• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

อาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter Syndrome) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in หาโรค
0
อาการไคลน์เฟลเตอร์
0
SHARES
176
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์คืออะไร?
  • อาการไคลน์เฟลเตอร์
  • ความปกติของอาการ
  • สาเหตุของการเกิดโรคคืออะไร?
  • การวินิจฉัยโรค
  • วิธีการรักษา
  • คุณสามารถมีลูกได้หรือไม่ถ้าหากคุณเป็นโรคไคลน์เฟลเตอร์
  • คุณจะรับมือกับอาการนี้ได้อย่างไร?
  • ภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้
  • โรคไคลน์เฟลเตอร์สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตของคุณได้อย่างไร
4.7 / 5 ( 23 votes )

กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์คืออะไร?

กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter Syndrome) คือ โรคทางพันธุกรรมที่พบได้ในเพศชาย โดยผู้ที่มีอาการนี้จะโครโมโซม x เกินมา อีกทั้งยังมีลูกอัณฑะเล็กกว่าปกติ ทำให้สามารถสร้างฮอร์โมนเพศชายได้น้อยกว่าทั่วไป เทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนเพศชายที่ทำหน้าที่กระตุ้นลักษณะทางเพศ เช่น ขนต่างๆบนร่างกาย หรือการเติบโตของกล้ามเนื้อ

การขาดฮอร์โมนเพศชาย จะส่งผลให้มีเต้านมที่โตขึ้น อวัยวะเพศมีขนาดเล็ก มีขนน้อยกว่าปกติ อีกทั้งอาจทำให้ไม่สามารถมีบุตรได้ กลุ่มอาการไคนล์เฟลเตอร์อาจทำให้มีอาการพูดช้าในวัยเด็กได้

Klinefelter Syndrome

อาการไคลน์เฟลเตอร์

อาการส่วนใหญ่เกิดการจากที่ร่างกายมีฮอร์โมนเพศชายต่ำ ดังนั้นจึงมักจะไม่แสดงอาการในตอนเป็นเด็ก แต่จะพบอาการเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น

ในเด็กเล็กมักจะแสดงอาการเพียงการพูดเท่านั้น โดยมักจะพูดช้ากว่าเด็กคนอื่นๆในวัยเดียวกัน

อาการที่พบได้ทั่วไปในผู้ใหญ่คือ :

  • อวัยวะเพศและลูกอัณฑะมีขนาดเล็ก
  • ปริมาณอสุจิมีน้อยหรือไม่มีเลย
  • มีหน้าอกโตกว่าปกติ
  • มีขนตามใบหน้า รักแร้ หรือหัวหน่าวน้อยกว่าปกติ
  • สูงกว่าปกติ
  • มีขายาวและลำตัวสั้น
  • กล้ามเนื้อน้อยและไม่แข็งแรง
  • มีแรงน้อย
  • อารมณ์ทางเพศต่ำ
  • มีไขมันบริเวณหน้าท้อง
  • มีปัญหาด้านการอ่าน เขียนและการสื่อสาร
  • มีบุตรยาก
  • วิตกกังวลและซึมเศร้า
  • มีปัญหาในการตอบโต้ทางสังคม
  • มีความผิดปกติด้านการเผาผลาญเช่น โรคเบาหวาน

ผู้ชายที่มีโครโมโซม x มากกว่าปกติ จะมีอาการมากกว่าปกติ ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับปริมาณของโรคโมโซม x ที่มีในร่างกาย

อาการของไคลน์เฟลเตอร์ชนิดรุนแรง ได้แก่ :

  • ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้และการพูด
  • มีปัญหาด้านการเชื่อมโยง
  • มีใบหน้าที่เป็นเอกลักษณ์
  • มีปัญหาเรื่องกระดูก

ความปกติของอาการ

กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์เป็นควาผิดปกติทางโครโมโซมที่พบได้บ่อยที่สุดในทางรกแรกเกิด โดยสามารถพบได้มากถึง 1 ใน 500 หรือ 1 ใน 1000 คน โรคอื่นๆที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม x จะพบได้น้อยกว่า โดยมีสถิติอยู่ที่ 1 ใน 50000 คนหรือน้อยกว่านั้น

ในบางครั้งอาการไคลน์เฟลเตอร์อาจจะไม่สามารถสังเกตได้เนื่องจากมีอาการไม่รุนแรง ทำให้อาจเกิดการวินิจฉัยผิดในบางครั้งเพราะอาการคล้ายกับโรคอื่นๆ

สาเหตุของการเกิดโรคคืออะไร?

โครโมโซมในร่างกายมนุษย์มีทั้งหมด 23 คู่หรือ 46 โครโมโซม โดยในแต่ละเซลล์จะมีโครโมโซมเพศสองตัวคือ X และ Y

  • ผู้หญิงจะมีโครโมโซม X สองตัวคือ XX ซึ่งจะบ่งบอกลักษณะทางเพศของผู้หญิงเช่น หน้าอกหรือมดลูก
  • ผู้ชายจะมีโครโมโซม X หนึ่งตัวและโครโมโซม Y หนึ่งตัว คือ XY ซึ่งจะบ่งบอกลักษณะทางเพศของผู้ชายเช่น อวัยวะเพศหรือัณฑะ

เด็กผู้ชายที่เป็นโรคไคลน์เฟลเตอร์ จะมีโครโมโซม X มากกว่าปกติ ทำให้โครโมโซมในเซลล์กลายเป็น XXY ซึ่งเป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างที่เซลล์กำลังแบ่งตัวหลังจากเชื้อที่ได้รับผสมกับไข่

ในบางคนอาจพบได้ว่ามีโครโมโซม X ที่เกินมามากกว่าหนึ่งตัว ทำให้โครโมโซมอาจจะมีหน้าตาแตกต่างไป เช่น XXXXY ในขณะที่บางคนอาจจะมีโครโมโซมเป็น XXY หรือ XXXY

การเกิดโครโมโซมเหล่านี้ มักเกิดขึ้นแบบสุ่มซึ่งเป็นความผิดปกติในการแบ่งตัวของเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ถ้าผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีตั้งครรภ์ ก็มีแนวโน้มที่จะให้กำเนิดทารกที่เป็นโรคไคลน์เฟลเตอร์ได้

การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยโรคไคลน์เฟลเตอร์ก่อนคลอดเป็นไปได้น้อยมาก นอกเสียจากว่ามารดาที่ตั้งครรภ์จะเข้ารับการทดสอบเหล่านี้ :

  • การเจาะน้ำคร่ำ : เป็นการเอาน้ำคร่ำจำนวนเล็กน้อยออกจากถุงรอบๆตัวทารก และนำไปตรวจสอบในห้องทดลองเพื่อหาความผิดปกติของโครโมโซม
  • การสุ่มตัวอย่าง Chorionic villus : เป็นการคาดเดาจากเซลล์ในรกไปทดสอบเพื่อหาความผิดปกติของโครโมโซม

โดยปกติแล้วการทดสอบเหล่านี้มักจะไม่เป็นที่นิยม เพราะมีความเสี่ยงต่อการแท้งได้ แพทยืจะแนะนำให้ใช้วิธีนี้ก็ต่อเมื่อทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อปัญหาด้านโครโมโซม

หากลูกของคุณมีพัฒนาการช้า ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อเพื่อรักษาและวินิจฉัยเรื่องฮอร์โมน

ในระหว่างที่ทำการทดสอบ แพทย์ะสอยถามเกี่ยวกับปัญหาด้านการพัฒนาการ โดยการทดสอบจะมีสองประเภทคือ :

  • การวิเคราะห์โครโมโซม : เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Karyotyping เป็นการตรวจเลือดเพื่อหาโครโมโซมที่ผิดปกติ
  • การทดสอบฮอร์โมน : ใช้วิธีการตรวจเลือดหรือตรวจปัสสาวะเพื่อทดสอบหาระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติ

วิธีการรักษา

หากมีอาการไม่รุนแรงมักไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษ แต่ถ้าหากว่ามีอาการมากขึ้นควรรีบรักษาโดยเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยรุ่น หากได้รับการรักษาตั้งแต่มีอาการเริ่มต้น จะสามารถป้องกันอาการแทรกซ้อนอื่นๆได้

วิธีหลักในการรักษาคือ การเพิ่มฮอร์โมนเพศชายเข้าไปทดแทน การรับประทานฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในช่วงวัยรุ่น จะช่วยให้ร่างกายมีพัฒนาการในวัยรุ่นดีขึ้น เช่น 

  • มีเสียงทุ้ม
  • มีขนขึ้นตามใบหน้าและร่างกาย
  • กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงมากขึ้น
  • อวัยวะเพศชายเติบโตมากขึ้น
  • กระดูกแข็งแรงมากขึ้น

คุณสามารถใช้ฮอร์โมชนิดเม็ด ครีม หรือทำการฉีดเป็นประจำทุกสองถึงสามสัปดาห์ก็ได้

วิธีอื่นๆในการรักษาอาการไคลน์เฟลเตอร์ มีดังนี้ :

  • บำบัดการพูดและการใช้ภาษา
  • ทำกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • ใช้กิจกรรมบำบัดเพื่อให้คุณสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ
  • เพิ่มกิจกรรมทางสังคม
  • ใช้ความช่วยเหลือด้านการศึกษา
  • รับคำปรึกษาด้านอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้าหรือขาดความนับถือตนเอง
  • การผ่าตัดเอาเต้านมออก
  • รักษาการสืบพันธุ์

คุณสามารถมีลูกได้หรือไม่ถ้าหากคุณเป็นโรคไคลน์เฟลเตอร์

ผู้ที่เป็นโรคนี้ส่วนมากร่างกายจะไม่สร้างอสุจิ หรือสร้างในปริมาณที่น้อย การขาดอสุจิทำให้การมีบุตรเป็นไปได้ยากแต่ก็สามารถมีได้

การรักษาระบบสืบพันธุ์สามารถช่วยให้คุณมีบุตรได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ถ้าหากว่าคุณมีอสุจิปริมาณน้อย สามารถทำการคัดอสุจิเพื่อฉีดเข้าไปในไข่โดยตรงได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

คุณจะรับมือกับอาการนี้ได้อย่างไร?

เด็กวัยรุ่นอาจมีอาการอายที่ร่างกายไม่มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนคนอื่นทั่วไป บางคนอาจมีความรู้สึกไม่พอใจที่ไม่สามารถเป็นมีลูกได้ แต่นักบำบัดจะช่วยให้คุณสามารถรับมือกับภาวะต่างๆได้

คุณสามารถหากลุ่มสนับสนุนสำหรับผู้ที่มีอาการเดียวกันกับคุณได้ โดยสามารถสอบถามได้จากแพทย์หรือหาตามอินเตอร์เนต

เด็กที่มีอาการไคลน์เฟลเตอร์มักต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษในโรงเรียน คุณควรติดต่อเขตพื้นที่ขอคุณ เพื่อขอข้อมูลสำหรับโครงการพิเศษสำหรับเด็กที่มีความผิดปกติ คุณอาจได้รับโปรแกรมเฉพาะที่ปรับให้เหมาะกับความต้องการของบุตรหลานของคุณ

เด็กผู้ชายหลายคนที่เป็นโรคไคลน์เฟลเตอร์ มีปัญหาในการเข้าสังคมมากกว่าคนอื่น ดังนั้นการเข้ารับการบำบัด จะสามารถช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ถึงทักษะในการเข้าสังคมได้

ภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไคลน์เฟลเตอร์มีดังนี้ : 

  • มะเร็งเต้านมหรือมะเร็งชนิดอื่นๆ
  • โรคปอด
  • กระดูกอ่อนแอ (กระดูกพรุน)
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • เส้นเลือดขอด
  • โรคเบาหวาน
  • ต่อมไทรอยด์ไม่ทำงาน
  • โรคภูมิแพ้ตัวเอง 
  • ข้ออักเสบรูมาตอยด์ 
  • เนื้องอกหายาก เรียกว่าเนื้องอกของเซลล์สืบพันธุ์

โรคไคลน์เฟลเตอร์สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตของคุณได้อย่างไร

จากการวิจัยพบว่า โรคนี้สามารถทำให้คุณมีอายุสั้นลงได้สองปี อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว อาการก็จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นได้


นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/men/klinefelter-syndrome
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/klinefelter-syndrome/symptoms-causes/syc-20353949
  • https://www.nhs.uk/conditions/klinefelters-syndrome/
  • https://medlineplus.gov/genetics/condition/klinefelter-syndrome/

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
โรคหลงตัวเอง

โรคหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.