• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

ลำไส้อุดตัน (Intestinal Obstruction) : อาการ สาเหตุ และการรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
24/12/2020
in หาโรค, โรคกระเพาะอาหาร
0
ลำไส้อุดตัน
0
SHARES
155
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • ภาพรวม
  • อาการลำไส้อุดตัน
  • สาเหตุของลำไส้อุดตัน
  • โรคลำไส้ตันในเด็กทารก
  • การรักษาภาวะลำไส้อุดตัน
  • บทสรุป
Rate this post

ภาพรวม 

การย่อยอาหารของมนุษย์มีระยะทางถึง 25 ฟุตในร่างกาย ซึ่งมีลำไส้เป็นส่วนหนึ่งของการย่อยอาหาร การย่อยอาหารจนเหลือแต่กากอาหารเป็นการที่ลำไส้บีบตัวสม่ำเสมอ ถ้าหากมีสิ่งอุดตันในลำไส้ทำให้ลำไส้หยุดบีบตัว ภาวะลำไส้อุดตันเกิดขึ้นเมื่อลำไส้ใหญ่หรือลำไส้เล็กอุดตัน ซึ่งอาจเกิดการอุดตันเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด ส่งผลทำให้กากอาหารหรือของเหลวไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านลำไส้ได้

ถ้าหากเกิดการอุดตันขึ้นภายในลำไส้ กากอาหาร ของเหลวและแก๊สจะเกิดขึ้นในบริเวณที่เกิดการอุดตัน ถ้าหากมีเเรงดันมากเพียงพอ ลำไส้อาจแตกออกได้ ทำให้มีเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายรั่วไหลออกจากลำไส้เข้าสู่ช่องท้องได้ ซึ่งก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายตามมาได้

มีปัจจัยหลายอย่างที่ก่อให้เกิดการอุดตันในลำไส้ได้ โดยส่วนใหญ่เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นการวินิจฉัยโรคและการรักษาโดยเร็วที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากปล่อยให้เกิดลำไส้อุดตันเเละไม่ทำการรักษาสามารถทำให้เสียชีวิตได้

Intestinal Obstruction

อาการลำไส้อุดตัน

ลำไส้อุดตันทำให้เกิดอาการไม่สบายหลายอย่างตามมาได้แก่

  • ท้องอืดอย่างรุนเเรง
  • ปวดท้อง
  • น้ำย่อยลดลง 
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ไม่สามารถผายลมหรือขับอุจจาระได้
  • ท้องผูก
  • ท้องเสีย
  • ท้องเป็นตะคริวอย่างรุนเเรง
  • ท้องบวม

บางอาการขึ้นอยู่กับตำแหน่งและระยะเวลาที่เกิดการอุดตัน ตัวอย่างเช่นการอาเจียนเป็นสัญญาณแรกของลำไส้เล็กอุดตัน 

อาการนี้สามารถเกิดขึ้นเมื่อลำไส้ใหญ่อุดตันได้เช่นกัน ถ้าหากอาเจียนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การอุดตันของลำไส้บางส่วนส่งผลทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ ในขณะที่การอุดตันลำไส้ทั้งหมดทำให้ไม่สามารถขับถ่ายอุจจาระหรือแก๊สในลำไส้ออกมาได้ 

นอกจากนี้ลำไส้อุดตันอาจเกิดจากการอักเสบหรือติดเชื้ออย่างรุนเเรงภายในช่องท้องเรียกว่า เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ซึ่งอาการนี้เกิดขึ้นเมื่อลำไส้แตกทำให้มีไข้และปวดท้องมากขึ้น อาการนี้เป็นภัยอันตรายต่อชีวิตและจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน

สาเหตุของลำไส้อุดตัน

การอุดตันของลำไส้อาจเกิดขึ้นเพียงบางส่วน ซึ่งสามารถหายเองได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่ถ้าหากเกิดการอุดตันในลำไส้ทั้งหมดจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

ภาวะลำไส้ตีบตัน

ภาวะลำไส้ตีบตันเกิดขึ้นเมื่อมีบางส่วนของลำไส้เกิดการอุดตัน ถ้าหากเกิดขึ้นในลำไส้เล็กจะมีอาการดังต่อไปนี้ 

  • เกิดพังผืดในลำไส้ ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อไฟบรัสที่สามารถเกิดขึ้นได้ในช่องท้องหลังจากการผ่าตัดหรือการติดเชื้ออย่างรุนเเรง
  • ไส้บิดเกลียวหรือลำไส้บีบพันเป็นเกลียว
  • โรคลำไส้กลืนกัน “เกยกัน” หรือเสียบเข้าไปในส่วนใดส่วนหนึ่งของลำไส้ที่อยู่ถัดจากกัน
  • การทำงานผิดปกติของลำไส้ โดยส่วนใหญ่มักพบในเด็กแรกเกิด แต่สามารถเกิดขึ้นกับเด็กโตหรือวัยรุ่นได้เช่นกัน
  • มีเนื้องอกภายในลำไส้เล็ก
  • นิ่วในถุงน้ำดีเป็นสาเหตุที่พบได้น้อย
  • การกลืนวัตถุเข้าไป มักเกิดขึ้นกับเด็ก
  • ไส้เลื่อนหมายถึงมีส่วนหนึ่งของลำไส้หลุดออกมาอยู่ด้านของร่างกายหรือลำไส้กลายเป็นอีกส่วนหนึ่งของร่างกาย
  • โรคที่ทำให้ลำไส้อักเสบเช่น โรคโคร์หน

แม้ว่าพบได้น้อยมากที่อาจเกิดภาวะตีบตันในลำไส้ใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นได้เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • การอุดตันของอุจจาระ 
  • เกิดพังผืดจากการติดเชื้อที่อุ้งเชิงกรานหรือการผ่าตัด
  • โรคมะเร็งรังไข่
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ภาวะอุดกั้นจากก้อนขี้เทาในเด็กทารกเกิดใหม่ (ก้อนขี้เทากลายเป็นอุจจาระของเด็กเเรกเกิด)
  • ลำไส้บิดเกลียวหรือลำไส้กลืนกัน
  • โรคถุงผนังลำไส้อักเสบหมายถึงการอักเสบหรือติดเชื้อบริเวณผนังลำไส้
  • การตีบตันของลำไส้ ที่ทำให้ลำไส้ส่วนโคลอนตีบลง ซึ่งเกิดจากแผลหรือการติดเชื้อ

ภาวะลำไส้อืด

ลำไส้เล็กเเละลำไส้ใหญ่ทำงานสอดคล้องกันเเละบีบตัวเป็นจังหวะ ถ้าหากมีสิ่งใดที่มารบกวนการบีบตัวของลำไส้ อาจเป็นสาเหตุทำให้ลำไส้เกิดการตีบตันได้ โดยปกติภาวะนี้เรียกว่าภาวะลำไส้อืด ถ้าหากภาวะลำไส้อืดเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเรียกว่าลำไส้เป็นอัมพาต สำหรับภาวะลำไส้อืดที่เกิดขึ้นแบบเรื้อรังเรียกว่าภาวะลำไส้บีบตัวไม่สัมพันธ์กัน

สาเหตุของลำไส้อืดได้แก่ :

  • ความผิดปกติหรือการผ่าตัดอุ้งเชิงกราน
  • การติดเชื้อที่กระเพาะอาหารหรือไส้ติ่ง
  • การใช้ยาบางชนิดเช่นกลุ่มยาระงับปวดโอปิออยด์
  • ความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์

ลำไส้อุดตันเรื้อรังมีสาเหตุเกิดจากโรคดังต่อไปนี้

  • โรคพากินสันและโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง รวมถึงความผิดปกติเกี่ยวกับเส้นประสาทหรือกล้ามเนื้อชนิดอื่นๆ
  • โรคลำไส้ใหญ่โป่งพองเป็นความผิดปกติเกี่ยวกับการขาดเเคลนเส้นประสาทที่ทำงานในลำไส้ใหญ่บางส่วนในเด็กทารกแรกเกิด
  • ความผิดปกติที่ทำให้เส้นประสาทบาดเจ็บเช่นโรคเบาหวาน
  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติเช่นทำงานมากหรือน้อยเกิดไป

โรคลำไส้ตันในเด็กทารก

โดยปกติภาวะลำไส้อุดตันในเด็กทารกมักทำให้เกิดการติดเชื้อและโรคเกี่ยวกับอวัยวะ รวมถึงการหมุนเวียนเลือดภายในลำไส้ลดลงเนื่องจากลำไส้เกิดการบีบรัด ในเด็กบางรายอาจเคยมีอาการไข้หวัดลงกระเพาะ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อในลำไส้  

ภาวะลำไส้กลืนตัวเองพบได้มากที่สุดในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อส่วนหนึ่งของลำไส้เกิดการเกยกันหรือทับกับอีกส่วนส่งผลให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน

ภาวะลำไส้อุดตันชนิดใดก็ตามทำการวินิจฉัยได้ยากเมื่อเกิดขึ้นกับเด็กทารกเนื่องจากไม่สามารถระบุอาการได้ ดังนั้นพ่อและแม่ต้องสังเกตุความเปลี่ยนแปลงและอาการที่สามารถบ่งบอกถึงการเกิดภาวะลำไส้อุดตันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีตัวอย่างของอาการดังต่อไปนี้

  • ท้องบวม
  • งอเข่าชิดหน้าอก
  • ง่วงซึมอย่างรุนเเรง
  • มีไข้
  • ร้องเสียงดัวด้วยความเจ็บปวด
  • ขับถ่ายอุจจาระที่มีเลือดปนหรืออุจจาระที่ขับออกมามีลักษณะคล้ายเจลลี่
  • ร้องไห้เสียงดัง
  • อาเจียนออกมามีลักษณะที่คล้ายกับน้ำดี ซึ่งมีสีเขียวเหลือง
  • มีสัญญาณของร่างกายอ่อนล้า

ถ้าหากคุณสังเกตุพบอาการเหล่านี้หรือมีความเปลี่ยนแปลงอื่นๆเกิดขึ้นกับลูกของคุณ ควรไปพบเเพทย์ทันที

การรักษาภาวะลำไส้อุดตัน

การรักษาขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดการอุดตันในลำไส้และความรุนเเรง ทั้งนี้ไม่ควรพยายามรักษาอาการลำไส้อุดตันด้วยตนเองที่บ้าน สำหรับวิธีการรักษาลำไส้อุดตันที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับประเภทของการเกิดลำไส้อุดตัน

สำหรับการอุดตันของลำไส้บางส่วนหรือภาวะลำไส้อืดจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีพักลำไส้เเละให้เกลือแร่ทางหลอดเลือดดำ การพักลำไส้หมายถึงการไม่ทานอาหารหรือดื่มน้ำในระหว่างทำการรักษา ถ้าหากทราบสาเหตุของภาวะลำไส้อุดตัน แพทย์จะทำการรักษาด้วยเช่นกัน

การรักษาภาวะขาดน้ำเป็นสิ่งสำคัญ แพทย์จะให้น้ำเกลือเพื่อทำให้เกิดความสมดุลของสารอิเล็กโทรไลต์ และใช้ท่อเจาะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะเพื่อระบายของเหลวออก

การสอดท่อเข้าไปผ่านจมูกลงสู่ลำคอ กระเพาะอาหารและลำไส้เพื่อบรรเทาอาการดังต่อไปนี้

  • ความดัน
  • บวม
  • อาเจียน

ถ้าหากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการทานยา narcotic ที่นำมาใช้เพื่อระงับอาการเจ็บปวด แพทย์จะให้ยาชนิดอื่นที่ลดผลกระทบจากการออกฤทธิ์ยา narcotic ที่ลำไส้

การผ่าตัดจำเป็นต้องทำเมื่ออาการลำไส้อุดตันรุนเเรงมากขึ้น โดยปกติการรักษาด้วยการผ่าตัดจำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยผู้ป่วยจะได้รับน้ำเกลือเข้าทางเส้นเลือดดำเพื่อบรรเทาอาการขาดน้ำและป้องกันภาวะช็อกในระหว่างการผ่าตัด

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากลำไส้อุดตันสามารถเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานเเละทำให้เกิดความเสียหายที่ลำไส้ได้ สำหรับในกรณีนี้ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อนำส่วนของลำไส้เน่าออกและนำเนื้อเยื่อที่มีสุขภาพดีเย็บติดเข้าด้วยกัน

ในขณะที่การใช้ยารักษาไม่สามารถบรรเทาอาการลำไส้อุดตันได้ แต่การใช้ยาช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ จนกระทั่งผู้ป่วยได้รับน้ำเกลือ โดยตัวอย่างของยาที่แพทย์นำมาใช้รักษาผู้ป่วยได้แก่ 

  • ยาปฏิชีวนะเพื่อบรรเทาการติดเชื้อ
  • ยาต้านอาเจียนเพื่อทำให้ไม่อาเจียน
  • ยาบรรเทาอาการปวด

คุณไม่ควรเพิกเฉยกับภาวะลำไส้อุดตันหรือพยายามรักษาอาการของลำไส้อุดตันด้วยตนเองที่บ้าน

บทสรุป

หากปล่อยให้เกิดภาวะลำไส้อุดตันและไม่รักษาสามารถทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่เกิดการอุดตันตายได้หรือลำไส้เน่าได้ ซึ่งก่อให้เกิดรูหรือมีเชื้อที่อันตรายออกจากลำไส้ เป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้ออย่างรุนเเรงในช่องท้อง

สำหรับภาพรวมของการรักษาภาวะลำไส้อุดตันขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยส่วนใหญ่ภาวะลำไส้อุดตันสามารถรักษาได้ อย่างไรก็ตามภาวะลำไส้อุดตันที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆเช่นโรคมะเร็งจำเป็นต้องสังเกตุอาการเเละใช้เวลาในการรักษายาวนาน


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/intestinal-obstruction/symptoms-causes/syc-20351460
  • https://www.webmd.com/digestive-disorders/what-is-bowel-obstruction
  • https://medlineplus.gov/intestinalobstruction.html

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team 

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
ไตอักเสบ

ไตอักเสบ (Glomerulonephritis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.