องค์ประกอบ

ในการผลิตไลโปโซมจะมีการใช้โมเลกุลของแอมฟิฟิลิกที่หลากหลาย ซึ่งอาจเป็นโมเลกุลมีขั้วที่ไม่มีประจุ หรือโมเลกุลมีขั้วที่มีทั้งประจุบวกและลบ เมมเบรนของไลโปโซมสามารถสร้างขึ้นเองได้ตามธรรมชาติหรือการใช้ฟอสโฟลิปิดสังเคาระห์ที่มีการเพิ่มคลอเลสเตอรอลเพื่อเพิ่มเสถียรภาพในการผลิต คุณสมบัติของไลโปโซมนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างของฟอสโฟลิปิดที่ใช้ในการผลิต ฟอสโฟลิปิดที่นิยมใช้ในหารผลิตไลโปโซม คือ เลซิติน ซึ่งส่วนใหญ่สกัดได้จากแหล่งธรรมชาติ เช่น ไข่ ถั่วเหลือง หรือได้จากการสังเคราะห์ เลซิตินคือสารประกอบของไขมันจำพวกกลีเซอโรฟอสโฟลิปิด ซึ่งมีฟอสฟาติดิลโคลีนเป็นสารประกอบที่พบมากที่สุด สารประกอบอื่นๆ ที่พบในเมมเบนรของไลโปโซม คือ คอเลสเตอรอล คอเลสเตอรอลเองนั้นไม่ได้ทำให้เกิดโครงสร้างแบบผนังสองชั้น แม้ว่าการเพิ่มคอเลสเตอรอลเข้าไปในสารประกอบจะทำให้ไลโปโซมมีประสิทธิภาพในการกักเก็บสารไว้ภายในได้นานขึ้นก็ตาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของกรรมวิธี ความค่าความคงตัวในด้านอื่น ๆ อาจมีผลเช่นกัน
ข่าวดี! Supreme Pharmatech จะเริ่มสร้างผลิตภัณฑ์ไลโปโซมในประเทศไทยในปี 2564 ติดตามข่าวสาร Supreme Pharmatech!

ประเภทของไลโปโซมที่ใช้ในเครื่องสำอาง

ไลโปโซมที่ถูกนำมาใช้ในเครื่องสำอางแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามข้อบ่งชี้ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เราต้องการ เราสามารถเลือกใช้เพียงประเภทใดประเภทหนึ่ง ชนิดของไลโปโซมที่นำมาใช้ในเครื่องสำอางมีหลายชนิดและมีจุดประสงค์ของการใช้งานที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น :
  • Niosomes : เป็นไลโปโซมชนิดหนึ่งที่ช่วยทำให้เครื่องสำอางซึมเข้าสู่ผิวได้ดีขึ้น
  • Novasomes : ไลโปโวมชนิดนี้มักนำมาใช้ในครีมบำรุงผิวหรือผลิตภัณฑ์ดูแลผม
  • Marinosomes : เป็นไลโปโซมที่นำมาใช้กับครีมหรือยาชนิดทาเพื่อลดการติดเชื้อของผิวหนัง

ช่วยเพิ่มความสามารถการซึมผ่านผิวหนัง

ผิวหนังเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ปกคลุมพื้นผิวทั้งหมดของร่างกายและมีหน้าที่สำคัญในการปกป้องร่างกาย ผิวหนังของมนุษย์ประกอบด้วย 3 ชั้น ได้แก่ หนังกำพร้า (ชั้นนอกสุดของผิวหนัง)​ หนังแท้ (ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ต่อมเหงื่อ และรูขุมขน) และผิวหนังชั้นไขมัน (ประกอบด้วยเซลล์ไขมันและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน) หนังกำพร้าแบ่งออกเป็นหลายชั้น ชั้นนอกสุดคือ สตราตัม คอร์เนียม เนื่องจากมีลักษณะเป็นสารประเภทที่ชอบน้ำมันและมีโครงสรา้งของเซลล์ที่แข็งแรง ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ผิวซึ่งเป็นหน้าที่หลักของผิวหนัง เพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดดังกล่าว จึงได้มีการใช้ไลโปโซมเป็นระบบนำส่งเวชสำอางและยารักษาโรคผิวหนังให้เข้าสู่ผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถซึมผ่านชั้นผิวหนังได้ ไลโปโซมที่มีขนาดเล็กและมีโครงสร้างและส่วนประกอบที่คล้ายคลึงกันกับผิวหนัง จึงช่วยให้สารสำคัญซึมผ่านชั้นผิวหนังชั้นนี้ได้ดีเมื่อเทียบกับยาทั่วไป

การก้าวข้ามข้อจำกัดด้านความสามารถในการละลาย

ไลโปโซมมีลักษณะเป็นสองขั้วซึ่งช่วยให้สามารถกักเก็บโมเลกุลของสารที่ชอบน้ำ แอมฟิฟิลิก (สารที่มีโครงสร้างโมเลกุลทั้งส่วนที่ชอบน้ำและไม่ชอบน้ำ) และไลโปฟิลิก (สารที่ชอบและละลายได้ดีในน้ำมัน) ไว้ในโครงสร้าง ซึ่งความสามารถในการละลายของสารจะเป็นตัวระบุตำแหน่งของสารที่ถูกกักเก็บไว้ในโมเลกุล โดยทั้วไปไลโปฟิลิกและแอมฟิฟิลิกจะจับตัวอยู่ในชั้นไขมันแบบสองชั้นของไลโปโซม และโมเลกุลที่ชอบน้ำจะถูกกักเก็บอยู่ในส่วนที่เป็นน้ำตรงกลางหรือส่วนที่เป็นน้ำภายนอก การวางตำแหน่งเช่นนี้จะช่วยลดการสูญเสียของสารสำคัญที่เราต้องการกักเก็บ ไลโปโซมส่วนใหญ่จะใช้ในระบบน้ำ และจากคุณสมบัตินี้เราจึงใช้ไลโปโซมในการกักเก็บสารที่ไม่ชอบน้ำในเวชสำอางที่เป็นรูปแบบน้ำ เรามีวิตามินที่ละลายในไขมัน 4 ชนิด ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินเค และวิตามินอี ซึ่งล้วนแล้วแต่มีบทบาทสำคัญในด้านสุขภาพและความงามของผิว ในขณะเดียวกันการขาดสารเหล่านี้นั้นจะก่อให้เกิดความผิดปกติของผิวหนังต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น วิตามินอี ซึ่งเป็นสารประกอบที่ละลายได้ดีในไขมัน จึงมักถูกใช้ในเวชสำอางเพื่อคุณสมบัติในการปกป้องผิว เช่น การต่อต้านริ้วรอย การเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว และการป้องกันโรคผิวหนัง หรือวิตามินเค 1 (VK1) เป็นโมเลกุลที่ละลายได้ดีในน้ำมันและไวต่อแสง ที่เพิ่งได้รับการเสนอให้ใช้ในเวชสำอางต่าง ๆ อีกทั้งยังมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการสร้างเม็ดสี ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดอันเนื่องมาจากความชรา ช่วยในเรื่องของอาการช้ำเช่นเดียวกับการรักษาปัญหาผิวที่เกิดจากการฉายแสงเลเซอร์ ด้วยเหตุที่วิตามินเหล่านี้นั้นไม่สามารถละลายในน้ำได้ จึงมีการใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบหลัก เช่น ขี้ผึ้ง เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้น้ำเป็นส่วนประกอบหลักแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำมันให้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีนัก เนื่องจากให้ความรู้สึกที่ไม่สบายผิวหรือมันเยิ้มอย่างไม่เป็นธรรมชาติ อนุภาคไลโปโซมที่กระจายตัวในน้ำนั้นดีต่อผิว ดังนั้นการห่อหุ้มวิตามินที่ละลายในไขมันไว้ในไลโปโซมจึงช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากการใช้สารประกอบที่ละลายในไขมันได้

เพิ่มเสถียรภาพ

สารหลายชนิดมีแนวโน้มที่จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น การสลาย หรือการสูญเสียประสิทธิภาพจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เราสามารถป้องกันส่วนผสมจากปัจจัยภายนอกได้ด้วยการใช้ไลโปโซม กระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระจากภายในร่างกายของเรา ช่วยปกป้องผิวจากการถูกร้ายโดยอนุมูลอิสระ อย่างไรก็ตาม การที่ผิวได้รับรังสีอัลตร้าไวโอเลตมากเกินความต้องการ จะทำให้มันหันไปทำหน้าที่ในทางตรงกับข้าม โดยกลายเป็นสารเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชั่น แทรกแทรงการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งส่งผลให้ผิวเกิดความเครียดและเป็นปัจจัยให้เกิดความแก่ของผิวหนังที่เกิดจากแสงแดด การใช้ประโยชน์จากการเสริมสารต้านอนุมูลอิสระเฉพาะที่ เป็นแนวทางที่ถูกนำมาใช้โดยอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง โดยมีวัตถุประสงค์ในหารยับยั้งการสร้างอนุมูลอิสระ อย่างไรก็ตาม สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลายชนิดมีแนวโน้มที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการสัมผัสกับแสงหรือวิธีการเก็บรักษา วิธีการหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับผิวเหล่านี้คือการใช้ไลโปโซมในการห่อหุ้มสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินซีเป็นวิตามินที่มีมากในพืชและมีบทบาทมากมายในด้านการดูแลสุขภาพร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการเผาผลาญคอลาเจนและได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นสารต้านการอักเสบ วิตามินซีจะสลายตัวทันทีเมื่อเจอกับรังสียูวีหรือสภาวะแวดล้อมที่รุนแรง นาโนไลโปโซมของวิตามินซีช่วยเพิ่มความเสถียรและฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ เมื่อเทียบกับไลโปโซมธรรมดาหลังการเก็บรักษา 60 วัน

ให้ผลลัพธ์ที่ยาวนาน

ในวันนี้ ได้มีการพยามที่จะผลิตเครื่องสำอางโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบอนุภาคนาโนใหม่ๆ เพื่อควบคุมการปล่อยสารสำคัญเข้าสู่ผิว ในบรรดาโมเลกุลจำนวนมากนั้น ไลโปโซมเป็นระบบที่รู้จักกันดีที่สุด เนื่องจากส่วนประกอบและโครงสร้างของไลโปโซมมีความใกล้เคียงกับผิวหนังชั้นสตราตัม คอร์เนียม การใช้ไลโปโซมเป็นพาหนะในการนำสารประกอบจำพวกไขมันเข้าสู่ผิวนั้น ไลโปโซมจะกักเก็บสารเหล่านี้เอาไว้และปล่อยออกมาอย่างช้าๆ ส่งผลให้ส่วนผสมออกฤทธิ์ได้เป็นเวลานาน ไลโปโซมส่วนใหญ่ที่ทาลงบนผิวจะสะสมมากขึ้นเป็นแหล่งกักเก็บสารสำคัญทำให้ผลการออกฤทธิ์ยาวนานมากขึ้นในชั้นบนของผิวหนังชั้นสตราตัว คอร์เนียม การหายใจเป็นกระบวนการทำงานที่สำคัญของเรา  แสดงให้เห็นความสำคัญของกลิ่นที่พึงปรารถนาในที่ทำงาน เราย่อมปรารถนาที่จะทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีกลิ่นหอมมากกว่า โดยการใช้หน้ากากป้องกันกลิ่น อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นคือกลิ่นนั้นคงอยู่ไม่นาน ดังนั้นจึงควรใช้ที่ดับกลิ่นอย่างถาวรซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและมีค่าใช้จ่ายสูง เพื่อจุดประสงค์นี้ไมโครแคปซูลไลโปโซมจึงถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้ห่อหุ้มน้ำหอม เช่น ไลโมนีนจากผลไม้ตระกูลส้ม ไลโปโซมจะปล่อยสารที่ถูกหุ้มอยู่ออกมาอย่างช้า ๆ ทำให้เกิดผลลัพธ์อย่างอ่อน ๆ เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารหน่วงปฏิกิริยา ทำให้ไลโปโซมกลายเป็นสารทดแทนที่เหมาะสมกับการใช้ในการผลิตเชิงพานิชย์ เนื่องจากไลโมมีนมีกลิ่นและรสที่ดีจึงถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในเครื่องสำอางและใช้เป็นส่วนผสมของอาหาร

การแยกส่วนประกอบออกจากสิ่งแวดล้อมภายนอก

วัสดุส่วนใหญ่เมื่อทำปฏิกิริยากับวัสดุอื่นแล้วอาจทำให้เกิดการทำงานที่ต่างออกไป เมลาโนไซต์ซึ่งเป็นเซลล์ชนิดหนึ่งที่อยู่ลึกเข้าไปในผิวหนังจะเปลี่ยนไทโรซีนเป็นเมลานีนโดยใช้เอนไซม์ไทโรซิเนส จากนั้นเม็ดสีเหล่านี้จะถูกนำไปสะสมไว้ยังชั้นผิวหนังที่สูงขึ้น ยิ่งร่างกายของเราผลิตเมลานินมากขึ้นเท่าไหร่ ผิวของเราก็จะยิ่งเข้มขึ้น ไลโปโซมวิตามินซีจะไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสซึ่งทำหน้าที่สร้างเม็ดสีเมลานิน จึงทำให้มีการผลิตเม็ดสีเมลานินน้อยลง วิตามินซียังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระซึ่งถูกเผาผลาญเมื่อเจอกับสารเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ดังนั้นเราจึงไม่เห็นผลของการทำให้ผิวขาวขึ้น เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดอนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระร่วมกันได้โดยการกักเก็บวิตามินซีไว้ในไลโปโซมที่มีลักษณะเป็นผนังสองชั้น

การเลือกเป้าหมาย

เซลล์จะตอบสนองต่อเซลล์อื่นโดยการส่งสัญญาณเฉพาะ เราสามารถเพิ่มการสร้างพันธะของเซลล์เฉพาะกับไลโปโซมได้โดยการเปลี่ยนแปลงประจุของเมมเบรน หรือเพิ่มโปรตีน  แอนติบอดี้ หรืออิมมูโนโกลบูลินที่เฉพาะเจาะจง เทคนิคอื่น ๆ ที่ได้มีการทดลอง คือ การสร้างไลโปโซมที่มีการตอบสนองต่อค่าพีเอชหรืออุณหภูมิที่เฉพาะเจาะจงก่อนการปล่อยยา ไลโปโซมสามารถสร้างขึ้นเพื่อให้ทำปฏิกิริยากับระบบต่าง ๆ อย่างเฉพาะเจาะจงได้ ด้วยความพยายามที่จะลดความเป็นพิษ พบได้ไม่บ่อยนักในบางกรณีที่ไลโปโซมถูกสร้างขึ้นเพื่อให้หลีกเลี่ยงพื้นที่ต่าง ๆ เช่น หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีการรักษา

ลดความเป็นพิษและผลข้างเคียง

เมื่อเราใช้ไลโปโซมเป็นระบบนำส่งเครื่องสำอางเรามีสิ่งที่ห่อหุ้มส่วนประกอบนั้นเอาไว้ ดังนั้นเราจึงมีสิ่งที่กันไม่ให้เกิดการสัมผัสโดยตรงระหว่างวัสดุที่อยู่ภายในเยื้อหุ้มและสารที่อยู่ภายนอก กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเกิดปฏิกิริยานั้นขึ้นอยู่กับการสั่งการของเราและด้วยเหตุนี้มันจึงมีผลน้อยที่สุดกับเซลล์ที่ไม่ใช่เป็าหมาย นอกจากนี้เมื่อแยกวัสดุออกมาแรงดึงดูดของมันกับสภาวะแวดล้อมภายนอกจะลดลง สารหลายชนิดไม่เป็นพิษแต่เมื่อทำปฏิกิริยากับสารอื่นก็จะกลายเป็นพิษ หากมองในอีกแง่หนึ่งเนื่องจากไลโปโซมให้ประสิทธิภาพสูงและนำส่งส่วนผสมได้อย่างตรงเป้าหมาย ในปริมาณขั้นต่ำและความเสี่ยงต่อการเป็นพิษเนื่องจากการใช้ผลิตภัณฑ์ในปริมาณมากจึงลดลงตามไปด้วย สารใด ๆ ก็ตามที่เข้าสู่ร่างกายเกินปริมาณที่ต้องการจะแปลงสภาพไปเป็นพิษ เราสามารถป้องกันไม่ให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้โดยการทาไลโปโซมที่มีสารออกฤทธิ์น้อยที่สุด นอกจากนี้การควบคุมการปล่อยสารออกฤทธิ์จากไลโปโซมยังป้องกันไม่ให้สารดังกล่าวออกฤทธิ์จนถึงระดับที่เป็นพิษ

การพัฒนาเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์

สารหลายชนิดเมื่อนำไปใช้กับผิวหนังจำเป็นต้องมีการได้รับอย่างสม่ำเสมอเมื่อได้รับโดยไม่มีระบบนำส่งเนื่องจากการซึมผ่านของผิวหนังต่ำ ไลโปโซมสามารถเพิ่มเภสัชจลศาสตร์ของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น ดัชนีการรักษาที่นานขึ้นและเพิ่มความจำเพาะของการกำหนดเป้าหมาย ในขณะที่ความเป็นพิษลดลง ไลโซโซมสามารถกำหนดให้มีเวลาไหลเวียนนานและรักษาระดับของส่วนผสมให้คงที่นานขึ้นได้

การนำไลโปโซมไปใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง

ปัจจุบันมีเครื่องสำอางหลายชนิดมีการพัฒนาให้ดีขึ้นโดยการนำไลโปโซมไปใช้เป็นส่วนผสมเพื่อคงคุณภาพหรือเสถียรภาพของผลิตภัณฑ์  นอกจากนี้การนำไลโปโซมไปเป็นส่วนผสมยังทำให้ส่วนผสมสำคัญในเครื่องสำอางสามารถออกฤทธิ์ได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากมีไลโปโซมเป็นตัวช่วยนำส่งสารสำคัญต่างๆเข้าสู่ผิว ช่วยชะลอการดูดซึม เพิ่มการละลายของสารและเพิ่มการยึดเกาะของผลิตภัณฑ์ให้คงทนอยู่นาน รวมถึงช่วยกรองแสงแดดได้เช่นกัน  เนื่องด้วยสรรพคุณอันมหัศจรรย์ของไลโปโซม ปัจจุบันจึงมีหลายบริษัทที่ต้องการนำไลโปโซมมาใช้ในเครื่องสำอางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตามผู้พัฒนาควรคำนึงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยก่อนนำไลโปโซมไปใช้เป็นส่วนผสม ควรเลือกใช้ไลโปโซมที่มีคุณภาพทางเคมีกายภาพที่ดีและมีความคงสภาพของอนุภาคไลโปโซมระดับนาโนที่ดีเท่านั้น
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด