ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) : อาการ สาเหตุ การรักษา
ไทรอยด์เป็นพิษคืออะไร
โรคไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น มีผลกระทบต่อน้ำหนักตัวที่ลดลงอย่างผิดปกติ โดยต่อมไทรอยด์นั้นเป็นต่อมที่อยู่บริเวณลำคอที่ หน้าที่ของต่อมไทรอยด์คือการผลิตฮอร์โมนในการทำงานของร่างกาย เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะส่งผลกระทบต่อหัวใจทำให้หัวใจทำงานไม่เป็นปกติและผู้ป่วยจะมีอาการหงุดหงิดง่ายและฉุนเฉียว
อาการของไทรอยด์เป็นพิษ
อาการโรคไทรอยด์เป็นพิษนั้น ผู้ป่วยแต่ละคนจะแสดงอาการที่แตกต่างกันออกไป ในผู้ป่วยบางรายอย่างเช่นผู้สูงอายุนั้นอาจจะไม่แสดงอาการเลย หรือผู้ป่วยที่อาการไทรอยด์เป็นพิษไม่มาก ก็จะไม่เห็นอาการเด่นชัดเช่นกัน ในขณะที่บางคนอาการอาจจะรุนแรงมากจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ โดยอาการของคนเป็นไทรอยด์เป็นพิษจะแสดงอาการดังนี้ :
- อาการที่มีผลต่อระบบหัวใจ และหลอดเลือด ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรืออาจจะทำให้หัวใจล้มเหลวได้
- คอโต
- เหงื่อออกมาก ผมร่วง เล็บกร่อน
- นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
- ตาโปน เปลือกตาเปิดกว้าง
- ประจำเดือนมากระปิดกระปอย มีบุตรยาก
- น้ำหนักตัวลดลงผิดปกติ แต่ทานอาหารเท่าเดิม
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง มือสั่น
สาเหตุของโรคไทรอยด์เป็นพิษ
สาเหตุของไทรอยด์เกิดจากหลายสาเหตุ โดยทั่วไปแล้วจะเกิดจากการที่ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ฮอร์โมนไทรอยด์มีมากกว่าปริมาณที่ร่างกายมีความจำเป็นต้องใช้งาน และสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้;
- ภาวะแพ้ท้องอย่างรุนแรง
- เนื้องอกรังไข่สร้างฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป
- ไทรอยด์อักเสบจึงปล่อยฮอร์โมนที่เก็บไว้ออกมาเป็นจำนวนมากเกินความจำเป็น
- มีเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง ทำให้กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์
- การรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีนมากเกินไป
- ป่วยเป็นโรค Graves’s disease ส่งผลให้ร่างกาย หลั่งฮอร์โมนไทโรซีนมากเกินไปจนกลายเป็นพิษ
การวินิจฉัยโรคไทรอยด์
ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์และซักถามถึงประวัติทางการแพทย์โดยละเอียด ร่วมกับการสังเกตอาการทั่วไปของไทรอยด์ ดังนี้:
- ดวงตาโปนโต
- ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ
- ความดันโลหิตสูง
- ต่อมไทรอยด์โตผิดปกติ
- น้ำหนักลด
ร่วมกับการตรวจอื่น ๆ คือ
ตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์ T4, T3
โดยการตรวจนี้จะสามารถชี้ชัดได้ว่า หากค่าฮอร์โมน T4 และ T3 ผิดปกตินั่นหมายความว่าผู้ป่วยกำลังมีค่าไทรอยด์ที่เป็นพิษ
การตรวจระดับคอเลสตอรัล
แพทย์อาจจะเลือกทำการตรวจวัดระดับคอเลสตอรัลเพื่อดูค่าคอเลสตอรัลที่หากต่ำลงอาจจะมีผลเป็นเพราะร่างกายของผู้ป่วยมีอัตราการเผาผลาญสูง และมันอาจจะเป็นสัญญาณของไทรอยด์ทำงานผิดปกติ และมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
การตรวจอัลตราซาวน์ Ultrasound
การตรวจแบบ Ultrasounds เป็นการตรวจไทรอยด์ เพื่อการวัดขนาดของต่อมไทรอยด์ว่าใหญ่เกินขนาดปกติหรือไม่
การตรวจต่อมไทรอยด์
การใช้ MRI scan หรือ CT scan สามารถตรวจสอบความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่มีข้อสงสัยว่าอาจจะมีสาเหตุมาจากโรคอื่น ๆ เช่นมะเร็ง หรือเนื้องอกเป็นต้น
วิธีรักษาไทรอยด์เป็นพิษ
โรคไทรอยด์การรักษา มีหลากหลายวิธี ดังนี้ โดยการรักษาไทรอยด์เป็นพิษ อาจจะเริ่มต้นด้วยการรับประทานยา จนไปถึงการผ่าตัด โดยมีวิธีการรักษาแบ่งได้ดังนี้:
การรักษาด้วยยา
ยารักษาไทรอยด์เป็นพิษเป็นวิธีที่แพทย์เลือกใช้อย่างแพร่หลายก่อนวิธีอื่น ๆ การรับประทานยาต้านไทรอยด์ เช่น methimazole (Tapazole) ยาชนิดนี้ช่วยหยุดการสร้างฮอร์โมนของไทรอยด์ หรือยา Propylthiouracil (PTU) เป็นยาที่แพทย์เลือกใช้ โดยมีเงื่อนไขที่แพทย์จะกำหนด การใช้ยาของคนไข้ในแต่ละรายแตกต่างกันออกไป โดยแพทย์จะพิจารณาจากระดับฮอร์โมนไทรอยด์ของผู้ป่วย และผลข้างเคียงยาไทรอยด์ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น มีอาการคัน และผื่นขึ้น หรือในบางคนอาจจะส่งผลให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำได้
การผ่าตัด
แพทย์จะทำการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกไป โดยการผ่าตัดนี้จะใช้กับผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์และไม่สามารถรักษาด้วยยาได้ โดยผลข้างเคียงของการผ่าตัดนี้จะส่งผลให้เส้นเสียงและต่อมพาราไทรอยด์ได้รับความเสียหายได้ และผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาเพื่อทดแทนฮอร์โมนนี้ไปตลอดชีวิต นอกจากนี้ควรคำนึงถึงภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดไทรอยด์ เช่นแผลผ่าตัดติดเชื้อ เส้นเสียงทำงานไม่เป็นปกติ ดังนั้นหลังผ่าตัดควรเฝ้าดูอาการ 3-5 วันก่อนกลับบ้าน
การรักษาด้วยรังสี Radioactive iodine
แพทย์จะทำการจ่ายยาที่มีสารรังสีไอโอดีน ที่ไทรอยด์จะทำการดูดซึมสารนี้ และสารรังสีไอโอดีนจะเข้าไปทำลายเนื้อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์มีขนาดเล็กลง แต่วิธีนี้อาจจะส่งผลให้ไทรอยด์ทำงานผิดปกติโดยการผลิตฮอร์โมนออกมาไม่เพียงพอ แพทย์อาจจะให้ยาเสริมฮอร์โมนไทรอยด์ร่วมด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วการรักษาประเภทนี้จะเหมาะกับผู้สูงอายุ
ภาวะแทรกซ้อนเมื่อต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
ภาวะแทรกซ้อนของอาการไทรอยด์เป็นพิษจะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาให้ทันเวลา หากผู้ป่วยทราบอาการตั้งแต่เบื้องต้นและรักษา โอกาศน้อยมากที่ผู้ป่วยจะได้ประสบกับภาวะแทรกซ้อน โดยภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นมีดังนี้:
- อาการกระดูกเปราะ เมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาเป็นปริมาณมากเกินไป มันจะส่งผลต่อการดูดซึมแคลเซียมของกระดูก จึงมีผลกระทบทำให้เป็นกระดูกพรุน หรือเปราะได้
- โรคระบบหัวใจ อาการไทรอยด์เป็นพิษมักจะเกิดผลข้างเคียงกับระบบหัวใจเช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หัวใจสั่น หรือหัวใจวายได้
- ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์อาจจะส่งผลให้ครรภ์เป็นพิษ หรือแท้งลูกได้
- ภาวะไทรอยด์ต่ำกว่าปกติจากการรักษา ส่งผลทำให้เกิดโรคซึมเศร้า ท้องผูก เหนื่อยง่าย ผู้ป่วยสามารถรับประทานฮอร์โมนทดแทนเพื่อให้อาการเหล่านี้หายไป
-
นี่คือแหล่งที่มาของลิงค์บทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hyperthyroidism/symptoms-causes/syc-20373659
- https://www.webmd.com/a-to-z-guides/overactive-thyroid-hyperthyroidism
- https://www.nhs.uk/conditions/overactive-thyroid-hyperthyroidism
- https://www.niddk.nih.gov/health-information/endocrine-diseases/hyperthyroidism