• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

เจ็บท้องคลอด (Labor and Delivery) : อาการแสดง ระยะ

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
22/01/2021
in หาโรค, โรคระบบสืบพันธุ์
0
เจ็บท้องคลอด
0
SHARES
23
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • ภาพรวม
  • อาการแสดงของการเจ็บท้องคลอด
  • อาการเจ็บเตือนก่อนคลอดจริง
  • ระยะแรกของอาการเจ็บท้องคลอด
  • การเจ็บครรภ์ระยะที่ 2
  • อาการเจ็บครรภ์ระยะที่ 3
Rate this post

ภาพรวม

เมื่อทารกในครรภ์เติบโตได้ 9 เดือน การเจ็บท้องคลอด (Labor Pain) และการคลอดบุตรก็จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันข้างหน้า แต่บรรดาคุณแม่ตั้งครรภ์มักจะใจจดใจจ่อกับกระบวนการคลอดมากที่สุด

อาการแสดงของการเจ็บท้องคลอด

อาการต่อไปนี้ บอกได้ว่าคุณแม่ตั้งครรภ์กำลังมีอาการเจ็บท้องใกล้คลอด เช่น:

  • มีความดันในมดลูกเพิ่มขึ้น
  • มีพลังงานในร่างกายเปลี่ยนไป
  • มีมูกปนเลือดออกมา

การเจ็บท้องคลอดจริง ๆ มักจะเกิดพร้อมกับการหดตัวตามปกติของมดลูก และจะรู้สึกปวดตามมา

อาการเจ็บเตือนก่อนคลอดจริง

คุณแม่มักมีภาวะมดลูกหดตัวแบบเป็น ๆ หาย ๆ เมื่อตั้งครรภ์ได้ 20 สัปดาห์ ซึ่งเรียกว่า อาการเจ็บเตือนก่อนคลอด (เจ็บท้องก่อนปวดท้องคลอดจริงๆ) ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์จะไม่มีอาการปวดมาก หรืออย่างมากที่สุด ก็แค่รู้สึกเจ็บเล็กน้อยและปวดเป็น ๆ หาย ๆ

บางครั้ง อาการเจ็บเตือนก่อนคลอดอาจเกิดจากคุณแม่ทำกิจกรรมเยอะขึ้น หรือมีการเคลื่อนไหวของทารกมากขึ้น หรืออาจเป็นเพราะกระเพาะปัสสาวะเต็มก็ได้ ทั้งนี้ ยังไม่มีใครทราบจริง ๆ ว่า เหตุผลที่แน่นอนของการเกิดอาการเจ็บเตือนก่อนคลอดในช่วงตั้งครรภ์นั้นมาจากอะไร

อย่างไรก็ตาม อาการเจ็บเตือนก่อนคลอดนี้ช่วยให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น ช่วยรักษาสุขภาพมดลูกในระหว่างตั้งครรภ์ หรือเตรียมพร้อมมดลูกเพื่อการคลอดบุตรต่อไป

ระยะแรกของอาการเจ็บท้องคลอด

อาการเจ็บท้องคลอดและการคลอดบุตรแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยระยะแรกของอาการเจ็บท้องคลอดประกอบด้วย การเริ่มเจ็บท้องคลอดเนื่องจากปากมดลูกเปิดแล้ว ระยะนี้จะแบ่งออกเป็นอีก 3 ระยะย่อย ได้แก่

อาการเจ็บท้องคลอดระยะเริ่มต้น

โดยปกติแล้ว ระยะนี้จะเป็นระยะเจ็บท้องคลอดที่เกิดนานที่สุดแต่ความเจ็บปวดน้อยที่สุด อาการเจ็บท้องคลอดระยะเริ่มต้นนี้ เรียกอีกอย่างว่า ระยะเจ็บท้องคลอดแฝง โดยในระยะนี้ ปากมดลูกจะบางลงและขยายออก 3-4 ซม. โดยอาการปวดอาจเกิดนานติตด่อกันหลายวัน หลายสัปดาห์ หรืออาจจะแค่เพียงไม่กี่ชั่วโมงสั้น ๆ ก็ได้

ในระยะนี้ การหดตัวของมดลูกแตกต่างกันไป โดยอาจมีตั้งแต่ หดตัวแบบไม่รุนแรง ไปจนถึง หดตัวแบบรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นสม่ำเสมอและเป็นประจำ หรืออาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวก็ได้ อาการอื่น ๆ ในระยะนี้อาจรวมถึง อาการปวดหลัง เป็นตะคริว และมีมูกปนเลือด

คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ถือว่าพร้อมที่จะไปโรงพยาบาลได้เมื่อพ้นช่วงเจ็บครรภ์ระยะเริ่มต้นนี้ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ตั้งครรภ์จำนวนมากมักจะเข้าโรงพยาบาลหรือศูนย์คลอดก่อนก็ได้ เมื่ออาการเจ็บครรภ์ระยะเริ่มต้นเริ่มปรากฎ

อาการเจ็บท้องคลอดระยะปากมดลูกขยาย

ระยะต่อมาของอาการเจ็บท้องคลอดระยะแรกเกิดขึ้นเมื่อปากมดลูกขยายจาก 3-4 ซม. เป็น 7 ซม. การหดตัวของมดลูกจะแรงขึ้น และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วม เช่น อาการปวดหลังและมีเลือดออก

อาการเจ็บท้องคลอดระยะเปลี่ยนผ่าน

ระยะนี้จะเป็นระยะที่หนักที่สุดของอาการเจ็บท้องคลอด เพราะมีการหดตัวของมดลูกบ่อยขึ้นและถี่ขึ้น ซึ่งอาการจะแรงขึ้น และจะเกิดขึ้นห่างกันประมาณ 2-3 นาที และโดยเฉลี่ย 60 ถึง 90 วินาที ทั้งนี้ ภาวะปากมดลูกเปิด 3 ซม. จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาช่วงสั้น ๆ

การเจ็บครรภ์ระยะที่ 2

การคลอดบุตร

ในระยะที่ 2 นี้ ปากมดลูกจะขยายเต็มที่ คุณแม่บางรายอาจรู้สึกอยากเบ่งคลอดขึ้นมาทันที หรือหลังจากที่ปากมดลูกขยายตัว แต่สำหรับคุณแม่บางราย ทารกอาจยังอยู่ในอุ้งเชิงกรานระดับสูง

ทั้งนี้ อาจต้องใช้เวลาสักพักเพื่อให้ทารกเคลื่อนตัวลงมาพร้อมกับการบีบตัวของมดลูก เพื่อให้ทารกลงมาอยู่ในตำแหน่งที่คุณแม่จะเบ่งออกมาได้

คุณแม่ที่ไม่ได้รับยาแก้ปวดมักจะมีอยากจะเบ่งคลอดเป็นอย่างมาก หรือมีแรงกดจากทวารหนักอย่างมากเช่นกัน เมื่อทารกในกระดูกเชิงกรานเลื่อนลงมาต่ำมากพอที่คุณแม่จะเบ่ง

ส่วนคุณแม่ที่ได้รับยาแก้ปวดก็อาจยังรู้สึกเบ่งคลอดได้และอาจรู้สึกมีแรงกดจากทางทวารหนัก แม้จะแรงไม่มากเท่าคุณแม่ที่ไม่ได้รับยาแก้ปวดก็ตาม ทั้งนี้ คุณแม่อาจรู้สึกปวดหรือแสบภายในช่องคลอดเนื่องจากศีรษะของทารกโผล่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องปกติ

ทั้งนี้ ที่สำคัญคือ คุณแม่จะต้องพยายามผ่อนคลายและนั่งพักช่วงที่มดลูกมีการหดตัว ในระยะนี้ หากมีพยาบาลมาช่วยแนะนำการเบ่งคลอดช่วงที่กำลังคลอดก็จะช่วยได้เยอะ

อาการเจ็บครรภ์ระยะที่ 3

การคลอดรก

จากนั้น รกจะถูกขับออกมาหลังจากทารกคลอดแล้ว การหดตัวของมดลูกเพียงเล็กน้อยจะช่วยดึงรกแยกออกจากผนังมดลูกและเคลื่อนตัวลงมาทางช่องคลอด ทั้งนี้ แพทย์จะทำการเย็บแผลฉีกขาดบริเวณฝีเย็บที่เกิดจากการคลอดหรือทำการผ่าตัด (episiotomy) หลังจากการคลอดรกแล้ว

ยาแก้ปวด

ยาแก้ปวดแผนปัจจุบันอาจใช้เป็นทางเลือกเพื่อช่วยจัดการกับความเจ็บปวดและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการคลอดบุตรได้ ยาบางชนิดที่มีในโรงพยาบาลหรือศูนย์คลอดบุตรได้แก่

ยาแก้ปวดในกลุ่มยาเสพติด

ยาแก้ปวดในกลุ่มยาเสพติดมักใช้บรรเทาอาการปวดช่วงที่เจ็บท้องคลอด การใช้งานจะจำกัดเฉพาะในช่วงที่เจ็บท้องคลอดระยะแรกเท่านั้น เนื่องจากมักจะทำให้เกิดการกดประสาทของมารดา ทารกในครรภ์ และทารกแรกที่เกิดมากเกินไป

โดยทั่วไปแล้ว ยาแก้ปวดในกลุ่มยาเสพติดจะให้แก่สตรีที่กำลังเจ็บท้องคลอดโดยการฉีดเข้ากล้ามหรือทางหลอดเลือดดำ ศูนย์ทำคลอดบางแห่งให้บริการนี้ด้วยโดยต้องอยู่ภายใต้การควบคุม นั่นหมายความว่า คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเลือกได้ว่าจะต้องใช้ยาเมื่อไร

ยาแก้ปวดในกลุ่มยาเสพติดที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ :

  • มอฟีน
  • เมเพอริดีน
  • เฟนทานิล
  • บิวเทนอล
  • นัลบูไฟน์

 ไนตรัสออกไซด์

ในบางกรณี แพทย์อาจใช้ยาแก้ปวดชนิดสูดพ่นในช่วงเจ็บท้องคลอด ซึ่งแพทย์อาจเลือกใช้ก๊าซไนตรัสออกไซด์ หรือที่มักเรียกว่า ก๊าซหัวเราะ มาใช้บ่อย ๆ โดยก๊าซดังกล่าวสามารถบรรเทาอาการปวดเพียงพอสำหรับบางกรณี โดยให้ใช้เป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงแรกของการเจ็บครรภ์

การระงับความรู้สึกทางไขสันหลังชั้นนอก

การบรรเทาความเจ็บปวดที่ใช้บ่อยที่สุดในช่วงคลอดบุตรคือ การระงับความรู้สึกทางไขสันหลังชั้นนอก หรือที่เรียกภาษาชาวบ้านว่า “การบล็อคหลัง”   ใช้เพื่อให้ยาระงับความรู้สึกช่วงเจ็บท้องคลอดและคลอดบุตร และระหว่างการผ่าตัดคลอด (C-section)

การบรรเทาอาการปวดด้วยวิธีนี้เป็นผลมาจากการฉีดยาชาเข้าไปในช่องไขสันหลัง ซึ่งอยู่นอกเยื่อบุไขสันหลัง โดยยาจะไปปิดกั้นการส่งผ่านความรู้สึกเจ็บปวดผ่านเส้นประสาทที่ผ่านบริเวณไขสันหลังชั้นนอกก่อนจะไปยังไขสันหลัง

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การบล็อคหลังร่วมกับการเดินยาแก้ปวดที่เป็นตัวยาเดียวกันแต่ใช้ในปริมาณน้อยได้รับความนิยมมาก โดยแพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กแทงเข้าไปในเข็มที่ใช้ฉีดบล็อคหลังก่อนที่จะวางยาชา

เมื่อเข็มที่มีขนาดเล็กกว่านี้จะอยู่ในช่องว่างใกล้ไขสันหลังแล้ว แพทย์จะเดินยาชาเฉพาะที่เป็นยาแก้ปวดในกลุ่มยาเสพติดหรือยาชาเฉพาะที่ในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้นเข้าไป

การใช้ยาชาแบบผสมนี้จะมีผลต่อการทำงานของประสาทสัมผัสเท่านั้น โดยทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ยังสามารถเดินและเคลื่อนไหวได้ในระหว่างคลอด ทั้งนี้ โดยปกติแล้ว จะใช้เทคนิคนี้ในช่วงแรกของการเจ็บครรภ์


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.healthline.com/health/pregnancy/labor-and-delivery
  • https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/labor-and-delivery/in-depth/stages-of-labor/art-20046545
  • https://www.webmd.com/baby/guide/normal-labor-and-delivery-process
  • https://www.medicinenet.com/labor_and_delivery/article.htm

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
ภาวะขาดน้ำ

ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.