เสียงแหบ (Hoarseness) : อาการ สาเหตุ การรักษา

เสียงแหบ (Hoarseness) คือการที่เสียงเปลี่ยนไป มักเกิดพร้อมอาการคอแห้งหรือคันคอ อาการ คือ เสียงแหบ เสียงค่อยลง ทำให้เสียงเปลี่ยน ซึ่งเกิดจากความผิดปกติที่สายเสียง และอาจมีกล่องเสียงอักเสบด้วย ถ้ามีอาการเสียงแหบติดต่อกันนานกว่าสิบวัน ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ เพราอาจมีโรคร้ายแรง

สาเหตุของการเกิดเสียงแหบ

เสียงแหบโดยทั่วไปมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในจมูก หลังคอ และจากอื่นๆอีกเช่น สาเหตุอื่นที่พบน้อย เช่น
  • เนื้องอกที่สายเสียง
  • มะเร็งที่คอ ไทรอยด์หรือปอด
  • มีบาดแผลที่ในคอเช่น จากการใส่ท่อช่วยหายใจ
  • เด็กชายที่กำลังเข้าสู่วัยหนุ่ม
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานไม่เป็นปกติ
  • ปัญหาจากเส้นประสาทหรือกล้ามเนื้อของกล่องเสียง

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

เสียงเปลี่ยนไปไม่ใช่ภาวะฉุกเฉิน แต่บางครั้งอาจมีสาเหตุที่เกิดจากโรคร้ายแรง ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หาก :
  • เสียงเปลี่ยนนานกว่าหนึ่งสัปดาห์ในเด็ก หรือ สิบวันในผู้ใหญ่
  • ควรรีบไปพบแพทย์ หากมีอาการน้ำลายไหล(ในเด็ก) กลืนลำบาก หรือหายใจลำบากร่วมด้วย
  • พูดไม่ได้ หรือไม่เป็นประโยค แสดงว่าอาจมีโรคร้ายแรง

การวินิจฉัย

หากท่านไปพบแพทย์ หรือไปห้องฉุกเฉินและมีอาการหายใจลำบาก การรักษาแรกสุดคือ ทำให้ท่านหายใจได้ โดยการให้ใส่หน้ากากออกซิเจนหรือใส่ท่อช่วยหายใจ จากนั้นแพทย์ จะซักประวัติเพื่อหาสาเหตุ เช่น มีการตะโกนหรือพูดมากๆ มีไข้ หรือมีอาการอ่อนเพลียหรือไม่ ตรวจในลำคอเพื่อดูว่ามีอาการอักเสบหรือความผิดปกติอื่นหรือไม่ แพทย์อาจนำเชื้อในคอไปตรวจ เอกซเรย์ หรือ ตรวจคอมพิวเตอร์สแกน เจาะเลือดไปตรวจดูความเข้มข้นของเลือด

การรักษาตัวเองเมื่อเสียงแหบ

  • งดการใช้เสียง(พูด ตะโกน) และห้ามกระซิบ
  • ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มให้มาก เพื่อช่วยให้คอชุ่มชื่น
  • งดดื่มกาแฟ แอลกอฮอล์ เพราจะทำให้คอแห้ง
  • ใช้เครื่องพ่นไอน้ำเพิ่มความชุ่มชื้น
  • อาบน้ำอุ่นจัด ควันจากน้ำช่วยให้ความชุ่มชื้น
  • ลด/เลิกสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ทำให้คอแห้ง ระคายคอ
  • อมยาอมหรือเคี้ยวหมากฝรั่ง จะทำให้มีน้ำลายหลั่ง ช่วยให้ชุ่มคอ
  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เพราะจะทำให้เสียงแหบมากขึ้น
  • อย่าใช้ยาแก้คัดจมูก เพราะจะทำให้คอแห้งและคันคอ
  • ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ เพราะอาจมีสาเหตุจากโรคร้ายแรง

การป้องกันเสียงแหบ

  • งดสูบบุหรี่ และอยู่ให้ไกลจากผู้สูบ
  • ล้างมือบ่อยๆ เสียงแหบมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส การล้างมือช่วยลดโอกาสติดเชื้อได้
  • ดื่มน้ำ(ของเหลว)ให้พอเพียง เพื่อให้ลำคอชุ่มชื้น
  • งดเครื่องดื่มที่ทำให้ร่างกายขาดน้ำ เช่นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ เพราะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
  • ไม่ควรกระแอมบ่อยๆ เพราะจะทำให้ระคายคอ
แม้ว่าเสียงแหบมักเกิดจากปัจจัยเล็กๆ น้อยๆ เช่น การใช้เสียงมากเกินไป เป็นหวัด หรือภูมิแพ้ แต่ก็อาจเป็นสัญญาณของสภาวะทางการแพทย์ที่ร้ายแรงกว่าได้เช่นกัน ต่อไปนี้คือตัวอย่างบางส่วนที่เสียงแหบอาจทำให้เกิดความกังวล:
  • ระยะเวลานานเกินไป :ถ้าเสียงแหบกินเวลานานกว่าสองสัปดาห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่เกี่ยวข้องกับไข้หวัดหรือสาเหตุอื่นๆ ที่ชัดเจน คุณควรพิจารณาไปพบแพทย์
  • ปวดหรือกลืนลำบาก :หากคุณรู้สึกเจ็บปวดขณะพูดหรือกลืนลำบากพร้อมกับเสียงแหบ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาที่ซ่อนอยู่ เช่น การติดเชื้อ 
  • น้ำหนักลด เบื่ออาหาร :  น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุและเบื่ออาหารพร้อมกับเสียงแหบอาจบ่งบอกถึงปัญหาที่ร้ายแรงยิ่งขึ้น และควรได้รับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
  • ปัญหาการหายใจ : หากเสียงแหบมาพร้อมกับการหายใจลำบากหรือรู้สึกหายใจไม่ออก อาจเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์
  • อาการไอเรื้อรัง: หากเสียงแหบมาพร้อมกับอาการไอเรื้อรังต่อเนื่องซึ่งไม่หายไปหลังจากผ่านไป 2-3 สัปดาห์ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาทางเดินหายใจหรือสายเสียง
  • ประวัติการสูบบุหรี่หรือการใช้แอลกอฮอล์ :หากคุณมีประวัติการสูบบุหรี่หรือการใช้แอลกอฮอล์มากเกินไป เสียงแหบอาจเป็นอาการของอาการต่างๆ เช่น ก้อนเนื้อที่เส้นเสียง มะเร็งกล่องเสียง หรือปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • อาการทางระบบประสาท :หากคุณมีอาการเสียงแหบร่วมกับอาการทางระบบประสาทอื่นๆ เช่น ควบคุมเสียงได้ยากหรือใบหน้าอ่อนแอ อาจบ่งบอกถึงปัญหาทางระบบประสาทที่ซ่อนอยู่
  • ประวัติทางการแพทย์ก่อนหน้า: หากคุณมีประวัติเกี่ยวกับปัญหาต่อมไทรอยด์ โรคกรดไหลย้อน  หรืออาการอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อสายเสียง อาการเสียงแหบอาจต้องได้รับการดูแลจากแพทย์
สิ่งสำคัญที่ต้องทราบคือแม้เสียงแหบอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรง แต่ก็อาจมีสาเหตุที่ไม่ร้ายแรงได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากคุณกังวลเกี่ยวกับอาการเสียงแหบอย่างต่อเนื่องหรืออาการผิดปกติอื่นๆ เป็นความคิดที่ดีที่จะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและการรักษาที่เหมาะสม

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17105-hoarseness-frequently-asked-questions
  • https://www.nidcd.nih.gov/health/hoarseness
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/laryngitis/symptoms-causes/syc-20374262

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด