• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

ขนคุด (หนังไก่) Keratosis Pilaris (Chicken Skin) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
15/02/2021
in หาโรค, โรคผิวหนัง
0
0
SHARES
2.6k
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • ขนคุดคืออะไร
  • สาเหตุของขนคุด
  • อาการของขนคุด มีอะไรบ้าง
  • การรักษาขนคุด
  • วิธีกำจัดขนคุดและการรักษาผิวหนัง
  • การรักษาขนคุดด้วยตัวเองที่บ้าน
4.7 / 5 ( 19 votes )

ขนคุดคืออะไร

ขนคุด (Keratosis Pilaris) คือ โรคที่เรียกว่า “หนังไก่” เป็นโรคที่พบบ่อยซึ่งเป็นสาเหตุทำให้สภาพผิวหยาบกร้านปรากฏขึ้นตามผิวหนัง มีปุ่มเล็กๆ หรือตุ่มคล้ายสิวเกิดขึ้นบนผิวหนัง ซึ่งสิ่งเหล่านี้แท้จริงแล้วมาจากเซลล์ผิวที่ตายแล้วขึ้นแทนที่รูขุมขน ลักษณะของตุ่มจะมีสีแดงหรือสีน้ำตาล โรคหนังไก่ไม่ได้เป็นโรคติดต่อ และผิวบริเวณที่เป็นตุ่มอาจไม่รู้สึกคันและระคายผิวเสมอไป อาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยในช่วงฤดูหนาว เมื่อผิวแห้ง เปราะบาง และอาจจะเกิดขึ้นกับสตรีในระหว่างตั้งครรภ์ 

การเกิดภาวะหนังไก่มักจะเกิดขึ้นบริเวณ

  • ขนคุดที่แขน
  • ขนคุดบริเวณใต้วงแขน หรือขนคุดรักแร้
  • ขนคุดที่ขา
  • ขนคุดที่หน้า

ยังไม่มีการรักษาโรคผิวหนังทางพันธุกรรม แต่อย่างไรก็ตามยังมีหลายหนทางในการบำรุงรักษาหรือป้องกันไม่ให้อยู่ในภาวะที่แย่ไปกว่าเดิม ขนคุด จะมีอาการดีขึ้นและหายไปตามธรรมชาติเมื่อคุณมีอายุ 30 ปี ขึ้นไป อ่านต่อเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม

โรคขนคุด (Keratosis Pilaris)

สาเหตุของขนคุด

ขนคุดเกิดจาก สภาพผิวที่อ่อนโยนเป็นผิวที่สร้างสารเคราติน โดยเคราตินเป็นโปรตีนของรูขุมขน การสะสมเคราตินทำให้รูขุมขนอุดตัน ทำให้เกิดหนังไก่ เพราะสารเคราตินปิดกั้นการเจริญเติบโตของรูขุมขน และทำให้เกิดตุ่มเล็กๆออกมาจาจากรูขุมขน หากคุณแกะตุ่มออก คุณจะสังเกตเห็นเส้นขนเล็กๆโผล่ออกมา

สาเหตุของการเกิดสารเคราตินยังไม่เป็นที่รู้กันมากนัก แต่แพทย์เล็งความเห็นว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยสภาพผิวจากสาเหตุอื่น ๆ ด้วย เช่นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง และโรคทางพันธุกรรม อาการนี้อาจจะทำให้ผิวหนังอักเสบได้ แต่ไม่ใช่ขนคุดอักเสบแบบที่ทุกคนเข้าใจ

อาการของขนคุด มีอะไรบ้าง 

อาการที่เป็นที่น่าสังเกตมากที่สุดของขนคุดคือ ลักษณะที่เกิดขึ้นจากสภาพผิว การเกิดขึ้นของตุ่มสามารถมองเห็นได้ชัด ผิวจะมีลักษณะเป็นเส้นขนหรือมีลักษณะเหมือนผิวหนังของไก่ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ จึงทำให้เป็นที่เรียกกันว่า “หนังไก่” 

ตุ่มจะเกิดขึ้นบนผิวตามรูขุมขน เพราะฉะนั้นบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้าจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน ขนคุดมักพบได้บริเวณต้นแขนและต้นขา และยังสามารถขยายไปถึงช่วงปลายแขนและช่วงล่างของขาได้ 

อาการโดยรวมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้ 

  • ผิวแห้ง
  • ลักษณะของตุ่มสากเหมือนกระดาษทราย 
  • ตุ่มขนคุดที่เกิดขึ้นจะมีสีแตกต่างออกไปขึ้นอยู่กับโทนสีผิวของแต่ละคน (ผิวสีเนื้อ ผิวขาว ผิวแดง ผิวสีชมพู ผิวสีน้ำตาล หรือผิวดำ) 
  • มีอาการคันระคายเคืองตามผิวหนัง
  • ลักษณะรอบๆตุ่มมีสีแดงและสีชมพูอ่อนระเรื่อ 

การรักษาขนคุด

ขนคุดรักษาได้อย่างไร ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการกำจัดขนคุดที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดี แต่โรคนี้สามารถหายได้ด้วยวัยของผู้ที่เป็น มีวิธีการบำรุงรักษาเพื่อบรรเทาอาการและรักษาสภาพผิวที่เกิดจากขนคุด เนื่องจากขนคุดมักจะทนต่อการรักษา และต้องใช้เวลานานนับเดือนจนกว่าจะหาย  

วิธีกำจัดขนคุดและการรักษาผิวหนัง  

แพทย์ผิวหนังหรือผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง ได้ให้คำแนะนำว่าการรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง ช่วยบรรเทาอาการคัน ผิวแห้ง หรือผืนที่เกิดขึ้นตามผิวหนัง การทาครีมช่วยสามารถกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว หรือป้องกันการอุดตันของรูขุมชน 2 ส่วนผสมที่พบบ่อยในการรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังคือสารยูเรียและกรดแรคติค ส่วนผสมเหล่านี้ช่วยในการสลายและขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว และช่วยทำให้ผิวหนังนุ่มนวลขึ้น

กระบวนการอื่นๆในการบำรุงรักษาที่ผู้เชี่ยวชาญของโรคผิวหนังแนะนำ ให้เป็นวิธีรักษาขนคุดเบื้องต้น

  • การกรอผิวด้วยการพ่นผลึกแร่ที่ละเอียดมาก การขัดผิวอย่างเข้มข้น
  • การลอกผลัดเซลล์ผิว 
  • การใช้ครีมเรตินอล

ข้อควรพึงระวังในส่วนผสมของครีมที่ใช้ทาบำรุงและควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ ซึ่งครีมบางชนิดมีใบสั่งยาเฉพาะทางที่มีส่วนผสมของกรดที่อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงและมีปฏิกิริยาที่ผิดปกติ เช่น

  • รอยแดง
  • ผิวแห้ง
  • ผิวเกิดการระคายเคือง
  • แสบผิว

นอกจากนี้ยังมีทางเลือกในการรักษาทางวิทยาศาสตร์  เช่นการรักษาด้วยโฟโตนิวเมติกและการใช้เลเซอร์รักษาเส้นเลือด รวมไปถึงสมุนไพรรักษาขนคุดเช่นการทาว่านหางจระเข้


อ่านเพิ่มเติม: หูด (Warts) คืออะไร: สาเหตุประเภทการรักษา


การรักษาขนคุดด้วยตัวเองที่บ้าน 

หากคุณรู้สึกไม่ชอบลักษณะผิวที่เป็นขนคุด มีหลายเทคนิคที่คุณสามารถรักษาได้ด้วยตัวเองที่บ้าน ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อย่างน้อยการบำรุงดูแลรักษาด้วยตัวเองสามารทำให้ตุ่ม อาการคัน ระคายเคืองลดลงไปได้ไม่น้อยเลยทีเดียว 

  • อาบน้ำอุ่น การอาบน้ำอุ่นในช่วงระยะเวลาไม่นาน สามารถช่วยทำให้รูขุมขนเป็นตุ่มเปิดออก และไม่ก่อให้เกิดรุขุมขนอุดตัน  ใช้แปรงขัดผิวเพื่อสลายตุ่มออก แต่ควรจำกัดเวลาในการอาบน้ำอุ่น ไม่ควรอาบน้ำอุ่นนานเกินไป เพราะน้ำอุ่นจะทำให้ชะล้างน้ำมันจากธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ต่อผิวสลายไป 
  • การขจัดเซลล์ผิว การขัดผิวเป็นประจำทุกวันสามารถทำให้ผิวมีสภาพดีขึ้นได้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วด้วยการใช้เส้นใยบวบขัดผิว หรือใช้หินขัด  
  • การใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะพร้าวเป็นที่รู้จักกันดีว่าสรรพคุณของน้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ และเป็นที่มาของการทำสครับน้ำตาลเพื่อช่วยผลัดเซลล์ผิวและบรรเทาอาการคัน และไม่ทำให้ผิวแห้ง
  • หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น การสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นจะทำให้เกิดการเสียดสีซึ่งก่อให้เกิดการระคายเคืองผิว
  • ความชื้น การรักษาความชุ่มชื้นในอากาศของห้อง ช่วยในการรักษาความชุ่มชื้นของผิวคุณและไม่ก่อให้เกิดอาการคันระคายเคืองของผิว

ใครที่สามารถเป็นขนคุด

ผิวหนังไก่สามารถเกิดขึ้นได้จากผู้มีภาวะเหล่านี้ 

  • มีผิวหนังเป็นกลาก
  • ผู้ที่เป็นไข้ละอองฟาง 
  • เด็กหรือวัยรุ่น
  • ผู้ที่มีผิวแห้ง
  • ผู้ที่เป็นมะเร็งผิวหนัง
  • คนอ้วน

คนที่มีอาการไวต่อสภาพผิวของขนคุด เกิดขึ้นได้ง่ายกับเด็กและวัยรุ่น ซึ่งขนคุดจะเริ่มพบได้ในวัยของเด็กกำลังโตไปจนถึงวัยรุ่น โดยทั่วไปแล้วจะเริ่มหมดไปในช่วงวัยยี่สิบกลางๆ และจะหายไปจนกว่าจะอายุ 30 ปี การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเป็นสาเหตุที่ทำให้สตรีระหว่างตั้งครรภ์และผู้หญิงช่วงวัยรุ่นมีอารมณ์แปรปรวน ขนคุดพบได้มากสุดสำหรับผู้ที่มีผิวขาว ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ถอนขนคุดเพราะอาจจะเกิดการอักเสบได้


ลิงค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/keratosis-pilaris/symptoms-causes/syc-20351149
  • https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/keratosis-pilaris
  • https://www.aad.org/public/diseases/a-z/keratosis-pilaris-treatment
  • https://dermnetnz.org/topics/keratosis-pilaris/
Tags: ผิวหนัง
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post

ฝ้า (Melasma) : อาการ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.