ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disability) : อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Diisablility) คือ สมองคนเหล่านั้นยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ หรือสมองได้รับบาดเจ็บ สมองจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติในเรื่องของสติปัญญาและการปรับตัว เมื่อก่อนทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า“ ภาวะปัญญาอ่อน” ความบกพร่องทางสติปัญญามี 4 ระดับ ดังนี้
  • ไม่รุนแรง
  • ปานกลาง
  • รุนแรง
  • รุนแรงมาก
บางครั้งสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้
  • อื่นๆ
  • ไม่สามารถระบุได้
ความบกพร่องทางสติปัญญาเกี่ยวข้องกับไอคิวต่ำ และปัญหาในการปรับตัวให้เข้ากับชีวิตประจำวัน และยังอาจมีปัญหาในการพูดสนทนา การปรับตัวเข้าสังคม และอื่นๆ มีการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่รุนแรงหลังคลอดไม่นาน อย่างไรก็ตามผู้ปกครองก็อาจจะไม่ทราบว่าบุตรหลานมีความบกพร่องทางสติปัญญา จนกว่าจะรู้ว่าไม่สามารถพัฒนาสติปัญญาและร่างกายได้ตามพัฒนาการของเด็กที่ควรเป็น และส่วนมากมักวินิจฉัยพบความบกพร่องทางสติปัญญาเมื่อผู้ป่วยอายุเข้า 18 ปี

อาการของความบกพร่องทางสติปัญญา

อาการของการบกพร่องทางสติปัญญานั้นมีหลากหลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับการสูญเสียของเด็ก อาการเหล่านี้ได้แก่
  • ความล้มเหลวในพัฒนาการด้านสติปัญญา
  • นั่งคลานหรือเดินช้ากว่าเด็กคนอื่น ๆ
  • ยากที่จะเรียนรู้การพูดจาให้ชัดเจน
  • มีปัญหาความจำ
  • ไม่สามารถเข้าใจเหตุ และผล
  • ไม่สามารถคิดอย่างมีเหตุผล
  • พฤติกรรมเด็กไม่สอดคล้องกับอายุจริง
  • ไม่มีความสนใจ ใฝ่รู้
  • มีปัญหาการเรียนรู้
  • มีไอคิวต่ำกว่า 70
  • ชีวิตไม่เป็นอิสระ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการสื่อสารดูแลตัวเอง หรือปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
หากบุตรหลานมีความบกพร่องทางสติปัญญา จะมีนิสัยดังต่อไปนี้
  • ก้าวร้าว
  • ต้องการความช่วยเหลือ
  • ออกจากกิจกรรมทางสังคม
  • เรียกร้องความสนใจ
  • ภาวะซึมเศร้าในช่วงวัยรุ่น
  • ขาดการควบคุมแรงกระตุ้น
  • เฉยเมย
  • มักจะทำร้ายตัวเอง
  • ดื้อรั้น
  • ไม่นับถือตนเอง
  • ความอดทนต่ำ
  • โรคจิต
  • ไม่มีสมาธิ
บางคนที่บกพร่องทางสติปัญญาจะมีลักษณะทางกายภาพที่เฉพาะเจาะจง อาจจะเป็นส่วนสูงที่เตี้ย หรือใบหน้าที่ผิดรูป

ระดับของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา

แบ่งออกเป็น 4 ระดับ โดยพิจารณาจาก IQ และระดับการปรับตัวทางสังคม

ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาที่ไม่รุนแรง

อาการประกอบไปด้วย
  • ใช้เวลาเรียนรู้ที่จะพูดนานขึ้น แต่สื่อสารได้ดีขึ้น เมื่อเข้าใจ
  • เมื่ออายุมากขึ้น สามารถที่จะดูแลตัวเองได้
  • มีปัญหาในการอ่านและเขียน
  • ไม่บรรลุนิติภาวะ
  • ไม่มีความรับผิดชอบในการแต่งงาน หรือเลี้ยงดูบุตร
  • สามารถเรียนรู้ได้จากการศึกษาเฉพาะทาง
  • ระดับไอคิวอยู่ระหว่าง 50 – 69

ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง

อาการประกอบไปด้วย
  • มีความเข้าใจ และเรียนรู้ใช้ภาษาได้ช้า
  • มีปัญหาในการสื่อสาร
  • สามารถเรียนรู้ทักษะการอ่านการเขียน และการนับขั้นพื้นฐานได้
  • ต้องการความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง
  • เดินทางไปยังสถานที่คุ้นเคยด้วยตัวเองได้
  • สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมได้
  • ระดับไอคิวอยู่ระหว่าง 35 – 49

ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรง

อาการประกอบไปด้วย
  • มีปัญหาทางกายภาพอย่างชัดเจน
  • มีพัฒนาการของระบบประสาทส่วนกลางที่ผิดปกติ
  • ระดับไอคิวอยู่ระหว่าง 20 – 34

ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรงมาก

อาการประกอบไปด้วย
  • ไม่สามารถเข้าใจหรือปฏิบัติตามคำบอกได้
  • ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
  • ต้องสื่อสารด้วยอวัจนะภาษาขั้นพื้นฐาน
  • ไม่สามารถดูแลตัวเองได้อย่างอิสระ
  • ต้องการความช่วยเหลือและการดูแลจากคนรอบข้าง
  • ระดับไอคิวต่ำกว่า 20

ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาอื่นๆ

ผู้บกพร่องทางสติปัญญาประเภทนี้มีความบกพร่องทางร่างกาย การสูญเสียการได้ยิน การบกพร่องในการพูด หรือมีความพิการทางร่างกาย 

ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาที่ไม่สามารถระบุได้

ผู้ป่วยมีอาการบกพร่องทางสติปัญญา แต่ข้อมูลไม่เพียงพอที่แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นผู้บกพร่องทางสติปัญญาได้

ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาเกิดจากอะไร

ไม่ใช่ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาทุกประเภทที่จะสามารถระบุสาเหตุได้ สาเหตุโดยทั่วไปมีดังนี้
  • เด็กได้รับบาดเจ็บก่อนคลอด เช่น การติดเชื้อ หรือการสัมผัสกับแอลกอฮอล์ ยาหรือสารพิษอื่น ๆ
  • เด็กได้รับบาดเจ็บระหว่างการคลอด เช่น การขาดออกซิเจน หรือการคลอดก่อนกำหนด
  • ความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคฟีนิลคีโตนูเรีย (PKU) หรือโรค Tay-Sachs
  • ความผิดปกติของโครโมโซม เช่น ดาวน์ซินโดรม
  • สารตะกั่วหรือสารปรอท
  • การขาดสารอาหารอย่างรุนแรงหรือปัญหาด้านโภชนาการ
  • อาจมีอาการไอกรน โรคหัด หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ได้รับบาดเจ็บที่สมอง

การรักษาภาวะบกพร่องทางสติปัญญา

เด็กๆ ที่บกพร่องทางสติปัญญานั้นต้องการคำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้พวกเขารับมือกับความบกพร่องเหล่านี้ได้ ผู้ปกครองจะได้รับแผนการรักษาสำหรับครอบครัวที่เหมาะสมกับเด็กๆ แผนดังกล่าวจะระบุแนวทางการช่วยพัฒนาเด็กๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของครอบครัว เมื่อเด็กๆ พร้อมที่จะเข้าโรงเรียนการศึกษาเฉพาะทาง แผนการรักษาจะถูกนำมาใช้ เพื่อช่วยให้พวกเขามีความได้รับประโยชน์จากการศึกษาพิเศษนี้ เป้าหมายหลักของการรักษา คือ ช่วยให้เด็กๆ ได้บรรลุเป้าหมายดังต่อไปนี้
  • การศึกษา
  • การเข้าสังคม
  • การใช้ชีวิตประจำวัน
การรักษาประกอบไปด้วย
  • พฤติกรรมบำบัด
  • กิจกรรมบำบัด
  • การให้คำปรึกษา
  • ยา

สัญญาณของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา 

โดยปกติแล้วยิ่งระดับความพิการทางสติปัญญารุนแรงมากเท่าใดก็จะสามารถสังเกตเห็นสัญญาณได้เร็วเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยังยากที่จะบอกได้ว่าเด็กเล็กจะได้รับผลกระทบอย่างไรในชีวิตต่อไป มีสัญญาณหลายอย่างของความบกพร่องทางสติปัญญา ตัวอย่างเช่น เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาอาจ:
  • นั่ง คลาน หรือเดินช้ากว่าเด็กคนอื่นๆ
  • เรียนรู้ที่จะพูดคุยในภายหลังหรือมีปัญหาในการพูด
  • ไม่สามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
  • มีปัญหาในการทำความเข้าใจกฎทางสังคม
  • มีปัญหาในการมองเห็นผลลัพธ์ของการกระทำของพวกเขา
  • มีปัญหาในการแก้ปัญหา

7 เคล็ดลับในการอยู่ร่วมกับผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา

  1. อย่าเรียกพวกเขาว่าเด็ก
  1. ใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และพยายามพูดช้าลง ไม่ดังขึ้น 
  1. ตั้งความคาดหวัง ผู้ป่วยจำเป็นต้องรู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น ขณะที่คุณดำเนินการตามขั้นตอน ให้อธิบายสิ่งที่คุณจะทำในตอนนี้ และบางทีอาจถึงหนึ่งหรือสองขั้นตอนถัดไปที่จะตามมาด้วย
  1. ปฏิบัติต่อพวกเขาเหมือนที่คุณปฏิบัติต่อคนรอบข้าง อย่าพูดดูถูกพวกเขา พวกเขาชอบมุกตลก หยอกล้อ หรือท้าทายเหมือนกับเรา
  1. วาดขอบเขตอย่าปล่อยให้พวกเขาหนีไปกับพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่นเดียวกับที่คุณไม่อนุญาตให้คนที่ไม่มีความบกพร่องทางสติปัญญาประพฤติตัวไม่ดี
  1. ถามความคิดของพวกเขาและปล่อยให้พวกเขาตอบ อย่าตอบแทนผู้ป่วย
  1. ถามว่าคุณสามารถช่วยพวกเขาได้หรือไม่ก่อนที่จะลงมือทำและสมมติว่าพวกเขาต้องการความช่วยเหลือจริง ๆ

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/parenting/baby/intellectual-disability-mental-retardation#1
  • https://www.cdc.gov/ncbddd/developmentaldisabilities/facts-about-intellectual-disability.html
  • https://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/developmental-disabilities/Pages/Intellectual-Disability.aspx
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK332877

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด