• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

เฮอร์แปงไจน่า (Herpangina) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
13/02/2021
in หาโรค
0
เฮอร์แปงไจน่า
0
SHARES
23
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • โรคเฮอร์แปงไจน่าคืออะไร
  • อาการของโรคเฮอร์แปงไจน่ามีอะไรบ้าง
  • อาการแทรกซ้อนของเฮอร์แปงไจน่ามีอะไรบ้าง
  • เฮอร์แปงไจน่าเกิดจากอะไร
  • ใครบ้างที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเฮอร์แปงไจน่า
  • การรักษาโรคเฮอร์แปงไจน่า
  • เฮอร์แปงไจน่าสามารถดูแลรักษาที่บ้านได้อย่างไรบ้าง
Rate this post

โรคเฮอร์แปงไจน่าคืออะไร

เฮอร์แปงไจน่า (Hypangina) คือ การมีแผลที่ปาก ในลำคอ ร่วมกับอาการปวดศีรษะ  ซึ่งเป็นการติดเชื้อจากไวรัสชนิดเดียวกับโรคมือเท้าปาก คือ เอนเทอร์ไวรัส

Herpangina

อาการของโรคเฮอร์แปงไจน่ามีอะไรบ้าง

ผู้ป่วยจะแสดงอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 2-5 วัน อาการที่แสดงนั้นต่างกันออกไปในแต่ละคน ดังนี้:

  • มีไข้อย่างฉับพลัน

  • เจ็บคอ 

  • ปวดหัว

  • ต่อมน้ำเหลืองบวม

  • กลืนลำบาก

  • เบื่ออาหาร

  • น้ำลายไหลยืด (ในทารก)

  • อาเจียน (ในทารก)

เมื่อติดเชื้อแล้วประมาณ 2 วันเด็กจะเริ่มมีแผลในปากและคอ โดยปกติแผลจะเป็นสีเทาจาง ๆ และมีขอบแดง แผลเหล่านี้จะหายไปได้ใน 7 วัน

อาการแทรกซ้อนของเฮอร์แปงไจน่ามีอะไรบ้าง

เฮอร์แปงไจน่าเป็นนโรคที่ยังไม่มีวิธีรักษาที่หายขาด แต่ยาต่าง ๆ สามารถช่วยบรรเทาอาการและลดความเร็วของอาการได้ ส่วนมากไวรัสและอาการต่าง ๆ จะหายไปเองใน 1 สัปดาห์ถึง 10 วัน และปกติแล้วจะไม่ค่อยเกิดภาวะแทรกซ้อน

  • ไข้สูงเกิน 39°C
  • เจ็บปากและคอนานเกิน 5 วัน
  • อาการขาดน้ำ 
  • ปากแห้ง
  • ไม่มีน้ำตา
  • เหนื่อยล้า
  • ปัสสาวะมีปริมาณน้อย
  • ปัสสาวะสีเข้ม
  • เบ้าตาลึก

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคนี้คือ ภาวะขาดน้ำ การดูแลรักษาที่เหมาะสมสามารถป้องกันภาวะนี้ได้

เฮอร์แปงไจน่าเกิดจากอะไร

โดยปกติแล้วโรคนี้มีสาเหตุมาจากกลุ่มคอกซากีไวรัสกรุ๊ปเอ อย่างไรก็ตาม กลุ่มคอกซากีไวรัสกรุ๊ปบี เอ็นเทอร์ไวรัส 71 และเอคโคไวรัส สามารถเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน การติดเชื้อไวรัสชนิดนี่สามารถแพร่กระจายได้ด้วยการสัมผัสโดยเฉพาะในเด็ก เชื้อนี้อยู่ในสารคัดหลั่งผ่านการจาม ไอ หรือการติดต่อผ่านทางโถสุขภัณฑ์ การล้างมือให้สะอาดจะช่วยลดการติดเชื้อได้ โดยส่วนมากหลังจากที่ได้รับเชื้อแล้ว เด็กจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาสู้กับไวรัสเหล่านี้ แต่อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อจากไวรัสอื่นก็สามารถทำให้ป่วยได้เช่นกัน

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเฮอร์แปงไจน่า

เราทุกคนมีโอกาสที่จะติดเชื้อเฮอร์แปงไจน่าได้ แต่ปกติแล้วจะพบการติดเชื้อในเด็กวัย 3-10 ปี พบได้มากในเด็กที่ไปโรงเรียน สถานเลี้ยงเด็ก หรือค่ายต่าง ๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ความเสี่ยงในการติดเชื้อนี้สูงขึ้นในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง .

การรักษาโรคเฮอร์แปงไจน่า

เป้าหมายแรกของการรักษาโรคนี้คือการลดและดูแลอาการของโรค โดยเฉพาะความเจ็บปวดจากบาดแผล แผนการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ อาการ และยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เฮอร์แปงไจน่าคือการติกเชื้อไวรัส ซึ่งไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ และยังไม่มียาที่สามารถต้านไวรัสชนิดนี้ แพทย์อาจแนะนำการรักษาเหล่านี้:

การใช้ไอบูโปรเฟน หรือ อะเซตามีโนเฟน

ยาเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ และลดไข้ได้ ห้ามใช้ยาแอสไพรินในการรักษาการติดเชื้อไวรัสในเด็กและวัยรุ่น เพราะอาจทำให้เกิดโรคเรย์ซินโดรมที่เกิดการบวมและอักเสบของตับและสมองซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต

การใช้ยาชาเฉพาะที่

ยาชาบางชนิด เช่น ลิโดเคน สามารถช่วยให้อาการเจ็บคอและปากจากโรคเฮอร์แปงไจน่าดีขึ้นได้  ด้วยการรักษานี้ อาการต่าง ๆ ควรจะหายไปทั้งหมดใน 7 วัน หากอ่การแย่ลง หรือ กินเวลายาวนานกว่า 10 วัน ผู้ป่วยควรพบแพทย์อีกครั้ง

เฮอร์แปงไจน่าสามารถดูแลรักษาที่บ้านได้อย่างไรบ้าง

ในส่วนเพิ่มเติม นอกจากการลดความเจ็บปวดด้วยยาต่าง ๆ ข้างต้น และยาชาเฉพาะที่แล้ว การดูแลตัวเองที่บ้านก็อาจช่วยบรรเทาอาการได้เช่นกัน:

การใช้น้ำยาบ้วนปาก

การบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่น ๆ ทุกวัน อาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บในปากและลำคอได้ ซึ่งสามารถบ้วนได้บ่อยเท่าที่ต้องการ

ดื่มหรือรับประทานของเหลวมากขึ้น

การดื่มของเหลว เช่น นมเย็น ๆ หรือน้ำ ช่วยบรรเทาอาการระหว่างการพักฟื้นได้ ซึ่งรวมไปถึงการรับประทานไอศกรีมที่จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสเปรี้ยว และเครื่องดื่มร้อน เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงได้

รับประทานอาหารอ่อน

อาหารเผ็ด กรอบ ทอด เค็ม หรืออาหารที่มีความเป็นกรด อาจทำให้อาการเจ็บแย่ลงได้ ควรเลือกที่จะรับประทานอาหารอ่อนแทนจนกว่าแผลจะหาย อาหารเหล่านั้นได้แก่:

  • ผักชนิดต่าง ๆ

  • ข้าว

  • กล้วย

  • ผลิตภัณฑ์นม

  • สมูทตี้

ล้างมือเป็นประจำ

การล้างมือบ่อย ๆ จะช่วยให้ไวรัสไม่แพร่กระจาย เด็กและผู้ใหญ่ควรฝึกวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสแพร่กระจายสู่สมาชิกในครอบครัว ควรทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสร่วมกันเสมอ เช่น ลูกบิดประตู รีโมต ที่ดึงลิ้นชักและตู้เย็น


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา 

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK507792/

  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/318506

  • https://www.medicinenet.com/herpangina/article.htm

  • https://medlineplus.gov/ency/article/000969.htm


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
โรคกินไม่หยุด

โรคกินไม่หยุด (Binge Eating Disorder) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.