• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home จิตวิทยา

โรคฮิสทีเรีย (Histeria) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in จิตวิทยา, หาโรค
0
0
SHARES
168
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • อาการโรคฮิสทีเรีย
  • สาเหตุของฮิสทีเรีย
  • วินิจฉัยฮิสทีเรีย
  • ภาพรวมของผู้ป่วยฮิสทีเรีย
  • การรักษาฮิสทีเรีย
4.7 / 5 ( 21 votes )

โรคฮิสทีเรีย (Histeria) หรือ HPD คือ กลุ่มความผิดปกติทางจิตที่เรียกว่า “Cluster B” หมายถึง ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติในหมวดหมู่นี้จัดอยู่ในประเภททั่วไปว่าดราม่า อารมณ์แปรปรวน หรือเอาแน่เอานอนไม่ได้

ผู้ป่วย HPD มีความผิดปกติด้านจิตใจ ผู้ป่วยเห็นคุณค่าตนเองจากการยอมรับของผู้อื่น โดยเรียกร้องความสนใจอย่างสังเกตเห็นได้ ด้วยเหตุนี้ผู้ที่มี HPD จึงอาจมีพฤติกรรมการเสแสร้ง แสดงละคร ผู้หญิงได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการฮิสทีเรียมากกว่าผู้ชาย

อาการโรคฮิสทีเรีย

ฮิสทีเรียไม่ใช่โรคทางจิตใจที่ร้ายแรง คนส่วนใหญ่มีอาการฮิสทีเรีย หรือ HPD ประสบความสำเร็จในสังคมและที่ทำงาน มักจะมีทักษะที่ยอดเยี่ยม แต่พวกเขามักใช้ทักษะเหล่านี้ เพื่อทำร้ายผู้อื่น อาการบ่งบอกว่าเป็นฮิสทีเรียมีดังนี้

  • รู้สึกไม่สบายใจในเมื่อไม่ได้รับความสนใจจากคนรอบข้าง
  • มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยมีพฤติกรรมยั่วยุทางเพศที่ไม่เหมาะสม
  • อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • ดึงดูดความสนใจจากผู้อื่นด้วยพฤติกรรมทางกาย
  • พูดเพื่อสร้างความประทับใจอย่างเกินจริง
  • เสแสร้ง แสดงละครและแสดงออกทางอารมณ์ที่เกินจริง
  • ถูกครอบงำจากผู้อื่นได้ง่าย
  • รู้สึกถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกว่าที่เป็นจริง

ผู้ป่วยฮิสทีเรียจะหงุดหงิด หรือเบื่อง่ายกับกิจวัตร อาจมีพฤติกรรมขู่ว่าจะฆ่าตัวตายเพื่อให้ได้รับความสนใจ

สาเหตุของฮิสทีเรีย

ความผิดปกติทางบุคลิกภาพชนิดนี้ยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นผลมาจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรม

พบว่า บางครอบครัวที่มีประวัติผู้ที่มีอาการฮิสทีเรีย นั้นสามารถมีแนวโน้มว่าจะมีคนในครอบครัวเป็นฮิสทีเรียได้อีก นี่อาจจะแสดงให้เห็นว่าพันธุกรรมนั้นมีผลต่อฮิสทีเรีย ในทางกลับกันเด็กที่มีอาการฮิสทีเรีย อาจแสดงพฤติกรรมที่ได้รับการเลียนแบบพฤติกรรมจากผู้ปกครอง นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่าการขาดวินัย หรือการเสริมแรงพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจในวัยเด็ก ทำให้เด็กอาจเรียนรู้พฤติกรรมนี้เพื่อให้ได้รับความสนใจจากผู้ปกครอง

อย่างไรก็ตามอาการฮิสทีเรียจะปรากฏในช่วงผู้ใหญ่ตอนต้นเป็นส่วนใหญ่

วินิจฉัยฮิสทีเรีย

การวินิจฉัยฮิสทีเรียไม่มีวิธีการทดสอบโดยเฉพาะ หากสงสัยว่ามีอาการ และให้ไปพบแพทย์ โดยแพทย์จะเริ่มด้วยการซักประวัติทางการแพทย์โดยละเอียด รวมถึงทำการตรวจร่างกาย เพื่อตัดปัญหาทางกายภาพที่อาจทำให้เกิดอาการของคุณออกจาการวินิจฉัย

กรณีที่แพทย์ไม่พบสาเหตุทางกายภาพที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว แพทย์อาจแนะนำให้คุณพบจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง จิตแพทย์จะสามารถใช้คำถามเฉพาะ เพื่อดูประวัติพฤติกรรมขออย่างชัดเจน 

อย่างไรก็ตามผู้ที่มีอาการฮิสทีเรียส่วนใหญ่ ไม่เชื่อว่าพวกเขาต้องการการรักษา หรือความช่วยเหลือ จึงทำให้การวินิจฉัยเป็นเรื่องยาก ผู้ป่วยฮิสทีเรียโดยมากจะได้รับการวินิจฉัยหลังจากเข้ารับการบำบัดภาวะซึมเศร้า หรือวิตกกังวล ซึ่งอาจมาจากปัญหาความสัมพันธ์ที่ล้มเหลว หรือความขัดแย้งส่วนตัวอื่น ๆ

ภาพรวมของผู้ป่วยฮิสทีเรีย

ผู้คนจำนวนมากที่มีอาการฮิสทีเรีย ยังสามารถดำเนินชีวิตตามปกติ ออกไปทำงาน และเข้าสังคมได้ ในความเป็นจริงหลายคนที่เป็นฮิสทีเรียหลายคนประสบปัญหาในความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด โดยจะส่งผลกระทบต่อการรักษาความสัมพันธ์ หรือมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายชีวิต ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุของผู้ป่วย โดยการรับมือขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์

ผู้ที่เป็นฮิสทีเรียมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าโดยสามารถส่งผลกระทบต่อวิธีที่เขาจัดการกับความล้มเหลวและความรู้สึกสูญเสีย ทั้งยังทำให้ผู้ป่วยหงุดหงิดเมื่อไม่ได้รับความสนใจ ควรพบแพทย์เมื่อมีอาการฮิสทีเรีย โดยเฉพาะเมืออาการนี้รบกวนชีวิตประจำวัน และการทำงาน รวมถึงทำให้ชีวิตไม่มีความสุข

การรักษาฮิสทีเรีย

การรักษาอาจทำได้ยากหากผู้ป่วยไม่ต้องการการรักษาหรือพบว่ากิจวัตรประจำวันของโปรแกรมการบำบัดไม่น่าสนใจ อย่างไรก็ตามการบำบัดและยารักษาสามารถช่วยบรรเทาอาการฮิสทีเรียได้

การบำบัดฮิสทีเรีย

จิตบำบัดเป็นวิธีการรักษาที่ใช้กันทั่วไป และมีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับผู้ที่มีอาการฮิทีเรีย การบำบัดแบบนี้ได้แก่ การพูดคุยกับนักบำบัดเกี่ยวกับความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้มีอาการฮิสทีเรีย การสนทนาดังกล่าวสามารถช่วยผู้ป่วยและนักบำบัดจิตกำหนดเหตุผลเบื้องหลังการกระทำ และพฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออก นักบำบัดอาจช่วยให้คุณเรียนรู้วิธีการสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนในเชิงบวกแทนที่การพยายามเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้างอย่างต่อเนื่อง

ยารักษาฮิสทีเรีย

หากผู้ที่มีอาการฮิสทีเรียมีความซึมเศร้าหรือวิตกกังวล แพทย์จะให้ยาช่วยในการรักษา


นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/mental-health/histrionic-personality-disorder
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK542325/
  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/9743-histrionic-personality-disorder

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post

โรคดักแด้ (Epidermolysis bullosa) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.