• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

ปวดข้อ (Joint Pain) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)
15/03/2021
in หาโรค, อาการ
0
ปวดข้อ
0
SHARES
19
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • อาการปวดข้อ
  • สาเหตุของการปวดข้อ
  • การวินิจฉัยอาการปวดข้อ
  • การรักษาอาการปวดข้อ
5 / 5 ( 1 vote )

ปวดข้อ (Joint Pain) คืออาการปวดตามข้อต่อ ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากโรคต่าง ๆ หรืออาการบาดเจ็บ รวมไปถึงอายุอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคปวดข้อได้

ข้อต่อคือบริเวณที่กระดูกสองชิ้นมาเชื่อมต่อกัน ข้อต่อมีไว้เพื่อช่วยให้กระดูกแต่ละชิ้นสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัว ข้อต่อมีอยู่ที่บริเวณ:

  • ข้อไหล่

  • ข้อสะโพก

  • ข้อศอก

  • ข้อเข่า

อาการปวดข้อทำให้คนรู้สึกไม่สบายตัว ปวดและเจ็บตรงบริเวณข้อต่อต่างๆของร่างกาย อาการปวดข้อเป็นอาการตามปกติไม่มีความจำเป็นต้องไปรักษาที่โรงพยาบาล

ในบางครั้งอาการปวดข้ออาจเป็นผลมาจากอาการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ โรคไขข้ออักเสบเป็นสาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อ แต่ก็ยังมีอีกหลายโรคหลายปัจจัยที่อาจทำให้เกิดอาการปวดข้อได้

อาการปวดข้อ

ในบางราย อาการปวดข้ออาจต้องไปพบแพทย์ ควรไปพบแพทย์หากไม่รู้สาเหตุที่ทำให้เกิดการปวดข้อและอาจมีอาการอื่นที่ไม่สามารถอธิบายได้

ควรไปพบแพทย์เมื่อ:

  • บริเวณรอบๆข้อต่อมีการบวม แดง กดเจ็บหรือร้อนเมื่อสัมผัส

  • อาการปวดยังคงมีอยู่นาน 3วันหรือมากกว่านั้น

  • มีไข้โดยไม่มีสัญญานไข้หวัด

และควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการดังต่อไปนี้s:

  • มีการบาดเจ็บอย่างรุนแรง

  • ข้อต่อผิดรูป

  • มีการบวมของข้อต่ออย่างฉับพลัน

  • ข้อต่อติดไม่สามารถเคลื่อนไหวได้

  • มีอาการปวดข้ออย่างรุนแรง

สาเหตุของการปวดข้อ

โรคไขข้ออักเสบ

หนึ่งในสาเหตุหลักของการปวดข้อก็คือโรคไขข้ออักเสบ มีไขข้ออักเสบอยู่สองแบบใหญ่ๆคือโรคข้อเสื่อม (OA) และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA)

โรคข้ออักเสบ OA คือโรคที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป กระบวนการเกิดโรคจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆและส่งผลต่อข้อต่อเช่น:

  • ข้อมือ

  • มือ

  • ข้อต่อ

  • เข่า

Joint Pain

อาการปวดข้อจากโรค OA เป็นผลมาจากการแตกของกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนนวมและโช๊คอัพสำหรับข้อต่อ

โรคไขข้ออีกแบบคือแบบ RA มักส่งผลกระทบต่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

จากสาเหตุอื่น

อาการปวดข้ออาจมีสาเหตุมาจาก:

  • โรคเบอร์ไซติส หรือการอักเสบของถุงน้ำกันเสียดสีที่อยู่รอบๆข้อต่อ

  • โรคภูมิแพ้ตัวเอง

  • โรคเกาต์

  • โรคติดเชื้อเช่น คางทูม ไข้หวัดใหญ่และตับอักเสบ

  • โรคผิวสะบ้าอักเสบ หรือการสลายตัวของกระดูกอ่อนในกระดูกสะบ้าหัวเข่า

  • การบาดเจ็บ

  • เอ็นอักเสบ 

  • มีการติดเชื้อที่กระดูกหรือข้อต่อ

  • มีการใช้ข้อต่อมากเกินไป

  • โรคมะเร็ง

  • โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) ทำให้ปวดกล้ามเนื้อ

  • โรคกระดูกพรุน

  • โรคซาร์คอยโดซิส

  • โรคกระดูกอ่อน

การวินิจฉัยอาการปวดข้อ

แพทย์อาจตรวจร่างกาย และถามคำถามเกี่ยวกับอาการปวดข้อที่เป็น เพื่อจำกัดหาสาเหตุที่อาจทำให้เกิดอาการ

ถ้าจำเป็นอาจมีการตรวจด้วยการเอกซเรย์ เพื่อระบุข้อต่ออักเสบที่เสียหาย

หากแพทย์สงสัยว่าอาจมาจากสาเหตุอื่น แพทย์อาจขอตรวจเลือดเพื่อดูว่าเป็นโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันหรือไม่ แพทย์อาจจะขอตรวจ sedimentation rate test คือการวัดการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง เพื่อดูระดับการอักเสบในร่างกายหรือตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

การรักษาอาการปวดข้อ

การดูแลตัวเองที่บ้าน

แพทย์ยกให้โรค OA และ RA เป็นโรคเรื้อรัง ไม่มีวิธีใดที่จะรักษาอาการปวดข้อให้หายขาดหรือทำให้ไม่กลับมาเป็นอีกได้ แต่เรามีวิธีจัดการกับการปวดได้โดย:

  • ใช้ยาบรรเทาปวดชนิดทาบนผิวหนัง หรือรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เพื่อบรรเทาอาการปวด บวมและอักเสบ

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอและออกกำลังกายในระดับปานกลาง.

  • มีการยืดเส้นก่อนการออกกำลังกายเพื่อให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่เกณฑ์สุขภาพที่ดี เพื่อลดแรงให้ข้อต่อ

  • ถ้าการปวดไม่ได้มาจากโรคข้ออักเสบ อาจหาซื้อยาลดการอักเสบทานเองได้ ด้วยการนวด อาบน้ำอุ่น ยืดเส้นบ่อยๆและมีการพักผ่อนที่เพียงพอ

การรักษาทางการแพทย์

ทางเลือกในการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการปวด ในบางรายแพทย์อาจจำเป็นต้องดูดเอาของเหลวในบริเวณข้อต่อไปตรวจสอบเพื่อหาการติดเชื้อหรือโรคเกาต์หรือเพื่อหาสาเหตุอื่นๆที่ทำให้ปวดข้อ ในบางรายอาจแนะนำให้มีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อต่อ

อาการปวดข้อมักเกิดมาจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการสึกหรอตามปกติ แต่อย่างไรก็ตามก็พบว่าอาจมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดจากการติดเชื้อหรือเกิดจากโรค RA ได้

คุณควรไปพบแพทย์หากมีอาการปวดข้อที่ไม่สามารถอธิบายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ยอมหายไปภายใน 2-3 วัน การตรวจโรคเจอตั้งแต่ระยะแรกส่งผลให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/pain-management/guide/joint-pain

  • https://www.nhs.uk/conditions/joint-pain/

  • https://www.mayoclinic.org/symptoms/joint-pain/basics/causes/sym-20050668

  • https://medlineplus.gov/ency/article/003261.htm


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

Tags: ความเจ็บปวด
นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล คือทีมผู้เขียนของทีม Bupa Active Blog จากจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณนิตตยา คือผู้เขียนบทความทางการแพทย์ คุณนิตยามีความสนใจทางการแพทย์และหาความรู้เพิ่มเติมในห้องสมุดที่บ้านอยู่ตลอดเวลา

Next Post
โรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ

โรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ (Henoch-Schönlein Purpura) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.