อาการแพ้ยาง (Latex Allergy) คือ การที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสารที่ไม่เป็นอันตรายตามปกติ ด้วยความเข้าใจผิดว่าถูกรุกรานด้วยเชื้อโรค ร่างกายปล่อยสารแอนติบอดี และสารเคมีจำนวนมากออกมาเพื่อตอบสนองจนทำให้เกิดอาการอักเสบ
ลาเท็กซ์ (Latex) คือ ยางธรรมชาติที่ทำจากน้ำนมของต้นยางบราซิล ถูกนำไปใช้ในการผลิตอาหารหลายชนิด และถุงมือแพทย์
อาการแพ้ยาง
อาการแพ้ยางโดยปกติแล้วจะแสดงเป็นผื่นแดงในบริเวณที่สัมผัสกับยาง แต่สามารถมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย
อาการสามารถเกิดได้ทันทีหลังสัมผัสยาง หรือหลังจากนั้นหลายชั่วโมง โดยการบรรเทาเบื้องต้นสามารถใช้ครีมไฮโดรคอร์ติโซนหรือโลชั่นคาลาไมน์ เพื่อบรรเทาผื่นที่เกิดขึ้น
และบางครั้งโปรตีนจากยางที่เป็นสารก่อภูมิแพ้นั้นสามารถระเหยเป็นไอ และเราสูดดมเข้าไปได้ โดยทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
-
ริมฝีปาก หรือลิ้นมีอาการบวมและแดง
-
หายใจถี่
-
ท้องร่วง
Anaphylaxis เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อน้ำยางที่พบได้ยากมาก อาการคล้ายกับอาการแพ้อากาศ แต่รุนแรงกว่ามาก ภาวะช็อกจากอาการนี้ทำให้ความดันโลหิตลดลง หายใจถี่ และหากรักษาไม่ทันเวลาสามารถทำให้อันตรายถึงกับชีวิตได้
ผลิตภัณฑ์จากยางลาเท็กซ์
ผลิตภัณฑ์จากยางมีจำนวนมาก บางคนอาจแพ้ถุงมือยาง โดยผู้ที่มีอาการแพ้ยางควรหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้
- อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ถุงมือ สายน้ำเกลือ เป็นต้น
- อุปกรณ์ทันตกรรมจำพวกยางจัดฟัน
- ผลิตภัณฑ์คุมกำเนิด เช่น ถุงยางอนามัย
- เสื้อผ้าที่มีแถบยางยืด เช่น กางเกง หรือชุดชั้นใน รองเท้าวิ่งและเสื้อกันฝน เป็นต้น
- ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน เช่น ผ้าคลุมอาบน้ำ และถุงมือยาง เป็นต้น
- ของใช้สำหรับเด็ก เช่น จุกนม และผ้าอ้อม เป็นต้น
- อุปกรณ์สำนักงาน เช่น ยางลบ และเทปกาว เป็นต้น
- ผ้าพันแผลชนิดยืดหยุ่น
- ลูกโป่งยาง

อาการแพ้น้ำยางที่พบในอาหารบางชนิด
ในบางคนที่แพ้น้ำยางอาจแพ้อาหารบางชนิดที่มีโปรตีนคล้ายในน้ำยาง ตัวอย่างเช่น
ผักผลไม้
ผักผลไม้บางชนิดสามารถก่อให้เกิดอาการเหมือนที่แพ้น้ำยางได้ ได้แก่
กลุ่มที่ทำให้เกิดอาการเล็กน้อย
-
อะโวคาโด
-
กล้วย
-
กีวี
กลุ่มที่ทำให้เกิดอาการปานกลาง
-
แอปเปิ้ล
-
แครอท
-
ผักชีฝรั่ง
-
มะละกอ
-
แตง
-
มะเขือเทศ
-
มันฝรั่ง
กลุ่มที่ทำให้เกิดอาการรุนแรง
-
เชอร์รี่
-
มะเดื่อ
-
องุ่น
-
เนคทารีน
-
สัปปะรด
-
สตรอเบอร์รี่
-
ลูกพลัม
อาหารอื่นๆ
อาหารอื่นๆ ที่ผู้แพ้ยางควรระวังคือ
-
พืชตระกูลถั่ว เช่น อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เกาลัด เฮเซลนัท ถั่วลิสง และวอลนัท
-
ธัญพืช รวมทั้งข้าวสาลีและข้าวไรย์
-
อาหารทะเลได้แก่ หอย ปู และกุ้ง
หากคุณมีอาการผิดปกติหลังจากรับประทานอาหารเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์
บุคคลที่มีความเสี่ยงแพ้ยาง
ผู้ที่มีความเสี่ยงแพ้น้ำยางมีดังต่อไปนี้
-
ผู้ที่มีอาการแพ้อาหาร
-
ช่างทำผม
-
ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหลายครั้ง
-
ผู้ป่วยที่ได้รับการสวนสายบ่อยๆ
-
ผู้ที่ต้องดูแลเด็ก
-
บริกรร้านอาหาร
-
แม่บ้าน
-
พนักงานในโรงงานผลิตยาง หรือยางรถยนต์
การรักษาอาการแพ้ยาง
ไม่มีวิธีรักษาอาการแพ้ยางที่จำเพาะ ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยง สำหรับผู้ที่มีอาการอักเสบจากยาง แพทย์จะทำการให้ยาแก้แพ้ในการรักษา แต่หากมีอาการแพ้ยางอย่างรุนแรงแพทย์จะใช้อะดรีนาลีนฉีดเข้าไปในร่างกาย เพื่อป้องกัน Anaphylaxis
การลดความเสี่ยงจากการแพ้ยาง
ผลิตภัณฑ์ยางนั้นมีอยู่ทั่วไป ทำให้ยากต่อการหลีกเลี่ยง แต่คุณสามารถลดความเสี่ยงด้วยวิธีการเหล่านี้
-
ใช้ถุงมือที่ไม่ใช่ยางลาเท็กซ์ อาจจะเลือกใช้ถุงมือไวนิล
-
แจ้งผู้ให้บริการดูแลสุขภาพทราบเกี่ยวกับอาการแพ้น้ำยาง
-
สวมข้อมือที่แสดงอาการแพทย์ เพื่อให้แพทย์ทราบ
ภาพรวมการรักษา
อาการแพ้ยางทั่วไปไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสยางให้มากที่สุด อาจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวัน เพียงแค่ระมัดระวังในการทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ และควรสอบถามประกันสุขภาพว่าครอบคลุมการป่วยจากอาการแพ้ยางหรือไม่
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/latex-allergy/symptoms-causes/syc-20374287
-
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/8623-latex-allergy
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team