• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

ขนดก (Hirsutism) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
20/02/2021
in หาโรค
0
ขนดก
0
SHARES
63
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • ภาพรวม
  • สาเหตุภาวะขนดก
  • อาการของภาวะขนดก
  • ภาวะขนดกควรไปพบแพทย์เมื่อไร
  • ปัจจัยเสี่ยง
  • ภาวะแทรกซ้อนของภาวะขนดก
  • การป้องกันภาวะขนดก
  • การวินิจฉัยภาวะขนดก
  • การรักษาภาวะขนดก
  • การใช้ชีวิตประจำวันและการดูแลตนเองที่บ้าน
  • การเตรียมตัวสำหรับการนัดหมาย
Rate this post

ภาพรวม

ภาวะขนดก (Hirsutism) คือ โรคที่ผู้หญิงมีขนขึ้นตามร่างกายมากเกินไป มีลักษณะคล้ายเพศชาย มักพบว่า มีขนขึ้นบริเวณใบหน้า หน้าอก และแผ่นหลัง

ภาวะขนดก คือการมีขนขึ้นมากเกินจากการที่ร่างกายมีฮอร์โมนเพศชาย (ฮอร์โมนแอนโดรเจน)มากเกินไป รวมถึงฮอร์โมนเทสทอสเทอโรนด้วย

สาเหตุภาวะขนดก

ภาวะขนดกอาจมีสาเหตุมาจาก:

  • ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) คือ โรคที่มักเกิดขึ้นในวัยผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ สาเหตุเกิดมาจากภาวะฮอร์โมนเพศไม่สมดุล เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ภาวะ PCOS อาจจะค่อยๆแสดงอาการด้วยการมีขนขึ้นมากเกินไป รอบเดือนผิดปกติ โรคอ้วน ภาวะมีบุตรยาก และบางครั้งอาจเกิดถุงน้ำเพิ่มทวีมากขึ้นที่รังไข่

  • กลุ่มอาการคุชชิง เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลสูง อาจเป็นเพราะต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลมากเกินไป หรืออาจมาจากการใช้ยาบางชนิด เช่น เพรดนิโซโลนมาเป็นระยะเวลานาน

  • โรค Congenital adrenal hyperplasia เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากการผลิตสเตรอยด์ฮอร์โมน ที่รวมไปถึงคอร์ติซอล และแอนโดรเจนที่ผลิตจากต่อมหมวกไตของเราเอง

  • เนื้องอก พบเห็นได้ไม่บ่อยมากนัก เกิดมาจากเนื้องอกที่หลั่งฮอร์โมนแอนโดรเจนในรังไข่ หรือการทำงานของต่อมหมวกไตก็เป็นสาเหตุของภาวะขนดกได้เช่นกัน

  • การใช้ยาบางชนิด การได้รับยาบางชนิดอาจเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะขนดกได้ เช่น ไมนอกซิดิล (ไมนอกซิดิน ,โรเกน) ดานาซอล เป็นยาไว้รักษาผู้หญิงที่มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ยาเทสโทสเตอโรน (Androgel, Testim) และ Dehydroepiandrosterone (DHEA)เป็นฮอร์โมนต้านความชรา หากคู่ของคุณใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอนโดรเจน คุณอาจได้รับผลกระทบจากสิ่งนี้ด้วยโดยผ่านการสัมผัส

หลายครั้งพบว่าภาวะขนดกอาจเกิดขึ้นโดยไม่สามารถหาสาเหตุได้.

อาการของภาวะขนดก

ภาวะขนดก คือ การที่มีขนแข็งๆ และมีขนสีดำงอกขึ้น และปรากฎตามร่างกายในส่วนที่ผู้หญิงปกติไม่ควรมี เช่น บนใบหน้า หน้าอก หน้าท้องช่วงล่าง ต้นขาด้านใน และแผ่นหลัง

เมื่อระดับของแอนโดรเจนสูงขึ้นจึงเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะขนดกขึ้น ส่วนสัญญาณบ่งชี้อย่างอื่นอาจต้องใช้เวลานานกว่าจะแสดงออกมาให้เห็น กระบวนการนี้เราเรียกว่า virilization สัญญาณ ของกระบวน virilization คือ:

  • เสียงห้าว

  • หัวล้าน

  • เป็นสิว

  • เต้านมมีขนาดลดลง

  • มีกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้น

  • คลิตอริสมีขนาดใหญ่ขึ้น

ภาวะขนดกควรไปพบแพทย์เมื่อไร

หากคุณคิดว่าคุณมีขนสากแข็งขึ้นบนใบหน้าหรือตามร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์ถึงทางเลือกในการรักษา

การมีขนขึ้นที่มากเกินไปบนใบหน้า หรือบริเวณตัว มักเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับโรคประจำตัว คุณควรพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยโรค หากพบว่ามีขนขึ้นมาอย่างรวดเร็ว หรือรุนแรงบนบริเวณใบหน้าหรือลำตัวในช่วงเวลาเพียงไม่กี่เดือน ผู้ป่วยอาจต้องพบแพทย์เฉพาะทางด้านฮอร์โมน (แพทย์ด้านต่อมไร้ท่อ) หรือด้านผิวพรรณ (แพทย์ผิวหนัง)

ปัจจัยเสี่ยง

ขนดกอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่อาจทำให้เกิดแนวโน้มจะเป็นภาวะดังกล่าวได้ มีดังต่อไปนี้:

  • ประวัติครอบครัว มีโรคหลายชนิดที่เป็นสาเหตุของภาวะขนดก รวมถึงโรค  congenital adrenal hyperplasia และภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ที่ส่งต่อกันทางพันธุกรรม

  • มาจากเชื้อชาติ พบว่าผู้หญิงแถบเมริเตอร์เรเนียน ตะวันออกกลาง และทางแถบเอเซียใต้มักมีขนขึ้นตามตัวมากกว่าผู้หญิงชนชาติอื่นโดยไม่สามารถชี้ชัดสาเหตุได้

  • โรคอ้วน ภาวะที่อ้วนขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากการผลิตแอนโดรเจนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ภาวะขนดกมีอาการแย่ลง

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะขนดก

โรคขนดกทำให้เกิดความเครียดทางอารมณ์ ผู้หญิงบางคนจะรู้สึกไม่มั่นใจที่มีขนขึ้นในที่ไม่ควรขึ้น บางคนอาจเกิดภาวะซึมเศร้าได้ ถึงแม้โรคขนดกจะไม่ใช่ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นทางร่างกายก็ตาม แต่ตัวโรคจริงๆแล้วนั้นก็มีสาเหตุมาจากภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลในร่างกายนั่นเอง

หากคุณเป็นโรคขนดก และมีปัญหาเกี่ยวกับรอบเดือน คุณอาจอยู่ในภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ซึ่งส่งผลยับยั้งการเจริญพันธ์ได้ ผู้หญิงที่ต้องได้รับยาในการรักษาโรคขนดกควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ เพราะมีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ผิดปกติ

การป้องกันภาวะขนดก

ตามปกติแล้วนั้นโรคขนดกไม่สามารถป้องกันได้ แต่การลดน้ำหนักหากคุณมีน้ำหนักเกินอาจช่วยลดโรคขนดกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากว่าคุณมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบร่วมด้วย

การวินิจฉัยภาวะขนดก

การตรวจโดยวัดระดับฮอร์โมนในเลือด รวมถึงฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่อาจนำมาช่วยในการตัดสินใจหากพบระดับแอนโดรเจนสูงอันเป็นสาเหตุของโรคขนดก

แพทย์อาจจะตรวจบริเวณหน้าท้องของผู้ป่วยและตรวจสอบกระดูกเชิงกรานเพื่อมองหาก้อนในบริเวณนั้นๆที่อาจนำไปสู่การเกิดเนื้องอก

การรักษาภาวะขนดก

การรักษาโรคขนดกที่ไม่มีอาการของโรคต่อมไร้ท่ออาจไม่มีความจำเป็นต้องรักษา สำหรับผู้หญิงที่มีความต้องการ หรือมองหาวิธีการรักษา อาจรักษาตามอาการ รักษาด้วยการดูแลตนเองเป็นประจำกับขนที่ไม่พึงประสงค์ และอาจลองใช้วิธีบำบัดที่มีหลายรูปแบบ และการรับประทานยา

การรับประทานยา

หากเครื่องสำอาง หรือการกำจัดขนด้วยตนเองไม่ได้ผล ลองปรึกษาแพทย์เรื่องการใช้ยาในการรักษาโรคขนดก การรักษาโรคมักจะใช้เวลานานประมาณ 6 เดือน เป็นค่าเฉลี่ยของวงจรรูขุมขน เช่น

  • การใช้ยาคุมกำเนิด การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือฮอร์โมนคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเกสตินสำหรับการรักษาโรคขนดกที่มีสาเหตุมาจากการผลิตแอนโดรเจน การใช้ยาคุมกำเนิดเป็นการรักษาทั่วไปของโรคขนดกในผู้หญิงที่ไม่ต้องการตั้งครรถ์ ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ คือ อาการคลื่นไส้ และปวดศีรษะ
  • ยาต้านแอนโดรเจน เป็นยาที่จะไปยับยั้งแอนโดรเจนจับกับตัวรับในร่างกาย ยาดังกล่าวจะถูกนำมาใช้กับผู้ป่วยที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดมากกว่า 6 เดือน แต่ยังมีผลการรักษาไม่เป็นที่น่าพอใจ
    ยาต้านแอนโดรเจนที่ถูกนำมาใช้ทั่วไปในการรักษาโรคขนดก คือ ยาสไปโรโนแลคโตน (Aldactone, CaroSpir) เป็นยาที่ใช้ได้ผลพอประมาณและเห็นผลการรักษาหลังจากใช้ยาอย่างน้อย 6 เดือน ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอาจทำให้รอบเดือนมีปัญหา เพราะตัวยาจะเป็นสาเหตุทำให้การตั้งครรถ์ผิดปกติ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากหากสตรีที่ใช้ยานี้ควรมีการคุมกำเนิดอย่างเคร่งครัด
  • ยาทาเฉพาะที่ ครีม Eflornithine (วานิก้า) คือ ยาทาเฉพาะที่สำหรับรักษาภาวะขนดกในสตรี โดยทาลงบริเวณใบหน้าที่มีอาการอย่างน้อยวันละสองครั้ง เป็นยาที่ช่วยชะลอการเกิดขนขึ้นมาใหม่ แต่จะไม่สามารถกำจัดขนที่ขึ้นมาก่อนได้ หรืออาจใช้ยาร่วมกับการรักษาด้วยเลเซอร์เพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
Hirsutism

ขั้นตอนการรักษา

การรักษาด้วยวิธีการกำจัดขนด้วยตนเองอาจใช้เวลานาน จึงอาจต้องนำการรักษารูปแบบอื่นมาช่วยร่วมกัน เช่น:

  • การรักษาด้วยเลเซอร์ คือ การใช้ลำแสงเลเซอร์พลังสูงยิงผ่านไปยังผิวหนังเพื่อทำลายรูขุมขนและป้องกันไม่ให้ขนเติบโตได้อีก(การกำจัดขนถาวรด้วยแสง) ผู้ป่วยอาจต้องรักษาหลายครั้ง สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการขนสีดำ น้ำตาลหรือสีน้ำตาลแดง การกำจัดขนถาวรคือทางเลือกที่ดีกว่าการทำอิเล็กโทรลิซิส.
    ปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงและประโยชน์ของการรักษาด้วยเลเซอร์ คนที่ทีสีผิวคล้ำหรือดำมีความเสี่ยงสูงจะเกิดผลข้างเคียงจากการทำเลเซอร์มากกว่าคนสีผิวอื่น เพราะอาจทำให้มันดำลงหรือสว่างขึ้นกว่าสีผิวปกติ รวมถึงอาการพอง และการติดเชื้อ

  • การทำอิเล็กโทรลิซิส การรักษา คือ การใช้เข็มสอดลงไปที่รากขนทีละเส้น แล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าทำลายรากขน อาจต้องทำการรักษาหลายครั้ง สำหรับคนที่มีขนสีทองหรือสีขาว การทำอิเล็กโทรลิซิสเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการทำเลเซอร์
    การทำอิเล็กโทรลิซิสอาจได้ผลดีแต่ก็อาจสร้างความเจ็บปวดได้ การทายาชาให้ทั่วบนผิวก่อนการรักษาอาจช่วยลดอาการไม่สบายตัวดังกล่าวได้

การใช้ชีวิตประจำวันและการดูแลตนเองที่บ้าน

วิธีการดูแลตนเอง คือ การกำจัดขนแบบชั่วคราว หรือลดการมองเห็นขนที่ไม่ต้องการบนใบหน้าหรือลำตัว ยังไม่มีหลักฐานว่าการกำจัดขนออกด้วยตัวเองจะเป็นสาเหตุทำให้ขนขึ้นมากกว่าเดิม

  • การถอนขน การถอนเป็นวิธีที่ดีในการกำจัดขนที่ขึ้นประปราย แต่ไม่ดีในการกำจัดขนในพื้นที่ใหญ่ๆ การถอนขนปกติแล้วขนก็จะกลับมาเติบโตได้อีก วิธีนี้อาจต้องใช้แหนบ เส้นด้ายเส้นเล็กๆ หรืออุปกรณ์อื่นๆที่ออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว

  • การโกน การโกนนั้นทำได้รวดเร็วและราคาไม่แพง แต่มีความจำเป็นต้องทำซ้ำๆบ่อยๆ

  • การแวกซ์ การแวกซ์ คือ การทาแวกซ์อุ่นๆลงบนผิวตรงบริเวณของขนที่เราไม่ต้องการ เมื่อแวกซ์เริ่มแข็ง ให้ดึงออกจากผิวเพื่อดึงเอาขนออกมา การแวกซ์จะสามารถกำจัดขนในพื้นที่ใหญ่ๆได้อย่างรวดเร็ว  แต่ก็เป็นการกำจัดขนแบบชั่วคราวและในบางครั้งอาจเป็นสาเหตุทำให้ผิวเกิดอาการระคายเคืองและเป็นรอยแดง แต่เป็นที่นิยมในผู้หญิงขนเยอะ หรือหากเป็นขนขึ้นที่หน้าหลายคนก็อาจใช้วิธีนี้

  • การกำจัดขน คือ การกำจัดขนด้วยสารเคมีที่ทาลงตรงบริเวณผิวที่ต้องการกำจัดขน ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีหลายรูปแบบ เช่นแบบเจล ครีมหรือโลชั่น ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจทำให้ผิวระคายเคือง และเป็นสาเหตุของผิวหนังอักเสบ อาจต้องทำบ่อยๆเพื่อให้ได้ผลสม่ำเสมอ

  • การฟอกสี ด้วยการฟอกให้ขนมีสีสว่างขึ้น ทำให้ยากต่อการสังเกตเห็นโดยเฉพาะในคนที่มีสีผิวสว่าง ผลิตภัณฑ์ฟอกสีขนจะมีไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เป็นส่วนประกอบ ที่อาจทำให้ผิวเกิดการระคายเคือง ควรทดสอบผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้โดยลองใช้บนพื้นที่เล็กๆ บนผิวก่อนใช้จริง

การเตรียมตัวสำหรับการนัดหมาย

เมื่อมีการนัดหมายแล้ว คุณควรสอบถามพูดคุยถึงสิ่งที่ควรเตรียมตัวก่อนดังต่อไปนี้f:

  • ให้รายละเอียดข้อมูลส่วนตัว รวมไปถึงโรคประจำตัวและวงจรการเปลี่ยนแปลงรอบเดือน หรือความต้องการทางเพศ

  • การรับประทานยา วิตามิน หรืออาหารเสริมอื่นไที่คุณรับประทาน รวมถึงปริมาณที่รับประทานด้วย

  • ถามทุกอย่างที่ต้องการรู้จากแพทย์

สำหรับโรคขนดก ควรสอบถามแพทย์หัวข้อดังต่อไปนี้:

  • สาเหตุของอาการคืออะไร

  • สาเหตุที่อาจเป็นไปได้กับอาการที่เกิดขึ้น

  • มีความจำเป็นต้องตรวจอะไรบ้าง

  • ลักษณะของโรคเป็นแบบชั่วคราว หรือเรื้อรัง

  • คอร์สการรักษาไหนที่ดีที่สุด

  • มีโรคประจำตัว จะมีวิธีไหนบ้างที่จะสามารถนำมารักษาร่วมกันได้บ้าง

  • ควรต้องไปพบผู้เชี่ยวชาญหรือไม่

  • มีใบโฆษณาหรือใบรายละเอียดใดๆให้บ้าง มีเวบไซต์ไหนแนะนำบ้าง

อย่าลังเลที่จะถามคำถามเหล่านี้

สิ่งที่แพทย์ควรรู้

แพทย์จะถามคำถาม เช่น:

  • เริ่มมีอาการตั้งแต่เมื่อไร

  • รอบเดือนมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ หรือรอบเดือนมีการหยุดไปหรือไม่

  • น้ำหนักขึ้นหรือไม่

  • มีสิวใหม่ขึ้นหรือไม่

  • ขนาดของหน้าอกมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่

  • เคยมีใครบอกว่าเสียงเปลี่ยนหรือไม่

  • วางแผนจะตั้งครรภ์ในเร็วๆนี้หรือไม่


นี่คือที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hirsutism/symptoms-causes/syc-20354935

  • https://www.nhs.uk/conditions/hirsutism/

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2856356/

  • https://www.webmd.com/women/guide/hirsutism-hair-women


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
ไข้ละอองฟาง

ไข้ละอองฟาง (Hay Fever) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.