หัวโต (Hydrocephalus) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
หัวโต
หัวโต หรือโรคหัวบาตร (Hydrocepphalus) คือมีน้ำไขสันหลัง (ที่ปกติจะหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง และร่างกายมีกลไกควบคุมน้ำไขสันหลังให้พอเหมาะ) มากเกินไป ทำให้สมองเสียหาย มีผลต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ และความฉลาดในเด็ก และจำเป็นต้องทำการรักษา โดย​ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดกับเด็ก และผู้อายุเกินหกสิบปี แต่บางครั้งเกิดกับคนอายุน้อยได้ ​ 

สาเหตุหัวโต

ปกติร่างกายสร้างน้ำไขสันหลังมาเพื่อหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังอย่างพอเหมาะ แต่มีบางกรณีที่ทำให้มีน้ำไขสันหลังมากไป เช่น
  • ถุงน้ำในสมอง
  • การดูดซึมน้อยลง
  • ​การสร้างน้ำไขสันหลังมากเกินปกติ ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง
  • เมื่อมีน้ำไขสันหลังมากไป ส่งผลให้น้ำไขสันหลังนี้เข้าไปกดสมอง เกิดการทำลายเนื้อสมองได้

เด็กหัวโตที่มาภาวะนี้ตั้งแต่ในครรภ์อาจมีสาเหตุมาจาก :

  • ความผิดปกติของพัฒนาการตั้งแต่ในครรภ์ คือ ช่องไขสันหลังไม่ปิด
  • ​ความผิดปกติทางพันธุกรรม
  • การติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์เช่น โรคหัดเยอรมัน
  • ​หรือความผิดปกติในวัยทารก เช่นการหัดเดินเป็นไปได้ช้า
  • ​การอักเสบของสมองและไขสันหลัง เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยเฉพาะในเด็ก
  • เลือดออกในสมองที่เกิดจากกระบวนการคลอด โดยเฉพาะในทารกที่เกิดก่อนกำหนด
  •  การบาดเจ็บของทารกก่อนคลอด ขณะคลอดและหลังคลอด
  •  ​ศีรษะได้รับการกระทบกระเทือน
  •  เนื้องอกในสมองและไขสันหลัง
  •  ภาวะน้ำคั่งในสมอง 
  • ​ การเกิดน้ำคั่งในสมองในวัยผู้ใหญ่นั้น น้ำในสมองเพิ่ม แต่ความดันปกติ ยังทำให้สมองบวมและเสียหน้าที่ได้ มักเกิดจากการที่น้ำไขสันหลังไหลไม่สะดวก แต่บางครั้งก็หาสาเหตุไม่พบ

 ความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดภาวะนี้  

  • ​   การติดเชื้อของสมองเช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  •    บาดเจ็บที่ศีรษะ
  •    เลือดออกในสมอง
  •    ผลข้างเคียงหลังจาหการผ่าตัดสมอง

 ​อาการหัวโต

ภาวะ​น้ำเกินในสมองทำให้สมองเสียหายถาวรได้ จึงควรทราบถึงอาการเพื่อจะได้ดูแลตนเองได้ ส่วนใหญ่มักเกิดกับเด็ก แต่อาจเกิดกับผู้ใหญ่ได้

ใน​ทารก

 อาการเริ่มแรกคือ
  • กระหม่อมบวม(กระหม่อมคือส่วนของกะโหลกที่ยังไม่ปิดของทารก มีสองที่ คือ กระหม่อมหน้าอยู่ด้านหน้าเหนือหน้าผากขึ้นไป จะปิดสนิทเมื่อทารกอายุราว 18 เดิอน
  • กระหม่อมหลัง อยู่บริเวณท้ายทอย มีขนาดเล็กกว่า จะปิดสนิทเมื่อทารกอายุราว 4 เดือน ปกติกระหม่อมจะนิ่ม ระดับเสมอกับกะโหลกศีรษะและไม่บวมปูดหรือยุบลงไป หากกระหม่อมหน้าปูด หรือยุบลงแสดงว่าน่าจะมีความผิดปกติกับทารก)
  • เด็กหัวโตขึ้นอย่างรวดเร็ว (ปกติเมื่อทารกไปรับวัคซีน แพทย์จะตรวจร่างกายและวัดรอบวงศีรษะ)
  • ตาหลุบต่ำ ชัก อยู่ไม่สุข อาเจียน นอนมากเกิน กินน้อย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวกเปียก

​วัยหัดเดินและเด็กโต

เด็กหัวบาตรจะมีอาการคือ ร้องเสียงแหลมสูง สั้น  บุคลิกภาพเปลี่ยน หน้าตาเปลี่ยน ตาเข ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อเกร็ง โตช้า กินลำบาก นอนมาก กระสับกระส่าย เคลื่อนไหวลำบาก กลั้นปัสสาวะไม่ได้  หัวโตผิดปกติ ตื่นยาก มักจะง่วง คลื่นไส้ อาเจียน ชัก ไม่มีสมาธิ

วัยรุ่น วัยกลางคน

ปวดศีรษะเรื้อรัง เคลื่อนไหวลำบาก เดินลำบาก กลั้นปัสสาวะไม่ได้  ตามัว ความจำไม่ดี ไม่มีสมาธิ

ภาวะน้ำคั่งในสมองที่ความดันน้ำในสมองปกติ

ภาวะนี้จะเกิดอย่างช้าๆ พบบ่อยในในผู้สูงวัยเกินหกสิบปี อาการแรกเริ่มคือล้มแต่ไม่หมดสติ และอื่นๆ เช่น ท่าเดินเปลี่ยน มีปัญหาความจำ ควบคุมปัสสาวะ อุจจาระลำบาก ปวดศีรษะ

การ​วินัจฉัย

​แพทย์จะตรวจร่างกาย ถ้าเป็นเด็กจะดูว่าดวงตาจมลงไป(ในใบหน้าหรือไม่) ปฏิกิริยาตอบสนองช้า กระหม่อมหน้าปูด หัวโตกว่าปกติ  ​อาจต้องตรวจด้วย
  • คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อดูภาพของสมอง  
  • MRI เพื่อดูว่ามีน้ำไขสันหลังมากไปหรือไม่ และดูภาพตัดขวางเนื้อสมอง 
  • CT เพื่อดูสภาพเนื้อสมอง

การรักษา

​หากปล่อยไว้นาน ภาวะนี้อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้  ทั้งนี้การรักษาไม่ช่วยให้เนื้อสมองที่ตายแล้วกลับมาได้ เพียงแต่ป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติม โดยการทำให้การไหลของน้ำไขสันหลังเป็นปกติ โดยวิธีดังนี้

​ต่อท่อทางลัด

เป็นท่อยาวมีลิ้นเปิดปิด เพื่อควบคุมให้น้ำไขสันหลังไหลตามปกติในทิศทางที่ถูกต้อง ปลายหนึ่งอยู่ในสมอง อีกปลายหนึ่งเปิดที่ช่องอกหรือช่องท้อง น้ำไขสันหลังจะไหลจากสมองไปที่อีกปลายหนึ่ง และร่างกายจะดูดซึมไปเอง  การต่อสายนี้ ทำถาวรและต้องหมั่นดูแลสม่ำเสมอ

​การตัดช่องในโพรงสมอง

จะทำเพื่อการใส่ท่อ โดยการตัดใต้โพรงสมองหรือระหว่างช่องโพรงสมองให้เป็นรูเพื่อให้มีทางไหลของน้ำไขสันหลัง

พยากรณ์โรค

ขึ้นกับว่ามีอาการมากน้อยแค่ไหน เด็กหลายคนสมองเสียหายถาวร แต่ด้วยความช่วยเหลือของแพทย์ ครูด้านการศึกษาพิเศษ นักจิต วิทยา นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักพัฒนาการบำบัด หมอด้านประสาทวิทยาเด็ก เด็กจะปรับตัวได้และช่วยลดผลกระทบระยะยาวได้ ผู้ใหญ่ที่มีอาการมาก ต้องบำบัดร่วมกับนักกิจกรรมบำบัด อาจต้องใช้เวลานานและอาจต้องดูแลพิเศษในเรื่องความจำเสื่อมด้วย ผลกระทบระยะยาวแตกต่างกันในแต่ละบุคคล  แพทย์จะให้ความเห็นเรื่องนี้ได้

ลดความเสี่ยง

การป้องกันนั้นทำไม่ได้ แต่การลดความเสี่ยง คือ ฝากครรภ์เมื่อเริ่มตั้งครรภ์  รับวัคซีนต่างๆเพื่อป้องกันการติดเชื้อและความเจ็บป่วยที่อาจก่อให้เกิดภาวะน้ำไขสันหลังเกิน ใช้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย เช่น หมวกนิรภัยเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่ศีรษะ เมื่อขี่จักรยาน คาดเข็มขัดนิรภัยเมื่อนั่งรถยนต์ เด็กเล็กควรใช้เก้าอี้สำหรับเด็กในรถยนต์ และรถเข็นเด็กควรได้มาตรฐานความปลอดภัย

ภาวะแทรกซ้อนของหัวโต

ภาวะหัวโตอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ทั้งในทันทีและระยะยาว ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นมีดังนี้:
  • ความดันในกะโหลกศีรษะที่เพิ่มขึ้น (ICP): การสะสมของน้ำไขสันหลังอาจทำให้เกิดความดันภายในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงไป ICP ที่เพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงหรือเป็นเวลานานอาจทำให้เนื้อเยื่อสมองเสียหายได้
  • ความเสียหายของสมอง: หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำสามารถกดดันเนื้อเยื่อและโครงสร้างสมอง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริเวณเหล่านี้ และนำไปสู่ความบกพร่องทางสติปัญญา การเคลื่อนไหว และประสาทสัมผัส
  • การขาดดุลทางระบบประสาท:เมื่อภาวะโพรงสมองคั่งน้ำดำเนินไป อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทต่างๆ รวมถึงความสมดุล การประสานงาน การมองเห็น และการได้ยิน ซึ่งอาจส่งผลให้เดินลำบาก การมองเห็นผิดปกติ และความบกพร่องทางประสาทสัมผัสอื่นๆ
  • ความบกพร่องทางสติปัญญา: ในบางกรณีภาวะหัวโตสามารถนำไปสู่ความบกพร่องทางสติปัญญา รวมถึงปัญหาความจำ ความยากลำบากในความสนใจและสมาธิ และความบกพร่องทางสติปัญญาโดยรวม
  • ความผิดปกติของร่างกาย :ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำสามารถส่งผลกระทบต่อทักษะยนต์ ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกร็ง และปัญหาเกี่ยวกับการประสานงานและการควบคุมมอเตอร์ขนาดเล็ก
  • อาการชัก: บุคคลที่มีภาวะโพรงสมองคั่งน้ำมีความเสี่ยงที่จะมีอาการชักเพิ่มขึ้น เนื่องจากแรงกดดันต่อเนื้อเยื่อสมองและการหยุดชะงักของการทำงานของสมองตามปกติ
  • พัฒนาการล่าช้า: ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำที่เกิดขึ้นในวัยทารกหรือวัยเด็กอาจรบกวนการพัฒนาสมองที่เหมาะสม ซึ่งอาจนำไปสู่พัฒนาการล่าช้าและความบกพร่องทางสติปัญญา
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการแบ่ง:การรักษาที่พบบ่อยที่สุดสำหรับภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ ได้แก่ การผ่าตัดจัดตำแหน่ง shunt ซึ่งจะเบี่ยงเบนน้ำไขสันหลังส่วนเกินออกจากสมองไปยังส่วนอื่นของร่างกาย ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งอาจรวมถึงการติดเชื้อ การอุดตัน การทำงานผิดปกติ และการขาดการเชื่อมต่อ
  • การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และพฤติกรรม:ภาวหัวโตและภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องอาจส่งผลต่อความเป็นอยู่ทางอารมณ์และพฤติกรรมได้เช่นกัน อาจมีอาการหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน และบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงได้
การนัดหมายติดตามผลเป็นประจำกับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ศัลยแพทย์ทางระบบประสาท และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการติดตามอาการและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hydrocephalus/symptoms-causes/syc-20373604
  • https://www.nhs.uk/conditions/hydrocephalus/
  • https://www.ninds.nih.gov/Disorders/Patient-Caregiver-Education/Fact-Sheets/Hydrocephalus-Fact-Sheet

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด