แมลงกัดต่อย (Insect Bites and Stings) : อาการ สาเหตุ การรักษา

แมลงกัดต่อย (Insection Bites and Stings) คือเหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนเนื่องจากในประเทศไทยเราเป็นประเทศเขตร้อนทำให้มีสัตว์จำพวกแมลงค่อนข้างชุกชุมและหลากหลาย ปฎิกริยาจากการโดนแมลงกัดจะแตกต่างกันออกไป หากไม่มีอาการแพ้มากเมื่อโดนแมลงกัดอาจเป็นแค่ตุ่มแดง ทายาก็จะหายได้

อาการของแมลงสัตว์กัดต่อย

การตอบสนองจากการโดนแมลงหรือแมงกัด ต่อยมีมากมายหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับปัจจัยที่หลากหลาย ผลที่พบเห็นได้ทั่วไปส่วนใหญ่คือ:

ผิวหนังอาจเกิดรอยแผลและเริ่มมีการติดเชื้อ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม การติดเขื้อทั่วๆไปอาจกลายเป็นการติดเชื้อที่รุนแรงและอาจเป็นสาเหตุของโรคที่เรารู้จักกันดีว่าโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ

ผู้ป่วยบางคนอาจเคยประสบกับปฏิกิริยารุนแรงอย่างทันทีหลังโดนแมลงกัดต่อยหากผู้ป่วยมีอาการแพ้ต่อการกัดต่อยจากแมลงนั้นๆ ที่รู้จักในภาวะแพ้ชนิดรุนแรง อาการรุนแรงต่างๆเช่น:

    • ลมพิษ

    • หายใจมีเสียงวี๊ด

    • หายใจสั้น ถี่

    • หมดสติ

    • เสียชีวิตภายใน 30 นาที

  • การโดนแตนขนาดใหญ่ต่อยหรือผึ้งต่อย(เป็นร้อยเป็นพันตัว) ก็เคยมีรายงานว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อล้มเหลวและเกิดภาวะไตวาย และเสียชีวิตได้

  • อาการที่เกิดจากโดนมดคันไฟกัดมักจะเกิดตุ่มหนองหรือตุ่มเจ็บขึ้น ซึ่งมักทำให้คันและปวดมาก

  • หากโดนแมงมุมสันโดษสีน้ำตาลกัดอาจทำให้เกิดแผลพุพองและเป็นแผลเน่าเนื้อตาย ในขณะที่หากโดนแมงมุมแม่ม่ายดำกัดจะเกิดอาการเกี่ยวกับระบบทางร่างกายมากกว่า เช่น:

  • มดกัดมักมีอาการให้เห็นเป็นจุดเดี่ยวๆหรือเป็นกระจุกเล็กๆ และบริเวณที่โดนกัดอาจเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำเล็กๆขึ้นมาได้

ในช่วงเวลาสองสามปีที่ผ่านมา นักวิจัยค้นพบว่าการโดนเห็บกัด (จากเห็บ lone star) สามารถก่อให้เกิดการตอบสนองต่อการแพ้เนื้อแดง (เช่นเนื้อวัว เนื้อหมูและเนื้อกวาง)และนม

สาเหตุของแมลงกัดต่อย

ตามปกติแล้วนั้นแมลงทุกชนิดจะไม่โจมตีมนุษย์ก่อนยกเว้นถูกยั่วยุหรือกระตุ้น การกัดและต่อยคือการป้องกันตัวชนิดหนึ่ง แมลงกัดต่อยเพื่อปกป้องรังหรือที่อยู่ของมันเมื่อมีอะไรเข้ามาสัมผัสหรือเข้ามารบกวน (ดังนั้นจึงไม่ควรไปเข้าใกล้หรือรบกวนรังผึ้งหรือรังต่างๆเด็ดขาด)

การกัดหรือต่อยแมลงจะปล่อยพิษที่ประกอบไปด้วยโปรตีนและสารบางตัวที่ไปกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ในตัวเหยื่อขึ้นมา การกัดต่อยเป็นสาเหตุทำให้เกิดรอยแดงและบวมตรงบริเวณที่ถูกกัดต่อย

ผึ้ง, ตัวต่อ, แตน, ต่อเสื้อคลุมเหลือง (yellow jackets) และมดคันไฟ คือแมลงในตระกูลอันดับ Hymenoptera การถูกแมลงตระกูล Hymenoptera นี้กัดหรือต่อยอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงต่อคนที่แพ้พวกมันได้ พบว่ามีการเสียชีวิตจากการถูกผึ้งต่อยมากกว่าถูกงูกัดเสียชีวิตถึง 3ใน4ครั้ง  การถูกผึ้ง ตัวต่อและมดคันไฟกัดต่อยให้ผลเกิดการบาดเจ็บต่อร่างกายแตกต่างกัน

  • เมื่อผึ้งต่อย มันจะปล่อยตัวฉีดพิษ(เหล็กไน)ของมันทิ้งไว้ และตัวผึ้งก็จะตายไปตามกระบวนกา

  • ตัวต่อจะสามารถต่อยทำความเสียหายได้หลายครั้งเพราะตัวต่อจะไม่สลัดตัวฉีดพิษทิ้งหลังจากมันต่อย

  • มดคันไฟจะฉีดพิษของพวกมันโดยใช้จงอยปากของพวกมัน (ส่วนขากรรไกรล่าง) และหมุนตัวเอง พวกมันสามารถปล่อยพิษซ้ำได้หลายครั้ง

  • นอนผีเสื้อกลางคืน หรือ Megalopyge opercularis ตัวของมันจะมี “ขน” ปุกปุยหรือเงี่ยง (เดือย) ที่แตกออกได้เมื่อไปสัมผัสโดน และสารพิษจะถูกฉีดเข้าไปสู่ร่างกาย

  • ในทางกลับกัน การโดนยุงกัดไม่ได้เกิดจากการป้องกันตัว เพราะยุงมากัดเราเพราะต้องการเลือดเราเป็นอาหาร

โดยปกติแล้วนั้นการโดนยุงกัดไม่ได้เป็นสาเหตุของอาการเจ็บป่วยแบบมีนัยสำคัญหรือก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้เว้นเสียแต่ว่ายุงนั้นๆเป็นพาหะของโรคหรือนำเอาเชื้อที่ทำให้เกิดโรคมาด้วย ยกตัวอย่างเช่น:

      • โรคมาลาเรีย ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อโรคที่อยู่ในวงจรชีวิตของยุงสายพันธุ์หนึ่ง

      • ไข้เวสต์ไนล์คือโรคอีกชนิดหนึ่งที่แพร่เชื้อโดยยุง ยุงหลายสายพันธุ์ที่แพร่เชื้อให้เกิดโรคไวรัสอื่นๆเช่น

      • ไข้สมองอักเสบ

      • โรคไข้ซิกา Zika virus (ที่สงสัยว่าอาจเป็นเหตุให้เกิดภาวะศีรษะเล็ก)

      • ไข้เลือดออก

      • ไข้เหลืองในคนและสัตว์

ยังมีแมงหรือแมลงชนิดอื่นๆที่มากัดเพื่อกินเลือดเป็นอาหารและส่งผลให้เกิดโรคที่อาจมาจากการแพร่เชื้อโรค เช่น:

  • โรคไข้กลับซ้ำชนิดระบาดเกิดจากโดนแมลงปรสิตเล็กๆ เหา หมัด โลนไรกัด ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียกลุ่มสไปโรคีท.
  • โรคลิชมาเนีย เป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัวลิชมาเนีย ที่มีตัวริ้นฝอยทรายที่มีเชื้อกัด
  • โรคไข้เหงาหลับ (Sleeping sickness) ในคนและในโรคของวัวพบได้แพร่หลายในแอฟริกา และเป็นที่รู้กันดีว่ามีสาเหตุมาจากเชื้อโปรโตซัวทริพาโนโซม (protozoan trypanosomes) ที่ส่งผ่านเชื้อจากการโดนแมลงวันซีทซี ฟาย (tsetse flies) กัด
  • โรคทูลารีเมียหรือโรคไข้กระต่าย เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียที่แพร่เชื้อจากการถูกเหลือบกัด, โรคกาฬโรคต่อมน้ำเหลืองจากหมัด, โรคไข้รากสาดใหญ่ชนิดระบาดจากเหา
  • เห็บสามารถแพร่เชื้อทำให้เกิดโรคลายม์และอาการเจ็บป่วยอื่นๆเมื่อโดนพวกมันกัด เห็บจัดเป็นแมลงชนิดกินเลือดเป็นอาหารด้วยฃ
  • สัตว์กลุ่มแมงอื่นๆ เช่น ไรอ่อน(ชิกเกอร์), ตัวเรือด(เบดบั๊ก)และ ตัวไร เป็นสาเหตุอาการเฉพาะที่ที่สามารถหายได้เองและมักมีอาการบวมฃ
  • การโดนแมงมุมกัดชนิดร้ายแรง ซึ่งไม่ใช่โดนกัดจากแมลง อาจโดนแมงมุมแม่ม่ายดำหรือแมงมุมสันโดษสีน้ำตาลกัด เมื่อโดนแมงมุมกัดก็จะเกิดกลไกการป้องกันขึ้
แมลงและแมงชนิดอื่นๆก็สามารถแพร่เชื้อโรคได้โดยวิธีง่ายๆเช่น เชื้อซาลโมเนลลาติดได้โดยการสัมผัส ยกตัวอย่างเช่น ในสถานที่ที่ขาดสุขอนามัยเต็มไปด้วยแมลงวันก็สามารถแพร่เชื้อสู่คนให้เกิดการติดเชื้อในลำไส้ได้ (เช่นโรคไทฟอนด์, โรคบิดแบบมตัวและไม่มีตัว) โดยผ่านการปนเปื้อนในอาหารของคนและแพร่ต่อจากอาหารกลับไปสู่สิ่งปนเปื้อนเดิมเช่นอุจจาระ
Insect Bites and Stings

หากถูกแมลงสัตว์กัดต่อยควรไปพบแพทย์เมื่อไร

การเกิดลมพิษขึ้นเป็นอาการทางร่างกายส่วนใหญ่ที่พบได้ทั่วไป อาการที่ปรากฏคือผิวหนังจะขรุขระ หนาขึ้น เป็นจุดแดงๆและมีอาการคันมาก หากผื่นลมพิษที่เกิดขึ้นมีเพียงอาการทางร่างกายเพียงเท่านั้นไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ ผู้ป่วยสามารถรักษาตัวเองที่บ้านได้โดยการรับประทานยาแก้แพ้ แต่หากมีอาการอื่นๆร่วมเช่น หายใจสั้นถี่ และ/หรือมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์อย่างเร่งด่วน

หากผู้ป่วยประสบกับอาการที่ไม่ได้มีเพียงแค่อาการเฉพาะที่โดนกัดหรือต่อย (โดยเฉพาะหากเคยมีประวัติแพ้รุนแรงมาก่อน) ควรรีบพบแพทย์ทันที อาการเหล่านี้ (อาการทางร่างกายที่ส่งผลกระทบทั่วร่างกาย) อาจนำไปสู่ภาวะแอแนฟิแล็กซิส(ปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน)ที่อันตรายถึงแก่ชีวิตได้

หากพบว่าเมื่อถูกกัดหรือต่อยแล้วมีการติดเชื้อ (มีรอยแดงแบบมีหรือไม่มีตุ่มหนองก็ตาม รู้สึกร้อน มีไข้ หรือรอยแดงมีการแผ่กระจายไปทั่วร่างกาย) ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

หากคุณไม่ทราบว่าโดนแมลงชนิดไหนกัดหรือต่อย ควรเฝ้าสังเกตุบริเวณที่โดนกัดอย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการติดเชื้อ ควรปรึกษาแพทย์หากพบว่ามีแผลเปิดหรือแผลเปื่อย ซึ่งอาจเกิดจากการถูกแมงมุมมีพิษกัด

คนที่เคยมีประวัติแพ้ขั้นรุนแรงควรรีบไปพบแพทย์ในโรงพยาบาลใกล้บ้านในทันทีหลังโดนกัดหรือต่อยหากมีมีอาการอย่างที่เคยเป็นมาก่อน หรือในรายที่ไม่เคยมีประวัติแพ้รุนแรงมาก่อนก็ตามควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเช่นกันหากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้:

  • หายใจมีเสียงวี๊ด

  • หายใจถี่สั้น

  • เจ็บหรือแน่นหน้าอก

  • รู้สึกคอตีบตันหรือพูดหรือกลืนลำบาก

  • รู้สึกหน้ามืดหรืออ่อนแรง

  • มีการติดเชื้อ (หากพบว่าแผลมีการติดเชื้อและคุณยังไม่สามารถพบหมอได้ ให้ขอการดูแลจากทางโรงพยาบาลไปก่อน)

การวินิจฉัยแมลงสัตว์กัดต่อย

การวินิจฉัยแมลงสัตว์กัดต่อยมักดูจากประวัติ แพทย์จะทำการตรวจร่างกายเพื่อหาผลกระทบจากแมลงสัตว์กัดต่อยว่ามีผลอย่างไรกับส่วนต่างๆของร่างกายบ้าง หากคุณสามารถนำชิ้นส่วนหรือตัวอย่างของแมลงที่กัดต่อยมาด้วยได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยและการรักษา และแพทย์อาจตรวจดูผิวหนัง ตรวจระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือดและตรวจช่องปากเพื่อช่วยในการตัดสินใจในการวินิจฉัยและการรักษา

เพื่อระบุเชื้อโรคที่ถูกส่งต่อมาจากจากถูกแมลงหรือแมงกัดหรือต่อย อาจใช้วิธีตรวจเลือดเข้ามาช่วย จะสามารถช่วยในการวินิจฉัยได้ดีเช่นกัน (ยกตัวอย่างเช่น โรคลายม์, โรคไข้เวสต์ไนล์หรือโรคมาลาเรีย) เพื่อการรักษาจำเพาะเจาะจงจะได้เริ่มได้ในทันที

การดูแลตนเองที่บ้านเมื่อถูกแมลงสัตว์กัดต่อย

การรักษาขึ้นออยู่กับปฏิกิริยาตอบสนองจากการถูกกัดหรือต่อย หากพบว่ามีเพียงรอยแดงและปวดบริเวณที่ถูกกัดต่อย ใช้วิธีประคบเย็นช่วยรักษาได้ ทำความสะอาดบริเวณที่ถูกกัดต่อยด้วยสบู่และน้ำเพื่อกำจัดสิ่งที่ปนเปื้อนจากที่แมลงทิ้งไว้ออก (เช่นยุง) สิ่งที่แมลงทิ้งไว้อาจก่อให้เกิดบาดแผลต่อไปได้อนาคตหากไม่กำจัดออกไป ห้ามเกาบริเวณที่ถูกกัดต่อยเพราะอาจทำให้ผิวเป็นแผลและเกิดการติดเชื้อ การรีบประคบเย็นด้วยแผ่นความเย็นหรือน้ำแข็งทันทีสามารถช่วยลดอาการบวมได้

คุณอาจรักษาอาการคันบริเวณที่โดนกัดต่อยได้ด้วยยาแก้แพ้ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปได้เช่น ยาไดเฟนไฮดรามีน (เบนาดริล) ในรูปแบบของครีมหรือยาเม็ดรับประทาน. ยาทาโลชั่นคาลาไมน์ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการคันได้เช่นกัน

การรักษาแบบเฉียบพลันที่บ้านสำหรับการแพ้ขั้นรุนแรงควรมีติดบ้านไว้ คนที่เคยมีประวัติการแพ้ขั้นรุนแรงจากแมลงสัตว์กัดต่อยควรมีชุดอุปกรณ์แก้แพ้ติดบ้านไว้เสมอ ชุดอุปกรณ์นี้จะประกอบไปด้วยยาฉีดอิพิเนฟริน (ที่สามารถฉีดได้ด้วยตนเอง), สายรัดห้ามโลหิต,และยาแก้แพ้ ชุดอุปกรณ์ดังกล่าวควรอยู่ใต้คำแนะนำจากแพทย์ การรักษาควรตามผลการประเมินจากแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าการรักษาหายสนิทดีแล้ว

การรักษาแมลงสัตว์กัดต่อย

การรักษาแมลงสัตว์กัดต่อยขั้นรุนแรงควรทำการรักษาที่โรงพยาบาล การรักษาอาจเริ่มจากใช้ยาอิพิเนฟรินหรืออะดรีนาลีน (โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง), ยาแก้แพ้ (เบนาดริล), และสเตียรอยด์ (เป็นยาในตระกูลคอร์ติซอล) ด้วยวิธีการฉีดเข้าสู่ร่างกาย และรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากบาดแผล ในผู้ป่วยรายที่มีอาการรุนแรง อาจต้องให้ยาด้วยการฉีดยา ให้ออกซิเจนและใช้เครื่องติดตามหัวใจไปจนกว่าอาการจะเริ่มดีขึ้น

สำหรับแมลงสัตว์กัดต่อยที่นำเอาเชื้อโรคมาด้วย ขั้นต่อมาแพทย์จะต้องวินิจฉัยหาเชื้อเพื่อทำการรักษาต่อไป การรักษาเชื้อโรคจะขึ้นอยู่กับเชื้อโรคแต่ละชนิด แพทย์ควรวินิจฉัยโรคดังกล่าวเพื่อการวางแผนการรักษาต่อไปในโรคที่อาจเกิดขึ้นเช่น:

ในห้องฉุกเฉินคุณอาจได้คำแนะนำวิธีการใช้ชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินเพื่อสามารถนำมาใช้ได้อย่างถูกต้องหากเกิดแมลงกัดต่อยอีกในอนาคตที่อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

ผู้ป่วยอาจถูกส่งตัวไปยังแผนกภูมิแพ้เพื่อฉีดวัคซีนภูมิแพ้บำบัด หลังจากมีการตรวจสอบว่าแพ้พิษชนิดไหน แพทย์จะค่อยๆเพิ่มปริมาณพิษทีละน้อยเข้าสู่ร่างกาย การรักษาด้วยวิธีนี้จะสามารถช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาแพ้ครั้งต่อไปในอนาคตได้

การป้องกันแมลงสัตว์กัดต่อย

คุณสามารถลดโอกาสการสัมผัสกับแมลงสัตว์กัดต่อยได้โดยเพียงแค่เปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมและกิจกรรมที่ทำอยู่

  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญให้ทำการกำจัดหรือทำลายรังของแมลงหรือแมง ไม่ควรทำด้วยตนเอง

  • เรียนรู้การว่ายุงมักออกมาในช่วงเวลาโพล้เพล้ ช่วงรุ่งเช้า พลบค่ำในเวลาเย็นๆ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการออกไปทำกิจกรรมใดๆในช่วงเวลาดังกล่าว ควรสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาวและหมวกเพื่อให้เหลือพื้นที่ที่ปล่อยให้ผิวเปิดโล่งให้น้อยที่สุด เสื้อเชิ้ตแขนยาวควรใส่ทับไว้ในกางเกงด้วย

  • ใช้ยากันยุง บริเวณเสื้อผ้า รองเท้า มุ้งกันยุง เต็นท์และอุปกรณ์อื่นๆ

    • การใช้ยาไล่แมลงแบบใช้สาร Permethrin เคลือบ มีการแนะนำให้นำไปใช้กับเสื้อผ้า รองเท้า มุ้งกันยุงและอุปกรณ์แค้มป์ สาร Permethrin มีประสิทธิผลสูงในด้านฆ่าแมลงป้องกันแมลง (กำจัดเห็บและไร) สาร Permethrin บนเสื้อผ้าจะขับไล่และฆ่าเห็บ ยุงและสัตว์ขาปล้องชนิดอื่นๆและยังคงมีประสิทธิภาพแม้หลังการซัก และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

    • การใช้ยาฆ่าแมลงที่มี  DEET (N,N-diethylmetatoluamide) เป็นส่วนประกอบตามคำแนะนำไม่ควรมี DEET มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์หรือควรมีน้อยกว่านั้น เพราะถ้ามากกว่านั้นอาจส่งผลในการฆ่าแมลงได้ดีก็จริงแต่อาจเป็นอันตรายก่อให้เกิดสารพิษที่อาจเป็นเหตุให้เกิดโรคสมอง (สมองติดเชื้อ) ในเด็กได้ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำที่ข้างขวดเพื่อหลีกเลี่ยงสารพิษที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กหรือผู้ใหญ่

การป้องกันแมลงสัตว์กัดต่อยด้วยวิธีธรรมชาติ

การป้องกันแมลงสัตว์กัดต่อยตามธรรมชาติอาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงต่อโรคที่มีแมลงเป็นพาหะและความรู้สึกไม่สบายที่เกิดจากการถูกแมลงกัดต่อย ต่อไปนี้เป็นวิธีธรรมชาติในการป้องกันแมลงสัตว์กัดต่อย:
  • ใช้สารไล่แมลงตามธรรมชาติ:

      • น้ำมันหอมระเหย เช่น ตะไคร้หอม เลมอนยูคาลิปตัส ลาเวนเดอร์ และน้ำมันทีทรี มีคุณสมบัติไล่แมลงตามธรรมชาติ เจือจางน้ำมันเหล่านี้ 2-3 หยดในน้ำมันตัวพา (เช่น น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันมะกอก) แล้วทาลงบนผิวที่สัมผัสออก สมัครใหม่ตามความจำเป็น
      • น้ำมันสะเดาเป็นสารขับไล่ตามธรรมชาติอีกชนิดหนึ่งที่สามารถทาบนผิวหนังหรือเสื้อผ้าเพื่อยับยั้งแมลงได้
  • สวมชุดป้องกัน:

      • สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ถุงเท้า และรองเท้าปิดนิ้วเท้าเพื่อลดการสัมผัสผิวหนัง
      • เลือกเสื้อผ้าสีอ่อน เพราะแมลงมักชอบสีเข้มกว่า
      • เก็บกางเกงไว้ในถุงเท้าหรือรองเท้าบูทเพื่อป้องกันไม่ให้แมลงคลานขึ้นขา
  • ใช้มุ้งกันยุง:

      • เมื่อนอนกลางแจ้งหรือในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคที่มียุงเป็นพาหะ ให้ใช้มุ้งเพื่อสร้างแนวกั้นทางกายภาพระหว่างคุณกับแมลง
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง:

    • แมลงมักออกหากินในช่วงรุ่งเช้าและพลบค่ำ หากเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงเวลาเหล่านี้

การพยากรณ์โรคจากแมลงสัตว์กัดต่อย

คนส่วนใหญ่มักจะตอบสนองต่อการรักษาจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ดีทั้งแบบรักษาเองที่บ้านหรือรักษาฉุกเฉินที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยที่มีปฏิกิริยาแพ้ขั้นรุนแรง หรือผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้นจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการนอนโรงพยาบาลเพื่อการรักษาและเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด และอาจรุนแรงถึงขั้นถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

สำหรับคนที่เป็นโรคมาจากการปล่อยเชื้อของแมลงสัตว์กัดต่อย ต้องเฝ้าติดตามว่ามาจากเชื้อชนิดไหน หากวินิจฉัยได้รวดเร็วมากเท่าไรการรักษาและการดูแลก็รวดเร็วมากขึ้นเท่านั้น การเฝ้าติดตามหรือการพยากรณ์โรคอาจมีความแตกต่างกันมากตั้งแต่ดีจนแย่มากได้หากอวัยวะนั้นๆมีความเสียหายแบบถาวร

การถูกแมงมุมแม่ม่ายดำและแมงมุมสันโดษสีน้ำตาลกัด

การรักษาเมื่อถูกแมงมุมกัดขึ้นอยู่กับชนิดของแมงมุมที่ผู้ป่วยโดนกัดมาว่ารุนแรงมากแค่ไหน แมงมุมแม่ม่ายดำกับแมงมุมสันโดษสีน้ำตาลมีพิษที่ส่งผลกระทบที่แตกต่างกันออกไป แต่ทั้งคู่ต่างมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง ตัวอย่างด้านล่างมีไว้เพื่อการจำแนกแยกแยะชนิดของแมงมุมทั้งสองชนิด:

  • แมงมุมแม่ม่ายดำ (Latrodectus mactans) อาจมีสีดำหรือน้ำตาล (มีขากางออกเฉลี่ยประมาณหนึ่งถึงสองนิ้ว) มักมีรูปคล้ายนาฬิกาทรายสีแดงปรากฏอยู่บนท้อง

  • แมงมุมสันโดษสีน้ำตาล (Loxosceles reclusa) จะมีสีน้ำตาล ขากางประมาณหนึ่งนิ้ว มักมีลายคล้ายรูปร่างไวโอลินปรากฏอยู่บนหน้าอก

  • แมงมุมแม่ม่ายดำและแมงมุมสันโดษสีน้ำตาลมักพบเจอได้ในแถบอเมริกาเหนือและทั่วไปในโลก

ข้อเท็จจริงของแมลงกัดต่อย

การถูกแมลงกัดหรือต่อยถือเป็นเรื่องที่พบเห็นได้โดยทั่วไป ผลจากการถูกกัดต่อยมักจะมีรอยแดงและบวมในบริเวณที่ถูกกัดหรือต่อย แต่ในบางครั้งการถูกแมลงสัตวกัดต่อยก็อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้หากมีการแพ้เกิดขึ้น หรือหากแมลงนั้นเป็นพาหะนำเชื้อโรค(เช่น ไวรัส, แบคทีเรีย, หรือปรสิตเป็นต้น) สู่มนุษย์.

สัตว์ขาปล้องหรืออาร์โทรพอด คือแมลงที่อาศัยอยู่บนโลกนี้เป็นส่วนใหญ่และมี 6 ขา ปัจจุบันนี้พวกมันยึดครองพื้นที่บนพื้นดินมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น มีมากกว่าสามในสี่ของสัตว์ที่เรารู้จักทั้งหมด  แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีสิ่งมีชีวิตอีกหลายเผ่าพันธุ์ที่เรายังไม่รู้จักมากมาย และเฉลี่ยแล้วมีมากกว่า 10 ล้านชนิด

สายพันธุ์แบ่งตามลำดับที่เราพบเห็นจำนวนมากที่สุดคือ:

    • อันดับโคลีออฟเทอรา Coleoptera (ด้วงหรือแมลงปีกแข็ง)

    • อันดับเลพิดอปเทรา Lepidoptera (ผีเสื้อและผีเสื้อกลางคืน)

    • อันดับแตน Hymenoptera (มด, ผึ้ง, ตัวต่อ)

    • อันดับ Diptera (แมลงวัน)

แต่อย่างไรก็ตาม มนุษย์เรามักจะเรียกแมลงทุกชนิด ทั้งสัตว์ขาปล้อง และสัตว์ตัวเล็กๆที่กัดหรือต่อยเราว่าแมงหรือแมลงทั้งสิ้น เป้าหมายหลักของบทความนี้มีไว้เพื่อเป็นการอธิบายการโดนแมงหรือแมลงกัดต่อยโดยไม่ระบุชนิดเจาะจงแมงหรือแมลงโดยเฉพาะ บทความนี้จะอธิบายครอบคลุมแมงหรือแมลงที่เด่นๆที่มีการพบเห็นหรือมีปรากฏในประเทศสหรัฐอเมริกาในเร็วๆนี้ ไม่ครอบคลุมรวมไปถึงแมลงสัตว์กัดต่อยจากทั่วโลก


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/allergies/ss/slideshow-bad-bugs

  • https://www.nhs.uk/conditions/insect-bites-and-stings/

  • https://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-insect-bites/basics/art-20056593

  • https://kidshealth.org/en/teens/bug-bites.html


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด