น วิตามินอี วิตามินที่ละลายน้ำได้ รวมทั้งกรดอะมิโนที่ดูดซึมในไขมัน หรือแม้แต่สารออกฤทธิ์ให้เกิดผลลัพธ์ในการใช้เครื่องสำอาง สามารถถูกกักเก็บหรือห่อหุ่มด้วยไลโปโซมในรูปแบบแคปซูลถุงไขมันชนิดเดียวกันกับเซลล์ที่มีขนาดเล็กระดับนาโน หรือ 1 ในพันล้านส่วน เพื่อทำให้สารที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในเครื่องสำอางซึมผ่านผิวหนังได้อย่างง่ายดายรวดเร็ว

ประโยชน์ของไลโปโซม

สามารถสรุปเป็นข้อได้ดังต่อไปนี้ :
  • ช่วยด้านการซึมผ่านและดูดซึมของสารที่เก็บกักอยู่ภายในแคปซูลไลโปโซมเพื่อสารสามารถเข้าสู่ผิวชั้นแท้ได้อย่างรวดเร็ว
  • ช่วยทดแทนไขมันบนผิวหนังและป้องกันการระเหยของน้ำออกจากเซลล์ผิว
  • สามารถเก็บกักสารสำคัญต่างๆที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของเครื่องสำอางและเป็นการช่วยเพิ่มความคงตัวของสาร เช่น วิตามินซีในรูปไลโปโซมยาวนานมากขึ้น
  • แคปซูลไลโปโซมผนังที่ประกอบด้วยไขมันที่นุ่ม ทำให้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์รู้สึกนุ่มละมุนและเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว
  • ช่วยลดการสัมผัสสารโดยตรงกับผิวเนื่องจากสารสำคัญจะถูกกักเก็บอยู่ภายในแคปซูลไลโปโซมก่อนจากนั้นจึงค่อยๆซึมสู่ผิว ดังนั้นจึงลดการระคายเคืองเนื่องจากการสัมผัสสารโดยตรงได้

โครงสร้าง และองค์ประกอบของไลโปโซม

ไลโปโซมมีโครงสร้างเป็นเยื่อไขมัน 2 ชั้น โดยมีลักษณะเหมือนกับการสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ที่อยู่รอบเซลล์ต่างๆในร่างกาย ส่วนสำคัญที่แตกต่างของสารฟอสโฟลิพิดชนิดนี้คือ ฟอสเฟต (Phosphate) มาจากคำว่า ฟอสโฟ (Phosphor) หมายถึง ฟอสโฟลิพิด (Phospholipid) ส่วนหัวของไลโปโซมก็คือ ไฮโดรฟิลิค (Hydrophilic) ซึ่งมีคุณสมบัติที่ชอบน้ำ ในขณะที่ส่วนหางของมันมีกรดไขมันที่เรียกว่า ลิพิด (Lipids) คือ ไฮโดรโฟรบิค (Hydrophobic) มีคุณสมบัติไม่ชอบน้ำ

ไลโปโซมเริ่มใช้ทางการแพทย์เมื่อไร ?

ไลโปโซมถูกใช้ทางการแพทย์มานานหลายสิบปี ปัจจุบันนี้มียาที่จำหน่ายในท้องตลาดจำนวนมาก โดยสารประกอบสำคัญคือฟอสโฟลิปิด ไลโปโซมมีโครงสร้างเป็นอนุภาคที่มีผนัง 2 ชั้น สามารถกักเก็บสารได้ทั้งชนิดที่ละลายน้ำ และละลายน้ำมัน เมื่อไลโปโซมเข้าสู่ร่างกายแล้วจะมีการกระจาย และกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ ตัวอย่างประโยชน์ของไลโปโซมที่ใช้ในการรักษาได้แก่ โรคมะเร็ง โรคจากการติดเชื้อรา โรคทางสายตา บรรเทาอาการปวด และโรคอื่นๆ อีกมากมาย

คุณสมบัติของไลโปโซม

โดยส่วนใหญ่ไลโปโซมรู้จักกันในลักษณะสารลิพิดที่มีถุงหุ้ม โดยภายในถุงประกอบไปด้วยสารที่มีลักษณะเป็นน้ำที่มีคุณสมบัติสามารถลำเลียงน้ำจากเครื่องสำอางเข้าสู่ผิวหนังได้

ข้อดี-เสียของไลโปโซม

ไลโปโซมไม่เพียงแต่เป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้ผิวสามารถดูดซึมส่วนผสมสำคัญในเครื่องสำอางเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มความคงทนของสารที่เป็นส่วนประกอบสำคัญ เพิ่มความชุ่มชื้นและความสามารถในการยึดเกาะบนผิวหนังให้ยาวนานขึ้น รวมถึงช่วยกรองแสงแดดและกันน้ำกันเหงื่อได้ ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลายของไลโปโซม บริษัทผลิตเครื่องสำอางส่วนใหญ่จึงต้องการใช้ไลโปโซมให้เป็นองค์ประกอบสำคัญในผลิตภัณฑ์ โดยไลโปโซมนั้นมีประสิทธิภาพในการทำให้เซลล์ดูดซึมได้สูง มีเสถียรภาพ และส่งเสริมการต้านอนุมูลอิสระอย่างได้ผลลัพธ์ที่ดี

บทสรุปไลโปโซม

ในปัจจุบันเราสามารถพบเห็นส่วนประกอบของไลโปโซมได้ในผลิตภัณฑ์เสริมความงามต่างๆ เช่น โลชั่นเพิ่มความชุ่มชื้น แชมพูสระผม ครีมทาหน้า และอื่นๆ ซึ่งการนำไลโปโซมมาใช้ถือเป็นนวัตกรรมปฎิวัติวงการเครื่องสำอาง
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด