ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia)  หากเป็นไม่มาก มักไม่มีอาการ ในบางคนอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจเต้นผิดปกติ และมีอาการล้าของกล้ามเนื้ออย่างมาก อาการเหล่านี้จะดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษา

โพแทสเซียม คือ สารที่สำคัญที่จะทำให้การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเป็นปกติ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ ไตมีหน้าที่ควบคุมระดับโพแทสเซียมในร่างกาย และขับโพแทสเซียมส่วนเกินออกจากร่างกายทางปัสสาวะและเหงื่อ

Hypokalemia

อาการขาดโพแทสเซียม

ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ หรืออาการขาดโพแทสเซียม หากเป็นไม่มาก มักไม่มีอาการ อันที่จริงผู้ป่วยจะมีเริ่มอาการเมื่อระดับโพแทสเซียมต่ำมาก (ระดับโพแทสเซียมในเลือดปกติจะอยู่ระหว่าง3.6–5.2 มิลลิโมล/ลิตร)

 แต่ควรรู้จักอาการของโพแทสเซียมในเลือดต่ำ หากมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์

โพแทสเซียมในเลือดต่ำกว่า 3.6 ถีอว่าต่ำ หากต่ำกว่า 2.5 มิลลิโมล/ลิตรถือว่าอันตรายถึงชีวิต และอาจมีอาการดังนี้

ในกรณีที่รุนแรงมาก หัวใจจะเต้นผิดจังหวะ  ซึ่งพบบ่อยในผู้ที่ใช้ยาดิจิตาลิส หรือมีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติอยู่แล้ว อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะเช่น

  • หัวใจห้องบนหรือห้องล่างเต้นพลิ้ว

  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ Tachycadia

  • หัวใจเต้นช้าผิดปกติ Bradycadia

  • หัวใจเต้นก่อนจังหวะ

อาการอื่นๆ เช่น ไม่อยากอาหาร คลื่นไส้ และอาเจียน

สาเหตุของภาวะโพแทสเซียมต่ำ

ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมได้มาก ทางปัสสาวะ,เหงื่อ และอุจจาระ การได้รับโพแทสเซียมไม่พอและระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ บ่อยครั้งที่พบว่าภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำเป็นอาการหรืออาการข้างเคียงจากภาวะอื่นๆและจากยา เช่น:

  • Bartter syndrome ความผิดปกติของไตแต่กำเนิดที่พบได้ยาก ทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ของเกลือและโพแทสเซียม

  • Gitelman syndrome  ความผิดปกติของไตแต่กำเนิดที่พบได้ยาก ที่ทำให้สมดุลย์ของไออนในเลือดเสียไป

  • Liddle syndrome โรคที่พบยาก ทำให้ความดันโลหิตสูงและโพแทสเซียมในเลือดต่ำ

  • Cushing syndrome โรคที่พบยาก เกิดจากมีคอร์ติโซลมากเป็นเวลานาน

  • รับประทานสารเช่น bentonite (โคลน) or glycyrrhizin (พบในชะเอมตามธรรมชาติและยาสูบชนิดเคี้ยว)

  • รับประทานยาขับปัสสาวะชนิดที่ขับโพแทสเซียม เช่นThiazides, ยาขับปัสสาวะชนิด loop และ osmotic

  • การใช้ยาระบายนานๆ

  • การใช้เพนนิซิลลินปริมาณมาก

  • ภาวะ diabetic ketoacidosis

  • เลือดจางจากการให้สารนำ้ทางเส้นเลือด

  • แมกนีเซียมในเลือดต่ำ

  • ปัญหาของต่อม adrenal

  • ขาดสารอาหาร 

  • การดูดซึมของอาหารน้อยลง

  • ภาวะไทรอยด์ทำงานมาก

  • โรคจิตจากการหยุดดื่มสุรากะทันหัน หลังจากดื่มมามากและนานหรือเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง

  • ภาวะเลือดเป็นกรดจากไต ชนิด1และ 2

  • ภาวะที่ catecholamine พุ่งสูง เช่น หัวใจวาย

  • ยา เช่นอินซูลิน และยากลุ่ม beta 2 agonists ซึ่งใช้ในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังและหอบหืด

  • พิษจากแบเรียม

  • ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำชนิด familial

การรักษาภาวะโพแทสเซียมต่ำ

ผู้ที่มีโพแทสเซียมในเลือดต่ำและมีอาการต่างๆ ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล และติดตามการเต้นของหัวใจเพื่อให้แน่ใจว่าการเต้นของหัวใจเป็นปกติ

การรักษาโพแทสเซียมในเลือดต่ำในโรงพยาบาล มีขั้นตอนดังนี้:

1. กำจัดที่สาเหตุ หากพบสาเหตุแพทย์จะรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสม เช่น แพทย์อาจสั่งยาที่ลดอาการท้องเสีย หรืออาเจียน หรือปรับเปลี่ยนยา

2. เพิ่มระดับโพแทสเซียม: โดยรับประทานอาหารเสริมโพแทสเซียม แต่การที่ระดับโพแทสเซียมในเลือดเพิ่มอย่างรวดเร็วทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการเช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ถ้าโพแทสเซียมในเลือดต่ำอย่างรุนแรง อาจต้องให้โพแทสเซียมผสมสารน้ำเข้าในหลอดเลือดดำ

3. เฝ้าสังเกตระดับโพแทสเซียมในเลือด ระหว่างที่อยู่ในโรงพยาบาลแพทย์หรือพยาบาลจะตรวจสอบระดับโพแทสเซียมในเลือดบ่อยครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าระดับโพแทสเซียมในเลือดไม่สูงเกินไป เพราะจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงเช่นกัน

หลังจากออกจากโรงพยาบาล แพทย์จะสั่งให้รับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง หากรับประทานอาหารเสริมโพแทสเซียมควรดื่มน้ำตามมากๆและรับประทานพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที และอาจต้องรับประทานอาหารเสริมแมกนีเซียมด้วย เพราะหากมีโพแทสเซียมในเลือดต่ำ มักจะมีแมกนีเซียมในเลือดต่ำด้วย

สรุป

ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำรักษาได้ การรักษาคือการรักษาเหตุที่ทำให้โพแทสเซียมในเลือดต่ำนั่นเอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่เรียนรู้ที่จะความคุมระดับโพแทสเซียมในเลือดโดยการปรับอาหารหรือรับอาหารเสริม

หากท่านมีอาการของโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ควรไปพบแพทย์ การวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่นๆจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นอัมพาต ระบบหายใจล้มเหลว และภาวะแทรกซ้อนของหัวใจ

ผลข้างเคียงของภาวะโพแทสเซียมต่ำ

ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำเป็นภาวะทางการแพทย์ที่มีระดับโพแทสเซียมในกระแสเลือดต่ำกว่าปกติ โพแทสเซียมเป็นอิเล็กโทรไลต์ที่จำเป็นซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำงานของร่างกายต่างๆ รวมถึงการหดตัวของกล้ามเนื้อ การทำงานของเส้นประสาท และการรักษาสมดุลของของเหลวและอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย เมื่อระดับโพแทสเซียมลดลงอย่างมาก อาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนและปัญหาสุขภาพหลายประการ ต่อไปนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ:
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงและเป็นตะคริว: โพแทสเซียมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของกล้ามเนื้ออย่างเหมาะสม ภาวะโพแทสเซียมต่ำอาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตะคริว และกระตุก ทำให้ทำกิจกรรมในแต่ละวันได้ยาก
  • จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ : ระดับโพแทสเซียมต่ำสามารถรบกวนกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจ และอาจนำไปสู่จังหวะการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอ (ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ) ภาวะรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • ความเหนื่อยล้าและความอ่อนแอ: ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำอาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้าและความอ่อนแอโดยทั่วไป ทำให้การออกกำลังกายหรือมีสมาธิเป็นเรื่องที่ท้าทาย
  • อาการท้องผูก: โพแทสเซียมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรักษาการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบของระบบทางเดินอาหาร ระดับโพแทสเซียมต่ำอาจทำให้ท้องผูกและปัญหาระบบทางเดินอาหารอื่นๆ
  • ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น: งานวิจัยบางชิ้นชี้ให้เห็นว่าภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำอาจมีส่วนทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ในบางคน
  • นิ่วในไต: ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต ซึ่งเป็นการสะสมของแร่ธาตุและเกลือที่แข็งตัวซึ่งสามารถก่อตัวในไตได้

ปัญหาระบบทางเดินหายใจ: การขาดโพแทสเซียมอย่างรุนแรงอาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อที่รับผิดชอบในการหายใจ ซึ่งอาจนำไปสู่ปั


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/digestive-disorders/hypokalemia

  • https://www.mayoclinic.org/symptoms/low-potassium/basics/causes/sym-20050632

  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17740-low-potassium-levels-in-your-blood-hypokalemia

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5881435/


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด