ไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatal Hernia) :อาการ สาเหตุ การรักษา

ไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatal hernia) เกิดเมื่อส่วนบนของกระเพาะอาหารถูกดันขึ้นไปผ่านกระบังลมและเข้าไปในบริเวณช่องอก

กระบังลมเป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ที่วางตัวอยู่ระหว่างช่องท้องและช่องอก คุณจะใช้กระบังลมเพื่อช่วยในการหายใจ โดยปกติกระเพาะอาหารจะอยู่ใต้ต่อกระบังลม แต่ผู้ที่มีไส้เลื่อนกระบังลม ตำแหน่งของกระเพาะอาหารจะถูกดันผ่านกระบังลม การเคลื่อนตัวเข้าไปในส่วนเปิดดังกล่าวเรียกว่าช่องว่าง

ภาวะดังกล่าวส่วนใหญ่เกิดกับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป อีกทั้งยังส่งผลต่อผู้ที่มีอายุ 60 ปีถึงร้อยละ 60 จากรายงานของสมาคมให้ความรู้มะเร็งหลอดอาหาร

สาเหตุของไส้เลื่อนกระบังลม

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของไส้เลื่อนกระบังลม ในบางคน การบาดเจ็บหรือการถูกทำลายอื่นๆอาจทำให้เนื้อเยื่อกล้ามเนื้ออ่อนแอลง เป็นไปได้ว่าทำให้กระเพาะอาหารถูกดันผ่านกระบังลม

สาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดแรงดันที่มากเกินไปในกล้ามเนื้อโดยรอบกระเพาะอาหาร สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นเมื่อ:

  • ไอ

  • อาเจียน

  • เกิดการรัดระหว่างที่ลำไส้เคลื่อนไหว

  • การยกของหนัก

บางคนอาจเกิดมาพร้อมช่องว่างขนาดใหญ่ผิดปกติ ซึ่งยิ่งทำให้ง่ายต่อการเคลื่อนตัวของกระเพาะอาหารผ่านเข้าไป

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของไส้เลื่อนกระบังลม ได้แก่:

ประเภทของไส้เลื่อนกระบังลม

 โดยทั่วมีไส้เลื่อนกระบังลมอยู่ 2 ประเภท คือ ไส้เลื่อนกระบังลมแบบคงที่หรือเคลื่อนไปแล้วค้างอยู่อย่างนั้น (Fixed, or Paraesophageal hernias) และไม่คงที่(มีลักษณะขึ้นๆลงๆจากตำแหน่งปกติ)(Sliding hiatal hernias)

ไส้เลื่อนกระบังลมแบบไม่คงที่ (Sliding hiatal hernia)

เป็นไส้เลื่อนกระบังลมที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดเมื่อกระเพาะอาหารและหลอดอาหารเคลื่อนที่เข้า-ออกผ่านช่องอก ไส้เลื่อนดังกล่าวมีมักมีขนาดเล็ก มันจึงไม่ได้เป็นเหตุให้เกิดอาการ จึงไม่จำเป็นต้องรักษา

ไส้เลื่อนกระบังลมแบบคงที่ (Fixed hiatal hernia)

เป็นไส้เลื่อนกระบังลมที่พบได้น้อย มักเรียกอีกชื่อว่า Paraesophageal hernia

ไส้เลื่อนแบบคงที่เกิดจากที่ส่วนของกระเพาะอาหารถูกดันผ่านกระบังลมและค้างอยู่อย่างนั้น ซึ่งส่วนใหญ่ไม่รุนแรง แม้ว่ามันเป็นความเสี่ยงที่ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงกระเพาะอาหารอาจถูกขัดขวางได้ หากเกิดเหตุดังกล่าวขึ้น ก็จะเป็นสาเหตุที่สำคัญของการทำลายและเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์

อาการของไส้เลื่อนกระบังลม

ไส้เลื่อนกระบังลมแบบคงที่พบได้น้อยที่ทำให้เกิดอาการ หากคุณเคยมีอาการ สาเหตุมักเกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร  น้ำดี หรือลมในหลอดอาหาร อาการทั่วไป ได้แก่:

Hiatal Hernia

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

ไส้เลื่อนที่บีบรัดอาจไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไปสู่กระเพาะอาหาร ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ควรโทรเรียกหน่วยฉุกเฉินทันทีหาก :

  • รู้สึกคลื่นไส้

  • อาเจียน

  • ไม่สามารถขับลมจากลำไส้ได้

อย่าสรุปเพียงแค่ว่าไส้เลื่อนกระบังลมเป็นสาเหตุให้คุณเจ็บหน้าอก หรือรูสึกไม่สุขสบาย มันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาที่หัวใจ หรือแผลในกระเพาะอาหาร เป็นสิ่งสำคัญที่ควรไปพบแพทย์ การตรวจเพียงอย่างเดียวสามารถพบว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการได้

ความเชื่อมโยงระหว่างโรคกรดไหลย้อนและไส้เลื่อนกระบังลม

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease :GERD) เกิดเมื่ออาหาร, ของเหลว และกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร จึงนำไปสู่อาการแสบร้อนกลางทรวงอก คลื่นไส้หลังรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นเรื่องที่พบบ่อยในผู้ที่เป็นไส้เลื่อนกระบังลมที่จะมีโรคกรดไหลย้อนด้วย กระนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าสภาวะทั้งสองจะเกิดพร้อมกันเสมอไป คุณสามารถเป็นไส้เลื่อนกระบังลมโดยไม่เป็นโรคกรดไหลย้อน หรือเป็นโรคกรดไหลย้อนที่ไม่มีไส้เลื่อนได้

การตรวจและการวินิจฉัยไส้เลื่อนกระบังลม

มีการตรวจหลายอย่างที่สามารถวินิจฉัยไส้เลื่อนกระบังลม

การกลืนแร่แบเรียมแล้วเอกซเรย์ (Barium X-ray)

แพทย์จะให้คุณดื่มน้ำแบเรียมจากนั้นทำการเอกซเรย์ โดยการเอกซเรย์นี้จะให้ภาพทางเดินอาหารส่วนบนที่ชัดเจน ภาพดังกล่าวช่วยให้แพทย์พบตำแหน่งของกระเพาะอาหาร หากกระเพาะอาหารยื่นออกมาทางกระบังลมแสดงว่าคุณเป็นไส้เลื่อนกระบังลม

การส่องกล้อง (Endoscopy)

แพทย์จะทำการส่องกล้องเข้าไปในลำคอผ่านลงไปในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร แพทย์จะสามารถเห็นหากกระเพาะอาหารถูกดันผ่านกระบังลม รวมไปถึงการบีบรัดหรือการอุดตัน

แนวทางการรักษาไส้เลื่อนกระบังลม

ไส้เลื่อนกระบังลมส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรักษา อาการ ณ ปัจจุบันจะเป็นตัวกำหนดการรักษา หากคุณมีอาการกรดไหลย้อนและแสบร้อนกลางทรวงอก คุณอาจได้รับการรักษาด้วยยา หรือหากไม่ได้ผลก็ทำการผ่าตัด

ยา

ยาที่แพทย์สั่งการรักษาได้แก่:

  • ยาลดกรดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา เพื่อปรับสมดุลกรดในกระเพาะอาหารให้เป็นกลาง

  • ยาลดการสร้างกรด โดยเป็น H2-receptor blockers สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาหรือสั่งโดยแพทย์

  • ยาป้องกันการสร้างกรด ทำให้แผลในหลอดอาหารดีขึ้น โดยทำหน้าที่ยับยั้งโปรตอนปั้ม สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาหรือสั่งโดยแพทย์

การผ่าตัด

หากใช้ยาในการรักษาแล้วไม่ได้ผล คุณอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดไส้เลื่อนกระบังลม แม้ว่าโดยทั่วไปไม่แนะนำให้ผ่าตัด

การผ่าตัดบางประเภทสำหรับภาวะดังต่อไปนี้:

  • การสร้างกล้ามเนื้อหลอดอาหารที่อ่อนแอขึ้นใหม่

  • การวางกระเพาะอาหารกลับเข้าที่เดิม และทำให้ช่องว่างเล็กลง

ในการผ่าตัด แพทย์จะทำการผ่าตัดแบบมาตรฐานที่หน้าอก หรือช่องท้อง หรือผ่าตัดแบบส่องกล้องซึ่งจะทำให้การฟื้นหายเร็ว

ไส้เลื่อนสามารถกลับมาเป็นอีกภายหลังการผ่าตัด คุณสามารถลดความเสี่ยงนี้ได้โดย:

  • รักษาน้ำหนักตัวที่เหมาะสม

  • ขอความช่วยเหลือหากต้องยกของหนัก

  • หลีกเลี่ยงการบีบรัดกล้ามเนื้อหน้าท้อง

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

กรดไหลย้อนเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของอาการไส้เลื่อนกระบังลม การปรับเปลี่ยนอาหารสามารถลดอาการลงได้ การรับประทานอาหารที่ละน้อยแต่บ่อยครั้งสามารถช่วยได้ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหรือขนมก่อนนอน 2-3ชม.

เหล่านี้คืออาหารที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของอาการแสบร้อนกลางทรวงอก ได้แก่:

  • อาหารรสเผ็ด

  • ช็อกโกแลต

  • อาหารที่ทำจากมะเขือเทศ

  • คาเฟอีน

  • หอมหัวใหญ่

  • ผลไม้รสเปรี้ยว

  • แอลกอฮอร์

ทางอื่นๆที่ช่วยลดอาการ ได้แก่:

  • หยุดสูบบุหรี่

  • ปรับหัวเตียงให้สูงขึ้นอย่างน้อย 6 นิ้ว

  • หลีกเลี่ยงการนอนราบทันทีหลังรับประทานอาหาร

การลดความเสี่ยงของการเกิดไส้เลื่อนกระบังลม

หากคุณไม่สามารถเลี่ยงการเกิดไส้เลื่อนกระบังลมได้ แต่คุณสามารถเลี่ยงการทำให้ไส้เลื่อนแย่ลงได้โดย:

  • ลดน้ำหนักส่วนเกิน

  • อย่าทำการบีบรัดขณะที่มีการเคลื่อนไหวของลำไส้

  • ขอความช่วยเหลือหากต้องยกของหนัก

  • หลีกเลี่ยงการใส่เข็มขัดที่รัดแน่นและการออกกำลังกายหน้าท้องบางอย่าง

ภาวะแทรกซ้อนของไส้เลื่อนกระบังลม

ไส้เลื่อนกระบังลมเกิดขึ้นเมื่อส่วนหนึ่งของกระเพาะอาหารดันขึ้นมาผ่านกะบังลมและเข้าไปในช่องอกผ่านช่องที่เรียกว่าช่องว่าง ไส้เลื่อนกระบังลมโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสองประเภท: แบบเลื่อนและหลอดอาหาร ภาวะแทรกซ้อนจากไส้เลื่อนกระบังลมค่อนข้างผิดปกติแต่สามารถเกิดขึ้นได้ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้แก่:
  • โรคกรดไหลย้อน :ไส้เลื่อนกระบังลมอาจทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง ลดลง ซึ่งเป็นวงแหวนของกล้ามเนื้อที่ปกติจะป้องกันไม่ให้กรดในกระเพาะอาหารไหลกลับเข้าสู่หลอดอาหาร การอ่อนแรงลงนี้อาจส่งผลให้เกิดโรคกรดไหลย้อน ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น แสบร้อนกลางอก เจ็บหน้าอก สำลัก และกลืนลำบาก
  • หลอดอาหารอักเสบ:เมื่อกรดในกระเพาะอาหารถูกล้างเข้าไปในหลอดอาหารซ้ำๆ เนื่องจากไส้เลื่อนกระบังลม อาจทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหารหรือที่เรียกว่าหลอดอาหารอักเสบ ภาวะนี้อาจนำไปสู่ความเจ็บปวด กลืนลำบาก และในกรณีที่รุนแรงอาจทำให้เลือดออกได้
  • การบีบรัด:ในบางกรณี ซึ่งพบไม่บ่อยนัก ไส้เลื่อนกระบังลมอาจต้องถูกคุมขังหรือถูกรัดคอ สิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อกระเพาะอาหารหรือบางส่วนติดอยู่เหนือกะบังลมและทำให้ปริมาณเลือดในกระบังลมลดลง การบีบรัดถือเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์และต้องได้รับการผ่าตัดทันทีเพื่อแก้ไข
  • เลือดออก:การระคายเคืองต่อหลอดอาหารเรื้อรังเนื่องจากกรดไหลย้อนที่เกิดจากไส้เลื่อนกระบังลม บางครั้งอาจทำให้มีเลือดออก ซึ่งอาจปรากฏเป็นเลือดในอาเจียนหรืออุจจาระ
  • โรคโลหิตจาง:การตกเลือดเป็นเวลานานหรือการอักเสบเรื้อรังของหลอดอาหารอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง (การขาดเซลล์เม็ดเลือดแดง) เนื่องจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น เหนื่อยล้า อ่อนแรง และผิวซีดได้
  • สิ่งกีดขวาง:ในไส้เลื่อนหลอดอาหารซึ่งส่วนหนึ่งของกระเพาะอาหารติดอยู่ในหน้าอกข้างหลอดอาหาร มีความเสี่ยงที่จะเกิดการอุดตันในกระเพาะอาหาร สิ่งนี้อาจทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ปวดท้องส่วนบนอย่างรุนแรง อาเจียน และกลืนลำบาก
  • ปัญหาระบบทางเดินหายใจ:ไส้เลื่อนกระบังลมที่มีขนาดใหญ่มากสามารถกดดันปอด ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น หายใจลำบากและไอ
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือผู้ที่เป็นโรคไส้เลื่อนกระบังลมหลายๆ คนอาจไม่มีอาการแทรกซ้อนหรืออาการที่สำคัญใดๆ อย่างไรก็ตาม หากคุณสงสัยว่าคุณเป็นโรคไส้เลื่อนกระบังลมหรือกำลังมีอาการที่เกี่ยวข้องกับอาการดังกล่าว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้ารับการประเมินและคำแนะนำจากแพทย์ ทางเลือกในการรักษาไส้เลื่อนกระบังลมอาจรวมถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต การใช้ยาเพื่อจัดการกับอาการ และในกรณีที่รุนแรง การผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมไส้เลื่อนและป้องกันภาวะแทรกซ้อน การเลือกวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของไส้เลื่อนและปัจจัยแต่ละบุคคล

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/digestive-disorders/hiatal-hernia

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hiatal-hernia/symptoms-causes/syc-20373379

  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/8098-hiatal-hernia

  • https://www.nhs.uk/conditions/hiatus-hernia/


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด