การกอด (Hugging) : สาเหตุ อาการ การรักษา

คนเรากอดกัน (Hugging) เมื่อรู้สึกตื่นเต้น มีความสุข รู้สึกเศร้า หรือเมื่อต้องการปลอบประโลมใจ การกอดคือการปลอบประโลมที่นิยมใช้กันทั่วโลก พบว่าการกอดจะทำให้ผู้คนรู้สึกดีขึ้น และการกอดยังได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดีและมีความสุขมากขึ้นได้

นักวิทยาศาสตร์กล่าวถึงประโยชน์ของการกอดว่าให้มากกว่าความรู้สึกอบอุ่นที่ผู้คนจะได้รับเมื่อสวมกอดใครสักคนเอาไว้ในอ้อมแขน

ประโยชน์ของการกอด

1. การกอดช่วยลดความเครียดเมื่อเป็นการกอดเพื่อสนับสนุนกันและกัน

เมื่อเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวกำลังเผชิญกับเรื่องที่เจ็บปวดหรือไม่เรื่องราวไม่สบายใจขึ้นในชีวิตให้สวมกอดพวกเขาเอาไว้

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าการสนับสนุนบุคคลอื่นสามารถทำได้โดยการสัมผัสพวกเขาเอาไว้ ซึ่งการสัมผัสจะช่วยลดความเครียดให้กับบุคคลคนนั้นได้ เป็นการปลอบประโลมกัน การกอดยังสามารถลดความเครียดของผู้ที่กำลังต้องการการปลอบโยนได้ดี

จากผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือได้ของคู่รักต่างเพศ 20 คู่ พบว่าฝ่ายชายจะรู้สึกถึงไฟฟ้าช็อตโดยไม่คาดฝัน ในระหว่างที่สัมผัสกับผู้หญิง หรือมีโอกาสสวมกอดกับเธอ

นักวิจัยพบว่าองค์ประกอบต่าง ๆ ในสมองของผู้หญิงแต่ละคนล้วนสัมพันธ์กับความเครียด ซึ่งความเครียดจะมีโอกาสลดลงเมื่อได้ทำกิจกรรมในฐานะแม่เพิ่มมากขึ้น  การกอดใครสักคนเพื่อปลอบโยนพวกเขานั้น องค์ประกอบต่าง ๆ ในสมองของผู้สวมกอดก็ได้รับการตอบสนองที่คล้ายคลึงกัน

2. การกอดช่วยปกป้องผู้คนจากโรคภัยไข้เจ็บ

เมื่อสามารถลดความเครียดจากการกอดได้ ก็จะช่วยให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้

การศึกษาผู้ใหญ่ประมาณ 400 คน นักวิจัยพบว่าการกอดอาจลดโอกาสที่ผู้คนจะป่วยได้ ผู้เข้าร่วมงานวิจัยที่มีองค์ประกอบสนับสนุนอื่น ๆ เพิ่มเติมจะมีโอกาสป่วยลดลง  และยิ่งในกรณีของผู้ป่วยโรคร้ายแรงที่ได้รับการสนับสนุนนี้ก็จะมีอาการของโรคลดน้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการสนับสนุนเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีเลย

3. การกอดอาจช่วยเพิ่มสุขภาพของหัวใจของคุณ

การกอดจะส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจของผู้คนได้ จากการศึกษาของแหล่งที่เชื่อถือได้ นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งกลุ่มกรณีศึกษาวัยผู้ใหญ่ประมาณ 200 คนออกเป็น 2 กลุ่ม:

กลุ่มแรกเป็นคู่รักโรแมนติกที่จับมือกันเป็นเวลา 10 นาทีและกอดกันเป็นเวลา 20 วินาที

กลุ่มที่ 2 เป็นคู่รักที่ไม่ค่อยโรแมนติกนัก โดยจะนั่งอยู่ด้วยกันเฉย ๆ เป็นเวลา 10 นาที 20 วินาที

พบว่าในกลุ่มแรกระดับความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจจะลดลงดีกว่ากลุ่มที่สอง

การวิจัยนี้ทำให้พบว่าความสัมพันธ์ที่แสดงถึงความรักจะส่งผลดีต่อสุขภาพของหัวใจได้

4. การกอดช่วยทำให้ผู้คนรู้สึกมีความสุขเพิ่มมากขึ้น

ออกซิโทซินเป็นสารเคมีในร่างกายของมนุษย์ที่บางครั้งนักวิทยาศาสตร์จะเรียกชื่อว่า “ฮอร์โมนกอด” เนื่องจากระดับของสารนี้จะสูงขึ้นเมื่อคนเราสวมกอด สัมผัส หรือนั่งใกล้ชิดกัน ออกซิโทซินเป็นสารที่สัมพันธ์กับความสุข และลดความเครียดได้

นักวิทยาศาสตร์พบว่าฮอร์โมนนี้มีผลต่อผู้หญิงมากกว่า ออกซิโทซินช่วยลดความดันโลหิตและลดฮอร์โมนแห่งความเครียดนอร์เอพิเนฟริน

การศึกษาอีกหนึ่งกรณีพบว่าประโยชน์ของฮอร์โมนออกซิโทซินนั้นจะยิ่งดีมากขึ้นในกรณีที่ผู้หญิงคนนั้นเมื่อพวกเธอมีความสัมพันธ์กับคนรักที่ดีมาก มีการสวมกอดกับคู่รักอย่างโรแมนติกบ่อย ๆ ผู้หญิงยังเห็นผลที่ดีของฮอร์โมนออกซิโทซินเมื่อพวกเธอได้อุ้มทารกอย่างใกล้ชิดอีกด้วย

5. การกอดช่วยลดความวิตกกังวลได้

Hugging

นักวิทยาศาสตร์พบว่าการสัมผัสกันจะช่วยลดความวิตกกังวลให้กับผู้ที่มีความรู้สึกนับถือตนเองต่ำได้ การสัมผัสยังช่วยป้องกันไม่ให้ผู้คนแยกตัวจากสังคม โดยเฉพาะความรู้สึกอยากตายของพวกเขาได้ดี

นักวิทยาศาสตรยังพบว่าการสัมผัสกับสิ่งของที่ไม่มีชีวิตก็สามารถช่วยได้เช่นกัน เช่นในกรณีที่ได้กอดตุ๊กตาหมีผู้กอดก็จะสามารถลดความวิตกกังวลได้เช่นกัน

6. การกอดอาจช่วยลดความรู้สึกเจ็บปวดได้

งานวิจัยพบการสัมผัสบางรูปแบบสามารถลดความเจ็บปวดให้ลดน้อยลงได้

งานศึกษาหนึ่งพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคปวดกล้ามเนื้อที่ได้รับการบำบัดด้วยการสัมผัส 6 ครั้ง โดยการรักษาแต่ละครั้งเกี่ยวข้องกับการบำบัดด้วยแสงบนผิวหนัง ผู้เข้าร่วมทำการทดลองจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และอาการเจ็บปวดจากโรคจะลดลง

การกอดก็เป็นรูปแบบการสัมผัสอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถลดความเจ็บปวดได้

7. การกอดช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

การสื่อสารของมนุษย์ส่วนมากคือการพูดจาหรือแสดงสีหน้าท่าทาง การสัมผัสจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สำคัญเมื่อผู้คนต้องการส่งข้อความถึงกันได้

นักวิทยาศาสตร์พบว่าคนแปลกหน้าสามารถแสดงอารมณ์ที่หลากหลายต่อบุคคลอื่นได้ เมื่อสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย มีการแสดงอารมณ์บางอย่างออกมา ทั้งความโกรธ ความกลัว ความรังเกียจ ความรัก ความกตัญญู ความสุข ความเศร้า และความเห็นอกเห็นใจได้

การกอดคือการสัมผัสที่อ่อนโยน และปฏิสัมพันธ์กันได้

คนเราควรกอดกันกี่ครั้ง?

นักบำบัดครอบครัว Virginia Satir เคยกล่าวไว้ว่า “คนเราต้องการกอดกันอย่างน้อย 4 ครั้งต่อวัน เพื่อการใช้ชีวิตที่ดี การกอดกัน 8 ครั้งต่อวันจะส่งผลดีต่อการรักษาโรค การกอดกัน 12 ครั้งต่อวันจะช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโต” อย่างไรก็ดีพบว่าการกอดกันหลาย ๆ ครั้งจะเป็นการดีต่อสุขภาพมากกว่าการกอดน้อยเกินไป

การกอดกี่ครั้งต่อวันจึงจะส่งผลดีต่อสุขภาพได้? ตามทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์พบว่าการกอดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คือการช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์ที่ดีที่สุด

น่าเสียดายที่คนตะวันตกส่วนมากในปัจจุบัน เริ่มขาดโอกาสได้สัมผัสกัน ผู้คนหลายคนล้วนใช้ชีวิตอย่างสันโดษ หรือหลีกหนีความวุ่นวายโดยลดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และการสัมผัส

การใช้ชีวิตในสังคมสมัยใหม่จะผลักดันให้ตนเราไม่กล้าแตะต้องคนอื่นที่ไม่รู้จักกันโดยตรง แม้ส่าพวกเขาจะได้รับประโยชน์มากมายจากการสัมผัสกับผู้อื่นเพียงเล็กน้อย

หากต้องการรู้สึกดีกับตนเองมากขึ้น ความเครียดลดลง สามารถปรับปรุงปฏิสัมพันธ์ ความสุข และสุขภาพให้ดีขึ้นได้ ให้เริ่มที่การสวมกอดกันให้มากขึ้นก่อน

หากรู้สึกกังวลว่าจะกอดใครให้มากขึ้น ให้ลองเริ่มจากการกอดเพื่อนและสมาชิกในครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุดก่อน

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่าการกอดเป็นประจำกับคนที่ใกล้ชิด แม้ว่าจะใช้เวลาไม่นานก็สามารถส่งผลดีต่อสมอง และร่างกายได้

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเด็กไม่ได้รับการกอด

การกอดและการแสดงความรักทางกายมีความสำคัญต่อพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจของเด็ก แม้ว่าผลกระทบเฉพาะของการไม่เคยได้รับการกอดอาจแตกต่างกันไปในแต่ละเด็ก แต่ก็อาจส่งผลทางอารมณ์ จิตใจ และสังคมที่เกี่ยวข้องกับการขาดความรักใคร่ทางกายและการเลี้ยงดู ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้บางส่วนมีดังนี้:

  • การพัฒนาทางอารมณ์:การขาดความรักทางกาย รวมถึงการกอด อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กได้ การกอดให้ความรู้สึกปลอดภัย ความสบายใจ และการให้กำลังใจ หากปราศจากการแสดงความรักเหล่านี้ เด็กอาจรู้สึกถูกละเลย ความเหงา หรือความไม่มั่นคง
  • ปัญหาความผูกพัน:การกอดและการสัมผัสทางร่างกายมีบทบาทสำคัญในการสร้างความผูกพันที่ปลอดภัยระหว่างเด็กและผู้ดูแล การขาดความรักทางกายอาจนำไปสู่ปัญหาความผูกพัน ทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับเด็กที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจและดีในอนาคต
  • สุขภาพจิต:การขาดความรักทางกายในวัยเด็กอาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความวิตกกังวล อาการซึมเศร้า และความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ การสัมผัสทางกายสามารถช่วยควบคุมอารมณ์และลดความเครียดได้ ส่วนการสัมผัสที่ขาดหายไปอาจเป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวทางอารมณ์ได้
  • ทักษะในการสื่อสาร:การแสดงความรักทางกาย รวมถึงการกอด เป็นรูปแบบสำคัญของการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด เด็กที่ไม่มีสัมผัสทางกายภาพอาจมีปัญหาในการทำความเข้าใจและแสดงอารมณ์อย่างมีประสิทธิภาพผ่านสัญญาณที่ไม่ใช่คำพูด
  • การพัฒนาสังคม:การกอดและการแสดงความรักใคร่ทางกายเป็นส่วนหนึ่งของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมตามปกติ เด็กที่ไม่ได้รับการกอดอาจประสบปัญหาในการบูรณาการทางสังคมและสร้างมิตรภาพ พวกเขาอาจมีปัญหาในการทำความเข้าใจขอบเขตและการติดต่อทางกายภาพที่เหมาะสมในสถานการณ์ทางสังคม
  • การเห็นคุณค่าในตนเอง:ความรักทางกายสามารถช่วยเพิ่มความภาคภูมิใจในตนเองและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของเด็กได้ การขาดความรักทางกายอาจส่งผลต่อความรู้สึกไม่เพียงพอและส่งผลเสียต่อความภาคภูมิใจในตนเอง
  • การควบคุมความเครียด:การกอดและการสัมผัสทางกายสามารถช่วยให้เด็กๆ ควบคุมความเครียดและความวิตกกังวลได้ หากไม่มีกลไกการรับมือเหล่านี้ เด็กอาจมีปัญหาในการจัดการกับความเครียดและอาจพัฒนาวิธีการรับมือที่ไม่เหมาะสม
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือผลกระทบของการขาดความรักทางกายอาจแตกต่างกันอย่างมากขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ เช่น สภาพแวดล้อมโดยรวมของเด็ก การให้การสนับสนุนทางอารมณ์ในรูปแบบอื่นๆ และบุคลิกภาพและความสามารถในการฟื้นตัวของเด็กแต่ละคน เด็กทุกคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และความต้องการความรักใคร่ทางกายอาจแตกต่างกันไป เด็กบางคนอาจมีความเป็นอิสระมากกว่าและมีแนวโน้มน้อยที่จะแสวงหาการสัมผัสทางร่างกาย ในขณะที่บางคนอาจมีความต้องการสัมผัสที่มากกว่า อย่างไรก็ตาม การจัดหาสภาพแวดล้อมที่เอาใจใส่และเปี่ยมด้วยความรัก รวมถึงความรักใคร่ทางกายเมื่อเหมาะสม โดยทั่วไปถือเป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูบุตรที่มีสุขภาพทางอารมณ์ที่ดี

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.nbcnews.com/better/pop-culture/health-benefits-hugging-ncna920751

  • https://www.webmd.com/balance/ss/slideshow-health-benefits-cuddling

  • https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25526910/

  • https://www.newscientist.com/article/mg24732944-300-how-to-hug-people-in-a-coronavirus-stricken-world/

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด